Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: .

Budhism Thai-Thai Dict : , 51 found, display 1-50
  1. บุพพสิกขาวันา : หนังสืออธิบายพระวินัย พระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) วัดบรมนิวาส เป็นผู้แต่ง
  2. ปาาติปาตา เวรมี : เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง, เว้นจากการฆ่าสัตว์ (ข้อ ๑ ในศีล ๕ ฯลฯ)
  3. วักสิ : กสิที่เพ่งวัตถุมีสีต่างๆ ๔ อย่าง คือ นีลํ สีเขียว, ปีตํ สีเหลือง, โลหิตํ สีแดง, โอทาตํ สีขาว ดู กสิ
  4. วัมัจฉริยะ : ตระหนี่วรระ คือหวงผิวพรร ไม่พอใจให้คนอื่นสวยงาม หรือหวงคุวัะ ไม่พอใจให้ใครมีคุความดีมาแข่งตน (ข้อ ๔ ในมัจฉริยะ ๕)
  5. กฐินทาน : การทอดกฐิน, การถวายผ้ากฐิน คือการที่คฤหัสถ์ผู้ศรัทธาหรือแม้ภิกษุสามเร นำผ้าไปถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อทำเป็นผ้ากฐิน เรียกสามัญว่า ทอดกฐิน (นอกจากผ้ากฐินแล้วปัจจุบันนิยมมีของถวายอื่นๆ อีกด้วยจำนวนมาก เรียกว่า บริวารกฐิน)
  6. กาฬสิลา : สถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ข้างภูเขาอิสิคิลิ พระนครราชคฤห์ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์และเป็นที่ที่พระโมคคัลลานะ ถูกคนร้ายซึ่งรับจ้างจากพวกเดียรถีย์ไปลอบฆ่าด้วยการทุบตีจนร่างแหลก
  7. ตปุสสะ : พ่อค้าที่มาจารอุกกลชนบท คู่กับภัลลิกะ พบพระพุทธเจ้าขะประทับอยู่ ภายใต้ต้นไม้ราชายตนะ ภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ ได้ถวายเสบียงเดินทาง คือ ข้าวสัตตุผล ข้าวสัตตุก้อน แล้วแสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระพุทธเจ้ากับพระธรรมเป็นสระ นับเป็นปฐมอุบาสกผู้ถึงสระ ๒ ที่เรียกว่า เทฺววาจิก
  8. ทาฐธาตุ : พระธาตุคือเขี้ยว, พระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้ามีทั้งหมด ๔ องค์ ตำนานว่า พระเขี้ยวแก้วบนขวาประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามีเจดีย์ในดาวดึงส์เทวโลก, องค์ล่างขวาไปอยู่ แคว้นกาลิงคะ แล้วต่อไปยังลังกาทวีป, องค์บนซ้ายไปอยู่ แคว้นคันธาระ, องค์ล่างซ้ายไปอยู่ในนาคพิภพ
  9. ทาฒธาตุ : พระธาตุคือเขี้ยว, พระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้ามีทั้งหมด ๔ องค์ ตำนานว่า พระเขี้ยวแก้วบนขวาประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามีเจดีย์ในดาวดึงส์เทวโลก, องค์ล่างขวาไปอยู่ แคว้นกาลิงคะ แล้วต่อไปยังลังกาทวีป, องค์บนซ้ายไปอยู่ แคว้นคันธาระ, องค์ล่างซ้ายไปอยู่ในนาคพิภพ
  10. ทีฆขนะ : ชื่อปริพาชก ผู้หนึ่ง ตระกูล อัคคิเวสสนะ ขะที่พระพุทธเจ้าเทศนาเวทนาปริคคหสูตร โปรดปริพาชกผู้นี้ พระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่ เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระพุทธองค์ ได้ฟังเทศนานั้น ได้สำเร็จพระอรหัต ส่วนทีฆนขะ เพียงแต่ได้ดวงตาเห็นธรรมแสดงตนเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา
