Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: จบ , then จบ, จป .

Royal Institute Thai-Thai Dict : จบ, 84 found, display 1-50
  1. จบ : น. การสิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกการสิ้นสุดเช่นนั้น เช่น สวดจบหนึ่ง ตั้งนโม ๓ จบ. ก. สิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ เช่น จบชั้นไหน.
  2. จบ : ก. ยกของขึ้นหรือพนมมือเหนือหน้าผากเพื่อตั้งใจอุทิศให้เวลาทำบุญทำทาน; กิริยาที่ช้างชูงวงขึ้นเหนือหัวทําความเคารพ ในคำว่า ช้างจบ.
  3. จบ : ก. ต่อกัน, พบกัน, เช่น จับปลายเชือก ๒ เส้นมาจบกัน.
  4. เกม ๒ : (ปาก) ก. สิ้นสุด, จบ, เช่น เรื่องนี้เกมไปนานแล้ว. (อ. game).
  5. ยุติ ๒ : [ยุดติ] ก. ตกลง, จบ, เลิก, เช่น เรื่องนี้ยุติแล้ว ไม่ต้องพิจารณาอีกต่อไป.
  6. รูดม่าน : ก. ดึงม่านหรือม่านบังตาให้เลื่อนไปตามราวเพื่อปิดหรือเปิด; โดยปริยายหมายความว่า สิ้นสุด, จบ, เช่น รูดม่านชีวิต.
  7. หมด : ก. สิ้น เช่น หมดลม หมดกิเลส หมดปัญญา, ไม่มี เช่น เงินหมด ฝนหมด, จบ เช่น หมดรายการ. ว. ไม่มีอะไรเหลือ เช่น กินหมด ใช้หมด.
  8. ปริโยสาน : [ปะริ-] น. ที่สุดลงโดยรอบ (หมายความว่า ที่สุดหรือจบลงอย่าง บริบูรณ์แล้ว), จบ. (ป.).
  9. รวดเดียว : น. ครั้งเดียวอย่างรีบเร่ง, ครั้งเดียวโดยไม่หยุดพัก, เช่น พิจารณารวดเดียว จบ นอนหลับรวดเดียวตั้งแต่หัวค่ำถึงสว่าง ดื่มรวดเดียวหมด; ครั้งเดียว เช่น เก็บค่าดูรวดเดียวดูได้ตลอด.
  10. ลงท้าย : ก. จบ เช่น ลงท้ายจดหมายว่า ขอแสดงความนับถือ. ว. ในที่สุด เช่น พูดว่าจะให้เงิน ลงท้ายก็เหลว คนเราลงท้าย ก็ต้องตายกันทุกคน, เรียกข้อความที่ลงท้ายจดหมาย เช่น ควร มิควรแล้วแต่จะโปรด ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง ว่า คำลงท้าย.
  11. แล้ว : ว. ลักษณะอาการกระทําใด ๆ เสร็จ สิ้น จบ ล่วงไป หรือสุดสิ้นลง เช่น กินแล้ว ทำแล้ว นอนแล้วหรือต่อแต่นั้นเริ่มใหม่อีกระยะหนึ่ง (จะเป็นการกระทําอย่างเดียวกันหรือต่างกันแล้วแต่กรณี) เช่น กิน แล้วนอน ขึ้นรถแล้วลงเรือ.
  12. โวสาน : น. อวสาน, ที่สุด, จบ. (ป.).
  13. กบฏ : [กะบด] ก. ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ทรยศ. น. การ ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ; ผู้ประทุษร้าย ต่อทางอาณาจักร, ผู้ทรยศ, ขบถ ก็ว่า; (กฎ) ชื่อความผิด อาญาฐานกระทําความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายใน ราชอาณาจักร โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้ กําลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร หรืออํานาจ ตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอํานาจ ปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏ. (ส. กปฏ ว่า ความคด, ความโกง).
  14. กระบอก ๔ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการ รีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎ ต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
  15. กระออดกระแอด : ว. ออดแอด, อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ, อาการที่ป่วยอยู่บ่อย ๆ.
  16. กะบอนกะบึง : (กลอน) ก. โกรธอย่างแสนงอน, โดยมากใช้ กะบึงกะบอน. ว. ไม่รู้จักจบ, เง้า ๆ งอด ๆ, (ใช้แก่กริยาบ่น) เช่น คอยสะบัดปัดกรกะบอนกะบึง. (อิเหนา), โดยมากใช้ กะบึงกะบอน.
