Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: จดหมาย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : จดหมาย, 46 found, display 1-46
  1. จดหมาย : น. หนังสือที่มีไปมาถึงกัน.
  2. จดหมายเวียน : น. (ปาก) หนังสือเวียน; หนังสือที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงคนจํานวนมาก.
  3. ทิ้งจดหมาย : ก. ส่งจดหมายทางไปรษณีย์.
  4. ลิขิต : น. หนังสือ, จดหมาย, (นิยมใช้เฉพาะจดหมายของพระสงฆ์). ก. เขียน, กำหนด, เช่น พระพรหมได้ลิขิตชีวิตไว้แล้ว. (ป., ส.).
  5. หนังสือ : น. เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียงหรือคําพูด เช่น อ่านหนังสือ เขียน หนังสือ, ลายลักษณ์อักษร เช่น ขอให้เขียนเป็นหนังสือไว้ด้วย, จดหมาย ที่มีไปมา เช่น หนังสือราชการ, เอกสาร, บทประพันธ์; ข้อความที่พิมพ์ หรือเขียนเป็นต้นแล้วรวมเป็นเล่ม; (กฎ) เอกสาร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น.
  6. ฉบับ : [ฉะ-] น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสํานวนแตกต่างกันเป็นต้น เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือ เขียน เรียกว่า ต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกหนังสือเล่มหรือหนังสือเป็นแผ่น ที่ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ เช่น จดหมาย ๓ ฉบับ สลากกินแบ่ง ๕ ฉบับ หนังสือสัญญา ๒ ฉบับ. (ข. จฺบาบ่).
  7. ไปรษณีย์; : (กฎ) จดหมาย ไปรษณียบัตร ไปรษณียบัตรตอบรับ หนังสือกิติยคดี ตัวอย่างหรือแบบสินค้า ของตีพิมพ์ทุกชนิด หนังสือพิมพ์ลงทะเบียน ห่อจดหมาย ห่อพัสดุ ธนาณัติ เช็ค ไปรษณีย์ หรือวัตถุอย่างอื่นที่นํามาใช้ในการสื่อสารไปรษณีย์.
  8. ราชหัตถเลขา : [ราดชะหัดถะเลขา] (ราชา) น. จดหมาย (ใช้แก่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และ พระบรมราชวงศ์ชั้นสูง)ใช้ว่า พระราชหัตถเลขา. (ป.).
  9. ลายพระหัตถ์ : (ราชา) น. ลายมือ; จดหมาย.
  10. ขโมย : [ขะ-] น. ผู้ลักทรัพย์. ก. ลัก, โดยปริยายหมายความว่า ลอบทำสิ่ง ที่ตนไม่มีสิทธิ์หรือไม่ได้รับอนุญาต เช่น เด็กขโมยสูบบุหรี่ เขา ขโมยอ่านจดหมายเพื่อน.
  11. คำขึ้นต้น : น. คำใช้เขียนขึ้นต้นจดหมายถึงผู้รับตามฐานะของผู้รับ แต่ละคน เช่น นมัสการ ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงพระภิกษุ เรียน ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงบุคคลธรรมดา; คำใช้ขึ้นต้นสำหรับ ร้อยกรองบางประเภท เช่น บัดนั้น เมื่อนั้น ครานั้น สักวา.
  12. ซอง : น. ซอกหรือช่องแคบ เช่น ซองหัวเรือท้ายเรือ เรียกว่า ซองเรือ; ซอกหรือช่องแคบที่ทําขึ้นสําหรับเอาช้างม้าวัวควายเข้าไปไว้ในที่ บังคับ; เครื่องใช้ที่มีลักษณะแคบสําหรับสอดใส่สิ่งของ เช่น ซองธูป ซองพลู ซองจดหมาย ซองบุหรี่, ลักษณนามเรียกว่า ซอง เช่น ธูปซองหนึ่งบุหรี่ ๒ ซอง; หน่วยของปริมาณของแท่งน้ำแข็ง ก้อนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น ๔ กั๊ก; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง รูปร่าง คล้ายกระบอก แต่มีปากบานกว้าง มีงาแซงใส่ ก้นมีฝาทําด้วยไม้ไผ่ เจาะรูปิด; เรียกไหชนิดหนึ่ง รูปร่างสูง ๆ ปากเล็กแคบ สําหรับใส่ หัวผักกาดเค็มเป็นต้น. (รูปภาพ ซอง)
  13. ซองขาว : น. จดหมายให้ออกจากงานโดยไม่มีความผิด; ซองบรรจุ เงินสินบนหรือค่าสินจ้างเพื่อให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะเป็นไป ในทางมิชอบ.
  14. ดวงตราไปรษณียากร : น. ดวงตราที่ใช้ปิดเป็นค่าธรรมเนียมที่ต้องเสีย สำหรับส่งจดหมายหรือไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ทางไปรษณีย์.