  11. เทโวโรห : “การลงจากเทวโลก” หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ตำนานเล่าว่าในพรรษาที่ ๗ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษาในดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาพร้อมทั้งหมู่เทพ ที่นั้น เมื่อถึงเวลาออกพรรษาในวันมหาปวารา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับคืนสู่โลกมนุษย์ ประตูเมืองสังกัสสะ โดยมีเทวดาและมหาพรหมทั้งหลายแวดล้อม ลงมาส่งเสด็จ ฝูงชนจำนวนมากมายก็ได้ไปคอยรับเสด็จ กระทำมหาบูชาเป็นการเอิกเกริกมโหฬารและพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม มีผู้บรรลุคุวิเศษจำนวนมาก ชาวพุทธในภายหลังได้ปรารภเหตุการ์พิเศษครั้งนี้ ถือเป็นกาลกำหนดสำหรับบำเพ็ญการกุศล ทำบุญตักบาตรคราวใหญ่แด่พระสงฆ์ เป็นประเพีนิยมสืบมา ดังปรากฏในประเทศไทย เรียกกันว่า ตักบาตรเทโวโรหะ หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า ตักบาตรเทโว บางวัดก็จัดพิธีในวันออกพรรษา คือวันมหาปวารา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดจัดถัดจากนั้น ๑ วัน คือในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
  12. นาลันทา : ชื่อเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมา ๑ โยชน์ เมืองนี้ มีสวนมะม่วง ชื่อ ปาวาริกัมพวัน (สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี) ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้ง คัมภีร์ฝ่ายมหายานกล่าวว่า พระสารีบุตร อัครสาวก เกิดที่เมืองนาลันทา แต่คัมภีร์ฝ่ายบาลีเรียกถิ่นเกิดของพระสารีบุตรว่า หมู่บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม
  13. ปาวาลเจดีย์ : ชื่อเจดียสถานอยู่ที่เมืองเวสาลี พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาส ครั้งสุดท้ายและทรงปลงพระชนมายุสังขาร เจดีย์นี้ก่อนปรินิพพาน ๓ เดือน
  14. ปาสาเจดีย์ : เจดียสถานแห่งหนึ่งอยู่ในแคว้นมคธ มาพ ๑๖ คนซึ่งเป็นศิษย์ของพราหม์พาวรี ได้เฝ้าพระศาสดาและทูลถามปัญหา ที่นี้
  15. พรหมายุ : ชื่อพราหม์คนหนึ่ง อายุ ๑๒๐ ปี เป็นผู้เชี่ยวชาญไตรเพท อยู่ เมืองมิถิลา ในแคว้นวิเทหะ ได้ส่งศิษย์มาตรวจดูมหาบุรุษลักษะของพระพุทธเจ้า ต่อมาได้พบกับพระพุทธเจ้า ทูลถามปัญหาต่างๆ มีความเลื่อมใส และได้บรรลุเป็นพระอนาคามี
  16. พาวรี : พราหม์ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพทแก่ศิษย์อยู่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี สุดเขตแดนแคว้นอัสสกะ ได้ส่งศิษย์ ๑๖ คนไปถามปัญหาพระศาสดา เพื่อจะทดสอบว่าพระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธะจริงหรือไม่ ภายหลังได้รับคำตอบแล้ว ศิษย์ชื่อปิงคิยะซึ่งเป็นหลานของท่านได้กลับมาเล่าเรื่องและแสดงคำตอบปัญหาของพระศาสดา ทำให้ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี
  17. พุทธกิจ ๔๕ พรรษา : ในระหว่างเวลา ๔๕ ปีแห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา สถานที่ต่างๆ ซึ่งท่านได้ประมวลไว้ พร้อมทั้งเหตุการ์สำคัญบางอย่างอันควรสังเกต
  18. โพธิ : ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมทูตไทยในสมัย ร.๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมา ในสมัย ร.๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร
  19. โพธิพฤกษ์ : ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมทูตไทยในสมัย ร.๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมา ในสมัย ร.๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร
