Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คะแนนเสียง, เสียง, คะแนน , then คนน, คะแนน, คะแนนเสียง, สยง, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คะแนนเสียง, 989 found, display 1-50
  1. คะแนนเสียง : น. คะแนนที่ลงในการออกเสียง.
  2. คะแนน : น. เครื่องหมายในการนับ, หน่วยที่ใช้กําหนดค่าในการสอบหรือ แข่งขันเป็นต้น.
  3. หัวคะแนน : (ปาก) น. ผู้รับหาคะแนนเสียงให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง.
  4. ออกเสียง : ก. เปล่งเสียง; ลงคะแนนเสียง; ลงคะแนนเลือกตั้ง; ออกความเห็น.
  5. คะแนนนิยม : น. ความนิยมที่แสดงออกว่ามีมากน้อยเพียงใด.
  6. คูหา : น. ถํ้า; สิ่งก่อสร้างเป็นห้อง ๆ อย่างตึกแถว แต่ละห้องเรียกว่า คูหา, ลักษณนามเรียกสิ่งก่อสร้างเช่นนั้น เช่น ตึกแถวนี้มี ๑๐ คูหา; โดย อนุโลมใช้เรียกช่องที่กั้นไว้เป็นสัดส่วนสำหรับใช้ประโยชน์อย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น คูหาลงคะแนนในที่เลือกตั้งสำหรับใช้ในการกาบัตร ออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง.
  7. ท่วมท้น : ว. มากมายเหลือล้น เช่น ได้คะแนนเสียงท่วมท้น.
  8. ประชามติ : น. มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออก ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง. (อ. plebiscite); มติของประชาชน ที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายสําคัญที่ได้ผ่าน สภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสําคัญในการบริหาร ประเทศ. (อ. referendum).
  9. ฝักถั่ว : (ปาก) น. การแสดงความอ่อนน้อม อ้อนวอน หรือขอร้องโดย วิธียกมือไหว้ เช่น มืออ่อนเป็นฝักถั่ว, การพลอยยกมือแสดงความ เห็นชอบตามเขาไป มักใช้พูดตําหนิ นักการเมืองในเวลาลงคะแนนเสียง.
  10. ไพ่ไฟ : (ปาก) น. บัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่ลงด้วยวิธีการทุจริต; อาวุธสงครามชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นแผ่นบรรจุสารเคมีซึ่งติดไฟง่าย.
  11. เลือกตั้ง : ก. เลือกสรรบุคคลให้เป็นผู้แทนหรือให้ดํารงตําแหน่ง ด้วยการออกเสียงลงคะแนน เช่น เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เลือกตั้งกรรมการ.
  12. สังเกตการณ์ : ก. เฝ้าดูหรือศึกษาเหตุการณ์หรือเรื่องราวพอรู้เรื่อง. น. เรียกผู้เข้าร่วมประชุมที่ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงว่า ผู้สังเกตการณ์.
  13. โหวต : [โหฺวด] (ปาก) ก. ออกเสียงลงคะแนน. (อ. vote).
  14. กระจายเสียง : ก. ส่งเสียงแพร่ไกลออกไป.
  15. กระบอกเสียง : (ปาก) น. ผู้เป็นปากเป็นเสียงแทน.
  16. กระแสเสียง : น. เสียงที่แล่นไป, น้ำเสียง.
  17. กล่องเสียง : น. อวัยวะสำคัญในการเปล่งเสียงพูด ตั้งอยู่บริเวณส่วนบนของหลอดลม.
  18. ขึ้นเสียง : ก. ออกเสียงดังด้วยความโกรธ; เทียบเสียงเครื่องดนตรี.
  19. คำพ้องเสียง : น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมี ความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์.
  20. เครื่องบันทึกเสียง : น. เครื่องที่ใช้เปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็นรูปอื่น ซึ่งบันทึกเก็บไว้ได้ เช่น บันทึกลงบนแถบแม่เหล็กหรือลงบนร่องจานเสียง.
  21. ซาวเสียง : ก. ลองพูดหรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็น จากผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, หยั่งเสียง ก็ว่า.
  22. ทอดเสียง : ก. เอื้อนเสียงให้ยาวกว่าปรกติ.
  23. น้ำเสียง : น. กระแสเสียง, คําพูด; โดยปริยายหมายถึงคําพูดที่ส่อให้รู้ อารมณ์ที่มีอยู่ในใจ.
  24. ประสานเสียง : ก. ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเป็นหมู่ให้มีเสียงกลมกลืนกัน.
