Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชัด , then ชด, ชตฺ, ชัด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชัด, 113 found, display 1-50
  1. ชัด : ว. ประจักษ์แจ้ง, แจ่มแจ้ง, เช่น เห็นชัด ปรากฏชัด; ไม่ผิดเพี้ยน, ไม่แปร่ง, เช่น พูดชัด.
  2. กระจัด ๒ : ว. กระจะ, จะจะ, ชัด, เช่น ฝ่ายล่ามบอกออกอรรถกระจัดแจ้ง. (อภัย).
  3. แจ้ง : ก. แสดงให้รู้, บอกให้รู้, เช่น แจ้งความประสงค์. ว. กระจ่าง, สว่าง, ชัด, เช่น แจ้งใจ.
  4. ถนัด : [ถะหฺนัด] ก. สันทัด, ชํานาญ, เช่น ถนัดแต่งกลอน. ว. สะดวก เช่น เดินไม่ถนัด; ชัด, แม่ยำ, เช่น เห็นไม่ถนัด; เช่น, ราวกับ, เช่น ถนัด ดั่งภูผาหลวง ทุ่มแท้. (ตะเลงพ่าย), สนัด ก็ว่า.
  5. ถ่อง : (โบ) ว. งาม, อร่าม, แจ่มใส, รุ่งเรือง; ชัด, แน่, แท้, เที่ยง, จะแจ้ง, เช่น เร่งหาผู้รู้รอบ ทุกการ เฉลียวฉลาดโวหาร ถ่องถ้อย. (ลอ).
  6. ชด : ก. ทําให้ชุ่มชื่น, ใช้แทนที่เสียไป. ว. อ่อน, ช้อย, งอนอย่าง งอนรถ.
  7. ชัฏ : [ชัด] (แบบ) น. ป่าทึบ, ป่ารก, เซิง, เช่น ตัวก่านกาจ ชาติชัฏขน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. ชฏา).
  8. เว่อ : ว. เบ้อ เช่น ถูกฟันแผลเว่อ; ชัด เช่น เห็นกระดูกขาวเว่อ.
  9. แจบ : (ถิ่น-อีสาน) ก. สนิท; แจ้ง, ชัด.
  10. ชรอัด : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชัด เช่น ลางหมู่งาชรอัดชรแอ้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
  11. ชัชวาล : [ชัดชะวาน] ว. สว่าง, รุ่งเรือง, โพลงขึ้น. (ส. ชฺวาล).
  12. ก็ ๒ : นิ. ไขความ เช่น ถึงแก่กรรมก็ตายนั่นเอง ประสาทพิการก็บ้านั่นเอง, เน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้ง เช่น ทั้งฟืนเจ้าก็หัก ทั้งผักเจ้าก็หา.
  13. กระเดือก ๑ : น. ส่วนของกล่องเสียง มีลักษณะโปนออกมากลางลำคอเหนือท่อลม เห็นได้ชัดในผู้ชาย เรียกว่า ลูกกระเดือก.
  14. กระอ้อกระแอ้ : ว. อ้อแอ้, อาการออกเสียงของเด็กที่เริ่มหัดพูด, อาการที่พูดไม่ชัดอย่างคนเมา.
  15. กร่ำกรุ่น : [กฺร่ำกฺรุ่น] ว. สีมัว ๆ ไม่ชัด เช่น สีกร่ำกรุ่นเป็นอย่างไรฉันไม่เคย.
  16. กล้อมแกล้ม : [กฺล้อมแกฺล้ม] ก. เคี้ยวไม่ทันแหลกแล้วรีบกลืน, เคี้ยวไม่ถนัด; พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป; กะล่อมกะแล่ม ก็ว่า.
  17. กะล่อมกะแล่ม : ก. เคี้ยวไม่ทันแหลกแล้วรีบกลืน, เคี้ยวไม่ถนัด; พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป; กล้อมแกล้ม ก็ว่า.
  18. กะหน็องกะแหน็ง : ว. แปร่ง, ไม่ชัด, ฟังไม่ออก, (ใช้แก่การพูด), หน็องแหน็ง หรือ อีหน็องอีแหน็ง ก็ว่า.
  19. ขึ้น ๒ : ว. ใช้ประกอบคําอื่นเพื่อเน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้งกว่าเดิม เช่น เกิดขึ้น เป็นขึ้น สวยขึ้น สูงขึ้น; เป็นคําประกอบท้าย หมายความว่า มากกว่าเดิม เช่น ดีขึ้น เร็วขึ้น อ้วนขึ้น; เป็นไปตามคําที่ยอหรือยุเป็นต้น เช่น ยกขึ้น ยุขึ้น หนุนขึ้น; ดูสวยกว่าตัวจริง เช่น แต่งตัวขึ้น ถ่ายรูปขึ้น; มีเหตุผลสมควร เช่น ฟังขึ้น, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เช่น เถียงไม่ขึ้น หมายความว่า เถียงไม่ชนะ.
