Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชั่วประเดี๋ยว, ประเดี๋ยว, ชั่ว , then ชว, ชวปรดยว, ชั่ว, ชั่วประเดี๋ยว, ประเดี๋ยว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชั่วประเดี๋ยว, 221 found, display 1-50
  1. ประเดี๋ยว : น. ชั่วระยะเวลาหนึ่ง, ชั่วขณะหนึ่ง, ชั่วครู่หนึ่ง, เช่น รอประเดี๋ยวนะ, เดี๋ยว ก็ว่า. ประเดี๋ยวก่อน คําขอผัดไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง, เดี๋ยวก่อน ก็ว่า.
  2. ชั่ว : น. ระยะ เช่น นํ้าลึก ๓ ชั่วคน สูง ๓ ชั่วลําตาล, ระยะเวลา, สมัย, ครั้ง, เช่น ชั่วปู่ย่าตายาย ชั่วพ่อชั่วแม่.
  3. ชั่ว : ว. เลว, ทราม, ร้าย, ไม่ดีเพราะจงใจฝ่าฝืนศีลธรรมหรือจารีต ประเพณีเป็นต้น เช่น คนชั่ว.
  4. ชั่ว : บ. ตลอด, สิ้น, เช่น ชั่วอายุ.
  5. ชั่วเบา : (โบ) ว. ชั่วระยะเวลานานตราบที่ยังไม่ได้ถ่าย ปัสสาวะ.
  6. ชั่วแล่น : น. ระยะเวลาที่เป็นไปชั่วครู่ชั่วคราว.
  7. ประเดี๋ยวเดียว : ว. ชั่วระยะเวลานิดเดียว, เดี๋ยวเดียว ก็ว่า.
  8. ชั่วช้า : ว. เลวทราม.
  9. ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ : (สํา) ว. ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ไม่เอาเป็นธุระ.
  10. ชั่วแต่ว่า : ว. เสียแต่ว่า, เว้นแต่ว่า, เพียงแต่ว่า.
  11. ชั่วนาตาปี : ว. ตลอดปี.
  12. ประเดี๋ยวนี้ : ว. เวลานี้, ในเวลานี้, ทันที, เดี๋ยวนี้ ก็ว่า.
  13. เดี๋ยว : ว. ชั่วระยะเวลาหนึ่ง, ชั่วขณะหนึ่ง, ชั่วครู่หนึ่ง, เช่น คอยเดี๋ยว; อาจจะทํา หรืออาจจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เดี๋ยวไม่ให้เลย เดี๋ยวตกนํ้านะ, ประเดี๋ยวก็ว่า. เดี๋ยวก่อน คําขอผัดไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง, ประเดี๋ยวก่อน ก็ว่า.
  14. เดี๋ยวเดียว : ว. ชั่วเวลานิดเดียว, ประเดี๋ยวเดียว ก็ว่า.
  15. ลัดนิ้วมือ : น. เวลาชั่วงอนิ้วมือแล้วดีดออก, โดยปริยายหมายความ ว่าเร็วฉับพลัน, ชั่วประเดี๋ยวเดียว, เช่น ชั่วลัดนิ้วมือเดียวก็ถึง.
  16. แวบ, แว็บ : ว. ปรากฏให้เห็นชั่วประเดี๋ยวหนึ่งก็หายไป เช่น แสงไฟจาก รถดับเพลิงแวบเข้าตามาเดี๋ยวเดียวแว็บไปแล้ว. ว. อาการที่ปรากฏ ให้เห็นชั่วประเดี๋ยวหนึ่ง เช่น ไปแวบเดียวกลับมาแล้ว เพิ่งมาได้แว็บ เดียวจะกลับแล้วหรือ.
  17. อัจฉรา ๒ : [อัดฉะรา] น. นิ้วมือ; ลัดนิ้วมือหนึ่ง, เวลาประเดี๋ยวเดียว, ชั่วพริบตา. (ป.).
  18. ช้า ๒ : ว. หยาบ, ชั่ว, เลว, ทราม, เช่น ยายฟังสารยายสั่นหัว ยายเคยลองแต่ตัวชั่วตัวช้า. (ลอ).