  15. ตอบ : ก. ทําหรือพูดโต้ในทํานองเดียวกับที่มีผู้ทําหรือพูดมา เช่น ชกตอบ ตีตอบ ด่าตอบ เยี่ยม ตอบ, กล่าวแก้ เช่น ตอบปัญหา, กล่าวเมื่อมีผู้ถาม เช่น ตอบคําถาม, แจ้ง กลับไปให้อีกฝ่ายหนึ่ง รู้ เช่น ตอบจดหมาย. ว. เรียกแก้มที่มีลักษณะยุบลึกเข้าไป undefined
  16. ถึง : ก. บรรลุจุดหมาย เช่น เมื่อไรจะถึง; รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก; โดยปริยาย หมายความว่า เท่าทัน, ทัดเทียม, เช่น เขาถึงกัน มีความรู้ไม่ถึง ฝีมือไม่ถึง. ว. มากพอ เช่น ถึงเกลือ ถึงนํ้าตาล ถึงเครื่อง. บ. สู่, กระทั่ง, ยัง, เช่นไปถึงบ้าน; จนกระทั่ง เช่น ถึงนํ้าตาตก ถึงลุกไม่ขึ้น, ถึงแก่ ถึงกับ ถึงกะ ก็ว่า; ใช้เป็นคําจ่าหน้าในจดหมายระบุตัวผู้รับ. สัน. แม้ เช่น ถึงเขาจะเป็นเด็ก เขาก็มีความคิด; (ปาก) จึงเช่น ทําอย่างนี้ถึงจะดี.
  17. ที่รัก : น. คนรัก, คําแบบแสดงถึงความสุภาพ ความเคารพ ความ นับถือเวลาพูดในที่ชุมนุมชนเป็นต้น เช่น พี่น้องที่รักทั้งหลาย หรือในจดหมายที่มีไปถึงผู้ที่คุ้นเคยกัน เช่น แดงที่รัก.
  18. นมัสการ : [นะมัดสะกาน] น. การแสดงความอ่อนน้อมด้วยการกราบ ไหว้; คําที่ใช้ขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่มีไปถึงพระภิกษุสามเณร. (ป. นมกฺการ; ส. นมสฺการ).
  19. นั้น : ว. ใช้ประกอบนามหรือข้อความที่กล่าวอ้างมาแล้ว เช่น ในจดหมาย ฉบับนั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น, ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกล กว่า นี้ เช่น คนนั้น สิ่งนั้น, ใช้ประกอบคําอื่นคู่กับคํา ใด แสดงความ แน่นอน เช่น คนใดคนนั้น เมื่อใดเมื่อนั้น. นั้นแล คําลงท้ายบอกว่าจบเรื่อง.
  20. นับถือ : ก. เชื่อถือยึดมั่น เช่น นับถือศาสนา, เคารพ เช่น นับถือผู้หลัก ผู้ใหญ่, ยกย่อง เช่น นับถือว่าเป็นครูบาอาจารย์, ใช้เป็นคําลงท้าย จดหมายแสดงความสุภาพว่า ด้วยความนับถือ หรือ ขอแสดงความนับถือ.
  21. แนบ : ก. แอบชิด, แอบเคียง, เช่น แนบข้าง แนบกาย แนบเนื้อ; ติดไปด้วย เช่น ได้แนบสําเนาจดหมายมาด้วยแล้ว.
  22. โน้ต ๒ : ก. บันทึก. น. จดหมายสั้น ๆ. (อ. note).
  23. เปิดผนึก : ว. เรียกจดหมายที่ส่งถึงบุคคลหนึ่งเพื่อให้นำออกเผยแพร่ว่า จดหมายเปิดผนึก.
  24. ไปรษณียบรรณ : [ไปฺรสะนียะบัน, ไปฺรสะนีบัน] (เลิก) น. แผ่น กระดาษที่ผนึกสําหรับใช้เขียนจดหมายส่งทางไปรษณีย์, ปัจจุบัน ใช้ ไปรษณีย์อากาศ.
  25. ฝาก : ก. มอบให้ไว้เป็นต้นว่าเพื่อให้ช่วยดูแลคุ้มครองหรือพิทักษ์รักษา เช่น ฝากตัว ฝากบ้าน, ให้ปรากฏเป็นเกียรติ เช่น ฝากชื่อเสียง ฝากฝีมือ, ให้นําไปหรือให้ทําแทนตัว เช่น ฝากจดหมาย ฝากหน้าที่.
  26. เพลงยาว : น. หนังสือหรือจดหมายถึงคู่รัก แต่งเป็นกลอนแสดง ข้อความรักหรือตัดพ้อเป็นต้น. (ตัดมาจาก กลอนเพลงยาว).
  27. โพยก๊วน : น. เอกสารที่เกี่ยวกับการส่งเงินทางจดหมายไปเมืองจีน. (จ.).
  28. ภาษาราชการ : น. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ.