  20. คลุม ๆ : ว. พูดไม่บ่งชัดให้จะแจ้ง เช่น พูดคลุม ๆ.
  21. คลุมเครือ : ว. ลักษณะที่กํ้ากึ่งเอาแน่นอนทางใดทางหนึ่งไม่ได้ เช่น อากาศ ที่จะมืดก็ไม่มืด จะสว่างก็ไม่สว่าง เรียกว่า อากาศคลุมเครือ, อาการไข้ที่ จะหายก็ไม่หาย จะหนักก็ไม่หนัก เรียกว่า ไข้คลุมเครือ, พูดไม่บ่งชัด ไปทางใดให้จะแจ้ง เรียกว่า พูดคลุมเครือ.
  22. เคลือบคลุม : ว. ไม่แจ่ม, ไม่กระจ่าง, ไม่ชัด, เช่น ข้อความเคลือบคลุม.
  23. จักจั่น ๑ : น. ชื่อแมลงพวกหนึ่งในวงศ์ Cicadidae มีหลายขนาด ลําตัวยาวตั้งแต่ ๒-๑๐ เซนติเมตร และเรียวลงไปทางหาง หัวและอกกว้าง ปีกมี ๒ คู่ เนื้อปีกเหมือนกันตลอด ปีกเมื่อพับจะเป็นรูปหลังคาคลุมตัว มีปากชนิด เจาะดูดโผล่จากหัวทางด้านล่างที่บริเวณใกล้กับอก ตาโตเห็นได้ชัดอยู่ ตรงมุม ๒ ข้างของหัว ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสําหรับทําเสียงได้ยินไปไกล ระดับเสียงค่อนข้างสมํ่าเสมอ ไร้กังวาน ส่วนใหญ่สีเขียว ที่พบบ่อยเป็น ชนิด Dundubia intermerata.
  24. จิตภาพ : [จิดตะ-] น. ลักษณะทั่วไปของจิตที่แสดงให้เห็นเด่นชัด, บางทีใช้หมายถึงวิสัยสามารถของจิต. (อ. mentality).
  25. จุดเด่น : น. สิ่งที่ปรากฏชัดสะดุดตาหรือสะดุดใจ.
  26. จุดบอด : น. บริเวณที่เครื่องมือสื่อสารรับสัญญาณได้ไม่ชัด, บริเวณ หลังลูกตาที่ไม่รับแสง, บริเวณที่ควรจะมองเห็นแต่ไม่สามารถมองเห็น ได้เช่น ทางโค้งนี้มีจุดบอด ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนกันบ่อย ๆ, จุดของ ปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินใจหรือแยกแยะได้อย่างชัดเจนอาจจะเนื่องจาก ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงสภาวะที่ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้.
  27. แจงสี่เบี้ย : ก. อธิบายละเอียดชัดแจ้ง.
  28. แจ่มแจ้ง : ว. กระจ่างชัด, แจ่มกระจ่าง.
  29. แจ๋ว : ว. มีเสียงดังกังวานแจ่มชัด, ใสมาก เช่น นํ้าใสแจ๋ว; (ปาก) ดีเยี่ยม เช่น ปาฐกถาวันนี้แจ๋ว.
  30. ฉบัด : [ฉะ-] (กลอน) ว. ชัด, สันทัด, ทันทีทันใด, เช่น เจ้าช้างจึ่งรู้ฉบัด. (ลอ), เร่งยอมนุญาตเยาวฉบัด. (สรรพสิทธิ์). (ข. จฺบาส่).
  31. ฉะฉาน : ว. อาการที่พูดห้าวหาญและชัดถ้อยชัดคํา, ฉาดฉาน ก็ใช้.
  32. ฉาดฉาน : ว. อาการที่พูดห้าวหาญและชัดถ้อยชัดคํา, ฉะฉาน ก็ใช้.
  33. ชาปีไหน : น. ชื่อนกชนิด Caloenas nicobarica ในวงศ์ Columbidae ลําตัวสีเขียวเหลือบเทา ขนหางสีขาว มีสร้อยคอสีเขียวเห็น ได้ชัด ขี้อายมักเกาะหลบตามกิ่งไม้หนาทึบ พบตามหมู่เกาะ ทางภาคใต้ของประเทศไทยเช่น หมู่เกาะอ่างทอง สุราษฎร์ธานี, กะดง ก็เรียก.