  19. เจ็ดชั่วโคตร : น. วงศ์สกุลที่สืบสายโลหิต ซึ่งนับตั้งแต่ตัวเองขึ้นไป ๓ ชั้น คือ ชั้นพ่อ ชั้นปู่ และชั้นทวด กับนับจากตัวเองลงมาอีก ๓ ชั้น คือ ชั้นลูก ชั้นหลาน และชั้นเหลน รวมเป็นเจ็ดชั่วโคตร ไม่นับผู้หญิงรวมด้วย.
  20. รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา : (สํา) ก. ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วจะได้รับความลําบาก.
  21. รู้ดีรู้ชั่ว : ก. รู้ผลขั้นสุดท้าย, รู้ผลขั้นแตกหัก, เช่น หลังการชกพรุ่งนี้ ก็จะรู้ดีรู้ชั่วว่าใครจะชนะ.
  22. เลือดชั่ว : น. ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพ่อแม่ที่ชั่ว, ความเลวร้ายที่มีอยู่ ในตัว เช่น ตีหัวให้แตกเอาเลือดชั่วออกเสียบ้าง. เลือดโชก, เลือดท่วมตัว, เลือดสาด, เลือดอาบ น. เลือดออกมาก.
  23. หน่อย : ว. นิดหนึ่ง, น้อยหนึ่ง, ไม่มาก, เช่น ขอหน่อย เดินอีกหน่อยก็ถึง; ประเดี๋ยว, ไม่ช้า, ไม่นาน, เช่น รอหน่อย กินเหล้ามาก ๆ อีกหน่อยก็ตาย.
  24. ชว : [ชะวะ] (แบบ) ว. เร็ว, (มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส) เช่น ชวการ ชวกิจ ชวเลข, แผลงเป็น เชาว์ ก็มี.
  25. ค่อยยังชั่ว : ว. ดีขึ้น, ทุเลาขึ้น.
  26. ชั้นชั่ว : ว. อย่างตํ่า.
  27. ยังชั่ว : ก. ค่อยดีขึ้น.
  28. รำชั่วโทษพากย์ : (สํา) ก. ทําไม่ดีหรือทําผิดแล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น, รําไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ก็ว่า.
  29. ดี ๒ : ว. มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ ใช้ใน ความหมายที่ตรงข้ามกับลักษณะบางอย่างแล้วแต่กรณี คือ ตรงข้ามกับ ชั่ว เช่น คนดี ความดี, ตรงข้ามกับร้าย เช่น โชคดี เคราะห์ดี; สวย, งาม, เช่น หน้าตาดี, เรียบร้อย เช่น มรรยาทดี, เพราะ เช่น เสียงดี, จัด เช่น แดดดี, เก่ง เช่น ดีแต่พูด, ชอบ เช่น ดีแล้ว, อยู่ในสภาพปรกติ เช่น สุขภาพดี คืนดี.
  30. นาฬิกา : น. เครื่องบอกเวลา มีหลายชนิด เช่น นาฬิกาปลุก นาฬิกาพก นาฬิกา ข้อมือ, ลักษณนามว่า เรือน; ช่วงเวลาคิดตามชั่วโมง เช่น ๑ ชั่ว นาฬิกา = ๑ ชั่วโมง, ใช้เป็นมาตราบอกเวลา เช่น ๑ นาฬิกา ๒ นาฬิกา ... ๒๔ นาฬิกา, เขียนย่อเป็น น. (เทียบ ส. นาฑิกา ว่า เครื่องกําหนดเวลา).
  31. บุญทำกรรมแต่ง : (สํา) บุญหรือบาปที่ทําไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุทํา ให้รูปร่างหน้าตาหรือชีวิตของคนเราในชาตินี้สวยงาม ดี ชั่ว เป็นต้น.
