Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชะ , then , ชะ, ชา .

Budhism Thai-Thai Dict : ชะ, 76 found, display 1-50
  1. ปิณโฑล ภารทวาชะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลภารทวาชโคตร ในพระนครราชคฤห์ เรียนจบไตรเพท ออกบวชในพระพุทธศาสนา ได้สำเร็จพระอรหัต เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสติ สมาธิ ปัญญา มักเปล่งวาจาว่า “ผู้ใดมีความเคลือบแคลงสงสัยในมรรคก็ดี ผลก็ดี ขอผู้นั้นจงมาถามข้าพเจ้าเถิด” พระศาสดาทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางบันลือสีหนาท
  2. โกสัชชะ : ความเกียจคร้าน
  3. มัชชะ : ของเมา, น้ำที่ทำผู้ดื่มให้เมา หมายถึงสุราและเมรัย
  4. ยโสชะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรหัวหน้าชาวประมง ใกล้ประตูเมืองสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนากปิลสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง มีความเลื่อมใสขอบวช ต่อมาไปเจริญสมณธรรมที่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา ได้สำเร็จพระอรหัต
  5. สังเสทชะ : สัตว์เกิดในของชื้นแฉะโสโครก เช่น หมู่หนอน (ข้อ ๓ ในโยนิ ๔)
  6. อุสีรธชะ : ภูเขาที่กั้นอาณาเขตของมัชฌิมชนบทด้านเหนือ
  7. ภารทวาชโคตร : ตระกูลภารทวารชะ เป็นตระกูลพราหมณ์เก่าแก่ ปรากฏตั้งแต่สมัยร้อยกรองพระเวท แต่ในพุทธกาลปรากฏตามคัมภีร์วินัยปิฎก ว่าเป็นตระกูลต่ำ
  8. มัชฌิมชนมบท : ประเทศที่ตั้งอยู่ในท่ามกลาง, ถิ่นกลางเป็นอาณาเขตที่กำหนดว่า มีความเจริญรุ่งเรือง มีประชาชนหนาแน่น มีเศรษฐกิจดี เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่แห่งนักปราชญ์ผู้มีวิชาความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษา เป็นต้น กำหนดเขต ทิศบูรพา ภายในนับแต่มหาศาลนครเข้ามา อาคเนย์ นักแต่แม่น้ำสัลลวดีเข้ามา ทักษิณ นับแต่เสตกัณณิกนิคมเข้ามา ปัจจิม นับแต่ถูกคามเข้ามา อุดร นับแต่ภูเขาอุสีรธชะเข้ามา นอกจากนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท หรือ ปัจจันตประเทศ
  9. มัชฌิมประเทศ : ประเทศที่ตั้งอยู่ในท่ามกลาง, ถิ่นกลางเป็นอาณาเขตที่กำหนดว่า มีความเจริญรุ่งเรือง มีประชาชนหนาแน่น มีเศรษฐกิจดี เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่แห่งนักปราชญ์ผู้มีวิชาความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษา เป็นต้น กำหนดเขต ทิศบูรพา ภายในนับแต่มหาศาลนครเข้ามา อาคเนย์ นักแต่แม่น้ำสัลลวดีเข้ามา ทักษิณ นับแต่เสตกัณณิกนิคมเข้ามา ปัจจิม นับแต่ถูกคามเข้ามา อุดร นับแต่ภูเขาอุสีรธชะเข้ามา นอกจากนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท หรือ ปัจจันตประเทศ
  10. โยนิ : กำเนิดของสัตว์มี ๔ จำพวก คือ ๑.ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ เช่น คน แมว ๒.อัณฑชะ เกิดในไข่ เช่น นก ไก่ ๓.สังเสทชะ เกิดในไคล คือที่ชื้นและสกปรก เช่น หนอนบางอย่าง ๔.โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น เช่น เทวดา สัตว์นรก
