Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชั่วโมงเร่งด่วน, ชั่วโมง, เร่ง, ด่วน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชั่วโมงเร่งด่วน, 105 found, display 1-50
  1. ด่วน : ว. รีบเร่ง, รวดเร็ว.
  2. เร่ง : ก. รีบ เช่น เร่งปักผ้าเช็ดหน้าให้ทันงาน เร่งตรวจข้อสอบ, บังคับให้เร็ว, บอกเตือนให้รีบปฏิบัติ, เช่น เร่งคนงานให้ทำงานให้ทันเวลา เร่งลูกให้ แต่งตัวไปโรงเรียน.
  3. ชั่วโมง : น. ช่วงระยะเวลา ๖๐ นาที.
  4. เร่งด่วน : ว. รวดเร็วมาก, รวดเร็วยิ่ง, เช่น งานนี้ต้องทำอย่างเร่งด่วน ให้เสร็จภายใน ๑๒ ชั่วโมง ย้ายเร่งด่วนภายใน ๒๔ ชั่วโมง.
  5. ข่ำเขียว : (กลอน) ว. รีบ, ด่วน, เร่ง.
  6. เร่งเครื่อง : ก. เพิ่มความเร็วของเครื่องจักรให้สูงขึ้น, เหยียบคันเร่งรถยนต์ เพื่อให้รถแล่นเร็วขึ้น.
  7. เร่งมือ : ก. เร่งทำให้เร็วขึ้น.
  8. เร่งรีบ : ก. รีบด่วน.
  9. เร่งวันเร่งคืน : ก. อยากให้ถึงวันที่กำหนดโดยเร็ว เช่น เด็ก ๆ เร่งวัน เร่งคืนให้ถึงวันปิดเทอม.
  10. เร่งฝีเท้า : ก. เดินหรือวิ่งให้เร็วขึ้น.
  11. เฆี่ยน : ก. ตีด้วยหวายหรือไม้เรียวเป็นต้นเป็นการลงโทษ; (ปาก) เร่งความเร็ว เช่น เฆี่ยนมาด้วยความเร็ว ๑๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง, เอาชนะคู่แข่งขัน อย่างขาดลอย เช่น เฆี่ยนฝ่ายตรงข้าม ๓ เกมรวด.
  12. เก่น : ก. เข่น, หนัก, แรง, เร่ง, เช่น ตาแกก็มุมุ่นมุ่งเขม้น ถ่อกายเก่นตะเกียกเดิน. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  13. มนิมนา, มนีมนา : [มะนิมมะนา, มะนีมมะนา] ว. เร็ว, ด่วน, ขมีขมัน, เช่น ก็มนิมนาการมาสู่สาลวัน. (ปฐมสมโพธิกถา). (ข. มฺนีมฺนา).
  14. รีบเร่ง : ก. อาการที่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เร็วขึ้นกว่าปรกติ เช่น ครู รีบเร่งตรวจข้อสอบให้เสร็จ. ว. เร็วขึ้นกว่าปรกติ เช่น เขาทำงาน อย่างรีบเร่งเพื่อให้ได้งานมากขึ้น.
  15. เร็ว, เร็ว ๆ : ว. ไว เช่น กินเร็ว หายเร็ว ๆ, รีบ เช่น เร็วเข้า เร็ว ๆ หน่อย, ด่วน, ไม่ ชักช้า, เช่น ขอให้มาโดยเร็ว.
  16. คันเร่ง : น. ส่วนของเครื่องยนต์ที่ใช้ควบคุมความเร็วของเครื่องยนต์.
  17. ใจเร็วด่วนได้ : (สำ) ว. อยากได้เร็ว ๆ โดยไม่คิดให้รอบคอบ.
  18. ปัจจุบันทันด่วน : ว. กะทันหัน.
  19. เดือนจันทรคติ : [-จันทฺระคะติ] น. การนับเดือนโดยถือเอาดวงจันทร์เดิน รอบโลกเป็นเกณฑ์ โดยนับจากวันเดือนดับไปถึงวันเดือนดับที่ถัดไป มี ระยะเวลาประมาณ ๒๙ วัน ๑๒ ชั่วโมง ๔๔ นาที แบ่งเป็น ข้างขึ้น ข้างแรม.
  20. น้ำทรง : น. นํ้าที่หยุดไหลชั่วขณะ, นํ้าที่คั่งค้างอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่ง รับนํ้า, นํ้ากําลังจะเปลี่ยนระดับจากนํ้าขึ้นเต็มที่มาเป็นนํ้าลง หรือจาก นํ้าลงเต็มที่มาเป็นนํ้าขึ้น, ช่วงนํ้าหยุดไหลในทะเลและแม่นํ้าลําคลอง อาจมีระยะเวลา ตั้งแต่ ๕ นาที หรือ นานถึง ๒ ชั่วโมง ก็ได้ แล้วแต่ ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ ความลาดชันของขอบฝั่งและลํานํ้า.
  21. เบ่ง : ก. ตะเบ็ง เช่น เบ่งเสียง, พยายามขับดันสิ่งเช่นอุจจาระปัสสาวะ เป็นต้นให้ออกมา เช่น เบ่งอุจจาระเบ่งปัสสาวะ เบ่งลูก, ทําให้ พองตัวขึ้นหรือขยายตัวออก เช่น อึ่งอ่างเบ่ง เบ่งกล้าม; (ปาก) เร่ง เช่น เบ่งรถให้ขึ้นหน้า; อวดว่ามีอํานาจ, อวดทําเป็นใหญ่.
