Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คุ้น , then คน, คุ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คุ้น, 1661 found, display 1-50
  1. คุ้น : ก. รู้จักชอบพอกันมานาน เช่น เป็นคนคุ้นกัน, เคยผ่านหูหรือผ่านตา บ่อย ๆ เช่น คุ้นหน้า คุ้นตา คุ้นหู.
  2. คุ้นเคย : ก. รู้จักชอบพอสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น พวกเขาทำงานด้วยกัน มานาน เลยคุ้นเคยกัน, เคยเห็นเคยทําบ่อย ๆ จนชิน เช่น เขาเดินในที่มืด ได้เพราะคุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้.
  3. เคย ๒ : เคยทํา = ได้ทํามาแล้ว เคยเห็น = ได้เห็นมาแล้ว, บางทีใช้พูดละกริยา ที่ประกอบเสีย เหลือแต่ว่า เคย ก็มี เช่น เคยไปหรือไม่เคย ไม่เคยเลย. ก. ชิน, คุ้น, เช่น เคยสนาม เคยเวที.
  4. มักคุ้น, มักจี่ : ก. ชอบพอกัน, คุ้นเคยกัน, ใช้ว่า รู้จักมักคุ้น รู้จักมักจี่.
  5. รู้จักมักคุ้น, รู้จักมักจี่ : ก. คุ้นเคยกัน เช่น เขารู้จักมักคุ้นกับน้องฉันมา นานแล้ว.
  6. เชื่อง : ว. ไม่เปรียว, ที่คุ้นกับคน, (ใช้แก่สัตว์).
  7. ที่รัก : น. คนรัก, คําแบบแสดงถึงความสุภาพ ความเคารพ ความ นับถือเวลาพูดในที่ชุมนุมชนเป็นต้น เช่น พี่น้องที่รักทั้งหลาย หรือในจดหมายที่มีไปถึงผู้ที่คุ้นเคยกัน เช่น แดงที่รัก.
  8. เปรียว : [เปฺรียว] ว. ไม่เชื่อง, ว่องไว, (ใช้แก่สัตว์บางชนิดเช่นนกหรือไก่ เป็นต้นที่ไม่คุ้นคน), โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น; เพรียว.
  9. รู้จัก : ก. เคยพบเคยเห็นและจําได้ เช่น คนกรุงเทพฯ รู้จักวัดพระแก้วดี แม้เด็ก ๆ ก็ยังรู้จักหนูและแมว; คุ้นเคยกัน เช่น นายดำกับนายแดงรู้จัก กันมาตั้งแต่เด็ก ๆ, รู้จักมักคุ้น ก็ว่า; รู้ เช่น รู้จักคิด รู้จักทำ.
  10. สนิทสนม : ก. ชอบพอ, คุ้นเคยกันดี, เช่น สองคนนี้สนิทสนมกันมา
  11. หน้าเดิม : ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น งานนี้มี แต่คนหน้าเดิม, หน้าเก่า ก็ว่า.
  12. เกี่ยวก้อย : (สำ) ก. อาการที่แสดงความคุ้นเคยสนิทสนมกัน เช่น เขาเกี่ยวก้อยกันไปเที่ยวเชียงใหม่.
  13. คลุมถุงชน : (สํา) น. ลักษณะการแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดการให้ โดยที่เจ้าตัว ไม่รู้จักคุ้นเคยหรือรักกันมาก่อน.
  14. เจน : ว. คุ้น, ชิน, เช่น เจนตา, ชํานาญ เช่น เจนสังเวียน, จําได้แม่นยํา เช่น เจนทาง.
  15. ชิน ๒ : ก. เคยมาแล้วบ่อย ๆ, คุ้นหรือเจน.
  16. ทอดสะพาน : ก. ใช้สื่อสายเข้าไปติดต่อทําความสนิทสนมกับผู้ที่ ต้องการคุ้นเคย, แสดงกิริยาท่าทางเป็นทํานองอยากติดต่อด้วย.
  17. เป็นกันเอง : ว. มีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน.
  18. ผิดกลิ่น : ว. แปลกไปจากกลิ่นที่คุ้นเคยและทำให้เกิดปฏิกิริยา.
  19. ผิดอากาศ : ก. ผิดไปจากอากาศที่เคยคุ้น, แพ้อากาศ.
  20. พบปะ : ก. พบด้วยความสนิทสนมคุ้นเคย.
  21. พิศวาส : [พิดสะหฺวาด] ว. รักใคร่, สิเนหา, เช่น ไม่น่าพิศวาส. (ส. วิศฺวาส; ป. วิสฺสาส ว่า ความคุ้นเคย).
  22. เพื่อน ๑ : น. ผู้ชอบพอรักใคร่กัน, ผู้สนิทสนมคุ้นเคยกัน, เช่น เขามีเพื่อนมาก, ผู้ร่วมสถาบันหรือร่วมอาชีพเป็นต้น เช่น เพื่อนร่วมโรงเรียน เพื่อน ร่วมรุ่น เพื่อนข้าราชการ เพื่อนกรรมกร, ผู้ร่วมธุระ เช่น อยู่เป็น เพื่อนกันก่อน ไปเป็นเพื่อนกันหน่อย, ผู้อยู่ในสภาพเดียวกัน เช่น เพื่อนมนุษย์ เพื่อนร่วมโลก.