  11. อรหันต์ : ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา, พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล, พระอรหันต์ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา, พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล, พระอรหันต์ ๒ ประเภท คือ พระสุกขวิปัสสก กับพระสมถยานิก ; พระอรหันต์ ๔ คือ ๑) พระสุกขวิปัสสก ๒) พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓) ๓) พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖) ๔) พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔); พระอรหันต์ ๕ คือ ๑) พระปัญญาวิมุต ๒) พระอุภโตภาควิมุต ๓) พระเตวิชชะ ๔) พระฉฬภิญญะ ๕) พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ดู อริยบุคคล
  12. อัคคัญญสูตร : ชื่อสูตรที่ ๔ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก ทรงแสดงแก่สามเณรวาเสฏฐะ และสามเณรภารัทวาชะ ผู้ออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ ทรงคัดค้านคำกล่าวอ้างของพวกพราหมณ์ ที่ถือว่าพราหมณ์เป็นวรรณะประเสริฐที่สุด และถือว่าชาติกำเนิดเป็นเครื่องตัดสินความประเสริฐ และความต่ำทรามของมนุษย์ ทรงแสดงให้เห็นว่าความประเสริฐหรือต่ำทรามนั้นอยู่ที่ความประพฤติ โดยมีธรรมเป็นเครื่องตัดสิน คนวรรณะต่างๆ ออกบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เกิดจากธรรมเสมอกันหมด แล้วทรงแสดงความเป็นมาของสังคมมนุษย์ เริ่มแต่เกิดมีสัตว์ขึ้นในโลกแล้วเปลี่ยนแปลงตามลำดับ จนเกิดมีมนุษย์ที่อยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นพวก เกิดความจำเป็นต้องมีการปกครอง และมีการประกอบอาชีพ การงานต่างๆ กัน วรรณะทั้ง ๔ ก็เกิดจากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ มิใช่เป็นเรื่องของพรหมสร้างสรรค์ แต่เกิดจากธรรม (ธรรมดา, กฎธรรมชาติ) ทุกวรรณะประพฤติชั่วก็ไปอบายได้ ปฏิบัติธรรมก็บรรลุนิพพานได้ ธรรมเป็นเครื่องตัดสิน และธรรมเป็นของประเสริฐสูงสุด ผู้ที่สิ้นอาสวกิเลสแล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุดในวรรณะทั้ง ๔ ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐสุดในบรรดาเทวะ และมนุษย์ทั้งปวง
  13. ชตุกัณณีมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  14. ชตุเภสัช : พืชที่มียางเป็นยา, ยาทำจากยางพืช เช่น มหาหิงคุ์ กำยาน เป็นต้น
  15. ชาติสุททะ : พวกสุททะ, คนพวกวรรณะศูทร เป็นคนชั้นต่ำในชมพูทวีป ดู ศูทร
  16. ปชาบดี : 1.ภรรยา, เมีย 2.ดู มหาปชาบดีโคตมี
  17. ปัพพชาจารย์ : อาจารย์ผู้ให้บรรพชา ; เขียนเต็มรูปเป็น ปัพพัชชาจารย์ จะเขียน บรรพชาจารย์ ก็ได้
  18. ปัพพชาเปกขะ : กุลบุตรผู้เพ่งบรรพชา, ผู้ตั้งใจจะบวชเป็นสามเณร, ผู้ขอบวชเป็นสามเณร; เขียนเต็มรูปเป็น ปัพพัชชาเปกขะ
  19. มหาปชาบดีโคตมี : พระน้านางของพระพุทธเจ้า เดิมเรียกว่าพระนางปชาบดี เป็นธิดาของเจ้าสุปปพุทธะ แห่งโกลิยวงศ์เป็นพระภคินีของพระนางสิริมหามายา เมื่อพระมหามายาสิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าสุทโธทนะ ได้มอบพระสิทธัตถะให้พระนางเลี้ยงดู ต่อมาเมื่อพระเจ้าสุทโธทนะสวรรคตแล้ว พระนางได้ออกบวชเป็นภิกษุณีองค์แรก ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางรัตตัญญู(บวชนานรู้เหตุการณ์ก่อนใครๆ) ดู ภิกษุณีสงฆ์
  20. อเนญชาภิสังขาร : สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน (ข้อ ๓ ในอภิสังขาร ๓); ตามหลักเขียน อาเนญชาภิสังขาร