  29. มา ๒ : ก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย, ตรงกันข้ามกับ ไป. ว. ใช้ประกอบคํากริยาแสดงอดีต เช่น นาน มาแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ไปมาแล้ว หรือ แสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ หรือแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึง ปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.
  30. มีดตัดกระดาษ : น. มีดขนาดเล็กหรือโลหะแบน ๆ อย่างมีด ใช้ตัดกระดาษ หรือซองจดหมายเป็นต้น.
  31. รับ : ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอา สิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่ กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉัน ไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่าง ประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คําตอบ ที่ไม่ปฏิเสธเช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทํา; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียงเช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.
  32. ราชสาส์น : [ราดชะสาน] น. จดหมายของพระมหากษัตริย์ที่ใช้ในการ เจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ เรียกว่า พระราชสาส์น.
  33. เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
  34. ลงทะเบียน : ก. จดเป็นหลักฐาน เช่น จดหมายลงทะเบียน, ลงชื่อ รายงานตัวเป็นหลักฐาน เช่น ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนา, ลงชื่อ แสดงความจำนงเข้าเรียน เช่น ลงทะเบียนเรียนภาคที่ ๑.
  35. ลงท้าย : ก. จบ เช่น ลงท้ายจดหมายว่า ขอแสดงความนับถือ. ว. ในที่สุด เช่น พูดว่าจะให้เงิน ลงท้ายก็เหลว คนเราลงท้าย ก็ต้องตายกันทุกคน, เรียกข้อความที่ลงท้ายจดหมาย เช่น ควร มิควรแล้วแต่จะโปรด ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง ว่า คำลงท้าย.
  36. ลักษณ์ : [ลัก] (กลอน) น. จดหมาย, เรียกเต็มว่า อักษรลักษณ์; (โบ) ลักษมณ์.
  37. ลายมือ : น. รอยเส้นที่ฝ่ามือและนิ้ว เช่น หมอดูลายมือ, เส้นลาย มือ ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เส้นลายพระหัตถ์; ตัวหนังสือเขียน มักมี ลักษณะแสดงว่าเป็นของผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เขียนด้วยลาย มือตัวเอง ลายมือดี, ราชาศัพท์ใช้ว่า ลายพระหัตถ์ ซึ่งหมายถึง จดหมายของเจ้านายด้วย.
  38. เล่นเพลงยาว : (โบ; สํา) ก. ลอบมีจดหมายรักต่อกัน เช่น ไม่อยากเล่น เพลงยาวชื่อฉาวเอย. (สักวาของคุณพุ่ม), เขียนหนังสือโต้ตอบกัน ไปมาไม่รู้จักจบ.
  39. สมณสาสน์ : [สาด] น. จดหมายของสมเด็จพระสังฆราชหรือประมุข ของประเทศ ซึ่งเป็นนักบวชที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่าง ประเทศ.
  40. สอด : ก. เสือกหรือใส่เข้าไปในช่องหรือในระหว่างที่แคบ ๆ เช่น สอด จดหมายเข้าไปใต้ประตู สอดขาเข้าไปในกางเกง, ใส่ เช่น สอดสนับ เพลา, แทรกเข้าไประหว่างกลาง เช่น เอาธนบัตรสอดไว้ในหนังสือ, แทรกเข้าในระหว่าง (มักใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น ขณะที่ผู้ใหญ่กำลัง พูดอยู่ เด็กไม่ควรพูดสอดขึ้น.
  41. สัปดาห์, สัปดาหะ : [สับดา, สับปะดา, สับดาหะ] น. รอบ ๗ วัน เริ่ม ตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันเสาร์, ระยะ ๗ วัน เช่น สัปดาห์แห่งการส่งเสริม พระพุทธศาสนา สัปดาห์แห่งการเขียนจดหมาย. (ส. สปฺตาห).
  42. หนังสือเวียน : น. หนังสือราชการที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีรหัสตัวพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง, ภาษาปากใช้ว่า จดหมายเวียน หนังสือที่ผู้บังคับบัญชาเวียนแจ้งให้ผู้ใต้ บังคับบัญชารับทราบหรือถือปฏิบัติ.
  43. หมวกหนีบ : น. เครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วยผ้าหรือสักหลาด รูปทรง คล้ายซองจดหมายอย่างยาว.
  44. อนงคเลข, อนงคเลขา : น. จดหมายรัก, เพลงยาว.
  45. อักษรลักษณ์ : [อักสอระลัก, อักสอนลัก] น. จดหมาย, ในบทกลอน มักใช้ว่า ลักษณ์.
  46. อักษรสาส์น : [อักสอนระสาด, อักสอนสาด] น. จดหมายของ ประธานาธิบดีหรือประมุขของประเทศซึ่งมีชื่อเป็นอย่างอื่นที่ใช้ ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, เขียนเป็น อักษรสาสน (อ่านว่าอักสอนสาน) ก็ได้.
  47. [1-46]

(0.0135 sec)