Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ฆ่า , then ฆา, ฆ่า .

Budhism Thai-Thai Dict : ฆ่า, 39 found, display 1-39
  1. ประหาร : การตี, การทุบตี, การฟัน, การล้างผลาญ; ฆ่า, ทำลาย
  2. สังหาร : การทำลาย, ฆ่า, ล้างผลาญชีวิต
  3. ซัดไปประหาร : ฆ่าหรือทำร้ายโดยยิง ด้วยศรหรือด้วยปืน พุ่งด้วยหอก ขว้างด้วยศิลา เป็นต้น
  4. ปิตุฆาต : ฆ่าบิดา (ข้อ ๒ ในอนันตริยกรรม ๕)
  5. มาตุฆาต : ฆ่ามารดา (ข้อ ๑ ในอนันตริยกรรม ๕)
  6. อรหันตฆาต : ฆ่าพระอรหันต์ (ข้อ ๓ ในอนันตริยกรรม ๕)
  7. กรรมกิเลส : กรรมเครื่องเศร้าหมอง, การกระทำที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง มี ๔ อย่างคือ ๑.ปาณาติบาต การทำชีวิตให้ตกล่วงคือ ฆ่าฟันสังหารกัน ๒.อทินนาทาน ถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้คือลักขโมย ๓.กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ๔.มุสาวาท พูดเท็จ - an action causing impurity; depravity of action; vice of conduct.
  8. กายกรรม : การกระทำทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม หรือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เป็นต้น
  9. กายทุจริต : ประพฤติชั่วด้วยกาย, ประพฤติชั่วทางกายมี ๓ อย่างคือ ๑.ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์ ๒.อทินนาทาน ลักทรัพย์ ๓.กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ดู ทุจริต
  10. กายสุจริต : ประพฤติชอบด้วยกาย, ประพฤติชอบทางกาย มี ๓ อย่าง คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจากประพฤติผิดในกาม ดู กายทุจริต, สุจริต
  11. กาฬสิลา : สถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ข้างภูเขาอิสิคิลิ พระนครราชคฤห์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์และเป็นที่ที่พระโมคคัลลานะ ถูกคนร้ายซึ่งรับจ้างจากพวกเดียรถีย์ไปลอบฆ่าด้วยการทุบตีจนร่างแหลก
  12. กูฏทันตสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธวรรค สุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่กูฏทันตพราหมณ์ ผู้กำลังเตรียมพิธีบูชายัญ ว่าด้วยวิธีบูชายัญตามความหมายในแบบของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ต้องมีการฆ่าฟันเบียดเบียนสัตว์ มีแต่การเสียสละทำทาน และการทำความดีอื่นๆ เริ่มด้วยการตระเตรียมพิธีโดยจัดการบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยก่อนตามธรรมวิธี มีการส่งเสริมกสิกรรม พาณิชยกรรม สัมมาชีพ และบำรุงส่งเสริมข้าราชการที่ดี ซึ่งจะทำให้ประชาชนขวนขวาย ขะมักเขม้นในหน้าที่การงานของตนๆ จนบ้านเมืองมีความเกษมปลอดภัย พลเมืองมีความสุข ราชทรัพย์บริบูรณ์ดีแล้ว จึงกระทำพิธีบูชายัญ ด้วยการบริจาคทรัพย์ทำทานเป็นต้น ผลของพระธรรมเทศนานี้ คือ กูฏทันตพราหมณ์ล้มเลิกพิธีบูชายัญของตน ปล่อยสัตว์ทั้งหลาย และประกาศตนเป็นอุบาสก
  13. ทำร้ายด้วยวิชา : ได้แก่ ร่ายมนต์อาคมต่างๆ ใช้ภูตใช้ผีเพื่อทำผู้อื่นให้เจ็บตาย จัดเป็นดิรัจฉานวิชา เทียบตัวอย่างที่จะเห็นในบัดนี้ เช่น ฆ่าด้วยกำลังไฟฟ้า ซึ่งประกอบขึ้นด้วยอำนาจความรู้
  14. บูชายัญ : การเซ่นสรวงเทพเจ้าของพราหมณ์ ด้วยวิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา
