Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: จิตใจ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : จิตใจ, 96 found, display 1-50
  1. จิตใจ : น. ใจ, อารมณ์ทางใจ, (ปาก) กะจิตกะใจ.
  2. หัวจิตหัวใจ : น. หัวใจ, จิตใจ, (มักใช้ในทางตำหนิ) เช่น หัวจิตหัวใจเขาทำ ด้วยอะไรจึงเหี้ยมเกรียมนัก, อารมณ์ เช่น เขากำลังเศร้าโศกไม่มีหัวจิตหัวใจ จะทำอะไร.
  3. จิตใต้สำนึก : น. ภาวะของจิตที่ไม่อาจรู้สึกได้ เพราะอยู่ในส่วนลึกของ จิตใจ. (อ. subconscious).
  4. กระเทือนใจ : ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มากระทบ (มักใช้ในทางที่ไม่ดี), สะเทือนใจ ก็ว่า.
  5. กระเทือนซาง : (ปาก) ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างรุนแรงเพราะมีสิ่งใด สิ่งหนึ่งมากระทบใจ เช่น ว่าเท่าไร ๆ ก็ไม่กระเทือนซาง ถูกตำหนิ อย่างแรงทำให้รู้สึกกระเทือนซาง.
  6. กะเทย : น. คนที่มีอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง, คนที่มีจิตใจและกิริยาอาการ ตรงข้ามกับเพศของตน; ผลไม้ที่เมล็ดลีบ เช่น ลําไยกะเทย. (อะหม ว่า เทย).
  7. กำลังใจ : น. สภาพของจิตใจที่มีความเชื่อมั่นและกระตือรือร้น พร้อมที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ทุกอย่าง.
  8. กำลังภายใน : น. กําลังที่เร้นอยู่ภายใน, กําลังที่เกิดจากการฝึกจิต โดยเฉพาะในลัทธิเต๋าและพระพุทธศาสนาบางนิกาย เพื่อให้ จิตใจกล้าแข็งจนสามารถทําสิ่งที่คนทั่วไปทําไม่ได้.
  9. กินนรรำ : น. ชื่อท่าละครชนิดหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์); ชื่อกลบทชนิดหนึ่งตัวอย่างว่า ชะจิตใจไฉนนางระคางเขิน ปะพบพักตร์จะทักทายชม้ายเมิน ละเลิงเหลือจะเชื้อเชิญเผอิญอาย.
  10. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  11. เข้าเงียบ : ก. ประพฤติสงบจิตใจอยู่ในที่สงัดตามลัทธิคริสต์ศาสนา.
  12. เข้าถึง : ก. เข้าใจอย่างซาบซึ้ง เช่น เข้าถึงบท เข้าถึงวรรณคดี, เข้าใกล้ชิด สนิทสนมเพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงชีวิตจิตใจและความต้องการเป็นต้น เช่น เข้าถึงประชาชน.
  13. ความเครียด : น. (ฟิสิกส์) อัตราส่วนระหว่างขนาดที่เปลี่ยนไปเนื่องจากความเค้นกับ ขนาดเดิมของเทหวัตถุ. (อ. strain); ลักษณะอาการที่สมองไม่ได้ผ่อนคลาย เพราะคร่ำเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป, ลักษณะอาการที่จิตใจมีอารมณ์ บางอย่างมากดดันความรู้สึกอย่างรุนแรง.
  14. ควิวควัง, ควิวควั่ง, ควิวคว่าง, ควิวคว้าง : [-คฺวัง, -คฺวั่ง, -คฺว่าง, -คฺว้าง] ก. หมุนคว้างจนใจหวิว ๆ, อาการที่จิตใจ รู้สึกหวาดหวิว; ใช้โดยปริยายว่า เวิ้งว้าง, กว้างใหญ่, น่ากลัว, เช่น สาครควิวคว่าง, โบราณเขียนเป็น ควิวคว่งง ก็มี เช่น สมุทรพิศารลิว ควิวคว่งง แลนา. (กำสรวล).
  15. ค่า : น. มูลค่าหรือราคาของสิ่งใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มีประโยชน์ในทางใช้สอย แลกเปลี่ยน หรือทางจิตใจเป็นต้น บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินได้ บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินไม่ได้ เช่น ทองคำเป็นของมีค่า เวลามีค่ามาก; จำนวนเงินที่เป็นราคาสิ่งของหรือบริการ เป็นต้น เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าโดยสาร ค่าอาหาร; (คณิต) จำนวนหรือ ตัวเลขที่ระบุปริมาณหรือขนาดของตัวแปร; (สำ) เรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มีคุณค่ามากจนไม่อาจประเมินเป็นเงินได้ว่า เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้.