  21. อาเนญชาภิสังขาร : ดู อเนญชาภิสังขาร
  22. กัมมวิปากชา อาพาธา : ความเจ็บไข้ เกิดแต่วิบากของกรรม
  23. กายสัมผัสสชาเวทนา : เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัส, ความรู้สึกที่เกดขึ้นเพราะการที่กาย โผฏฐัพพะและกายวิญญาณประจวบกัน
  24. ขัชชภาชกะ : ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ แต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่แจกของเคี้ยว
  25. ฆานสัมผัสสชาเวทนา : เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่จมูก กลิ่น และฆานวิญญาณประจวบกัน
  26. จักขุสัมผัสสชาเวทนา : เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน
  27. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา : เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ ลิ้น รส และชิวหาวิญญาณประจวบกัน
  28. ทศพิธราชธรรม : ดู ราชธรรม
  29. ปัญจกัชฌาน : ฌานหมวด ๕ หมายถึงรูปฌานที่ตามปกติอย่างในพระสูตรแบ่งเป็น ๔ ขั้น แต่ในพระอภิธรรมนิยมแบ่งซอยละเอียดออกไปเป็น ๕ ชั้น (ท่านว่าที่แบ่ง ๕ นี้ เป็นการแบ่งในกรณีที่ผู้เจริญฌานมีญาณไม่แก่กล้า จึงละวิตกและวิจารได้ทีละองค์) ดู ฌาน
  30. ปัพพัชชา : การถือบวช, บรรพชาเป็นอุบายฝึกอบรมตนในทางสงบ เว้นจากความชั่วมีการเบียดเบียนกันและกัน เป็นต้น (ข้อ ๒ ในสัปปุริสบัญญัติ ๓)
  31. เภสัชชขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๖ แห่งคัมภีร์มหาวรรควินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องเภสัชคือ ยาบำบัดโรค ตลอดจนเรื่องยาคู อุทิสสมังสะ กัปปิยะอกัปปิยะ และกาลิก ๔
  32. มโนสัมผัสสชาเวทนา : เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ใจ ธรรมารมณ์และมโนวิญญาณประจวบกัน ดู เวทนา
  33. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน : ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ประกอบด้วยวิชชา ๓ หรือวิชชา ๘ และจรณะ ๑๕ อันเป็นปฏิปทาเครื่องบรรลุวิชชานั้น, มีความรู้ประเสริฐ ความประพฤติประเสริฐ (ข้อ ๓ ในพุทธคุณ ๙)
  34. วิสมปริหารชา อาพาธา : ความเจ็บไข้ที่เกิดจากบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ คือ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่พอดี
  35. เวสารัชชญาณ : พระปรีชาญาณอันทำให้พระพุทธเจ้าทรงมีความแกล้วกล้าไม่ครั่นคร้าม ด้วยไม่ทรงเห็นว่าจะมีใครท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรม ในฐานะทั้ง ๔ คือ ๑.ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ ท่านยังไม่รู้แล้ว ๒.ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะนี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว ๓.ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ๔.ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบได้จริง
  36. สามันตราช : พระราชแคว้นใกล้เคียง
  37. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี : เว้นจากน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท (ข้อที่ ๕ ในศีล ๘ ศีล ๑๐)
  38. โสตสัมผัสสชาเวทนา : เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่หู เสียง และโสตวิญญาณกระทบกัน