  22. ปฐมยาม : [ปะถมมะ-] น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา. (ป.).
  23. ปัจฉิมยาม : [ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืน ออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.
  24. ปูม : น. ตาตารางแผนที่แสดงการเคลื่อนไหวของดาวพระเคราะห์ ประจําวัน, ปฏิทินโหราศาสตร์ ก็เรียก, จดหมายเหตุของโหร, เรียกสมุดบันทึกรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเดินเรือหรือการ เดินอากาศ เช่น เดินทางจากไหนถึงไหน วันที่เดินทาง จํานวน ชั่วโมง ฯลฯ ว่า สมุดปูมเดินทาง; ผ้าไหมชนิดหนึ่งมีดอกเป็นตา ๆ.
  25. มหุรดี : น. ครู่, ขณะ, ชั่วโมง. (ส. มุหูรฺต, มุหูรตฺต).
  26. มัชฌิมยาม : [มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา ถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา. (ป.).
  27. ยาม, ยาม : [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละ ชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้า สถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
  28. รยะ : ว. เร็ว, พลัน, ไว, ด่วน. (ป., ส.).
  29. ร่าน ๒ : ก. อยาก, ใคร่, (มักใช้ในทางกามารมณ์); รีบ, ด่วน.
  30. เร้ง : ก. เร่ง.
  31. ละคึก : (โบ) ก. รีบ, เร่ง.
  32. วัน ๑ : น. ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่ารุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึง เที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ ๑ วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ,เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา ๒ วัน ๑ คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน; (กฎ) เวลาทําการตามที่ได้กําหนดขึ้นโดยกฎหมาย คําสั่งศาล หรือ ระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทําการตามปรกติของกิจการนั้นแล้ว แต่กรณี (ใช้ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้า และการอุตสาหกรรม).
  33. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  34. กระชั้น : ว. ใกล้ชิด (เข้ามา) (ใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์) เช่น เวลากระชั้น เข้ามา ขี่ม้าขับกระชั้นมา, เร่งเข้า เช่น ไก่ขันกระชั้นเสียง, นิยม ใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น กระโชกกระชั้น.
  35. กระตือรือร้น : ก. รีบร้อน, เร่งรีบ, ขมีขมัน, มีใจฝักใฝ่เร่งร้อน.
  36. กระตุ้น : ก. ใช้มือหรือสิ่งใด ๆ กระแทกเบา ๆ ให้รู้ตัว, โดยปริยายหมายความว่า เตือนหรือหนุน เช่น กระตุ้นให้รีบทํางาน, ช่วยเร่ง เช่น ใช้กระแสไฟฟ้า กระตุ้นหัวใจที่หยุดเต้นให้เต้นต่อไป.
  37. กระบอก ๔ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการ รีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎ ต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
  38. กระวีกระวาด : ว. รีบเร่งอย่างไม่นอนใจ.
  39. กล่อมมดลูก : ก. เร่งให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นโดยการประคบบริเวณท้อง.
  40. กะทันหัน : ว. ทันใด, ปัจจุบันทันด่วน, จวนแจ.
  41. ขมีขมัน : [ขะหฺมีขะหฺมัน] ว. รีบเร่งในทันทีทันใด. (ข. ขฺมี; ต. ขมัน).
  42. ขะมักเขม้น : [ขะมักขะเม่น, ขะหฺมักขะเม่น] ก. ตั้งใจทําอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้ว เสร็จไป, ก้มหน้าก้มตาทํา, เขม้นขะมัก ก็ว่า.
  43. ขัน ๒ : ก. ทำให้ตึงหรือให้แน่นด้วยวิธีหมุนกวดเร่งเข้าไป เช่น ขันชะเนาะ ขันเกลียว. ว. แข็งแรง, กล้าหาญ, เช่น กูนี้คนขัน จะขามคนใด. (สมุทรโฆษ).
  44. ขานยาม : (โบ) ก. บอกเวลาเปลี่ยนชั่วโมง.
  45. ขุก ๑ : ว. พลัน, ทันทีทันใด, เช่น ขุกเข็ญ ว่า เกิดความลําบากขึ้นทันที. ก. คิดขึ้นได้ทันที, เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วน, เช่น อาวุธอย่าวางไกล ขุกคํ่า คืนแฮ. (โลกนิติ).
  46. เขม้นขะมัก : [ขะเม่น-] ก. ตั้งใจทําอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้วเสร็จไป, ก้มหน้าก้มตาทํา, ขะมักเขม้น ก็ว่า.
  47. เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
  48. เข้าลิลิต : ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ใน ตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ ``สม'' กับ ''สนม'' ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สามสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นท้าว เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสนอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้าย เพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต.
  49. คลายคล้าย, คล้ายคล้าย : ก. เคลื่อนเรื่อย ๆ ไป, คล้อย, เช่น หมอมิกลัวกลาย จระคล่าย เข้าป่าไปคลายคล้ายด่วนดั้นโดยทาง. (ลอ), คลี่ไคลพลคล้ายคล้าย แลนา. (ลอ); (ถิ่น-พายัพ) ย้าย. (อะหม คล้ายคล้าย ว่า โดยลําดับ).
  50. คลาศ : [คฺลาด] (โบ) ก. คลาด, เคลื่อนจากที่หมาย, เช่น เร่งผ้ายเร่งคลาศคลา แลนา. (ลอ).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-105

(0.0175 sec)