Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเชื่อมั่น, เชื่อ, มั่น, ความ .

Budhism Thai-Thai Dict : ความเชื่อมั่น, 1095 found, display 1-50
  1. ทิฏฐุปาทาน : ความถือมั่นในทิฏฐิ, ความยึดติดฝังใจในลัทธิ ทฤษฎี และหลักความเชื่อต่างๆ (ข้อ ๒ ในอุปาทาน ๔)
  2. ศรัทธา : ความเชื่อ, ความเชื่อถือ; ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม ดู สัทธา
  3. กัมมัสสกตาสัทธา : ความเชื่อว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดู สัทธา
  4. กามุปาทาน : ความยึดติดถือมั่นในกาม ยึดถือว่าเป็นของเราหรือจะต้องเป็นของเรา จนเป็นเหตุให้เกิดริษยาหรือหวงแหน ลุ่มหลง เข้าใจผิด ทำผิด
  5. จริต : ความประพฤติ, พื้นนิสัย หรือพื้นเพแห่งจิตของคนทั้งหลายที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไปคือ ๑.ราคจริต ผู้มีจาคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางรักสวยรักงาม มักติดใจ) ๒.โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางใจร้อนขี้หงุดหงิด) ๓.โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางเหงาซึม งมงาย) ๔.สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางน้อมใจเชื่อ) ๕.พุทธิจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา) ๖.วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน)
  6. เชื่อดายไป : เชื่อเรื่อยไป, เชื่อดะไป โดยไม่นึกถึงเหตุผล
  7. ลัทธิ : ความเชื่อถือ, ความรู้และประเพณี ที่ได้รับและปฏิบัติสืบต่อกันมา
  8. วิโมกข์ : ความหลุดพ้นจากกิเลส มี ๓ ประเภทคือ ๑.สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตาแล้วถอนความยึดมั่นได้ มองเห็นความว่าง ๒.อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจัง แล้วถอนนิมิตได้ ๓.อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกข์ แล้วถอนความปรารถนาได้
  9. สมาธิ : ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ มักใช้เป็นคำเรียกง่าย ๆ สำหรับอธิจิตตสิกขา; ดู เอกัคคตา, อธิจิตตสิกขา
  10. สัทธา : ความเชื่อ; ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก ท่านแสดงสืบ ๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ ๑.กัมมสัทธา เชื่อกรรม ๒.วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม ๓.กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๔.ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต; เขียนอย่างสันสกฤตเป็นศรัทธา
  11. สุญญตวิโมข์ : ความหลุดพ้นโดยว่างจาก ราคะ โทสะ โมหะ หมายถึงมองเห็นความว่างหมดความยึดมั่นคือพิจารณาเห็นนามรูปโดยความเป็นอนัตตา พูดสั้นๆ ว่า หลุดพ้นเพราะเห็นอนัตตา (ข้อ ๑ ในวิโมกข์ ๓)
  12. อริยวัฑฒิ : ความเจริญอย่างประเสริฐ, หลักความเจริญของอารยชน มี ๕ คือ ๑) ศรัทธา ความเชื่อความมั่นใจในพระรัตนตรัย ในหลักแห่งความจริงความดีงามอันมีเหตุผลและในการที่จะทำความดีงาม ๒) ศีล ความประพฤติดี มีวินัย เลี้ยงชีพสุจริต ๓) สุตะ การเล่าเรียนสดับฟังศึกษาหาความรู้ ๔) จาคะ ความเผื่อแผ่เสียสละน้ำใจและในกว้าง พร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือ ไม่คับแคบเอาแต่ตัว ๕) ปัญญา ความรอบรู้ รู้คิด รู้พิจารณา เข้าใจเหตุผล รู้จักโลกและชีวิตตามความเป็นจริง
  13. อารยวัฒิ : ความเจริญอย่างประเสริฐ, หลักความเจริญของอารยชน มี ๕ คือ ๑) ศรัทธา ความเชื่อความมั่นใจในพระรัตนตรัย ในหลักแห่งความจริงความดีงามอันมีเหตุผลและในการที่จะทำความดีงาม ๒) ศีล ความประพฤติดี มีวินัย เลี้ยงชีพสุจริต ๓) สุตะ การเล่าเรียนสดับฟังศึกษาหาความรู้ ๔) จาคะ ความเผื่อแผ่เสียสละน้ำใจและในกว้าง พร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือ ไม่คับแคบเอาแต่ตัว ๕) ปัญญา ความรอบรู้ รู้คิด รู้พิจารณา เข้าใจเหตุผล รู้จักโลกและชีวิตตามความเป็นจริง
  14. อุปาทาน : ความยึดมั่น, ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี ๔ คือ ๑) กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม ๒) ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ ๓) สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและพรต ๔) อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นวาทะว่าตน
  15. ความค้ำ : ในประโยคว่า เราจักไม่ทำความค้ำ ไปในละแวกบ้าน เดินเอามือค้ำบั้นเอว นั่งเท้าแขน
  16. ความปรารถนา : ของบุคคลในโลกที่ได้สมหมายด้วยยาก ๔ อย่าง ดู ทุลลภธรรม
  17. ความไม่ประมาท : ดู อัปปมาท
  18. กถาวัตถุ : ถ้อยคำที่ควรพูด, เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ มี ๑๐ อย่างคือ ๑.อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย ๒.สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ ๓.ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายสงัดใจ ๔.อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ๕.วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร ๖.สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล ๗.สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น ๘.ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา ๙.วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์ ๑๐.วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ - 1. "Points of controversy"; name of the fifth book of the Abidhamma Pitaka. 2.a subject of discussion.