  15. เบญจศีล : ศีล ๕ เว้นฆ่าสัตว์ เว้นลักทรัพย์ เว้นประพฤติผิดในกาม เว้นพูดปด เว้นของเมา มีคำสมาทานว่า ๑.ปาณาติปาตา ๒.อทินฺนาทานา ๓.กาเมสุมิจฺฉาจารา ๔.มุสาวาทา ๕.สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺานา ต่อท้ายด้วย เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ทุกข้อ
  16. ปวัตตมังสะ : เนื้อที่มีอยู่แล้ว คือเนื้อสัตว์ที่เขาขายอยู่ตามปกติสำหรับคนทั่วๆ ไป ไม่ใช่ฆ่าเพื่อเอาเนื้อมาถวายพระ, ตรงข้ามกับ อุทิสสมังสะ
  17. ปาจิตตีย์ : แปลตามตัวอักษรว่า การละเมิดอันยังกุศลให้ตก, ชื่ออาบัติเบาเรียกลหุกาบัติ พ้นด้วยการแสดง; เป็นชื่อสิกขาบท ได้แก่ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ และสุทธิกปาจิตตีย์ ซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่า ปาจิตตีย์ อีก ๙๒ ภิกษุล่วงละเมิดสิกขาบท ๑๒๒ ข้อเหล่านี้ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ เช่น ภิกษุพูดปด ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน ว่ายน้ำเล่น เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดู อาบัติ
  18. ปาณาติบาต : ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป, ฆ่าสัตว์
  19. ปาณาติปาตา เวรณมี : เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง, เว้นจากการฆ่าสัตว์ (ข้อ ๑ ในศีล ๕ ฯลฯ)
  20. ปาราชิก : เป็นชื่ออาบัติหนักที่ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อบุคคลผู้ที่พ่ายแพ้ คือ ต้องอาบัติปาราชิกที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อสิกขาบท ที่ปรับอาบัติหนักขั้นขาดจากความเป็นภิกษุมี ๔ อย่าง คือ เสพเมถุน ลักของเขา ฆ่ามนุษย์ อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน
  21. ภัททา กุณฑลเกสา : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาของเศรษฐีในพระนครราชคฤห์ เคยเป็นภรรยาโจรผู้เป็นนักโทษประหารชีวิต โจรคิดจะฆ่านางเพื่อเอาทรัพย์สมบัติ แต่นางใช้ปัญญาคิดแก้ไขกำจัดโจรได้ แล้วบวชในสำนักนิครนถ์ ต่อมาได้พบกับพระสารีบุตร ได้ถามปัญหากันและกัน จนนางมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงได้สำเร็จพระอรหัต แล้วบวชในสำนักนางภิกษุณี ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้ฉับพลัน
  22. มาร : 1.สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ คือ ๑.กิเลสมาร มารคือกิเลส ๒.ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ ๓.อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม ๔.เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร ๕.มัจจุมาร มารคือความตาย 2.พระยามารที่มีเรื่องราวปรากฏบ่อยๆ ในคัมภีร์ คอยมาแทรกแซงเหตุการณ์ต่างๆ ในพุทธประวัติ เช่น ยกพลเสนามาผจญพระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์ชนะพระยามารได้ด้วยทรงนึกถึงบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา มารในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านอธิบายออกชื่อว่าเป็นสวัตดีมาร ซึ่งครองแดนหนึ่งในสวรรค์ชั้นสูงสุด แห่งระดับกามาวจรคือปรนิมิตวสวัตดี เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้มิให้ล่วงพ้นจากแดนกามซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน อย่างไรก็ดี ผู้ศึกษาพึงพิจารณาเทียบจากมาร ๕ ในความหมายที่ 1.ด้วย
  23. มิจฉากัมมันตะ : ทำการผิดได้แก่กายทุจริต ๓ คือ ๑.ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์ ๒.อทินนาทาน ลักทรัพย์ ๓.กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
