Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: จิ้ม , then จม, จิ้ม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : จิ้ม, 75 found, display 1-50
  1. จิ้ม : ก. จุ่ม, จุ้ม, เช่น จิ้มนํ้าพริก จิ้มหมึก; เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทิ่มหรือแทงเบา ๆ เช่น จิ้มฟัน, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งแตะ ๆ เช่น เอามะม่วงจิ้มพริกกะเกลือ.
  2. จิ้มฟันจระเข้ : น. ชื่อปลาทะเลและนํ้าจืดทุกชนิดในวงศ์ Syngnathidae ปากยื่นเป็นท่อ ลําตัวหน้าตัดเป็นเหลี่ยมแต่ยาวเรียวมาก ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกัน เป็นเหลี่ยมเป็นข้อ ครีบต่าง ๆ มีขนาดเล็ก เฉพาะครีบท้องไม่มี ตัวผู้ทํา หน้าที่ฟักไข่โดยเก็บไว้บริเวณหน้าท้อง ลําตัวมักมีสีนํ้าตาล อาจมีลาย สีเข้มพาดขวาง ที่พบในนํ้าจืดได้แก่ ชนิด Microphis boaja ส่วนในทะเล ได้แก่ชนิดในสกุลต่าง ๆ เช่น Doryrhamphus, Corythoichthys, Trachyramphus.
  3. น้ำจิ้ม : น. นํ้าผสมเครื่องเทศบางอย่าง โดยมากมีรสเปรี้ยวเค็มหวาน เช่น นํ้าจิ้มทอดมัน.
  4. จม : ก. หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมนํ้า จมดิน, โดยปริยายหมายความว่า เข้าลึก เช่น จมมีด จมเขี้ยว, หมกตัวหรือฝังตัวอยู่ เช่น จมอยู่ในห้องหนังสือ จมเลือด, ถอนทุนไม่ขึ้น เช่น ทุนจม, ยุบตัวลง เช่น สะบักจม; เรียกลวดลาย ที่ไม่เด่นว่า ลายจม. (ปาก) ว. มาก เช่น วันนี้มีการบ้านจมเลย.
  5. เกลือจิ้มเกลือ : (สํา) ว. ไม่ยอมเสียเปรียบกัน, แก้เผ็ดให้สาสมกัน. น. คนเค็มต่อคนเค็มมาพบกัน.
  6. ประจิ้มประจ่อง : ก. หยิบหย่ง, ดัดจริตกรีดกราย.
  7. ประจิ้มประเจ๋อ : ว. พูดจาและแสดงกิริยาเสนอหน้าอย่างเด็ก.
  8. ปั้นจิ้มปั้นเจ๋อ : ว. แสดงอาการกินหมากจัดเอาอย่างเขา; เจ้าหน้าเจ้าตา, ดัดจริตเสนอหน้าหรือแสดงตัวผิดกาลเทศะ.
  9. ไม้จิ้มฟัน : น. ไม้ชิ้นเล็ก ๆ ปลายแหลม ใช้แคะเศษอาหารในซอกฟัน.
  10. จ่อม ๑ : น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ทําด้วยปลาหรือกุ้งตัวเล็ก ๆ หมักเกลือไว้ระยะหนึ่ง แล้วใส่ข้าวสารคั่วป่น ทำด้วยปลาเรียกว่า ปลาจ่อม ทำด้วยกุ้งเรียกว่า กุ้งจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
  11. จิงจัง, จิ้งจัง : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จุ้งจัง ก็ว่า.
  12. จุ้งจัง : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จิงจัง หรือ จิ้งจัง ก็ว่า.
  13. เจ่า ๑ : น. อาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยกุ้งหรือปลาประสมด้วยข้าวหมาก เรียกว่า กุ้งเจ่า ปลาเจ่า, ถ้าหลนกับกะทิ เรียกว่า หลนกุ้งเจ่า หลนปลาเจ่า ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
  14. แจ่ว : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง ทําด้วยนํ้าปลาร้าหรือน้ำปลาใส่พริกป่น.
