Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ฉบับ , then ฉบบ, ฉบับ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ฉบับ, 34 found, display 1-34
  1. ฉบับ : [ฉะ-] น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสํานวนแตกต่างกันเป็นต้น เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือ เขียน เรียกว่า ต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกหนังสือเล่มหรือหนังสือเป็นแผ่น ที่ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ เช่น จดหมาย ๓ ฉบับ สลากกินแบ่ง ๕ ฉบับ หนังสือสัญญา ๒ ฉบับ. (ข. จฺบาบ่).
  2. คู่ฉบับ : (กฎ) น. หนังสือหรือเอกสารที่ทําขึ้นเป็นต้นฉบับตั้งแต่ ๒ ฉบับขึ้นไป มีข้อความตรงกัน โดยฉบับหนึ่งเป็นคู่ฉบับของ อีกฉบับหนึ่ง.
  3. ระบิ, ระบิล : น. เรื่อง, ความ, ฉบับ, อย่าง.
  4. ฉบบ : [ฉะ-] น. แบบ, เล่มหนังสือ, เรื่อง. (ข. จฺบาบ่).
  5. แบบฉบับ : น. หลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐาน, สิ่งที่ถือเป็นแบบได้.
  6. ระบับ : น. แบบ, ฉบับ.
  7. ลบอง : [ละบอง] น. แบบ, ฉบับ. ก. แต่ง, ทํา. (ข. ลฺบง ว่า ลอง).
  8. อ้างอิง : ก. ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน, ยกมากล่าวเป็นหลัก, เช่น ในการให้ความหมายของคำ เขามักอ้างอิงพจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน. ว. ที่ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน เช่น พจนานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิง เอกสารอ้างอิง.
  9. กระมึน : (โบ) ว. สูงค้าฟ้า, สูงเด่น, เช่น กายาศีรษะพลัดพราย หัวขาดเด็ดตาย จรลู่กระมึนเหมือนเขา. (เสือโค, บางฉบับเป็น ตระหมื้น), ตระมึน ก็ใช้, โดยมากเป็น ทะมื่น.
  10. ครรลอง : [คันลอง] น. ทาง, แนวทาง, แบบฉบับ. (แผลงมาจาก คลอง).
  11. คู่ฉีก : (กฎ) น. ตั๋วแลกเงินเป็นสํารับ ซึ่งออกเป็น ๒ ฉบับหรือกว่านั้น มีข้อความตรงกันทุกฉบับ มีหมายเลขลําดับลงไว้ในตัวตราสารนั้นเอง และถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินฉบับเดียว.
  12. จินดามณี : น. แก้วอันให้ผลแก่เจ้าของตามใจนึก, แก้วสารพัดนึก; ชื่อตำรา แบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งใน รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. (ป., ส.).
  13. ต้นฉบับ : น. ฉบับจริงของเรื่องที่ประพันธ์ไว้เดิม, ฉบับที่เขียนหรือดีด พิมพ์ไว้เดิมก่อนตีพิมพ์, ต้นสําเนา.
  14. ต้นแบบ : น. แบบดั้งเดิม, แบบที่มีมาแต่แรก, แบบที่ทําขึ้นไว้แต่แรก, สิ่งที่ สร้างขึ้นเป็นแบบฉบับ ใช้เป็นต้นเค้าสําหรับสร้างสิ่งอื่นให้มีลักษณะ เดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน.
  15. ต้นร่าง : น. ฉบับที่ร่างไว้เดิม.
  16. ธนบัตรย่อย : น. ธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มีราคามากกว่า, แบงก์ย่อย ก็ว่า.
  17. นอกครู : ก. ประพฤติไม่ตรงตามคําสั่งสอนของครูบาอาจารย์, ประพฤติ ไม่ตรงตามแบบฉบับที่นิยมกันมา.
  18. นอกบาลี : ก. พูดหรือทํานอกแบบฉบับ.
  19. นั้น : ว. ใช้ประกอบนามหรือข้อความที่กล่าวอ้างมาแล้ว เช่น ในจดหมาย ฉบับนั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น, ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกล กว่า นี้ เช่น คนนั้น สิ่งนั้น, ใช้ประกอบคําอื่นคู่กับคํา ใด แสดงความ แน่นอน เช่น คนใดคนนั้น เมื่อใดเมื่อนั้น. นั้นแล คําลงท้ายบอกว่าจบเรื่อง.
  20. ปฐมฤกษ์ : [ปะถมมะ-] น. ช่วงเวลาแรกของฤกษ์. ว. เริ่มแรก เช่น ฉบับปฐมฤกษ์.