  19. เจตภูต : สภาพเป็นผู้คิดอ่าน, ตามที่เข้าใจกัน หมายถึงดวงวิญญาณหรือดวงชีพอันเที่ยงแท้ที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ และเป็นตัวไปเกิดใหม่เมื่อกายนี้แตกทำลาย เป็นคำที่ไทยเราใช้เรียกแทนคำว่า อาตมัน หรืออัตตาของลัทธิพราหมณ์และเป็นความเชื่อนอกพระพุทธศาสนา
  20. ปรมาตมัน : อาตมันสูงสุด หรออัตตาสูงสุด (บรมอาตมัน หรือ บรมอัตตา) เป็นสภาวะแท้จริง และเป็นจุดหมายสูงสุดตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู (เดิมคือศาสนาพราหมณ์) ซึ่งถือว่า ในบุคคลแต่ละคนนี้ มีอาตมัน คือ อัตตาหรือตัวตน สิงสู่อยู่ครอง เป็นสภาวะเที่ยงแท้ถาวรเป็นผู้คิดผู้นึก ผู้เสวยเวทนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แบ่งภาคออกมาจากปรมาตมันนั้นเอง เมื่อคนตาย อาตมันนี้ออกจากร่างไป สิงอยู่ในร่างอื่นต่อไป เหมือนถอดเสื้อผ้าเก่าสวมเสื้อผ้าใหม่ หรือออกจากเรือนเก่าไปอยู่ในเรือนใหม่ ได้เสวยสุขหรือทุกข์ เป็นต้น สุดแต่กรรมที่ได้ทำไว้ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน และเข้าถึงความบริสุทธิ์จากบาปโดยสิ้นเชิง จึงจะได้กลับเข้ารวมกับปรมาตมันดังเดิม ไม่เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป, ปรมาตมันนี้ ก็คือ พรหม หรือ พรหมัน นั่นเอง
  21. ประมาณ : การวัด, การกะ, เครื่องวัด, เกณฑ์, การถือเกณฑ์; บุคคลในโลกแบ่งตามประมาณคือหลักเกณฑ์ในใจที่ใช้วัดในการที่จะเกิดความเชื่อถือหรือความนิยมเลื่อมใส ท่านแสดงไว้ ๔ จำพวก คือ ๑.รูปประมาณ หรือ รูปัปปมาณิกา ผู้ถือรูปร่าง เป็นประมาณ ๒.โฆษประมาณ หรือ โฆสัปปมาณิกา ผู้ถือเสียงหรือชื่อเสียงเป็นประมาณ ๔.ธรรมประมาร หรือ ธัมมัปปมาณิกา ผู้ถือธรรมคือเอาเนื้อหาสาระเหตุผลหลักการและความถูกต้องเป็นประมาณ
  22. ปรามาส : (ปะรามาด) การจับต้อง, การยึดฉวย, การจับไว้มั่น, การลูบหรือเสียดสีไปมา, ความยึดมั่น; มักแปลกันว่า การลูบคลำ
  23. พุทธศาสนา : คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อย่างกว้างในบัดนี้ หมายถึง ความเชื่อถือ การประพฤติปฏิบัติ และกิจการทั้งหมดของหมู่ชนผู้กล่าวว่าตนนับถือพระพุทธศาสนา
  24. มรรค : ทาง, หนทาง 1.มรรค ว่าโดยองค์ประกอบ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่าทางมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ เรียกสามัญว่า มรรคมีองค์ ๘ คือ ๑.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ ๒.สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ๓.สัมมาวาจา เจรจาชอบ ๔.สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ ๕.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ๖.สัมมาวายามะ เพียรชอบ ๗.สัมมาสติ ระลึกชอบ ๘.สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ 2.มรรค ว่าโดยระดับการให้สำเร็จกิจ คือ ทางอันให้ถึงความเป็นอริยบุคคลแต่ละขั้น, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด เป็นชื่อแห่งโลกุตตรธรรม คู่กับผล มี ๔ ชั้นคือ โสดาปัตติมรรค ๑ สกทาคามิมรรค ๑ อนาคามิมรรค ๑ อรหัตตมรรค ๑
  25. วาชเปยะ : “วาจาดูดดื่มใจ”, “น้ำคำควรดื่ม”, ความรู้จักพูด รู้จักทักทายปราศรัย มีถ้อยคำสุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผลมีประโยชน์ เป็นทางแห่งสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ (ข้อ ๔ ในราชสังคหวัตถุ ๔)
  26. วาชไปยะ : “วาจาดูดดื่มใจ”, “น้ำคำควรดื่ม”, ความรู้จักพูด รู้จักทักทายปราศรัย มีถ้อยคำสุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผลมีประโยชน์ เป็นทางแห่งสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ (ข้อ ๔ ในราชสังคหวัตถุ ๔)