  15. ซอส : น. เครื่องปรุงรส มีลักษณะเหลวหรือค่อนข้างข้น ใช้จิ้มหรือ ปรุงอาหารเพื่อให้มีรสชาติดีขึ้น. (อ. sauce).
  16. ดือ : (กลอน) น. สะดือ เช่น ขุนช้างฉุดผ้าคว้าจิ้มดือ. (ขุนช้างขุนแผน).
  17. น้ำพริก : น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วย กะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้นใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทน กะปิก็มี ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ แกงส้ม, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รส แต่ค่อนข้าง หวานทําด้วยถั่วเขียวโขลกกับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่างเป็นเหมือด ใช้คลุกกินกับขนมจีน, คู่กับ นํ้ายา.
  18. บูดู : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. น้ำที่ได้จากปลาหมักจนเปื่อย ต้มสุกแล้วปรุง รส มี ๒ ชนิด คือ บูดูแบบเค็ม เป็นเครื่องจิ้มกับผักสด และบูดู แบบหวาน สำหรับคลุกกับข้าวยำปักษ์ใต้.
  19. ป่น : น. เครื่องจิ้มอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยนํ้าปลาร้า. ก. ทําให้แหลกละเอียด ด้วยการตําเป็นต้น เช่น ป่นเกลือ ป่นปลา ป่นพริก. ว. ที่แหลก ละเอียด เช่น พริกป่น ปลาป่น เกลือป่น.
  20. ปลาจ่อม : น. ปลาเล็ก ๆ ที่หมักด้วยเกลือและข้าวคั่วเป็นต้น ใช้เป็น เครื่องจิ้ม.
  21. ปลาเจ่า : น. ปลาที่หมักด้วยเกลือและข้าวหมากเป็นต้น ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
  22. ปลาม้ำ : น. ปลาร้าญวน ทําด้วยปลาดิบหมักเกลือ ใส่ข้าวคั่ว ใช้เป็น เครื่องจิ้ม.
  23. ปลาร้า : น. ปลาหมักเกลือใส่ข้าวคั่วใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
  24. เปาะเปี๊ยะ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง โดยนําแป้งสาลีมาทําให้สุกเป็นแผ่นกลม บาง ๆ เรียกว่า แผ่นเปาะเปี๊ยะ แล้วห่อถั่วงอกลวก หมูตั้งหรือกุนเชียง ชิ้นเต้าหู้ต้มเค็ม และแตงกวา ราดด้วยน้ำปรุงรสข้น ๆ รสหวานเค็ม โรยหน้าด้วยเนื้อปูและไข่หั่นฝอย หรือห่อรวมไว้ในแผ่นเปาะเปี๊ยะ ก็ได้ กินกับต้นหอมและพริกสด เรียกว่า เปาะเปี๊ยะสด, ชนิดที่ใช้ แผ่นเปาะเปี๊ยะห่อไส้ที่ประกอบด้วยวุ้นเส้น ถั่วงอก เนื้อไก่หรือหมูสับ เป็นต้นที่ลวกสุก แล้วนำไปทอด กินกับผักสดต่าง ๆ เช่น ใบโหระพา สะระแหน่ และน้ำจิ้มใสรสหวานอมเปรี้ยว เรียกว่า เปาะเปี๊ยะทอด. (จ.).
  25. แป๊ะซะ : น. ชื่ออาหารใช้ปลานึ่งจิ้มนํ้าส้มกินกับผัก. (จ.).
  26. ฝังเข็ม : ก. เอาเข็มที่ทำเป็นพิเศษชะโลมน้ำมันมนตร์ วางบนแขน ให้ปลายจิ้มลงในเนื้อ แล้วเสกให้ค่อย ๆ เข้าไปในแขนโดยเชื่อว่า เพื่อให้อยู่ยงคงกระพัน; วิธีการรักษาโรคแบบหนึ่งตามตำราแพทย์ จีนโดยใช้เข็มปักลงตามตำแหน่งจุดต่าง ๆ เพื่อรักษาโรคหรือ ไม่ให้ รู้สึกเจ็บเวลาผ่าตัด.
