Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คู , then คุ, คู .

Budhism Thai-Thai Dict : คู, 16 found, display 1-16
  1. โภชชยาคู : ข้าวต้มสำหรับฉันให้อิ่ม เช่น ข้าวต้มหมู เป็นต้น มีคติอย่างเดียวกันกับอาหารหนัก เช่น ข้าวสวยต่างจากยาคูที่กล่าวถึงตามปกติในพระวินัย ซึ่งเป็นของเหลวใช้สำหรับดื่ม ภิกษุรับนิมนต์ในที่แห่งหนึ่งไว้ฉันยาคูไปก่อนไม่ได้ ดู ยาคู
  2. ยาคู : ข้าวต้ม, เป็นอาหารเบาสำหรับฉันรองท้องก่อนถึงเวลาฉันอาหารหนักเป็นของเหลว ดื่มได้ ซดได้ ไม่ใช่ของฉันให้อิ่ม เช่น ภิกษุดื่มยาคูก่อนแล้วไปบิณฑบาต ยาคูสามัญอย่างนี้ ที่จริงจะแปลว่าข้าวต้มหาถูกแท้ไม่ แต่แปลกันมาอย่างนั้นพอให้เข้าใจง่ายๆ ข้าวต้มที่ฉันเป็นอาหารมื้อหนึ่งได้อย่างที่ฉันกันอยู่โดยมากมีชื่อเรียกต่างออกไปอีกอย่างหนึ่งว่า ดู โภชชยาคู
  3. เมตตคูมานพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรีที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ณ ปาสาณเจดีย์
  4. อสีติมหาสาวก : พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ องค์ บางทีเรียกอนุพุทธ ๘๐ องค์ มีรายนามตามลำดับอักษร ดังนี้ (ที่พิมพ์ตัว เอน คือท่านที่เป็นเอตทัคคะด้วย): กังขาเรวต, กัปป, กาฬุทายี, กิมพิล, กุมารกัสสป, กุณฑธาน, คยากัสสป, ควัมปติ, จุนท, จูฬปันถก, ชตุกัณณิ, ติสสเมตเตยย, โตเทยย, ทัพพมัลลบุตร, โธตก, นทีกัสสป, นันท, นันทก, นันทก, นาคิต, นาลก, ปิงคิย, ปิณโฑลภารทวาช, ปิลินทวัจฉ, ปุณณก, ปุณณชิ, ปุณณมันตานีบุตร, ปุณณสุนาปรันต, โปสาล, พาลุกะ (พักกุละ ก็เรียก), พาหิย ทารุนีริย, ภคุ, ภัททิย (ศากยะ), ภัททิย, ภัทราวุธ, มหากัจจายน, มหากัปปิน, มหากัสสป, มหาโกฏฐิต, มหานาม, มหาปันถก, มหาโมคคัลลาน, เมฆิย, เมตตคู, โมฆราช, ยส, ยโสช, รัฏฐปาล, ราธ, ราหุล, เรวตขทิรวนิย, ลกุณฏกภัททิย, วักกลิ, วังคีส, วัปป, วิมล, สภิย, สาคต, สารีบุตร, สีวลี, สุพาหุ, สุภูติ, เสล, โสณกุฏิกัณณ, โสณโกฬิวิส, โสภิต, เหมก, องคุลิมาล, อชิต, อนุรุทธ, อัญญาโกณทัญญ, อัสสชิ, อานนท, อุทย, อุทายี, อุบาลี, อุปวาณ, อุปสีว, อุปเสนวังคันตบุตร, อุรุเวลกัสสป
  5. เจ้าอธิการแห่งอาหาร : ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับอาหาร มี ๔ อย่าง คือผู้จัดแจกภัต (ภัตตุเทสก์) ผู้แจกยาคู (ยาคุภาชก) ผู้แจกผลไม้ (ผลภาชก) และผู้แจกของเคี้ยว (ขัชชภาชก)
  6. ธุวยาคุ : ยาคูที่เขาถวายเป็นประจำ เช่นที่นางวิสาขาถวายเป็นประจำหรือที่จัดทำเป็นของวัดแจกกันเอง
  7. เภสัชชขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๖ แห่งคัมภีร์มหาวรรควินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องเภสัชคือ ยาบำบัดโรค ตลอดจนเรื่องยาคู อุทิสสมังสะ กัปปิยะอกัปปิยะ และกาลิก ๔
  8. ยาคุภาชกะ : ภิกษุผู้ได้รับสมมติคือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นผู้มีหน้าที่แจกยาคู
  9. สารท : เทศกาลทำบุญสิ้นเดือน ๑๐ เดิมเป็นฤดูทำบุญด้วยเอาข้าวที่กำลังท้อง (ข้าวรวงเป็นน้ำนม) มาทำยาคูและกวนข้าวปายาสเลี้ยงพราหมณ์ อย่างนี้เรียกว่ากวนข้าวทิพย์ ส่วนผู้นับถือพุทธศาสนานำคตินั้นมาใช้ แต่เปลี่ยนเป็นถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติในปรโลก สำหรับชาวบ้านทั่วไปมักทำแต่กระยาสารท เป็นต้น (ต่างจาก ศราทธ์)
  10. สุภัททะ วุฒบรรพชิต : “พระสุภัททะผู้บวชเมื่อแก่” ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการปรารภที่จะทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ก่อนบวช เป็นช่างตัดผมในเมืองอาตุมา มีบุตรชาย ๒ คน เมื่อบวชแล้วคราวหนึ่งได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์หมู่ใหญ่จะเสด็จมายังเมืองอาตุมา จึงให้บุตรทั้ง ๒ เอาเครื่องมือตัดผมออกไปเที่ยวขอตัดผมตามบ้านเรือนทุกแห่ง แลกเอาเครื่องปรุงยาคูมาได้มากมาย แล้วบัญชาการให้ผู้คนจัดเตรียมข้าวยาคูไว้เป็นอันมาก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง ก็นำเอาข้าวยาคูนั้นเข้าไปถวาย