Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คุม , then คม, คุม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คุม, 190 found, display 1-50
  1. คุม : ก. คอยกํากับดูแล เช่น คุมงาน คุมพล คุมพวก, ป้องกันรักษา เช่น คุมของ คุมบ่อน.
  2. คุม : ก. รวมสิ่งที่กระจายอยู่ให้เข้าชุดเข้าพวกเป็นระเบียบเดียวกัน เช่น คุมยา คุมเรือน.
  3. คุมขัง : (กฎ) ก. คุมตัว ควบคุม ขัง กักขัง หรือจำคุก.
  4. คุมตัว : ก. ควบคุมไว้หรือจับกุมไว้ เช่น ตำรวจคุมตัวผู้ร้าย.
  5. คุมกำเนิด : ก. ควบคุมการเกิด, ป้องกันการตั้งครรภ์.
  6. คุมแค้น : ก. ผูกใจเจ็บและคิดอยากแก้แค้น, เก็บเอาความแค้นเข้าไว้.
  7. คุมเชิง : ก. คอยระวังท่วงทีของอีกฝ่ายหนึ่ง.
  8. คุมธาตุ : ก. ทําให้ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ในร่างกายเป็นปรกติ สมํ่าเสมอกัน.
  9. คุมเหง : (ปาก) ก. ข่มเหง, รังแก, ใช้กำลังหรืออำนาจทำให้เดือดร้อน, กุมเหง ก็ว่า.
  10. กักคุม : ก. บังคับให้อยู่ในอารักขา.
  11. ผู้คุม : น. เจ้าพนักงานผู้ควบคุมดูแลนักโทษ.
  12. กุม : ก. เอาอุ้งมือปิด ป้อง กัน หรือ จับไว้ เช่น กุมขมับ กุมมือ กุมดาบ; คุม เช่น กุมตัว กุมสติ กุมอํานาจ.
  13. คุมนุม : (โบ) ก. คุม เช่น อนึ่งวิวาทด่าตีกันแล้วต่างคนต่างมาเรือน ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษไว้วัน. (สามดวง), ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษ ไว้วันหนึ่ง. (กฎ. ราชบุรี).
  14. กุมเหง : (ปาก) ก. ข่มเหง, รังแก, ใช้กําลังหรืออํานาจทําให้เดือดร้อน, คุมเหง ก็ว่า.
  15. แกรไฟต์ : [แกฺร-] น. อัญรูปหนึ่งของธาตุคาร์บอน ชื่อสามัญเรียกว่า พลัมเบโก (plumbago) หรือแร่ดินสอดํา ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง ๆ ทึบแสง อ่อนนุ่ม สีเทาเข้มถึงดํา เนื้ออ่อน เป็นตัวนําความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มักใช้ทําไส้ดินสอดํา เบ้าหลอมโลหะ น้ามันหล่อลื่นบางชนิด ไส้ถ่านไฟฉาย ไส้ไฟอาร์ก ใช้เป็นตัวลดความเร็วช่วยควบคุมจํานวนอนุภาคนิวตรอนใน เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. (อ. graphite).
  16. เข้าปิ้ง : ก. อาการที่ว่าวปักเป้าติดสายป่านว่าวจุฬาแล้วกระดิกไม่ไหว; อยู่ใน ความลําบากแก้ไขยาก, (ปาก) ถูกจับกุมคุมขัง, เข้าข่ายมีความผิดไปด้วย.
  17. คม ๑ : ก. ก้ม, คํานับ, ไหว้, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงคมในความหมายว่า ทรงไหว้. (กร่อนมาจาก บังคม). (ข.).
  18. คม ๒ : น. ส่วนบางมากจนสามารถบาดได้ เช่น คมมีด คมดาบ คมหญ้า. ว. ไม่ทื่อ เช่น มีดคม, บาดได้ เช่น ป่านคม; เฉียบแหลม เช่น ปัญญาคม; ชัดเจน เช่น ภาพคม เส้นคม, โดยปริยายใช้สําหรับตาและปากซึ่งมี ลักษณะอย่างของที่คมอาจบาดหรือแทงใจได้.
  19. ควบคุม : ก. ดูแล, กํากับดูแล, กักขัง; (กฎ) คุมตัวหรือกักขังผู้ถูกจับโดย พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจในระหว่างสืบสวน.
  20. คว่ำกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุก จึงพาลล้มกระดานเลิกเล่นกัน โดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบนกระดานให้ กระจัดกระจายหรือเทตัวหมากรุกบนกระดานเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง การที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานเห็นว่าจะคุมเสียงในการประชุมไม่อยู่ เลยสั่งปิดประชุมเป็นการ คว่ำกระดานเสีย,'' ล้มกระดาน ก็ว่า.
  21. คัดท้าย : ก. คอยคุมให้ไปตรงตามที่ต้องการ, โดยปริยายหมายความว่า อยู่ตําแหน่งสุดท้ายหรือเกือบสุดท้าย.
  22. ค่ายกักกัน : น. สถานที่คุมขังเชลยศึกหรือนักโทษทางการเมือง.
  23. เครื่องผูก : น. เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกด้วยหวาย เป็นต้นว่า เรือนเครื่องผูก, คู่กับ เรือนเครื่องสับ.
  24. เครื่องเรือน : น. เครื่องปรุงเรือนหรือเครื่องไม้ที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เช่น ขื่อ เสา; เครื่องตกแต่งภายในเรือน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
  25. เครื่องสับ : น. เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้ว่า เรือนเครื่องสับ, คู่กับ เรือนเครื่องผูก, เรือนฝากระดาน ก็เรียก.
