Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชาม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชาม, 43 found, display 1-43
  1. ชาม : น. ภาชนะรูปคลุ่ม ๆ ชนิดหนึ่ง สําหรับใส่อาหารเป็นต้น. ชามอีโน (โบ) น. ชามขนาดใหญ่อย่างชามโคม.
  2. ชามพูนท : [ชามพูนด] น. ทองคําเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่า เกิดใต้ ต้นหว้า), ชมพูนท ชมพูนุทหรือ ชัมพูนท ก็ว่า. (ส. ชามฺพูนท ว่า เกิดในแม่น้ำชมพูนที.).
  3. บายศรีปากชาม : น. บายศรีตองที่จัดวางลงปากชาม.
  4. ฟาด : ก. หวด, เหวี่ยง, เช่น ฟาดด้วยไม้เรียว ฟาดผ้า จระเข้ฟาดหาง; (ปาก) กินอย่างเต็มที่เช่น ฟาดข้าวเสีย ๓ ชาม.
  5. ลายน้ำทอง : น. ลายหรือรูปภาพซึ่งเขียนเส้นทองบนพื้นสีหรือ เขียนสีบนพื้นทองบนเครื่องกระเบื้อง เช่นจาน ชาม กระโถน.
  6. สถาล : [สะถาน] (แบบ) น. ภาชนะใส่ของ, จาน, ชาม. (ส. สฺถาล; ป. ถาล).
  7. กระบม : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่งทําด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรอง ถ้วยชามอย่างสำรับ, กระโบม ก็เรียก. (รูปภาพ กระบม)
  8. กระเบื้อง : น. เครื่องมุงหลังคาหรือปูพื้นเป็นต้น ทําด้วยดิน หรือวัสดุอย่างอื่น โดยปรกติเป็นแผ่น, เครื่องถ้วยชามที่ปั้นด้วยดินประสมอย่างดี เนื้อมีลักษณะแข็งและขาว เคลือบผิวเป็นมัน มีพื้นหรือลวดลาย เป็นสีต่าง ๆ เรียกรวมว่า เครื่องกระเบื้อง, ชิ้นของเครื่องกระเบื้อง ที่แตกออก, กระทะแบน ๆ สําหรับละเลงขนมเบื้องเป็นต้น เดิมทํา ด้วยดินเผา แต่ปัจจุบันทําด้วยโลหะ; ลักษณนามเรียกจํานวนข้าวเม่า เป็นต้นที่คั่วครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ข้าวเม่ากระเบื้องหนึ่ง งา ๒ กระเบื้อง.
  9. กระโบม ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรอง ถ้วยชามอย่างสำรับ, กระบม ก็เรียก.
  10. กรับ ๒ : [กฺรับ] (โบ) ก. แห้งติดอยู่เหมือนกาวติดชาม ว่า กรับแห้ง. (ปรัดเล).
  11. กรีด ๓ : [กฺรีด] ก. ขีดให้เป็นรอยหรือให้ขาด เช่น เอากากเพชรกรีดกระจก เอามีดกรีดใบตองเย็บกระทง; ระไป, ครูดไป, เช่น เอาหลังเล็บ กรีดลูกทุเรียนเพื่อให้รู้ว่ากินได้หรือยัง; เอาคมมีดสะบัดบนของ แข็งเพื่อให้คม เช่น เอามีดกรีดหินเพื่อให้คม กรีดมีดบนปากชาม.
  12. กะละมัง : น. เรียกชามที่ทําด้วยโลหะเคลือบว่า ชามกะละมัง.
  13. กะลา ๑ : น. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าว ถ้าผ่าซีก ซีกที่มีตา เรียกว่า กะลาตัวผู้ ซีกที่ตัน เรียกว่า กะลาตัวเมีย; เรียกถ้วยชามชนิดเลวเนื้อหยาบหนาว่า ชามกะลา; เรียกผมที่ตัดเป็นรูปกะลาครอบว่า ผมทรงกะลาครอบ; เรียกหมวกที่มีรูปคล้ายกะลาครอบว่า หมวกกะลา หรือ หมวกกะลาครอบ; (ปาก) กะโหลก เป็นคําไม่สุภาพ เช่น ไม่เจียมกะลาหัว คุ้มกะลาหัว. (สํา) ว. ไม่มีค่า เช่น เก่ากะลา.