  27. พริกกะเกลือ : น. กับข้าวชนิดหนึ่งเอามะพร้าวตําจนมีนํ้ามันออกมา ใส่เกลือกับนํ้าตาลมีรสหวานเค็ม, เครื่องจิ้มผลไม้เปรี้ยวเป็นต้น ทำด้วยพริก เกลือ และน้ำตาล.
  28. ไม้ ๑ : น. คํารวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลําต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของ ต้นไม้ที่ใช้ทําสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คําประกอบ หน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทําด้วยไม้หรือเดิมทําด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คํานําหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดํา ไม้แดง, ท่ารําและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็น ตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างในว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้; เรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยที่ย่อตรงมุมของฐาน แท่น เสา หรือเครื่องยอดเป็นมุมเล็ก ๆ มุมละ ๓ มุม รวม ๔ มุมใหญ่ ได้ ๑๒ มุมเล็ก ว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง แม้ย่อมากกว่ามุมละ ๓ ก็ยังเรียกว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง.
  29. สร่ง ๒ : [สะหฺร่ง] น. ชื่ออาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยหมูสับคลุกกับรากผักชี พริกไทย น้ำปลา ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ พันด้วยเส้นมี่สั้วลวก ทอด ให้เหลืองนวล รับประทานกับน้ำจิ้ม.
  30. ส้อม : น. เหล็ก ๒ ง่าม ปลายแหลม ใช้แทงปลาเป็นต้น; เครื่องใช้จิ้มอาหาร กิน, คู่กับ ช้อน; ไม้ไผ่ที่จักให้เป็นซี่ ๆ ทำปลายซี่ให้แหลมสำหรับ เสียบอ้อยที่ควั่นเป็นข้อ ๆ, เรียกอ้อยควั่นที่เสียบซี่ไม้ไผ่ปลายแหลม ดังกล่าวว่า อ้อยส้อม. ก. ปาด เหลา หรือเจียน เช่น ส้อมงวงมะพร้าว.
  31. สะเต๊ะ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้เนื้อหมูหรือเนื้อวัวเป็นต้นที่ปรุงรสแล้ว เสียบไม้ย่างไฟ กินกับนํ้าจิ้มและอาจาด.
  32. หมูตั้ง : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยหัวหมู หูหมู หนังหมู แล่เป็นชิ้น เล็ก ๆ ผสมเครื่องปรุงแล้วเคี่ยวให้เข้ากัน อัดเป็นแท่งแข็ง เวลากินหั่น เป็นชิ้น ๆ จิ้มนํ้าจิ้มหรือยำเป็นต้น.
  33. หมูแนม : น. ชื่ออาหารว่าง มีหลายแบบ เช่น หมูแนมสด (แบบปลาแนม) หมูแนมแข็ง หมูแนมญวน, หมูแนมสดทำด้วยเนื้อหมูไม่ติดมันบดหรือ โขลกรวมกับข่าและแป้งแดงจีน ทำให้สุกด้วยการผัดในน้ำสะเออะให้ เนื้อหมูกระจายแล้วผสมด้วยมันหมูแข็งและหนังหมูต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ ยาว ๆ ข้าวคั่วป่นเป็นต้น ปรุงรส เปรี้ยว เค็มและหวาน รับประทานกับ ผักสด เช่น ใบทองหลาง ใบผักกาดหอม, หมูแนมแข็งต้องห่อหมูที่โขลก หรือบดและผสมเครื่องปรุงแล้วด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตอง มัดแน่น เก็บไว้ ๓ วัน จึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกรับประทานกับผักและน้ำจิ้ม หรือรับประทานแบบเมี่ยงเครื่องสด, หมูแนมญวนใช้เนื้อหมูล้วนสับ ใส่เกลือรวนให้สุก ใส่ยอดสะระแหน่และแตงกวาหั่น แล้วห่อด้วย ข้าวเกรียบแก้ว ตัดเป็นคำ ๆ รับประทานกับน้ำจิ้มและผักต่าง ๆ.