  25. ปากเสียง : ก. โต้เถียง, ทะเลาะ, ในคำว่า เป็นปากเสียง มีปากเสียง. น. ผู้พูดหรือโต้เถียงแทน เช่น ผู้แทนราษฎรเป็นปากเสียงของ ประชาชน.
  26. เป็นปากเสียง : ก. โต้เถียง เช่น เป็นปากเสียงกัน, พูดหรือโต้เถียงแทน เช่น หนังสือพิมพ์เป็นปากเสียงของประชาชน, เป็นปากเป็นเสียง ก็ว่า.
  27. แผ่นเสียง : น. วัสดุแผ่นกลมบางซึ่งบันทึกเสียงไว้ในลักษณะเป็น ร่องบนผิวพื้น เมื่อใส่บนแผ่นหมุนของหีบเสียง วางเข็มลงในร่อง แล้วให้จานหมุนไป ก็จะเกิดเสียงตามที่บันทึกไว้, จานเสียง ก็เรียก.
  28. พระคะแนน : น. พระเครื่องขนาดเล็ก ใช้เป็นสิ่งกำหนดนับจำนวน พระเครื่องที่สร้างขึ้น เช่น เมื่อสร้างพระเครื่องครบ ๑๐๐ องค์ ก็มี พระคะแนน ๑ องค์.
  29. มีชื่อ, มีชื่อเสียง : ว. มีเกียรติยศชื่อเสียง.
  30. มีเสียง : ก. เถียง, มักใช้ในความปฏิเสธว่า อย่ามีเสียงนะ.
  31. ลงคะแนน : ก. แสดงความเห็นโดยลงเป็นคะแนน.
  32. ลากเสียง : ก. อาการที่พูดยานคางในความว่า พูดลากเสียง.
  33. ไล่เสียง : ก. ไล่ระดับเสียงดนตรีจากเสียงต่ำไปหาสูงหรือจากเสียง สูงไปหาต่ำ เพื่อให้เสียงตรงกับโน้ตเพลง.
  34. วิทยุกระจายเสียง : น. การแพร่สัญญาณเสียงออกอากาศ โดยใช้คลื่นวิทยุ.
  35. ส่งเสียง : ก. ร้องเสียงดัง, แผดเสียง, เช่น ดีใจอะไรส่งเสียงมาแต่ไกล ส่งเสียงอื้ออึง.
  36. ส้อมเสียง : น. อุปกรณ์ทำด้วยโลหะเป็นรูปอักษร U มีก้านสำหรับ จับยึด เมื่อเคาะจะเกิดเสียงที่มีความถี่คงที่ เป็นเวลานาน ใช้เป็นความถี่ อ้างอิง เช่น ใช้เทียบเสียงเครื่องดนตรี.
  37. หยั่งเสียง : ก. ลองพูดหรือทําอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็นจาก ผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, ซาวเสียง ก็ว่า.
  38. หางเสียง : น. กระแสเสียงที่ลงท้ายซึ่งแสดงนิสัย ความรู้สึก หรืออารมณ์ ของผู้พูดเป็นต้น เช่นโกรธ อ่อนโยน.
  39. หีบเสียง : น. เครื่องทําให้จานเสียงหมุนแล้วมีเสียงออกมา.
  40. ให้เสียง : ก. กระทำเสียงใด ๆ ให้ผู้อื่นรู้ตัวล่วงหน้าก่อนที่จะปรากฏกาย เช่น ฉันตกใจ เธอเข้ามาไม่ให้เสียงเลย.
  41. อัดแผ่นเสียง : ก. บันทึกเสียงลงในแผ่นเสียง.
  42. อัดเสียง : ก. บันทึกเสียงลงในแถบบันทึกเสียงหรือฟิล์มเป็นต้น.
  43. ชื่อเสียง : น. เกียรติยศ, ชื่อ ก็ว่า เช่น เสียชื่อ มีชื่อ.
  44. ต้นเสียง : น. คนร้องนํา.
  45. ตะโพกสุดเสียงสังข์ : (สำ) น. เรียกตะโพกหญิงที่ผายออกมาก.
  46. เป็นปากเป็นเสียงกัน : ก. ทะเลาะกัน.
  47. มีปากมีเสียง : ก. ทะเลาะกัน, ทุ่มเถียงกัน.
  48. ไม่ฟังเสียง : ก. ดื้อดึง, ไม่ยอมเชื่อฟัง.
  49. หาเสียง : ก. แสวงหาการสนับสนุน.
  50. ภาษา : น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษา ราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและ แต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษา จาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-989

(0.1793 sec)