  14. กินสี่ถ้วย : ก. กินเลี้ยงในงานมงคล [สี่ถ้วย คือ ขนม ๔ อย่าง อย่างละถ้วย ได้แก่ ไข่กบ (สาคูหรือเมล็ดแมงลัก), นกปล่อย (ลอดช่อง), มะลิลอย (ข้าวตอก), อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียว) มีน้ำกะทิใส่ชามอยู่กลาง].
  15. แก้ว ๑ : น. หินแข็งใส แลลอดเข้าไปข้างในได้ ได้แก่จําพวกเพชรพลอย, ของที่ทําเทียมให้มีลักษณะเช่นนั้น, ของที่ได้จากการใช้ทรายขาว เป็นส่วนประกอบสําคัญมาหลอมกับสารที่มีสมบัติเป็นด่างเช่น ออกไซด์ของโซเดียม ออกไซด์ของแคลเซียม แล้วมีลักษณะเช่นนั้น; เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้วสําหรับใส่น้ำกินเป็นต้นว่า ถ้วยแก้ว หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แก้ว, เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้ว เช่น ชามแก้ว; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่เคารพนับถือยิ่ง ในคําว่า แก้ว ทั้ง ๓ อันหมายถึง พระรัตนตรัย, หรือใช้ประกอบคํานามให้หมายความว่าสิ่งนั้นมีค่ามาก เป็นที่รัก หรือดีเยี่ยม เช่น นางแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ลูกแก้ว, หรือใช้เรียกของใสบางชนิด เช่น กระดาษแก้ว ผ้าแก้ว ข้าวเหนียวแก้ว.
  16. ข้าหลวงหลังลาย : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Asplenium nidus L. ในวงศ์ Aspleniaceae รูปทรงคล้ายชาม แตกใบอ่อนตรงกลาง.
  17. เขียวไข่กา : น. ชื่อชามสมัยก่อน สีเขียวปนครามอ่อน ๆ รูปก้นสอบ ปากผาย. ว. มีสีอย่างสีเขียวปนครามอ่อน ๆ.
  18. คว่ำ : [คฺวํ่า] ก. พลิกเอาด้านบนลงล่าง เช่น รถคว่ำ เรือคว่ำ; กิริยาที่เอาด้าน หน้าลง เช่น นอนคว่ำ, กิริยาที่เอาด้านบนลงล่าง เช่น คว่ำชาม, ตรงข้าม กับ หงาย; เรียกใบหน้าที่แสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจนไม่เงยหน้า ขึ้นมองดูว่า หน้าคว่ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง พ่ายแพ้ เช่น คว่ำคู่ต่อสู้.
  19. คา ๒ : ก. ค้างอยู่, ติดอยู่, เช่น ข้าวคาปาก คาถ้วยคาชาม. ว. ยังไม่พ้นไป จากที่นั้น ๆ เช่น ยืนคาประตู สุกคาต้น ตายคาที่.
  20. โคม : น. เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ, ตะเกียงเครื่อง ตามไฟ หรือเครื่องให้แสงสว่างซึ่งมีเครื่องบังลมหรือเครื่องบังคับ แสงไฟเช่นนั้น ใช้ตั้ง หิ้ว หรือแขวน เช่น โคมไฟฟ้า, ลักษณนามว่า โคม, ดวง, ใบ, ลูก, เรียกชามอย่างเก่าขนาดใหญ่ รูปคล้ายโคม ว่า ชามโคม, ลักษณนามว่า ใบ, ลูก.