  16. โฆษณาชวนเชื่อ : ก. เผยแพร่อุดมการณ์หรือความคิดเห็น ด้วยกล อุบายต่าง ๆ เพื่อโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้เห็นคล้อยตาม.
  17. จิตบำบัด : [จิดตะ-, จิด-] น. วิธีรักษาผู้ป่วยหรือผู้มีปัญหาทางด้านจิตใจ undefined ด้วยวิธีที่จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาสนทนากับผู้ที่มารับการรักษา เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของโรคหรือปัญหาแล้วหาทางแก้ไข. (อ. psychotherapy).
  18. จิตแพทย์ : [จิดตะ-] น. แพทย์ผู้รักษาโรคทางจิตใจ ซึ่งมีอาการแสดง ความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่ผิดปรกติ. (อ. psychiatrist).
  19. จิตไร้สำนึก : น. ความคิด ความรู้สึก และแรงผลักดัน ซึ่งถูกกดเก็บไว้ ภายในจิตใจโดยไม่รู้ตัว แม้จะพยายามนึกอย่างไรก็นึกไม่ออก. (อ. un-conscious).
  20. จิตเวชศาสตร์ : [จิดตะเวดชะ-] น. วิชาแพทย์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวกับการศึกษา การตรวจรักษาและป้องกันโรคของจิตใจ เช่น โรคประสาท โรคจิต. (อ. psychiatry).
  21. จินตนาการ : น. การสร้างภาพขึ้นในจิตใจ. (ป. จินฺตน + อาการ).
  22. เจ้าเรือน : น. นิสัยซึ่งประจําอยู่ในจิตใจ เช่น มีโทสะเป็นเจ้าเรือน; (โหร) ดาวเจ้าของราศี.
  23. ใจคอ : น. จิตใจ, อัธยาศัย, อารมณ์, บางทีใช้ในทางร้ายก็มี เช่น ใจคอ จะทิ้งบ้านทิ้งช่องไปได้หรือ.
  24. ช็อก : น. สภาวะที่ร่างกายเสียเลือดจนความดันเลือดต่ำมาก หรือถูก กระทบจิตใจอย่างรุนแรงหรือถูกกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เป็นต้น จนทำให้เป็นลมหรือหมดสติในทันที. (อ. shock).
  25. ใช้กำลังประทุษร้าย : (กฎ) ก. ทำการประทุษร้ายแก่กายหรือ จิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธี อื่นใด และหมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุ ให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใด อันคล้ายคลึงกัน.
  26. ซึ้ง ๒ : ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งรู้ได้ เช่น ปัญหาลึกซึ้ง คิดลึกซึ้ง; รู้สึก เอิบอาบซาบซ่านแผ่ไปทั่วร่างกายและจิตใจ เช่น ภาพนี้มองดูซึ้ง ฟังเขาพูดแล้วรู้สึกซึ้งมาก.
  27. ตราบาป : น. บาปติดตัว, ความรู้สึกว่าเป็นบาปซึ่งมีฝังอยู่ในจิตใจตลอดไป.
  28. ทำร้ายร่างกาย : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็น เหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น เรียกว่า ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย.
  29. นมาซ : น. พิธีกรรมเกี่ยวกับการนมัสการในศาสนาอิสลาม เพื่อชำระจิตใจ ให้บริสุทธิ์ ปฏิบัติวันละ ๕ เวลา, ละหมาด ก็เรียก.
  30. นาม, นาม : [นามมะ] น. ชื่อ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาม; คําชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ สําหรับเรียกคน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ; สิ่งที่ไม่ใช่รูป คือ จิตใจ, คู่กับ รูป. (ป.).
  31. บั่นทอน : ก. ทําให้สั้นหรือลดน้อยลง เช่น บั่นทอนอายุ บั่นทอนกําลัง, ทําให้เสียกําลังใจ ในคําว่า บั่นทอนจิตใจ.
  32. ประทุษร้าย : [ปฺระทุดสะ-] ก. ทําให้บาดเจ็บ เช่น ประทุษร้ายร่างกาย, ทําให้เสียหาย เช่น ประทุษร้ายทรัพย์สิน; (กฎ) ทําร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุ ให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ.