  26. โครง : [โคฺรง] น. ร่างของสิ่งต่าง ๆ ที่คุมกันอยู่เป็นรูป เช่น โครงกระดูก โครงว่าว.
  27. โครงสร้าง : น. ส่วนประกอบสําคัญ ๆ ซึ่งนำมาคุมเข้าด้วยกันให้เป็น รูปร่างเดียวกัน.
  28. จำคุก : (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ที่ให้เอาตัวผู้ต้องโทษไปคุมขัง ไว้ในเรือนจำ.
  29. แจ ๑ : ว. กระชั้นชิด, ไม่คลาด, ไม่ห่าง, (ใช้ในอาการที่คุมหรือติดตาม) เช่น คุมแจ ตามแจ.
  30. ใจดี : ว. มีใจเมตตากรุณา, ไม่โกรธง่าย; คุมใจไว้ให้มั่น เช่น ใจดีสู้เสือ.
  31. ฉม่อง : [ฉะหฺม่อง] น. คนตีฆ้อง เช่น พานรนายฉม่องว่องไว คุมคนธรรพ์ไป ประจานให้ร้องโทษา. (คําพากย์).
  32. ชุด ๓ : น. ของที่คุมเข้าเป็นสํารับ เช่น ชุดนํ้าชา ชุดสากล, คนที่เป็น พวกเดียวกันได้ เช่น ชุดระบํา, การแสดงตอนหนึ่ง ๆ ของ โขนเป็นต้น เช่น ชุดพรหมาสตร์ ชุดนางลอย, ลักษณนาม เรียกของหรือคนที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น เสื้อผ้าชุดหนึ่ง; การบรรเลงเพลงไทยซึ่งมีทํานองคล้ายคลึงกัน เช่น ชุดจีน ชุดแขก.
  33. เชิง ๒ : ก. แง่งอน, กระบวน, เช่น ทําเชิง เอาเชิง; ท่าที, ท่วงที, เช่น คุมเชิง หยั่งเชิง ลองเชิง.
  34. ตะราง : น. ที่คุมขังนักโทษ.
  35. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  36. ถือโกรธ : ก. คุมแค้น, ผูกใจโกรธ.
  37. ทัพสัมภาระ : [ทับพะ-] น. สิ่งหรือเครื่องอันเป็นส่วนประกอบที่ จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เรือ รถ หรือเกวียน เป็นต้น. (ป.).
  38. ทางด่วน : น. ทางหรือถนนซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้เดินทางได้รวดเร็ว และปลอดภัย มีการควบคุมและกําหนดจุดให้ยานพาหนะเข้าออก เฉพาะที่ และไม่มีทางอื่นตัดผ่านในระดับเดียวกัน.
  39. ธาตุ ๑, ธาตุ- : [ทาด, ทาตุ, ทาดตุ] น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสําคัญที่คุมกันเป็นร่างของ สิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม แต่ก็อาจมีธาตุอื่น ๆ อีก เช่น อากาศธาตุวิญญาณธาตุ ธาตุไม้ ธาตุทอง ธาตุเหล็ก. (ป.).
  40. นิรยบาล : น. ผู้คุมนรก. (ป.).
  41. เบญพาด : [เบนยะ-] น. ตัวไม้ที่คุมกันเข้าเป็นเครื่องคํ้ายันเสาตะลุงให้มั่นคง. (รูปภาพ เบญพาด)
  42. ประกบตัว : ก. ติดตามอย่างใกล้ชิด เช่น ตํารวจประกบตัวผู้ร้าย, คุมตัวอย่างใกล้ชิด เช่น ประกบตัวผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามในการเล่น ฟุตบอลเป็นต้น.
  43. ประกอบ : ก. เอาชิ้นส่วนต่าง ๆ มารวมหรือคุมกันเข้าเป็นรูปร่างตามที่ต้องการ เช่น ประกอบรถยนต์; ทํา เช่น ประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ; ประสมหรือปรุงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประกอบยา; เสริม, เพิ่มเติม, เช่น อธิบายประกอบ.
  44. ประกันเชิงลา : (โบ) ก. ประกันตัวออกมาจากที่คุมขังได้เป็นคราว ๆ คราวละ ๓ วัน หรือ ๗ วัน.
  45. ปลดปล่อย : ก. ปล่อยจากที่คุมขังหรือการผูกมัด, ให้เสรีภาพ.
  46. ภูตรูป : [พูตะรูบ] น. รูปที่เกิดแล้ว ได้แก่ ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ซึ่ง คุมกันเข้าเป็นมนุษย์และสัตว์. (ป., ส.).
  47. แม่ทัพ : น. นายทัพ, ผู้ทำหน้าที่คุมกองทัพ, เช่น แม่ทัพบก แม่ทัพเรือ แม่ทัพอากาศ แม่ทัพภาค.
  48. ยาธาตุ : น. ยาคุมให้ท้องเป็นปรกติ.
  49. รักษาประตู : ก. คุมอยู่หน้าประตูในการเล่นฟุตบอลคอยป้องกันไม่ให้ ลูกฟุตบอลเข้าไป.
  50. รา ๔ : (กลอน) ส. เราทั้งคู่, เขาทั้งคู่, ในคําว่า สองรา, ต่อมาใช้หมายถึงเกิน ๒ ก็ได้ เช่น เร่งหาประกันมาทันใด ผู้คุมเหวยรับไว้ทั้งสามรา. (ขุนช้าง ขุนแผน).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-190

(0.0654 sec)