  34. หลน : [หฺลน] ก. เคี่ยวของบางอย่างเช่นปลาร้าปลาเจ่าให้ละลายและงวดข้น เพื่อปรุงเป็นอาหาร. น. อาหารประเภทเครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย กะทิ หัวหอม หมูหรือกุ้งสับ เคี่ยวรวมกันแล้วใส่ปลาร้าหรือเต้าเจี้ยวแห้ง เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกชื่อตามนั้น ปรุงรสให้เปรี้ยว เค็ม หวาน เช่น ปลาร้าหลน เต้าเจี้ยวหลน เต้าหู้ยี้หลน ปลากุเลาหลนรับประทานกับ ผักสด.
  35. จมไม่ลง : (สํา) ก. เคยทําตัวใหญ่มาแล้วทําให้เล็กลงไม่ได้ (มักใช้แก่คนที่เคย มั่งมีหรือรุ่งเรืองมาก่อน เมื่อยากจนหรือตกอับลงก็ยังทําตัวเหมือนเดิม).
  36. จ่ม : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ก. บ่น. (จ่ม ไทยดำ ว่า บ่น).
  37. จ่อม ๒ : ก. หย่อนลง, วางลง, เช่น เอาเบ็ดไปจ่อม จ่อมก้นไม่ลง, จุ่มลง, จม, เช่น ปวงเทพเจ้าตกจม จ่อมม้วย. (โคลงตำนานศรีปราชญ์), จอด เช่น ใจจ่อมเจ้า; ฟุบ, หมอบ, (ใช้แก่สัตว์ เช่น โค กระบือ).
  38. ล่มหัวจมท้าย : ก. ร่วมโชคชะตาเดียวกัน เช่น สามีภรรยาต้อง ล่มหัวจมท้ายด้วยกัน.
  39. อับปาง : ก. ล่ม, จม, แตก, (ใช้แก่เรือเดินทะเล).
  40. จิ่ม : ก. ล่วงเข้าไปแต่น้อย เช่น ใส่กลอนจิ่มไว้นิดเดียว.
  41. จุ่ม : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจ่อมลงไปในของเหลวแล้วยกขึ้น เช่น เอาผ้าจุ่มนํ้า.
  42. แจ่ม : ว. กระจ่าง, ไม่มัวหมอง.
  43. ลายจม : น. ลวดลายที่ไม่เด่นชัด.
  44. สะบักจม : ก. อาการที่ปวดเมื่อยบริเวณสะบักเพราะเลือดเดินไม่สะดวก.
  45. ผลุบโผล่, ผลุบ ๆ โผล่ ๆ : ว. อาการที่ผลุบลงแล้วผุดขึ้น, อาการที่ ผลุบเข้าไปแล้วโผล่ออกมา, จม ๆ ลอย ๆ, เช่น ขอนลอยน้ำผลุบ ๆ โผล่ ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ทําบ้างไม่ทําบ้างไม่สมํ่าเสมอ, ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, กะผลุบกะโผล่ หรือ ผลุบโผล่ ๆ ก็ว่า.
  46. ชอม ๒ : ก. จ่อม, จม.
  47. กามามิศ : น. อามิสคือกาใม เช่น ฝ่ายเจ้าช้างจงจม ตมเปือกกามามิศ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กาม + ส. อามิษ).
  48. กินน้ำ : ก. มีท้องเรือจมลึกลงไปในน้า เช่น เรือกินน้ำตื้น เรือกินน้ำลึก.
  49. ง่ามถ่อ : น. ไม้ที่มีรูปร่างโค้งคล้ายง่ามมือที่เสียบปลายถ่อเอาไว้สำหรับให้ หัวไหล่ดันถ่อได้ถนัด มักจะใช้ผ้าพันเพื่อกันไม่ให้ไหล่เจ็บ, เหล็กที่มีรูปร่าง โค้งคล้ายเขาควาย มีปลอกอัดที่โคนถ่อ ใช้สำหรับตู๊เรือหรือสำหรับกดลง ในดินเพื่อไม่ให้โคนถ่อจมลึกลงไป, ลักษณะหัวที่มีผมเถิกเข้าไปเป็น ๒ แฉกเหมือนง่ามถ่อ.
  50. จะแจ่ม : (กลอน) ว. แจ่ม, ใส, กระจ่าง, ชัดเจน, ไม่มัว.
  51. [1-50] | 51-75

(0.0704 sec)