  33. ประสาท ๑, ประสาท- ๑ : [ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ส่วนของร่างกาย มีลักษณะคล้าย เส้นใย มีหน้าที่นําคําสั่งและความรู้สึกไปสู่หรือออกจากสมอง หรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย, โดยปริยายหมายความว่า จิตใจ, ความรู้สึก. (ส. ปฺรสาท; ป. ปสาท).
  34. ผ่องแผ้ว : ว. เปล่งปลั่ง, บริสุทธิ์, สะอาดหมดจด, เช่น จิตใจผ่องแผ้ว.
  35. ผิวบาง : ว. แบบบาง, อ่อนแอ, ผู้ดี, ใช้โดยปริยายไปถึงจิตใจด้วย.
  36. พลังจิต : น. ความเข้มแข็งของจิตใจ, อํานาจจิต.
  37. พลานามัย : น. ภาวะของร่างกายที่แข็งแรง และไม่เป็นโรค; วิชาว่าด้วย การรักษาสุขภาพของร่างกายและจิตใจ.
  38. พิษ, พิษ : [พิด, พิดสะ] น. สิ่งที่ร้ายเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือให้ความ เดือดร้อนแก่จิตใจ; สิ่งที่ร้ายเป็นอันตราย เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทํา ให้ตาย เจ็บปวด หรือพิการได้ บางอย่างเกิดจากแร่ เช่นสารหนู, บางอย่างเกิดจากต้นไม้ เช่นต้นแสลงใจ, บางอย่างเกิดจากสัตว์ เช่นงู. (ส. วิษ; ป. วิส).
  39. เพรียงเมือง : ก. แทรกแซงบ่อนจิตใจชาวเมือง.
  40. ฟอก : ก. ทําให้สะอาดหมดจด เช่น ฟอกผ้า ฟอกจิตใจ.
  41. ฟั่นเฟือน : ว. หลงใหล, เคลิบเคลิ้ม, เผลอสติ, คุ้มดีคุ้มร้าย, เช่น มีสติฟั่นเฟือน จิตใจฟั่นเฟือน.
  42. ไฟกิเลส : น. กิเลสที่เปรียบเสมือนไฟเพราะทำให้จิตใจเร่าร้อน ได้แก่ ราคะโทสะ และโมหะ.
  43. ภาวนา : [พาวะ–] น. การทําให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทางจิตใจ. ก. สำรวมใจให้แน่วแน่ เป็นสมาธิ เช่น สวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจตั้งความปรารถนา เช่น นั่ง ภาวนาขอให้พระช่วย. (ป.).
  44. ภูมิธรรม : [พูมทํา] น. พื้นจิตใจที่มีคุณธรรม.
  45. มนุษย-, มนุษย์ : [มะนุดสะยะ-, มะนุด] น. สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล, สัตว์ที่มีจิตใจสูง, คน. (ส.; ป. มนุสฺส).
  46. มนุษยศาสตร์ : [มะนุดสะยะ-, มะนุดสาด] น. วิชาว่าด้วยคุณค่าทาง จิตใจและงานของคนมีศิลปะ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ศาสนา และปรัชญา. (ส. มนุษฺย+ศาสฺตฺร). (อ. humanities).
  47. แม่พระ : น. คำเรียกพระมารดาของพระเยซู; เรียกผู้หญิงที่มีจิตใจเมตตาปรานี ชอบช่วยเหลือผู้อื่นเป็นนิจ.
  48. ไม่เต็มเต็ง, ไม่เต็มบาท : (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ สติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทาง บ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟื้อง หรือ สามสลึงเฟื้อง ก็ว่า.
  49. ยาเสพติด : น. ยาหรือสารเคมีซึ่งเมื่อเสพหรือฉีดเข้าสู่ร่างกายติดต่อกัน ชั่วระยะเวลาหนึ่งก็จะติด ก่อให้เกิดพิษเรื้อรัง ทําให้ร่างกายและจิตใจ เสื่อมโทรม เช่น ฝิ่น กัญชา เฮโรอีน ยานอนหลับ สุรา.
  50. ยาเสพติดให้โทษ : (กฎ) น. สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้า สู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทําให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสําคัญ เช่นต้องเพิ่ม ขนาดการเสพขึ้นเป็นลําดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการ เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดย ทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับรวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือ ให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่ หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มี ยาเสพติดให้โทษผสมอยู่.
  51. [1-50] | 51-96

(0.0186 sec)