  21. ชมพูนท, ชมพูนุท : น. ทองคําเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิ กล่าวว่าเกิดใต้ต้นหว้า), ใช้ว่า ชามพูนท ก็มี. (ส. ชามฺพูนท ว่า เกิดในแม่นํ้าชมพูนที).
  22. ชัมพูนท : [ชําพูนด] น. ทองคําเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่า เกิดใต้ต้นหว้า), ชมพูนท ชมพูนุท หรือ ชามพูนท ก็ว่า. (ป.; ส. ชามฺพูนท).
  23. เช็ด : ก. ทําให้แห้งหรือให้สะอาดโดยใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีผ้าหรือ กระดาษเป็นต้น เช่น เช็ดนํ้าตา เช็ดพื้น เช็ดถ้วยชาม, โดนถาก ๆ เช่น โดนหมัดเช็ดหน้าไป.
  24. ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
  25. บาน ๒ : น. ของที่เป็นแผ่น ๆ บางอย่าง เช่น บานประตู บานหน้าต่าง บาน กระจกเงา; ลักษณนามใช้เรียกของเช่นนั้น เช่น กระจกบานหนึ่ง หน้าต่าง ๒ บาน. ก. เผยออก, คลี่ออก, ขยายออก, เช่น ดอกไม้ บาน หอบซี่โครงบาน; กระจาย เช่น เรือแล่นจนนํ้าบาน. ว. ที่ ผายออก เช่น ชามปากบาน กางเกงขาบาน กระโปรงบาน; ปลาบปลื้ม, แช่มชื่น, เบิกบาน, เช่น ใจบาน หน้าบาน; (ปาก) มาก เช่น เสียไปบาน.
  26. บายศรี : น. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทําด้วยใบตอง รูปคล้าย กระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลําดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่อง สังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. (ข. บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือ ข้าวขวัญ).
  27. บิ่น : ก. แตกลิไปเล็กน้อย (ที่คม ที่แง่ หรือที่ยอด) เช่น มีดบิ่น ชามปากบิ่น. ว. บ้าอย่างหุนหันพลันแล่น, บ้าบิ่น ก็ว่า.
  28. เบญจรงค์ : น. แม่สีทั้ง ๕ คือ ดํา แดง ขาว เขียว (คราม) เหลือง, เรียกเครื่องถ้วยชามที่เขียนลวดลายด้วยแม่สีทั้ง ๕ ว่า ถ้วย เบญจรงค์ ชามเบญจรงค์.
  29. ประคอง : ก. พยุงให้ทรงตัวอยู่ เช่น ประคองตัวเอง, ช่วยพยุงไม่ให้เซไม่ให้ล้ม เป็นต้น เช่น ประคองคนเจ็บให้ลุก ประคองคนแก่เดิน, ระมัดระวัง ไม่ให้หกหรือพลั้งพลาด เช่น ประคองชามแกงให้ดี, โอบรัดเบา ๆ เช่น หนุ่มสาวเดินประคองกันไป; โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี.
  30. ปากไปล่ : น. ชื่อชามชนิดหนึ่ง ก้นเล็กปากบานอย่างรูปงอบหงาย.
  31. เปรื่อง : [เปฺรื่อง] ก. เชี่ยวชาญ, ปรุโปร่ง, แตกฉาน, เช่น ปัญญาเปรื่อง สมองเปรื่อง. ว. เสียงดังอย่างเสียงถ้วยชามกระทบกันหรือตกแตก.
  32. เปล : [เปฺล] น. เครื่องสําหรับนอน ใช้ไกวหรือโยก, เครื่องสําหรับ นอนเล่นแกว่งไกวไปมาได้, เครื่องสําหรับหามคนเจ็บ; เรียก ภาชนะบางอย่างที่มีรูปลักษณะอย่างเปล เช่น ชามเปล.
  33. ไปล่ : [ไปฺล่] ว. ผาย, แบะ, เช่น ชามปากไปล่, แปล้, เลยไป, เช่น ผมไปล่.