  24. มิจฉาวณิชชา : การค้าขายไม่ชอบธรรม, การค้าขายที่ผิดศีลธรรม หมายถึง อกรณียวณิชชา (การค้าขายที่ อุบาสก ไม่ควรทำ) ๕ อย่าง คือ ๑.สัตถวณิชชา ค้าอาวุธ ๒.สัตตวณิชชา ค้ามนุษย์ ๓.มังสวณิชชา ค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร ๔.มัชชวณิชชา ค้าของเมา ๕.วิสวณิชชา ค้ายาพิษ
  25. ยัญ : การเซ่น, การบูชา, การบวงสรวงชนิดหนึ่งของพราหมณ์ เช่น ฆ่าสัตว์บูชาเทพเจ้าเพื่อให้ตนพ้นเคราะห์ร้าย เป็นต้น
  26. โลกวัชชะ : อาบัติที่เป็นโทษทางโลก คือ คนสามัญที่มิใช่ภิกษุทำเข้าก็เป็นความผิดความเสียหาย เช่น โจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทุบตีกัน ด่ากัน เป็นต้น; บางทีว่าเป็นข้อเสียหายที่ชาวโลกเขาติเตียน ถือว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ เช่น ดื่มสุรา เป็นต้น
  27. วัตถุวิบัติ : วิบัติโดยวัตถุ คือ บุคคลหรือวัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสังฆกรรมเสีย ใช้ไม่ได้ เช่น ในการอุปสมบท ผู้อุปสมบทอายุไม่ครบ ๒๐ ปี หรือมีเรื่องที่เป็นความผิดอย่างร้ายแรง เช่น ฆ่าบิดามารดา หรือเป็นปาราชิกเมื่อบวชเป็นภิกษุคราวก่อน หรือไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเป็นภิกษุ หรือเป็นสตรีดังนี้เป็นต้น
  28. วัตถุสมบัติ : ความถึงพร้อมแห่งวัตถุ, ความสมบูรณ์โดยบุคคลหรือวัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการทำสังฆกรรมนั้นๆ มีคุณสมบัติถูกต้อง ทำให้สังฆกรรมใช้ได้ไม่บกพร่องในด้านนี้ เช่น ในการอุปสมบท ผู้ขอบวชเป็นชายมีอายุครบ ๒๐ ปี ไม่เป็นมนุษย์วิบัติเช่นถูกตอน ไม่ได้ทำความผิดร้ายแรงเช่นฆ่าบิดามารดา ไม่ใช่คนทำความเสียหายในพระพุทธศาสนาอย่างหนัก เช่น ปาราชิก เมื่อบวชคราวก่อน ดังนี้เป็นต้น
  29. สัมมากัมมันตะ : ทำการชอบ หรือการงานชอบ ได้แก่ การกระทำที่เว้นจากความประพฤติชั่วทางกาย ๓ อย่าง คือฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม คือ เว้นจาก กายทุจริต ๓ (ข้อ ๔ ในมรรค)
  30. อกรณียะ : กิจอันบรรพชิตไม่ควรทำ ๔ อย่าง ทำแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ คือ ๑) เสพเมถุน ๒) ลักของเขาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป ๓) ฆ่ามนุษย์ ๔) อวดคุณพิเศษ (อุตริมนุสธรรม) ที่ไม่มีในตน (สำหรับภิกษุณี มี ๘) ดู อนุศาสน์
  31. องคุลิมาล : พระมหาสาวกองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า เคยเป็นมหาโจรโด่งดังเป็นบุตรของภัคควพราหมณ์ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าโกศล มารดาชื่อนางมันตานีพราหมณ์ เดิมชื่ออหิงสกะ (แปลว่าผู้ไม่เบียดเบียน) ไปศึกษาศิลปศาสตร์ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมืองตักสิลา มีความรู้และความประพฤติดี เพื่อนศิษย์ด้วยกันริษยา ยุอาจารย์ให้กำจัดเสีย อาจารย์ลวงด้วยอุบายให้ไปฆ่าคนครบหนึ่งพัน แล้วจะมอบวิชาวิเศษอย่างหนึ่งให้ จึงกลายเป็นมหาโจรผู้โหดร้ายทารุณ ตัดนิ้วมือคนที่ตนฆ่าตายแล้ว ร้อยเป็นพวงมาลัย จึงได้ชื่อว่า องฺคุลิมาล (แปลว่ามีนิ้วเป็นมาลัย) ภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดกลับใจได้ ขอบวช ต่อมาก็ได้สำเร็จพระอรหัต ท่านเป็นต้นแห่งพุทธบัญญัติไม่ให้บวชโจรที่ขึ้นชื่อโด่งดัง
