Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชั้นเชิง, เชิง, ชั้น , then ชง, ชน, ชั้น, ชั้นเชิง, เชิง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชั้นเชิง, 9189 found, display 1-50
  1. ชั้นเชิง : น. เล่ห์เหลี่ยม, ท่วงที, อุบาย, เชิงชั้น ก็ว่า.
  2. เชิงชั้น : น. เล่ห์เหลี่ยม, ท่วงที, อุบาย, ชั้นเชิง ก็ว่า.
  3. ชั้น : น. ที่สําหรับวางของอย่างหนึ่ง มีพื้นซ้อนกันคล้ายตู้แต่ไม่มี บานปิด; สิ่งที่ซ้อนลดหลั่นกันเป็นขั้น ๆ เช่น ฉัตร ๕ ชั้น; ขั้นที่ลดหลั่นกัน เช่น ชาติชั้นวรรณะ; ขั้น, ตอน, เช่น ชั้นนี้; ลําดับ เช่น มือคนละชั้น. ว. ที่ซ้อนทับกันเป็นแผ่น ๆ เช่น ขนมชั้น หินชั้น.
  4. แง่ ๑ : น. ส่วนที่เป็นเหลี่ยมเป็นสันเป็นมุมหรือส่วนที่ยื่นออกมา เช่น แง่หิน แง่โต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เหลี่ยม, ชั้นเชิง, เช่น ชาวแพแผ่แง่ ค้าขายของ. (นิ. นรินทร์), นัย.
  5. ท่า ๒ : น. ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่ง ๆ ในบางอิริยาบถ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน; การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้นตามกําหนดเป็น วิธีไว้ เช่น ท่ามวย ท่ารํา; ชั้นเชิง, ท่วงที, วิธี, เช่น พลาดท่า ได้ท่า เสียท่า.
  6. ที ๒ : น. ท่าทาง, ชั้นเชิง, โอกาส, เช่น ท่าดีแต่ทีเหลว ได้ทีเสียที.
  7. เขบ็จขบวน : [ขะเบ็ดขะบวน] น. ท่าทาง, ระเบียบ, ชั้นเชิง, ท่วงที.
  8. ลูกเล่น : (ปาก) น. เล่ห์เหลี่ยม, ชั้นเชิง, กลเม็ด.
  9. กระบวน : น. ขบวน, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น ทํากระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งํา; ลําดับ เช่น แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน. (สามดวง); วิธีการ เช่น จัดกระบวนพิจารณาอรรถคดีในโรงศาล, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระบิด เป็น กระบิดกระบวน.
  10. เพลง : [เพฺลง] น. สําเนียงขับร้อง, ทํานองดนตรี, กระบวนวิธีรําดาบรําทวน เป็นต้น, ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย; โดยปริยายหมายถึง แบบอย่าง เช่น ต่างกันไปคนละเพลง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส), ชั้นเชิง เช่น ร้อยภาษามาสู่เคยรู้เพลง. (อภัย).
  11. ลำ ๑ : น. ตัวของคน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ไม่นับส่วนที่เป็นแขนขาหรือกิ่งก้าน เช่น ลําตัว ลําต้น, เรียกสิ่งที่ยาวกลมหรือมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลําแขน ลําคอ ลําอ้อย ลํานํ้า, ลักษณนามเรียกสิ่งเช่นนั้นหรือเรือ เช่น ไม้ไผ่ลําหนึ่ง อ้อย ๒ ลํา เรือ ๓ ลํา; ชั้นเชิง เช่น หักลำ.
  12. แก้เชิง : ก. ใช้เล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิง หรือ อุบาย หักล้างเล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิง หรืออุบายของอีกฝ่ายหนึ่ง.
  13. รู้ชั้นเชิง, รู้ชั้นรู้เชิง : ก. รู้เล่ห์เหลี่ยม, รู้กลอุบาย, เช่น เขารู้ชั้นเชิงของคู่ต่อสู้ ฉันรู้ชั้นเชิงไม่ยอมให้ใครมาหลอกง่าย ๆ ตำรวจรู้ชั้นเชิงของผู้ร้าย.
  14. เอาชั้นเอาเชิง : ก. รอดูชั้นเชิง.
  15. กระบวนกระบิด : (กลอน) น. ชั้นเชิง เช่น ทั้งกระบวน กระบิดติดปั้นปึ่ง. (ไกรทอง), กระบิดกระบวน ก็ว่า.