  34. ไปล่ปลิว : ก. ขจรไป เช่น ทรงนํ้ามันกันไรไปล่ปลิว. (อิเหนา), เชิด ขึ้นไปคล้ายเส้นขอบนอกชามปากไปล่.
  35. ภาชนะ : [พาชะนะ, พาดชะนะ] น. เครื่องใช้จำพวกถ้วยโถโอชามหม้อไหเป็นต้น สําหรับใส่สิ่งของ. (ป., ส.).
  36. ลวก : ก. กิริยาที่ของเหลวหรือไอที่ร้อนจัดหรือไฟมากระทบ เช่น ไฟลวก น้ำร้อนลวก ถูกไอน้ำเดือดลวก, กิริยาที่ถูกน้ำร้อน ไอร้อน หรือไฟ พลุ่งมากระทบผิวเช่น หม้อน้ำระเบิด น้ำร้อนพลุ่งมาลวกทำให้พอง ไปทั้งตัว ไฟพลุ่งมาลวกเนื้อลวกตัว, รดหรือแช่ด้วยน้ำร้อน เช่น เอา น้ำร้อนมาลวกผัก ลวกผ้าหรือลวกชาม. ว. เรียกสิ่งที่รดหรือแช่ด้วย น้ำร้อน เช่น ไข่ลวก ผักลวก สะเดาลวก.
  37. ลายคราม : น. เรียกเครื่องภาชนะเนื้อกระเบื้องที่เขียนลายเป็นสีคราม เช่น ชามลายคราม แจกันลายคราม, โดยปริยายหมายถึงของเก่าที่มีค่า เช่น เก่าลายคราม ไม่ใช่เก่ากะลา, เก่า, โบราณ, เช่น รุ่นลายคราม.
  38. ลายอย่าง : น. ลายตัวอย่างที่ใช้เป็นแบบเช่นลายถ้วยชาม ลายผ้า, ลายที่ส่งไปเป็นตัวอย่างให้ทำเข้ามาขาย.
  39. ลึก : ว. ตํ่าลงไปจากขอบมากกว่าปรกติ เช่น ชามก้นลึก, ไกลตํ่าลงไป จากผิวหน้าหรือขอบบน เช่น ทะเลลึก นํ้าลึก เหวลึก, ไกลเข้าไป จากขอบเป็นต้น เช่น ป่าลึก ซอยลึก; หยั่งรู้ได้ยาก เช่น ความคิดลึก; ตรงข้ามกับ ตื้น.
  40. เลี่ยม ๑ : ก. ใช้โลหะเช่นทองคํา ทองเหลือง ตะกั่ว หุ้มโดยรอบที่ปลาย หรือ หุ้มเป็นแนวไปตามริม ขอบ หรือปากของสิ่งต่าง ๆ มีถ้วยชามเป็นต้น แล้วกวดให้แนบสนิทเพื่อทําให้แข็ง กันสึก กันบิ่น ปกปิดตําหนิ หรือ เพื่อความงาม เช่น เลี่ยมหัวตะพด เลี่ยมป้าน เลี่ยมถ้วย.
  41. สมัยเก่า : น. สมัยโบราณ เช่น ถ้วยชามชุดนี้เป็นของสมัยเก่า. ว. พ้นสมัย, ไม่ใช่สมัยใหม่, ก่อนเวลาปัจจุบัน, เช่น เขามีความคิดอย่างคนสมัยเก่า. สมัยนิยม
  42. หม้อไฟ : น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ รูปทรงคล้ายชาม ก้นหม้อ มีเชิง ตรงกลางมีกระบอกสูงขึ้นมาจากใต้ก้นหม้อสำหรับใส่ถ่านติดไฟ ปากหม้อมีฝาปิด ใช้สำหรับใส่เกาเหลา แกงจืด เป็นต้น, หม้อหยวนโล้ ก็เรียก.
  43. อีโน : (โบ) น. เรียกชามขนาดใหญ่อย่างชามโคมว่า ชามอีโน.
  44. [1-43]

(0.0136 sec)