  17. กะบึงกะบอน : ก. โกรธอย่างแสนงอน, กะบอนกะบึง ก็ว่า. ว. ไม่รู้จักจบ, เง้า ๆ งอด ๆ, (ใช้แก่กริยาบ่น), กะบอนกะบึง ก็ว่า.
  18. กัณฑ์ : [กัน] น. ข้อความที่แต่งเป็นคําเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ, ตอนหนึ่ง ๆ ของคําเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง เทศน์ ๒ กัณฑ์; เรื่องหรือหมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง. (ป.).
  19. เกม ๑ : น. การแข่งขันที่มีกติกากำหนด เช่น เกมกีฬา, การเล่นเพื่อความสนุก เช่น เกมคอมพิวเตอร์, การแสดงเพื่อสาธิตกิจกรรม เช่น เกมการบริหาร, โดยปริยายหมายถึงการแสดงที่ใช้กลวิธีหรือเล่ห์เหลี่ยมเพื่อหักล้างกัน เช่น เกมการเมือง, ลักษณนามเรียกการแข่งขันหรือการเล่นที่จบลงด้วย การแพ้ชนะกันครั้งหนึ่ง ๆ เช่น เล่นแบดมินตัน ๓ เกม. (อ. game).
  20. ขัดบท : ก. แทรกเข้ามาเมื่อเขาพูดยังไม่จบเรื่อง, ใช้เลือนมาเป็น ขัดคอ ก็มี.
  21. เข้าโรง : ก. กลับเข้าไปหลังฉากเมื่อตัวละครแสดงจบบทแล้ว.
  22. คำสร้อย : น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นาเฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ.
  23. งูกลืนหาง, งูกินหาง ๑ : น. ชื่อกลอนกลอักษร วรรคหนึ่ง ๆ ต้องมีคำ ซ้ำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค แต่เวลา เขียนจะตัดคำซ้ำ ๓ คำสุดท้ายของแต่ละวรรคออก เวลาอ่านให้อ่านไป จนจบวรรคแล้วย้อนกลับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีก ครั้งหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดัง เหมือนน้ำตาลหวานเตือน เสนาะจริงยิ่งคำหวาน อ่านว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดังฟังเสียงหวาน เหมือนน้ำตาลหวานเตือนเหมือนน้ำตาล เสนาะจริงยิ่งคำหวานเสนาะจริง.
  24. จรลาด, จรหลาด : [จะระหฺลาด] (กลอน) น. ตลาด, ที่ชุมนุมซื้อขายของต่าง ๆ, เช่น จบจรลาดแลทาง ทั่วด้าว. (นิ. นรินทร์), จรหลาดเลขคนหนา ฝ่งงเฝ้า. (กำสรวล).
  25. จำนวนตรรกยะ : (คณิต) น. จํานวนที่สามารถเขียนให้เป็นรูปเศษส่วนได้ โดยทั้งเศษและส่วนต้องเป็นจํานวนเต็ม และส่วนต้องไม่เท่ากับศูนย์, จํานวนที่สามารถเขียนให้เป็นรูปทศนิยมไม่รู้จบประเภทซํ้าได้ เช่น เศษ ๑ ส่วน ๙ (เท่ากับ ๐.๑), เศษ ๑๒ ส่วน ๙๙ (เท่ากับ ๐.๑๒).
  26. จำนวนอตรรกยะ : (คณิต) น. จํานวนที่สามารถเขียนให้เป็นรูปทศนิยม ไม่รู้จบประเภทไม่ซํ้าได้ เช่น รากที่ ๒ ของ ๒ (= ๑.๔๑๔๒๑๓๕...), p (= ๓.๑๔๑๕๙๒๖...).
  27. จุลอุปรากร : น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากรแต่มีบท สนทนา เนื้อเรื่องมีความร่าเริงขบขัน และมักจบลงด้วยความสุข. (อ. operetta).