  23. เพื่อนฝูง : น. เพื่อนที่รู้จักมักคุ้นกัน.
  24. ภาษาปาก : น. ภาษาพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า.
  25. มิตร, มิตร- : [มิด, มิดตฺระ-] น. เพื่อนรักใคร่คุ้นเคย เช่น มิตรแท้ มิตรเทียม ฉันมิตร. (ส.; ป. มิตฺต).
  26. รัตนาภรณ์ : น. เหรียญบำเหน็จส่วนพระองค์ที่สร้างขึ้นสำหรับพระราชทาน แก่ผู้จงรักภักดีและทรงคุ้นเคยรู้จัก เพื่อเป็นเครื่องหมายในพระมหากรุณาธิคุณ มี ๕ ชั้น, เดิมเรียกว่า รจนาภรณ์.
  27. วะ ๑ : ว. บ๊ะ, คำที่เปล่งออกมาแสดงอารมณ์ผิดคาดหรือผิดหวังเป็นต้น, อุวะ หรือ ว้า ก็ว่า; คำบอกเสียงต่อท้ายประโยคแสดงความคุ้นเคย เป็นกันเองหรือแสดงความไม่สุภาพ เช่น ไปไหนวะ.
  28. วิสาสะ : น. ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม; การถือว่าเป็นกันเอง เช่น หยิบของไปโดยถือวิสาสะ. ก. พูดจาปราศรัยอย่างคุ้นเคยกัน เช่น ไม่เคยวิสาสะกันมาก่อน. (ป. วิสฺสาส; ส. วิศฺวาส).
  29. สันถว, สันถวะ : [สันถะวะ] น. การนิยมชมชอบกัน, การสรรเสริญซึ่งกันและกัน; ความคุ้นเคย, ความสนิทสนมกัน. (ป.; ส. สํสฺตว).
  30. หน้าเก่า : ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น ดารา หน้าเก่า ลูกค้าหน้าเก่า, หน้าเดิม ก็ว่า.
  31. อุตสาหกรรมศิลป์ : [อุดสาหะกําสิน] น. วิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิด ความชํานาญในการประดิษฐ์และเกิดความคุ้นเคยกับการใช้ เครื่องมือและเครื่องกล.
  32. คน ๑ : น. มนุษย์.
  33. คน ๒ : ก. กิริยาที่เอามือหรือสิ่งอื่นกวนเพื่อทําสิ่งที่นอนก้นหรือที่เกาะกันอยู่ เป็นกลุ่มเป็นก้อนให้กระจายขยายตัว หรือกวนสิ่งต่าง ๆ ให้เข้ากัน.
  34. คนเก่าคนแก่ : น. ข้าเก่าเต่าเลี้ยง; คนที่มีพื้นเพอยู่ที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน.
  35. คนดี : น. คนที่มีคุณความดี, คนที่มีคุณธรรม.
  36. คนดีผีคุ้ม : (สํา) น. คนทําดีเทวดาย่อมคุ้มครอง, มักใช้เข้าคู่กับ คนร้ายตายขุม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม.
  37. คนพรรค์นั้น : น. คนพวกนั้น (มักใช้ในทางดูหมิ่นดูแคลน).
  38. คนเมือง : น. คําเรียกคนพื้นเมืองถิ่นพายัพ.
  39. คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ : (สํา) น. คนรักมีน้อย คนชังมีมาก.
  40. คนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. คนวิกลจริตซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ.
  41. คนสาบสูญ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้ไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และ ไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา ๕ ปี และศาลมีคําสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ระยะเวลา ๕ ปีดังกล่าว ลดลงเหลือ ๒ ปี นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบ หรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว หรือนับแต่วัน ที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทางไป ได้อับปาง ถูกทำลายหรือสูญหาย หรือนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิต นอกจากที่ระบุไว้ใน ๒ กรณีดังกล่าว ข้างต้นได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น.
  42. คนเสมือนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงาน ของตนเองได้ เพราะกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติ สุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งให้เป็นคน เสมือนไร้ความสามารถ.
  43. คนโอบ : น. ขนาดของของกลมเช่นเสา ต้นไม้ ที่วัดโดยรอบโดยวิธีใช้ แขนทั้ง ๒ ข้างโอบ เช่น เสาขนาด ๒ คนโอบ ต้นไม้ขนาด ๔ คนโอบ.
  44. คนดิบ : น. ชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ.
  45. คนต้องขัง : (กฎ) น. บุคคลที่ถูกขังไว้ตามหมายขัง.
  46. คนสุก : น. ชายที่บวชเป็นพระภิกษุและสึกแล้ว.
  47. คนโสด : น. ชายหรือหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน, มักใช้หมายถึง ชายโสด.
  48. เกินคน : ว. ยิ่งกว่าคนสามัญ เช่น ฉลาดเกินคน เลวเกินคน.
  49. เข้าผู้เข้าคน : ก. ติดต่อกับคนอื่น ๆ ได้ดี.
  50. คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ : (สํา) ก. จะพิจารณาคนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้พิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1661

(0.0919 sec)