  34. ชายฝั่ง : (ภูมิ) น. แถบแผ่นดินนับจากแนวชายทะเล ขึ้นไปบนบกจนถึงบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศ เปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด.
  35. ชีปะขาว ๒ : น. (๑) ชื่อแมลงที่เป็นผีเสื้อของหนอนกอข้าว อันได้แก่ชนิด Scirpophaga incertulas, Chilo suppressalis, Chilotraea polychrysa ในวงศ์ Pyralidae เป็นผีเสื้อกลางคืน เมื่อเกาะ จะหุบปีกเป็นรูปหลังคาหุ้มตัวยาว ๒-๒.๕ เซนติเมตร ปีกและลําตัวสีเหลืองอ่อนคล้ายสีฟางข้าว มีเกล็ดละเอียด เหมือนฝุ่นปกคลุมตัว ที่หัวมีส่วนของปากยื่นยาวออกไป เป็นกลีบ ตาโตเห็นได้ชัด มักมาเล่นไฟ เกาะฝาเป็นกลุ่ม ตัวหนอนเป็นหนอนกอทําลายข้าว, ชีผ้าขาว ชีผะขาว หรือ สับปะขาว ก็เรียก. (ดู หนอนกอ ที่ หนอน๑). (๒) ชื่อ แมลงในอันดับ Ephemeroptera มีลําตัวอ่อนมาก หนวดสั้น มองแทบไม่เห็น ปีกบางรูปสามเหลี่ยมมีเส้นปีกมากมาย เมื่อเกาะจะตั้งปีกตรงบนสันหลัง ที่ปลายท้องมีหางยาว คล้ายเส้นด้าย ๒-๓ เส้น ลําตัวและปีกสีขาว เช่น ชนิด Ephemera spp.ในวงศ์ Ephemeridae, ชี ก็เรียก.
  36. ซิ, ซี : คําประกอบท้ายคําอื่นเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด หรือ ให้สละสลวยเป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับ เชิงชวน หรือรับคำเป็นต้น เช่น ไปซิ มาซิ หรือ ไปซี มาซี, สิ ก็ว่า.
  37. ดอก ๓ : ว. คําประกอบให้ได้ความชัดขึ้น เช่น ฉันดอก ไม่ใช่คนอื่น ทําไม่ได้ดอก, (ปาก) มักพูดว่า หรอก เช่น ไม่ไปหรอก. ก. หลอก เช่น บ้างดอกล้อแล้ว โลมคืน. (ม. คําหลวง ชูชก).
  38. ดาว ๒ : น. ชื่อเสือชนิด Panthera pardus ในวงศ์ Felidae ขนาดใหญ่รองลงมาจาก เสือโคร่ง ตัวสีนํ้าตาลแกมเหลือง มีจุดดําทั่วตัว ว่องไวและดุ ขึ้นต้นไม้เก่ง กินเนื้อ, บางตัวขนส่วนที่เป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองเป็นสีดําเรียก เสือดํา หรือเสือแมลงภู่ ซึ่งมีรอยจุดดําอยู่ทั่วตัวเหมือนกัน แต่จะเห็นได้ชัดเมื่อ ถูกแสง.
  39. เด่น : ว. ที่ปรากฏเห็นได้ชัดจะแจ้งเพราะนูนขึ้นมา ยื่นลํ้าออกมา หรือสูงใหญ่กว่า ธรรมดา, โดยปริยายหมายความว่า มีคุณสมบัติหรือความสามารถเยี่ยม เช่น สวยเด่น ดีเด่น.
  40. ตระหนัก : [ตฺระหฺนัก] ก. รู้ประจักษ์ชัด, รู้ชัดแจ้ง.