  28. ฉ่อย : น. ชื่อเพลงสําหรับว่าแก้กันระหว่างชายกับหญิง เป็นเพลงที่นิยมว่า ปากเปล่าโดยอาศัยปฏิภาณเป็นสําคัญ เมื่อว่าจบบทแล้ว ลูกคู่จะรับ พร้อมกันว่า ชา ฉา ชา ฉาด ชา หน่อยแม่.
  29. ดอกสร้อย ๒ : น. ชื่อคําร้อยกรองชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่ ๑ ใช้ ๔ คํา มี เอ๋ย เป็นคําที่ ๒ มี ๔ คํากลอน และคําลงจบบทให้ลงว่า เอย เช่น แมวเอ๋ย แมวเหมียว... คอยดูอย่างไว้ใส่ใจเอย.
  30. ตกเขียว : น. วิธีการที่นายทุนให้เงินแก่ชาวนาหรือชาวไร่กู้เมื่อ ข้าวในนาลัดใบหรือลำไยมีลูกขนาดหัวแมลงวันแล้ว โดยตกลง กันว่าชาวนาชาวไร่จะให้ข้าวเปลือกหรือลำไยแก่นายทุนแทน เงินหลังจากนวดข้าวแล้วหรือหลังจากเก็บลำไยได้แล้ว, โดย ปริยายหมายถึงการที่พ่อแม่รับเงินจากนายทุนซึ่งจ่ายให้เป็น ค่าตัวเด็กผู้หญิงซึ่งยังเรียนหนังสือไม่จบไว้ล่วงหน้า เมื่อเรียน จบแล้วนายทุนจะมารับตัวเด็กไปเพื่อค้าประเวณีเป็นการใช้ หนี้คืนให้แก่นายทุน.
  31. ตลอด : [ตะหฺลอด] บ. แต่ต้นไปจนถึงปลาย, แต่ต้นจนจบ, แต่จุดหนึ่งไปจนถึงอีก จุดหนึ่ง, เช่น ตลอดวันตลอดคืน ดูแลให้ตลอด ทําไปไม่ตลอด, ทั่ว เช่น ดูแลไม่ตลอด.
  32. ต่อนัดต่อแนง, ต่อนัดต่อแนม : ก. ต่อราคาของเล็ก ๆ น้อย ๆ; เถียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่รู้จักจบ.
  33. ต่อปากต่อคำ, ต่อปากหลากคำ : ก. เฝ้าเถียงกันไม่รู้จักจบ, พูดยันกันเพื่อพิสูจน์ความ.
  34. ตะบี้ตะบัน : (ปาก) ว. ซํ้า ๆ ซาก ๆ, ไม่รู้จักจบจักสิ้น, ไม่เปลี่ยนแปลง, เช่น เถียงตะบี้ตะบัน.
  35. เถา : น. เครือไม้, ลําต้นของไม้เลื้อย; ภาชนะที่จัดเข้าเป็นชุดเดียวกันอย่าง ปิ่นโต, ภาชนะหรือสิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียง ไปตามลําดับอย่างตะลุ่มมุกหรือหม้อ, ลักษณนามเรียกภาชนะที่จัดเข้า เป็นชุดเดียวกัน เช่น ปิ่นโตเถาหนึ่ง ปิ่นโต ๒ เถา หรือเรียกภาชนะหรือ สิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียงไปตามลําดับ เช่น ตะลุ่มมุกเถาหนึ่ง หม้อ ๒ เถา; เพลงมโหรีปี่พาทย์ซึ่งเป็นเพลงเดียวกัน แต่มีอัตราลดหลั่นกันลงไปเป็นลําดับไม่ตํ่ากว่า ๓ ขั้น และบรรเลง ติดต่อกันไปไม่ขาดระยะจนจบ เรียกว่า เพลงเถา เช่น เพลงแขกมอญเถา เพลงราตรีประดับดาวเถา.
  36. ทรมาทรกรรม : [ทอระมาทอระกํา] (ปาก) ก. ทําให้ทนทุกข์ทรมานไม่รู้จักจบจักสิ้น, ทําให้ทนทุกข์ทรมานอย่างยืดเยื้อ.
  37. ท้องเรื่อง : น. เนื้อเรื่องที่ดําเนินไปตั้งแต่ต้นจนจบ.