  39. อุตุปริณามชา อาพาธา : ความเจ็บไข้เกิดแต่ฤดูแปรปรวน, เจ็บป่วยเพราะดินฟ้าอากาศผันแปร
  40. อุปาทายรูป : รูปอาศัย, รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป, อาการของมหาภูตรูป ตามหลักฝ่ายอภิธรรมว่า มี ๒๔ คือ ก) ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุ ตา, โสต หู, ฆาน จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย, มโน ใจ, ข) โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป) ค) ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย ง) หทัยรูป ๑ คือ หทัยวัตถุ หัวใจ จ) ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่ ฉ) อาหารรูป ๑ คือกวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา ช) ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง ญ) วิญญัติรูป ๒ คือ กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือพูดได้ ฎ) วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่างๆ ได้แก่ ลหุตา ความเบา, มุทุตา ความอ่อน, กัมมัญญตา ความควรแก่งาน, (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก) ฏ) ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ ความเติบขึ้นได้, สันตติ สืบต่อได้, ชรตา ทรุดโทรมได้, อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูป เพียง ๓ จึงได้ ๒๔); ดู มหาภูต ด้วย
  41. โคตมี : ชื่อเรียกสตรีแห่งโคตมโคตร เช่น พระนางมหาปชาบดี ผู้เป็นพระแม่น้าของพระสิทธัตถะ เป็นต้น
  42. จตุกกัชฌาน : ฌานหมวด ๔ คือ รูปฌานที่แบ่งเป็น ๔ ขั้น อย่างที่รู้จักกันทั่วไป ดู ฌาน๔เทียบ ปัญจกัชฌาน
  43. เจ้าอธิการแห่งอาหาร : ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับอาหาร มี ๔ อย่าง คือผู้จัดแจกภัต (ภัตตุเทสก์) ผู้แจกยาคู (ยาคุภาชก) ผู้แจกผลไม้ (ผลภาชก) และผู้แจกของเคี้ยว (ขัชชภาชก)
  44. ทวิช : ชื่อหนึ่งสำหรับเรียกพราหมณ์ในภาษาไทยเป็นทิชาจารย์หรือทวิชาจารย์ก็มี แปลว่าเกิด ๒ หน หมายถึงเกิดโดยกำเนิดครั้งหนึ่ง เกิดโดยได้รับครอบเป็นพราหมณ์ครั้งหนึ่ง เปรียบเหมือนนกซึ่งเกิด ๒ หนเหมือนกัน คือเกิดจากท้องแม่ออกเป็นไข่หนหนึ่ง เกิดจากไข่เป็นตัวอีกหนหนึ่ง นกจึงมีชื่อเรียกว่า ทวิช หรือ ทิช ซึ่งแปลว่า เกิด ๒ หนอีกชื่อหนึ่งด้วย
  45. ธรรมกาย : “ผู้มีธรรมเป็นกาย” เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า (ตามความในอัคคัญญสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค) หมายความว่า พระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยพระหทัยแล้วทรงนำออกเผยแพร่ด้วยพระวาจา เป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรม เพราะทรงเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งธรรมอันปรากฏเปิดเผยออกมาแก่ชาวโลก; อนึ่งธรรมกายคือกองธรรมหรือชุมนุมแห่งธรรมนั้น ย่อมเจริญงอกงามเติบขยายขึ้นได้โดยลำดับจนไพบูลย์ ในบุคคลผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระองค์ แล้วฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขาเจริญมรรคให้บรรลุภูมิแห่งอริยชน ดังตัวอย่างดำรัสของพระมหาปชาบดีโคตมี เมื่อครั้งกราบทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อปรินิพพานตามความในคัมภีร์อปทานตอนหนึ่งว่า “ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์, ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์ก็เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน..รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันได้ทำให้เจริญเติบโต ส่วนธรรมกายอันเป็นที่เอิบสุขของหม่อมฉัน ก็เป็นสิ่งอันพระองค์ได้ทำให้เจริญเติบโต”; สรุปตามนัยอรรถกถาธรรมกายก็คือโลกุตตรธรรม ๙ หรือ อริยสัจ
  46. นันทกุมาร : พระราชบุตรของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางปชาบดีโคตมี ต่อมาออกบวชมีชื่อว่าพระนันทะ คือ องค์ที่มีรูปพรรณสัณฐานคล้ายพระพุทธองค์นั่นเอง
  47. นันทะ : พระอนุชาของพระพุทธเจ้า แต่ต่างมารดา คือประสูติแต่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้ออกบวชในวันมงคลสมรสกับนางชนปทกัลยาณี เบื้องแรกประพฤติพรหมจรรย์อยู่ด้วยความจำใจ แต่ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงสอนด้วยอุบาย จนพระนันทะเปลี่ยนมาตั้งใจปฏิบัติธรรม และในที่สุดก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้สำรวมอินทรีย์ พระนันทะมีรูปพรรณสัณฐานคล้ายพระพุทธเจ้า แต่ต่ำกว่าพระพุทธองค์ ๔ นิ้ว
  48. ปกฺขหตตา : ความเป็นผู้ชาไปซีกหนึ่ง ได้แก่ โรคอัมพาต
  49. พรหมโลก : ที่อยู่ของพรหม ตามปกติหมายถึงรูปพรหม ซึ่งมี ๑๖ ชั้น (เรียกว่า รูปโลก) ตามลำดับดังนี้ ๑.พรหมปาริสัชชา ๒.พรหมปุโรหิตา ๓.มหาพรหมา ๔.ปริตตาภา ๕.อัปปมาณาภา ๖.อาภัสสรา ๗.ปริตตสุภา ๘.อัปปมาณสุภา ๙.สุภกิณหา ๑๐.อสัญญีสัตตา ๑๑.เวหัปผลา ๑๒.อวิหา ๑๓.อตัปปา ๑๔.สุทัสสา ๑๕.สุทัสสี ๑๖.อกนิฏฐา; นอกจากนี้ยังมีอรูปพรหม ซึ่งแบ่งเป็น ๔ ชั้น (เรียกว่า อรูปโลก) คือ ๑.อากาสานัญจายตนะ ๒.วิญญาณัญจายตนะ ๓.อากิญจัญญายตนะ ๔.เนวสัญญานาสัญญายตนะ
  50. พละ : กำลัง 1.พละ ๕ คือธรรมอันเป็นกำลัง ซึ่งเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค จัดอยู่ในจำพวกโพธิปักขิยธรรม มี ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา; ดู อินทรีย์๕2.พละ ๔ คือธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัยต่างๆ ได้แก่ ๑.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ๒.วิริยพละ กำลังความเพียร ๓.อนวัชชพละ กำลังคือการกระทำที่ไม่มีโทษ (กำลังความสุจริตและการกระทำแต่กิจกรรมที่ดีงาม) ๔.สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ คือช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม 3.พละ ๕ หรือ ขัตติยพละ ๕ ได้แก่กำลังของพระมหากษัตริย์ หรือกำลังที่ทำให้มีความพร้อมสำหรับความเป็นกษัตริย์ ๕ ประการ ดังแสดงในคัมภีร์ชาดกคือ ๑.พาหาพละ หรือ กายพละ กำลังแขนหรือกำลังกาย คือแข็งแรงสุขภาพดี สามารถในการใช้แขนใช้มือใช้อาวุธ มีอุปกรณ์พรั่งพร้อม ๒.โภคพละ กำลังโภคสมบัติ ๓.อมัจจพละ กำลังข้าราชการที่ปรึกษาและผู้บริหารที่สามารถ ๔.อภิชัจจพละ กำลังความมีชาติสูง ต้องด้วยความนิยมเชิดชูของมหาชนและได้รับการศึกษาอบรมมาดี ๕.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ซึ่งเป็นข้อสำคัญที่สุด
  51. [1-50] | 51-76

(0.0168 sec)