  16. กระบิดกระบวน : น. ชั้นเชิง เช่น ทําจริตกระบิดกระบวนสะบิ้งสะบัด. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กระเบ็ดกระบวน ก็ใช้. ก. แกล้งทำ ชั้นเชิงเหมือนไม่เต็มใจ เช่น อย่ากระบิดกระบวนนักเลย.
  17. กระเบ็ดกระบวน : น. กระบิดกระบวน, ชั้นเชิง.
  18. ท่วงที : น. ท่าทาง, หน่วยก้าน, ชั้นเชิง.
  19. เหลี่ยม ๒ : [เหฺลี่ยม] น. ชั้นเชิง.
  20. เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม : น. ชั้นเชิง, อุบาย.
  21. เชิง : น. ตีนซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของบางสิ่งบางอย่าง เช่น เชิงเทียน เชิงเขา เชิงกําแพง, ชายหรือปลายของบางสิ่งบางอย่างที่ ยื่นออกมา เช่น เชิงตะพาบนํ้า เชิงปลากราย เชิงเลน เชิงกลอน, ริมหรือชายด้านล่างของผ้าที่มีลวดลายเช่น เชิงผ้า เชิงผ้าซิ่น.
  22. เชิง : ก. แง่งอน, กระบวน, เช่น ทําเชิง เอาเชิง; ท่าที, ท่วงที, เช่น คุมเชิง หยั่งเชิง ลองเชิง.
  23. ชิงเชิง : น. ชื่อเศษด้ายที่ตัดออกจากผ้าซึ่งติดอยู่ที่ฟืม. ก. แย่งชั้นเชิงกัน, คอยเอาทีกัน.
  24. หีบเชิงชาย : น. หีบศพพระราชทานสําหรับพระครูสัญญาบัตร ข้าราชการ ชั้นสัญญาบัตรขั้นต้นเป็นต้น เชิงชายทั้ง ๔ ด้านแกะสลักเป็นลายปิดทอง ประดับกระจก.
  25. เอาเชิง : ก. สงวนท่าทีหรือชั้นเชิงของตนไว้เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เกรงขาม.
  26. เชิงกรวย : (กลอน) น. กรวยเชิง เช่น ภูษาเชิงกรวยรูจี. (อิเหนา).
  27. เชิงเวียน : น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง เช่น เอาพระจําเจิมเฉลิมเชิงเวียน. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  28. ชั้นฉาย : น. การสังเกตเวลาด้วยมาตราวัดอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่า เหยียบชั้น คือ เอาเท้าวัดเงาของตัวคนที่ยืนกลางแดด ครั้ง โบราณกําหนดเวลาโดยการวัดเงานั้นเป็นช่วงเท้า คือ ๑ ชั้นฉาย เท่ากับเงายาว ๑ ช่วงเท้า, มีพิกัดอัตราดังนี้ ๑๐ อักษร เป็น ๑ เมล็ดงา, ๔ เมล็ดงาเป็น ๑ เมล็ดข้าวเปลือก, ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ องคุลี, ๑๕ องคุลี เป็น ๑ ชั้นฉาย.
  29. ชั้นเดียว : น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับเร็ว คือ เร็วกว่า สองชั้นเท่าตัวหรือเร็วกว่าสามชั้น ๔ เท่า, เรียกเต็มว่า อัตรา จังหวะชั้นเดียว, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับชั้นเดียว เพลงชั้นเดียว.
  30. เชิงชาย : น. ไม้เครื่องเรือนรูปแบน สําหรับรับชายคาเรือน ที่ไม่มีกลอน, ถ้าเรือนมีกลอน เรียกว่า เชิงกลอน.
  31. เชิงชายา ๒ : [เชดถา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๘ มี ๑๔ ดวง เห็นเป็นรูปงาช้าง หรือคอนาค, ดาวเชิงชายะ ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ ก็เรียก. (ป. เชฏฺ?า; ส. เชฺยษฺ?า).
  32. เชิงเดิน : น. ค่าป่วยการที่วิ่งเต้นทําธุระให้ เรียกว่า ค่าเชิงเดิน.
  33. เชิงทรง : น. เรียกนาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีกว่า นาเชิงทรง, นาขอบเหล็ก ก็ว่า.
  34. เชิงเทิน : น. ที่ดินที่พูนสูงขึ้นเป็นเชิงของป้อมปราการ, พื้นที่ ว่างภายในป้อมสําหรับให้ทหารขึ้นไปอยู่ตรวจการณ์หรือ ต่อสู้ข้าศึก.
  35. ชั้นชั่ว : ว. อย่างตํ่า.