พระพุทธเจ้าตรัสถาม ทรงทราบความว่าพระสุภัททะได้ข้าวนั้นมาอย่างไรแล้ว ไม่ทรงรับและทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ๒ ข้อ คือ บรรพชิตไม่พึงชักชวนคนทำในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ และภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบกไม่พึงเก็บรักษาเครื่องตัดโกนผมไว้ประจำตัว จากการที่ได้ถูกติเตียนและเสียของเสียหน้าเสียใจ ในเหตุการณ์ครั้งนั้น พระสุภัททะก็ได้ผูกอาฆาตไว้ ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วได้ ๗ วัน พระสุภัททะร่วมอยู่ในคณะของพระมหากัสสปเถระ ซึ่งกำลังเดินทางจากเมืองปาวาสู่เมืองกุสินารา ระหว่างทางนั้น คณะได้ทราบข่าวพุทธปรินิพพานจากอาชีวกผู้หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นราคะ (คือพระปุถชน โสดาบัน และสกทาคามี) พากันร้องไห้คร่ำครวญเป็นอันมาก ในขณะนั้นเอง พระสุภัททะวุฒบรรพชิต ก็ร้องห้ามขึ้นว่า “อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไห้ไปเลย พวกเราพ้นดีแล้ว พระมหาสมณะนั้นคอยเบียดเบียนพวกเราว่าสิ่งนี้ควรแก่เธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักกระทำสิ่งนั้น” พระมหากัสสปเถระได้ฟังแล้วเกิดธรรมสังเวช ดำริว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง ๗ วัน ก็ยังเกิดเสี้ยนหนามขึ้นแล้วในพระศาสนา หากต่อไปคนชั่วได้พวกพ้องมีกำลังเติบกล้าขึ้น ก็จะทำพระศาสนาให้เสื่อมถอย ดังนั้น หลังจากเสร็จงานถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ท่านจึงได้ยกถ้อยคำของสุภัททะวุฒบรรพชิต นี้ขึ้นเป็นข้อปรารภ ชักชวนพระเถระทั้งหลายร่วมกันทำสังคายนาครั้งแรก
  11. องคุลิมาล : พระมหาสาวกองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า เคยเป็นมหาโจรโด่งดังเป็นบุตรของภัคควพราหมณ์ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าโกศล มารดาชื่อนางมันตานีพราหมณ์ เดิมชื่ออหิงสกะ (แปลว่าผู้ไม่เบียดเบียน) ไปศึกษาศิลปศาสตร์ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมืองตักสิลา มีความรู้และความประพฤติดี เพื่อนศิษย์ด้วยกันริษยา ยุอาจารย์ให้กำจัดเสีย อาจารย์ลวงด้วยอุบายให้ไปฆ่าคนครบหนึ่งพัน แล้วจะมอบวิชาวิเศษอย่างหนึ่งให้ จึงกลายเป็นมหาโจรผู้โหดร้ายทารุณ ตัดนิ้วมือคนที่ตนฆ่าตายแล้ว ร้อยเป็นพวงมาลัย จึงได้ชื่อว่า องฺคุลิมาล (แปลว่ามีนิ้วเป็นมาลัย) ภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดกลับใจได้ ขอบวช ต่อมาก็ได้สำเร็จพระอรหัต ท่านเป็นต้นแห่งพุทธบัญญัติไม่ให้บวชโจรที่ขึ้นชื่อโด่งดัง
  12. อังคุลิมาละ : ดู องคุลิมาล
  13. ภัคคุ : เจ้าศากยะองค์หนึ่ง ที่ออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ ได้บรรลุพระอรหัต และเป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่งเขียน ภคุ ก็มี
  14. อังคุดร : หมายถึง อังคุตตรนิกาย
  15. ภคุ : ดู ภัคคุ
  16. สุคโต : “เสด็จไปดีแล้ว” คือ ทรงมีทางเสด็จที่ดีงามอันได้แก่อริยมรรค, เสด็จไปด้วยดีโดยชอบ กล่าวคือ ทรงดำเนินรุดหน้าไม่หวนกลับคืนมาสู่กิเลสที่ทรงละได้แล้ว ทรงดำเนินสู่ผลสำเร็จไม่ถอยหลัง ไม่กลับตกจากฐานะที่ลุถึงทรงดำเนินในทางอันถูกต้องคือมัชฌิมาปฏิปทา ไม่เฉเชือนไปในทางผิด คือ กามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค เสด็จไปดี เสด็จที่ใดก็ทรงทำประโยชน์ให้แก่มหาชนในที่นั้น เสด็จไปโดยสวัสดีและนำให้เกิดความสวัสดีแม้แต่พบองคุลิมาลมหาโจรร้าย ก็ทรงกลับใจให้เขากลายเป็นคนดีไม่มีภัยเสด็จผ่านไปแล้วด้วยดี ได้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจไว้บริบูรณ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้ เพื่อชาวโลก ให้เป็นเครื่องเผล็ดประโยชน์แก่ประชาชนทั้งปวงผู้เกิดมาในภายหลัง, ทรงมีพระวาจาดี หรือตรัสโดยชอบ คือ ตรัสแต่คำจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในกาลที่ควรตรัส และแก่บุคคลที่ควรตรัส (ข้อ ๔ ในพุทธคุณ ๙)

(0.0141 sec)