  27. วิปัสสนูปกิเลส : อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, สภาพน่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ คือ ๑.โอภาส แสงสว่าง ๒.ปีติ ความอิ่มใจ ๓.ญาณ ความรู้ ๔.ปัสสัทธิ ความสงบกายและจิต ๕.สุข ความสบายกาย สบายจิต ๖.อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ ๗.ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี ๘.อุปัฏฐาน สติชัด ๙.อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง ๑๐.นิกันติ ความพอใจ
  28. เวทมนตร์ : คำที่เชื่อถือว่าศักดิ์สิทธิ์ บริกรรมแล้วให้สำเร็จความประสงค์
  29. เวสารัชชกรณธรรม : ธรรมทำความกล้าหาญ, ธรรมเป็นเหตุให้กล้าหาญ, คุณธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้า มี ๕ อย่าง คือ ๑.ศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ๒.ศีล มีความประพฤติดีงาม ๓.พาหุสัจจะ ได้สดับหรือศึกษามาก ๔.วิริยารัมภะ เพียรทำกิจอยู่อย่างจริงจัง ๕.ปัญญา รู้รอบและรู้ชัดเจนในสิ่งที่ควรรู้
  30. ศาสนา : คำสอน, คำสั่งสอน; ปัจจุบันใช้หมายถึงลัทธิความเชื่อถืออย่างหนึ่งๆ พร้อมด้วยหลักคำสอน ลัทธิพิธี องค์การ และกิจการทั่วไปของหมู่ชนผู้นับถือลัทธิความเชื่อถืออย่างนั้นๆ ทั้งหมด
  31. สังโยชน์ : กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่ ๑.สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๓.สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต ๔.กามราคะ ความติดใจในกามคุณ ๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ข.อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่ ๖.รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต ๗.อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม ๘.มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ ๙.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๑๐.อวิชชา ความไม่รู้จริง; พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้, พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย, พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ; ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.กามราคะ ๒.ปฏิฆะ ๓.มานะ ๔.ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕.วิจิกิจฉา ๖.สีลัพพตปรามาส ๗.ภวราคะ (ความติดใจในภพ) ๘.อิสสา (ความริษยา) ๙.มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐.อวิชชา
  32. สัทธาจริต : พื้นนิสัยหนักในสัทธา เชื่อง่าย พึงแก้ด้วยปสาทนียกถา คือถ้อยคำที่นำให้เกิดความเลื่อมใสในทางที่ถูก ที่ควร และด้วยความเชื่อที่มีเหตุผล (ข้อ ๔ ในจริต ๖)
  33. สัมมาปาสะ : “บ่วงคล้องไว้มั่น”, ความรู้จักผูกผสานรวมใจประชาชน ด้วยการส่งเสริมอาชีพ เช่น ให้คนจนกู้ยืมทุนไปสร้างตัวในพาณิชยกรรม เป็นต้น (ข้อ ๓ ใน ราชสังคหวัตถุ ๔)
  34. อทิสสมานกาย : กายที่มองไม่เห็น, ผู้มีกายไม่ปรากฏ, ไม่ปรากฏร่าง, มองไม่เห็นตัว กล่าวคือ เป็นวิสัยของผู้มีฤทธิ์บางประเภท (วิกุพพนฤทธิ์) อาจทำการบางอย่างโดยไม่ให้ผู้อื่นมองเห็นร่างกาย; อีกอย่างหนึ่ง เป็นความเชื่อของพราหมณ์ว่าบรรพบุรุษที่ตายไป มีถิ่นเป็นที่อยู่เรียกว่าปิตฤโลก ยังทรงอยู่ด้วยเป็นอทิสสมานกาย ความเชื่อนี้คนไทยก็รับมาแต่ให้บรรพบุรุษเหล่านั้น คงอยู่ที่บ้านเรือนเดิม อย่างที่เรียกว่า ผีเรือน
  35. อธิโมกข์ : 1) ความปลงใจ, ความตกลงใจ, ความปักใจในอารมณ์ 2) ความน้อมใจเชื่อ, ความซาบซึ้งศรัทธาหรือเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ซึ่งทำให้จิตใจเจิดจ้าหมดความเศร้าหมอง แต่ไม่เป็นไปตามแนวทางแห่งเหตุผล