  38. นั้น : ว. ใช้ประกอบนามหรือข้อความที่กล่าวอ้างมาแล้ว เช่น ในจดหมาย ฉบับนั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น, ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกล กว่า นี้ เช่น คนนั้น สิ่งนั้น, ใช้ประกอบคําอื่นคู่กับคํา ใด แสดงความ แน่นอน เช่น คนใดคนนั้น เมื่อใดเมื่อนั้น. นั้นแล คําลงท้ายบอกว่าจบเรื่อง.
  39. บทดอกสร้อย : น. ชื่อคําร้อยกรองชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่ ๑ มี ๔ คํา มี เอ๋ย เป็นคําที่ ๒ เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว มักมี ๔ คํากลอน และคําลงจบบทให้ลงว่า เอย, ดอกสร้อย ก็ว่า.
  40. ใบสุทธิ : น. เอกสารแสดงวิทยฐานะและความประพฤติเป็นต้นของ บุคคลผู้ถือเมื่อลาออกหรือจบการศึกษาชั้นสูงสุดของโรงเรียน.
  41. ปอดแปด : ว. อ่อนน่วมอยู่ภายใน, มักใช้ประกอบกับคํา เหลว เป็น เหลวปอดแปด; อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ, กระปอดกระแปด ก็ว่า.
  42. ปารคู : น. ผู้ถึงฝั่ง คือผู้เรียนวิชาจบ ได้แก่ พราหมณ์ผู้เรียนจบ ไตรเพท หรือพระขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์. (ป.).
  43. เป็นวรรคเป็นเวร, เป็นวักเป็นเวน : ว. ไม่รู้จักจบจักสิ้น เช่น ร้องไห้ เป็นวรรคเป็นเวร.
  44. เผด็จการ : น. การใช้อํานาจบริหารเด็ดขาด, เรียกลัทธิหรือแบบการ ปกครองที่ผู้นำคนเดียวหรือบุคคลกลุ่มเดียวใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด ในการบริหารประเทศว่า ลัทธิเผด็จการ, เรียกผู้ใช้อำนาจเช่นนั้นว่า ผู้เผด็จการ.
  45. แผด ๒ : [ผะแด] น. บท (ใช้ในกลอน) เช่น จบสิบสองกำนัน ครูไม้หนึ่ง ๑๔ แผด. (กาพย์ขับไม้). (ข.).
  46. พระราชกำหนด : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
  47. พล่าม : [พฺล่าม] ว. เพ้อเจ้อ, เหลิงเจิ้ง, อาการที่พูดมากจนเสียประโยชน์, อาการที่พูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ ไม่รู้จักจบจนน่ารำคาญ.
  48. เพ้อเจ้อ : ว. พล่าม, อาการที่พูดมากในเรื่องที่เหลวไหลไร้สาระ, อาการที่พูดพล่ามจนเสียประโยชน์, อาการที่พูดไม่รู้จักจบ.
  49. เฟื่อง ๒ : ก. เจริญรุ่งเรือง, รุ่งโรจน์, มีชื่อเสียงโด่งดัง, เช่น เขากำลังเฟื่อง ความคิดเฟื่อง ชื่อเสียงเฟื่อง; คล่องแคล่ว, แม่นยำ, เช่น จบปริญญาเอก มาใหม่ ๆ ความรู้กำลังเฟื่อง.
  50. มหาชัย : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงในงานเกี่ยวกับเกียรติยศของบุคคลที่มาเป็นประธาน ในงานเช่นนายกรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคําปราศรัยจบลงก็ บรรเลงเพลงมหาชัยเป็นพิเศษ หรือบรรเลงในงานรับรองบุคคลสําคัญ งานสโมสร สันนิบาต เป็นต้น และในระหว่างงานดําเนิน ถ้าไม่มีดนตรีบรรเลงจะใช้เพลงมหาชัย เป็นครั้งคราวด้วยก็ได้, ปัจจุบันสํานักพระราชวังและข้อบังคับกระทรวงกลาโหมกําหนด ให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาชัยรับและส่งเสด็จในพิธีการที่พระบรมวงศ์เสด็จเป็นประธาน และบรรเลงรับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และบรรเลง เป็นเพลงเคารพธงราชวงศ์เวลาผ่านหรือขึ้นลง นายทหารที่มียศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ หรือ นายกรัฐมนตรี.
  51. [1-50] | 51-84

(0.0721 sec)