  41. ตัดใจ : ก. ห้ามใจไม่ให้คิดในเหตุที่เกิดขึ้น. ตัดช่องน้อยแต่พอตัว (สํา) ก. เอาตัวรอดแต่ผู้เดียว. ตัดช่องย่องเบา (ปาก) ก. ลักลอบเข้าไปในบ้านเรือนของผู้อื่นเพื่อขโมยของ. ตัดเชือก (สํา) ก. ตัดความสัมพันธ์ ไม่ยอมให้ความช่วยเหลืออีกต่อไป. ตัดญาติขาดมิตร (สํา) ก. ตัดขาดจากกัน. ตัดต้นไฟ ก. ตัดสิ่งที่เป็นเหตุไม่ให้ลุกลามต่อเนื่องไป. ตัดตอน ก. แบ่งหรือตัดเอามาบางส่วน. ตัดถนน ก. สร้างถนน. ตัดทอน ก. ทำให้ลดลงหรือทำให้สั้นลง เช่น ตัดทอนอำนาจ. ตัดทาง, ตัดหนทาง ก. ทําให้หมดช่องทาง เช่น ตัดทางทํามาหากิน; ทําให้มีทาง เช่น ตัดทางพอให้ผ่านไปได้. ตัดบท ก. พูดให้ยุติเรื่องกัน; แยกคําออก. ตัดประเด็น ก. ตัดข้อความสําคัญของเรื่องที่หยิบยกขึ้นพิจารณาออกเสียบ้าง. ตัดเป็นตัดตาย (สํา) ก. ตัดขาดจากกันอย่างเด็ดขาด. ตัดพ้อ ก. พูดต่อว่าด้วยความน้อยใจ, พ้อ หรือ ตัดพ้อต่อว่า ก็ใช้. ตัดไพ่ ก. บ่งไพ่ที่สับไพ่ไว้แล้วออกเป็นกอง ๆ. ตัดไฟต้นลม, ตัดไฟแต่ต้นลม, ตัดไฟหัวลม (สํา) ก. ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุก ลามต่อไป. ตัดไม้ข่มนาม ก. ทําพิธีทางไสยศาสตร์ก่อนออกสงคราม โดยหาไม้ที่มีชื่อเหมือนหรือ สําเนียงคล้ายชื่อ ข้าศึกมาตัดให้ขาดเพื่อเอาชัย. น. เรียกพิธีกรรมอย่างนั้นหรือที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่น นั้นว่า พิธีตัดไม้ข่มนาม. ตัดรอน ก. ตัดขาด, ตัดไมตรี. ตัดราคา ก. ลดราคาให้ตํ่ากว่าคู่แข่งขัน. ตัดรำคาญ ก. ทำให้ความรำคาญหมดไป เช่น เขามาเคี่ยวเข็ญให้ซื้อของอยู่นานจนต้อง ซื้อเพื่อตัดรำคาญ, เสียรำคาญ ก็ว่า. ตัดสิน ก. ลงความเห็นชี้ขาด. ตัดสินใจ ก. ตกลงใจ. ตัดเส้น ก. แต่งเส้นริมภาพทําให้ดูเด่นชัดและเรียบร้อยขึ้น. ตัดหน้า ก. ชิงทําเสียก่อน; ผ่านหน้าในระยะกระชั้นชิด เช่น วิ่งตัดหน้ารถ. ตัดหน้าฉาน ก. เดินผ่านหน้าที่ประทับ. ตัดหนามอย่าไว้หน่อ (สํา) ก. ทําลายให้ถึงต้นตอ. ตัดหัวคั่วแห้ง (สำ) ก. ฆ่าให้ตายเพื่อให้หายแค้น. ตัดหางปล่อยวัด (สํา) ก. ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป.
  42. ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
  43. ไถ ๒ : น. ชื่อหมู่ดาวฤกษ์ ซึ่งปรากฏเด่นชัดบนท้องฟ้า.
  44. ทนโท่ : ว. ปรากฏชัดแก่ตา, จะแจ้ง, เช่น เห็นอยู่ทนโท่, โทนโท่ ก็ว่า.
  45. ทึดทือ : น. ชื่อนกในวงศ์ Strigidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเค้า ตัวสีนํ้าตาล มีลายกระสีขาว ลําตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านท้อง ขนคิ้วยาว เห็นได้ชัด ตาสีเหลือง ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน ในประเทศ ไทยมี ๒ ชนิด คือทึดทือพันธุ์เหนือ (Ketupa zeylonensis) และ ทึดทือมลายู (K. ketupa).
  46. เทิ่ง : ว. ที่ปรากฏชัดหรือเห็นได้อย่างชัดแจ้ง เช่น เดินเทิ่ง ๆ แบกของ มาเทิ่ง ๆ.
  47. โทนโท่ : ว. ปรากฏชัดแก่ตา, จะแจ้ง, เช่น เห็นอยู่โทนโท่, ทนโท่ ก็ว่า.
  48. นิพิท, นิเพท : [นิพิด, นิเพด] (แบบ) ก. ให้รู้ชัด, บอก. (ป. นิ + วิท).
  49. แน่ชัด : ว. ชัดแจ้ง, ประจักษ์แจ้ง.
  50. บ่ง : ก. ชี้, ระบุ, อ้างหรือแสดงให้รู้โดยเจาะจง, เช่น การกระทําของเขา บ่งชัดอยู่แล้วว่าเขาเป็นผู้กระทําผิด; ใช้ของแหลม ๆ แทงที่เนื้อเพื่อ เอาหนามเป็นต้นที่ฝังอยู่ในเนื้อหรือหนองออก เช่น บ่งหนาม บ่งหนอง.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-113

(0.0695 sec)