  36. เชิงกลอน : น. ไม้ประกับปลายเต้าตลอดชายคาเรือนแบบเก่า; ไม้ประกับปลายจันทันตลอดชายคาเรือนแบบใหม่ที่ไม่มีเต้า.
  37. เชิงกอบ : (โบ) ก. ผูก, มัด, จังกอบ ก็เรียก.
  38. เชิงชายา ๑ : [เชดถา] (กลอน) น. พี่ชาย, คู่กับ กนิษฐา คือ น้องสาว.
  39. เชิงตะกอน : น. ฐานที่ทําขึ้นสําหรับเผาศพ.
  40. เชิงแป : น. แผ่นไม้ที่อยู่ใต้แปหัวเสาตกแต่งให้มีบ่าเพื่อใช้ รองรับกลอน.
  41. กระเหน็จกระแหน่ : (โบ) น. เชิงชั้น, เล่ห์กล, เช่น กระเหน็จกระแหน่รณรงค์. (สมุทรโฆษ).
  42. กลบท : [กนละบด] น. คําประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คําหรือสัมผัส เป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เช่น อมรแมนแม่นแม้นเจ้างามโฉม. (กลบทตรีประดับ).
  43. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  44. บัว : น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ สกุล Nelumbo ในวงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบ เป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม พันธุ์ดอก สีขาวเรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกสีชมพูเรียก ปัทม์ หรือ สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, สกุล Nymphaea ในวงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ หรือจักอยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchali Burm.f.) ขอบใบเรียบ ดอก สีม่วงอ่อน, สกุล Victoria ในวงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบ กระด้ง หรือ บัววิกตอเรีย [V. amazonica (Poeppig) Sowerby] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่น กลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่ บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้าน ดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก; ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทําเป็นรูป กลีบบัว ติดอยู่บนหัวเสา เรียกว่า บัวหัวเสา หรือที่ส่วนล่างของฐาน เป็นต้น เรียกว่า ฐานบัว, ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรงส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อ ประสานระหว่างพื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มี ความกว้างตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุม หรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็น รูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะสลักหรือไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็น ไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, ลวดบัว ก็เรียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายดอกบัว เช่น โคมบัว.
  45. ฝีมือ : น. ความเชี่ยวชาญในการใช้มืออย่างมีศิลปะ เช่น มีฝีมือในการ เย็บปักถักร้อย มีฝีมือในการปรุงอาหาร, เรียกการช่างทำด้วยมืออย่างมี ศิลปะ ว่า การช่างฝีมือ, ราชาศัพท์ว่า ฝีพระหัตถ์; โดยปริยายหมายถึง ความสามารถหรือทักษะและชั้นเชิงในการปฏิบัติการใด ๆ เช่น เขามี ฝีมือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้โดยรวดเร็ว.
  46. แยบยล : น. กล, อุบาย. ว. มีกลเม็ดหรือชั้นเชิงแนบเนียน เช่น เขามีกรรมวิธี แยบยล นักประพันธ์มีกลวิธีเขียนเรื่องแยบยล.
  47. รู้ที : ก. รู้ชั้นเชิง, รู้เล่ห์เลี่ยม, เช่น มาบ่อย ๆ รู้ทีว่าคงจะประสงค์อะไร อย่างหนึ่ง.
  48. ลบเหลี่ยม : ก. ทำให้เสียชั้นเชิง เสียเกียรติ หรือเสียความเชื่อถือ ต่อหน้าผู้อื่นหรือต่อหน้าชุมนุมชน.
  49. ลวดลาย : น. ลายต่าง ๆ ที่เขียนหรือแกะสลัก, ฝีมือความสามารถ ที่แสดงให้ปรากฏ เช่น นักฟุตบอลมีลวดลายในการส่งลูก, โดย ปริยายหมายความว่า มีลูกไม้หรือชั้นเชิงต่าง ๆ เช่น เขามีลวดลาย ในการพูดให้คนฮาได้ เขามีลวดลายในการเต้นรำ.
  50. ลำหักลำโค่น : (สำ) น. ชั้นเชิงที่ใช้หักโค่นอีกฝ่ายหนึ่งอย่างรุนแรง ดุเดือด หรือโดยไม่ปรานีปราศรัย เช่น นักมวยคนนี้ชกมีลำหักลำ โค่นดี. ว. ใช้ชั้นเชิงหักโค่นอีกฝ่ายหนึ่งอย่างรุนแรง ดุเดือด หรือ โดยไม่ปรานีปราศรัย เช่น การที่จะเอาชนะนักมวยคนนี้ต้องใช้วิธี ลำหักลำโค่น.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9100 | 9101-9150 | 9151-9189

(0.3633 sec)