  32. อปลักษณ์, อัปลักษณ์ : [อะปะ, อับปะ] ว. ชั่ว (มักใช้แก่รูปร่าง หน้าตา), มีลักษณะ ที่ถือว่าไม่เป็นมงคล, เช่น หน้าตาอปลักษณ์, รูปร่างอัปลักษณ์. (ส.; ป. อปลกฺขณ).
  33. อัปลักษณ์ : [อับปะ] ว. ชั่ว (มักใช้แก่รูปร่าง หน้าตา), มีลักษณะที่ถือว่าไม่เป็น มงคล, เช่น รูปร่างอัปลักษณ์ หน้าตาอัปลักษณ์, อปลักษณ์ ก็ว่า. (ส. อปลกฺษณ; ป. อปลกฺขณ).
  34. กะเด้ : (ถิ่น) ว. ประเดี๋ยว เช่น รอกะเด้ = รอประเดี๋ยว, เดี๋ยวนี้ เช่น ไปกะเด้ = ไปเดี๋ยวนี้.
  35. กะเดี๋ยว : (ปาก) ว. ประเดี๋ยว.
  36. บัดเดี๋ยว : ว. ประเดี๋ยว.
  37. ถ่อย : ว. ชั่ว, เลว, ทราม.
  38. ทร- : [ทอระ-] คําอุปสรรค แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทรชน ทรลักษณ์ ทรพล. (ป. ทุ, ทุรฺ; ส. ทุสฺ).
  39. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  40. ทุร- : [ทุระ-] ว. คําประกอบหน้าคําศัพท์ หมายความว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทุรค ว่า ที่ไปถึงยาก, ทางลําบาก. (ส.).
  41. บาป, บาป- : [บาบ, บาบปะ-] น. การกระทําผิดหลักคําสอนหรือข้อห้ามใน ศาสนา; ความชั่ว, ความมัวหมอง. ว. ชั่ว, มัวหมอง, เช่น คนใจบาป. (ป., ส. ปาป).
  42. ประทุฐ : [ปฺระทุด] ว. ชั่ว, ร้าย. (ป. ปทุฏฺ?).
  43. ประทุษฏ์, ประทุษฐ์ : ว. ชั่ว, ร้าย. (ส. ปฺรทุษฺฏ, ปฺรทุษฺ?).
  44. ยาหัด : ว. ชั่ว, ไม่ดี, หยาบ, ไม่งาม. (ช.).
  45. โหด ๒ : ว. ชั่ว, ร้าย, เช่น ใจโหด; (ปาก) ยากมาก เช่น ข้อสอบวิชานี้โหด; เข้มงวด มาก เช่น ครูคนนี้โหด.
  46. อกุศล, อกุศล : [อะกุสน, อะกุสนละ] ว. ชั่ว, ไม่ดี, ไม่เป็นมงคล. (ส.; ป. อกุสล). น. สิ่งที่ไม่ดี, บาป.
  47. อาธรรม, อาธรรม์, อาธรรมิก, อาธรรมึก : [ทํา, ทัน, ทันมิก, ทันมึก] ว. ชั่ว, ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ไม่ยุติธรรม. (ส. อาธรฺมิก; ป. อธมฺมิก).
  48. กรรม ๑, กรรม- ๑ : [กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมา ยังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้ กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.
  49. กระท่อมเลือด : น. ตํารากบิลว่าน ว่าชื่อว่าน มี ๒ ชนิด; ชนิดหนึ่งก้านใบแดง ยางเป็นเลือด หัวคล้ายมันแกว ซึ่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า สบู่เลือด ใช้อยู่คงชั่วเบา, อีกชนิดหนึ่งขาว เกิดตามเขา ลักษณะเช่นเดียวกับ อย่างแดง แต่อย่างขาวหัวใหญ่ อย่างโตขนาดกระด้ง ทั้ง ๒ ชนิดนี้ ชาวป่าใช้เป็นยาต้มแก้กระษัย หรือระดูขัด. (พจน. ๒๔๙๓).
  50. กระทาสี : (กลอน) น. ทาส เช่น เหมือนไพร่ชาติชั่วช้ากระทาสี. (นิ. สุรสีห).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-221

(0.1270 sec)