  21. พญาลอ : น. ชื่อนกชนิด Lophura diardi ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเทา ตะโพก สีแดงสด ขนหางยาวสีดําเหลือบเขียว ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายขวางสีดํา นกชนิดนี้ถือเป็นแบบฉบับของนกไก่ฟ้าในประเทศไทยมีชื่อสามัญว่า Siamese Fireback Pheasant, ไก่ฟ้าพญาลอ ก็เรียก.
  22. พิสดาร : [พิดสะดาน] ว. กว้างขวาง, ละเอียดลออ (ใช้แก่เนื้อความ) เช่น ประวัติศาสตร์ฉบับพิสดาร มีความพิสดารดังนี้; (ปาก) แปลกพิลึก เช่น เล่นพิสดาร. (ส. วิสฺตาร; ป. วิตฺถาร).
  23. ภาษาแบบแผน : น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียว กันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า ''ขอเดชะ...'' และลงท้ายว่า ''ควรมิควรแล้วแต่ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...'', ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคล สำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตร กิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับ พิธีการ ก็เรียก.
  24. มนุสาร, มนูสาร, มโนสาร : น. ชื่อคัมภีร์กฎหมายมนูธรรมศาสตร์ฉบับย่อ.
  25. ย่อย : ก. ทําเป็นส่วนเล็กส่วนน้อยโดยแยกจากส่วนใหญ่ เช่น ย่อยหิน; ทำให้ ละลายจนซึมซาบได้ เช่น ย่อยอาหาร. ว. เรียกส่วนน้อยที่แยกจากส่วน ใหญ่ เช่น ส่วนย่อย กลุ่มย่อย, เบ็ดเตล็ด, ไม่สำคัญ, เช่น ข่าวย่อย, เรียก ละครเรื่องสั้น ๆ ว่า ละครย่อย; เรียกธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มี ราคามากว่า ธนบัตรย่อย หรือ แบงก์ย่อย.
  26. ย่อส่วน : ก. จำลองแบบให้มีรูปทรง ขนาด เล็กลงกว่าต้นแบบตามส่วน เช่น จงย่อส่วนแผนที่นี้. น. แบบที่จำลองให้มีรูปทรง ขนาด เล็กลงกว่า ต้นแบบตามส่วนอย่างหุ่นจำลอง เช่น นี่เป็นย่อส่วนของแผนที่ฉบับนั้น.
  27. รองทรง : น. ทรงผมผู้ชายที่ตัดข้างล่างสั้นข้างบนยาว; หนังสือสำคัญและสมุดไทย ที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นการส่วนพระองค์ เช่น กฎหมายตรา ๓ ดวง ฉบับรองทรง.
  28. ร่าง : น. รูปทรง, โครง, ตัว, เช่น เอวบางร่างน้อย ร่างเล็ก ร่างล่ำสัน. ก. ทํารูป โครงขึ้นเพื่อลอก คัด หรือแต่งเป็นต้นในภายหลัง เช่น ร่างพระราชบัญญัติ ร่างภาพ. ว. ที่ทำรูปโครงขึ้นเพื่อลอก คัด หรือแต่งเป็นต้นในภายหลัง เช่น ฉบับร่าง ต้นร่าง ภาพร่าง โครงร่าง.
  29. วันรัฐธรรมนูญ : น. วันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แก่ประชาชนชาวไทย ตรงกับ วันที่ ๑๐ ธันวาคม.
  30. ศิษย์นอกครู : (สำ) น. ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคำสั่งสอนของ ครูบาอาจารย์, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ประพฤติไม่ตรงตามแบบ ฉบับที่นิยมกันมา.
  31. หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
  32. หลวม : ว. ไม่แน่น, ไม่สนิท, เช่น นอตตัวนี้หลวม; ใหญ่เกินพอดี, ยังมีที่ว่างเหลือ อยู่, เช่น จัดของใส่กระเป๋าหมดแล้ว กระเป๋ายังหลวมอยู่; โดยปริยาย หมายความว่า ไม่กระชับ, ไม่รัดกุม, เช่น สำนวนหลวมไป เหตุผลยัง หลวมอยู่, ไม่รอบคอบ เช่น สัญญาฉบับนี้ทำไว้หลวมเกินไป.
  33. อัน : น. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คําบอกลักษณะ สิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากําหนดสําหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือ ข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธาน หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่า ทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).
  34. อันว่า : ว. ใช้เป็นคํานําหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความ ต่าง ๆ เช่น อันว่าทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อัน ก็มี เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มี กําหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า).
  35. [1-34]

(0.0634 sec)