  32. อชาตศัตรู : โอรสของพระเจ้าพิมพิสารกับพระนางโกศลเทวี กษัตริย์แคว้นมคธ ขณะพระนางโกศลเทวีทรงครรภ์ ได้แพ้ท้องอยากเสวยโลหิตของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบจึงเอาพระขรรค์แทงพระชานุ (เข่า) รองพระโลหิตให้พระนางเสวย โหรทำนายว่า พระโอรสที่อยู่ในครรภ์เกิดมาจะทำปิตุฆาต พระนางโกศลเทวีพยายามทำลายด้วยการให้แท้งเสีย แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดคิดจะรีด แต่พระเจ้าพิมพิสารทรงห้ามไว้ เมื่อครบกำหนดประสูติเป็นกุมาร จึงตั้งพระนามพระโอรสว่า อชาตศัตรู แปลว่า เป็นศัตรูตั้งแต่ยังไม่เกิด ในที่สุดเจ้าชายอชาตศัตรูก็คบคิดกับพระเทวทัตฆ่าพระราชบิดาตามที่โหรทำนายไว้ และได้ขึ้นครองราชสมบัติแคว้นมคธ ณ กรุงราชคฤห์ แต่ทรงสำนึกและกลับพระทัยได้ หันมาทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา และได้เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ในการสังคายนาครั้งที่ ๑ (คำ “อชาตศัตรู” บางท่านแปลใหม่ว่า มิได้เกิดมาเป็นศัตรู)
  33. อนันตริยกรรม : กรรมหนัก, กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด ตัดทางสวรรค์ ตัดทางนิพพาน, กรรมที่ให้ผลคือ ความเดือดร้อนไม่เว้นระยะเลย มี ๕ อย่าง คือ ๑) มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒) ปิตุฆาต ฆ่าบิดา ๓) อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๔) โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป ๕) สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน
  34. อนุศาสน์ : การสอน, คำชี้แจง; คำสอนที่อุปัชฌาย์หรือกรรมวาจาจารย์บอกแก่ภิกษุใหม่ ในเวลาอุปสมบทเสร็จประกอบด้วย นิสสัย ๔ และ อกรณียกิจ ๔ นิสสัย คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง ได้แก่ ๑) เที่ยวบิณฑบาต ๒) นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๓) อยู่โคนไม้ ๔) ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า (ท่านบอกไว้เป็นทางแสวงหาปัจจัย ๔ พร้อมทั้งอตเรกลาภของภิกษุ) อกรณียกิจ กิจที่ไม่ควรทำ หมายถึง กิจที่บรรพชิตทำไม่ได้ มี ๔ อย่าง ได้แก่ ๑) เสพเมถุน ๒) ลักของเขา ๓) ฆ่าสัตว์ (ที่ให้าดจากความเป็นภิกษุหมายเอาฆ่ามนุษย์) ๔) พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน
  35. อภิฐาน : ฐานะอย่างหนัก, ความผิดสถานหนัก มี ๖ อย่าง คือ ๑) มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒) ปิตุฆาต ฆ่าบิดา ๓) อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๔) โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ถึงห้อพระโลหิต ๕) สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน ๖) อัญญสัตถุเทส ถือศาสดาอื่น
  36. อัตตวินิบาต : ทำลายตัวเอง, ฆ่าตัวเอง; บัดนี้เขียน อัตวินิบาต
  37. อัพโพหาริก : กล่าวไม่ได้ว่ามี, มีแต่ไม่ปรากฏ จึงไม่ได้โวหารว่ามี, มีเหมือนไม่มี เช่น สุราที่เขาใส่ในอาหารบางอย่างเพื่อฆ่าคาวหรือชูรส และเจตนาที่มีในเวลาหลับ เป็นต้น
  38. อัศวเมธ : พิธีเอาม้าบูชายัญ คือปล่อยม้าอุปการให้ผ่านดินแดนต่างๆ เป็นการประกาศอำนาจจนม้านั้นกลับแล้ว เอาม้านั้นฆ่าบูชายัญ เป็นพิธีประกาศอานุภาพของราชาธิราชในอินเดียครั้งโบราณ
  39. อุทิสสมังสะ : เนื้อสัตว์ที่เขาฆ่าเจาะจงเพื่อถวายภิกษุ ท่านมิให้ภิกษุฉัน, หากภิกษุฉันทั้งได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อถวายตน ต้องอาบัติทุกกฏ
  40. [1-39]

(0.0179 sec)