  36. อธิษฐาน : 1) ในทางพระวินัย แปลว่า การตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ คือ ตั้งเอาไว้เป็นของนั้นๆ หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะใช้เป็นของประจำ ตัวชนิดนั้นๆ เช่น ได้ผ้ามาผืนหนึ่ง ตั้งใจว่าจะใช้เป็นอะไร คือจะเป็นสังฆาฏิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก ก็อธิษฐานเป็นอย่างนั้นๆ เมื่ออธิษฐานแล้ว ของนั้นเรียกว่าเป็นของอธิษฐาน เช่น เป็นสังฆาฏิอธิษฐาน จีวรอธิษฐาน (นิยมเรียกกันว่า จีวรครอง) ตลอดจนบาตรอธิษฐาน ส่วนของชนิดนั้น ที่ได้เพิ่มมาอีกหรือเกินจากนั้นไปก็เป็นอติเรก เช่น เป็นอติเรกจีวร อติเรกบาตร, คำอธิษฐาน เช่น “อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺามิ” (ถ้าอธิษฐานของอื่น ก็เปลี่ยนไปตามชื่อของนั้น เช่น เป็น อุตฺตราสงฺคํ, อนฺตรวาสกํ เป็นต้น) 2) ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความมั่นคง เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน (ข้อ ๘ ในบารมี ๑๐), ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่า ความตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ความตั้งจิตปรารถนา
  37. อปริหานิยธรรม : ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม, ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว มี ๗ อย่าง ที่ตรัสสำหรับภิกษุ (ภิกขุอปริหาริยธรรม) ยกมาแสดงหมวดหนึ่ง ดังนี้ ๑) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ๒) เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ ๓) ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ ๔) ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน ๕) ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น ๖) ยินดีในเสนาสนะป่า ๗) ตั้งในอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข
  38. อัตตวาทุปาทาน : การถือมั่นวาทะว่าตน คือ ความยึดถือสำคัญมั่นหมายว่า นั่นนี่เป็นตัวตน เช่น มองเห็นเบญจขันธ์เป็นอัตตา, อย่างหยาบขึ้นมา เช่น ยึดถือมั่นหมายว่า นี่เรา นั่นของเรา จนเป็นเหตุแบ่งแยกเป็นพวกเรา พวกเขา และเกิดความถือพวก (ข้อ ๔ ในอุปาทาน ๔)
  39. อุปาทิ : 1) สภาพที่ถูกกรรมกิเลสถือครอง, สภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น, เบญจขันธ์ 2) กิเลสเป็นเหตุถือมั่น, ความยึดมั่นถือมั่น, อุปาทาน
  40. กระแสความ : แนวความ
  41. อนุสนธิ : การติดต่อ, การสืบเนื่อง, ความ หรือเรื่องที่ติดต่อหรือสืบเนื่องกันมา
  42. กตเวทิตา : ความเป็นคนกตเวที, ความเป็นผู้สนองคุณท่าน
  43. กตัญญุตา : ความเป็นคนกตัญญู, ความเป็นผู้รู้คุณท่าน - gratitude; gratefulness; appreciation.
  44. กตัญญูกตเวทิตา : ความเป็นคนกตัญญูกตเวที - the quality of being a grateful person; gratitude; gratefulness.
  45. กรรมวาจาสมบัติ : ความสมบูรณ์แห่งกรรมวาจา, คำสวดประกาศถูกต้อง ใช้ได้
  46. กรรมสิทธิ์ : ความเป็นเจ้าของทรัพย์, สิทธิที่ได้ตามกฎหมาย
  47. กรุณา : ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์, ความหวั่นใจ เมื่อเห็นผู้อื่นมีทุกข์ คิดหาทางช่วยเหลือปลดเปลื้องทุกข์ของเขา ดู พรหมวิหาร -compassion, pity.
  48. กังขาวิตรณวิสุทธิ : ความบริสุทธิ์ด้วยหมดสงสัยในนามรูป คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้ว่า เพราะอะไรเกิดนามรูปจึงเกิด เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ
  49. กัตตุกัมยตาฉันทะ : ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ, ความต้องการที่จะทำ ได้แก่ ฉันทะที่เป็นกลางๆ ดีก็ได้ ชั่วก็ได้ ต่างจากกามฉันทะที่เป็นแต่ฝ่ายชั่ว
  50. กัมมวิปากชา อาพาธา : ความเจ็บไข้ เกิดแต่วิบากของกรรม
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1095

(0.0471 sec)