  20. ภัลลิกะ : พ่อค้าที่มาจากอุกกลชนบท คู่กับ ตปุสสะ พบพระพุทธเจ้าขะประทับอยู่ ภายใต้ต้นไม้ราชายตนะ ได้ถวายเสบียงเดินทาง คือ ข้าวสัตตุผง ข้าวสัตตุก้อน แล้วแสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระพุทธเจ้ากับพระธรรมเป็นสระ นับเป็นปฐมอุบาสก
  21. มหาวัน : 1.ป่าใหญ่ใกล้นครกบิลพัสดุ์ ที่พระพุทธเจ้าเคยไปทรงพักผ่อน ระหว่างประทับอยู่ที่นิโครธาราม 2.ป่าใหญ่ใกล้เมืองพาราสี ที่นี้พระศาสดาทรงอนุญาตให้มีภิกษุีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยประทานอนุญาตให้พระมหาปชาบดีบวชเป็นภิกษุี ด้วยวิธีรับครุธรรม ๘ ประการ
  22. มาฆบูชา : การบูชาใหญ่ในวันเพ็ญ เดือน ๓ ในโอกาสคล้ายวันประชุมใหญ่แห่งพระสาวก ซึ่งเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต พระเวฬุวัน หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน ที่พระองค์ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ (การปลงพระชนมายุสังขาร ก็ตรงในวันนี้)
  23. เมตตคูมานพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหม์พาวรีที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ปาสาเจดีย์
  24. รัตนฆรเจดีย์ : เจดีย์คือเรือนแก้ว อยูทางทิศตะวันตกของรัตนจงกรมเจดีย์ หรือทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงพิจาราพระอภิธรรมปิฎกสิ้น ๗ วัน (สัปดาห์ที่ ๔ แห่งการเสวยวิมุตติสุข) ดู วิมุตติสุข
  25. รัตนจงกรมเจดีย์ : เจดีย์คือที่จงกรมแก้วอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นมหาโพธิ กับอนิมิสเจดีย์ ที่นี้พระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมตลอด ๗ วัน (สัปดาห์ที่ ๓ แห่งการเสวยวิมุตติสุข ดู วิมุตติสุข)
  26. รากขวัญ : ส่วนของร่างกายที่เรียกว่าไหปลาร้า; ตำนานกล่าวว่า ในบรรดาพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนั้น พระรากขวัญเบื้องขวาขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในจุฬามีเจดีย์ ดาวดึงสเทวโลก พระรากขวัญเบื้องซ้าย ขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ (เจดีย์ที่ฆฏิการพรหมสร้างขึ้นไว้ก่อนแล้ว ให้เป็นที่บรรจุพระภูษาเครื่องทรงในฆราวาสที่พระโพธิสัตว์สละในคราวเสด็จออกบรรพชา) พรหมโลก
  27. ราชคฤห์ : นครหลวงของแคว้นมคธเป็นนครที่มีความเจริญรุ่งเรือง เต็มไปด้วยคาจารย์เจ้าลัทธิ พระพุทธเจ้าทรงเลือกเป็นภูมิที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นปฐม พระเจ้าพิมพิสารราชาแห่งแคว้นมคธ ครองราชสมบัติ นครนี้
  28. ราชายตนะ : ไม้เกต อยู่ทิศใต้แห่งต้นพระศรีมหาโพธิ ที่นี้ พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ๗ วัน พ่อค้า ๒ คน คือ ตปุสสะกับภัลลิกะ ซึ่งมาจากอุกกลชนบท ได้พบพระพุทธเจ้าที่นี่ ดู วิมุตติสุข
  29. วิสาขา : ชื่อมหาอุบาสิกาสำคัญในครั้งพุทธกาล เป็นธิดาของธนัญชัยเศรษฐี และนางสุมนา เกิดที่เมืองภัททิยะในแคว้นอังคะ ได้บรรลุโสดาปัตติผล ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ต่อมาได้ย้ายตามบิดามาอยู่ที่เมืองสาเกตในแคว้นโกศลแล้วได้สมรสกับนายปุวัฒน์บุตรชายมิคารเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี และย้ายไปอยู่ในตระกูลฝ่ายสามี นางสามารถกลับใจมิคารเศรษฐี บิดาของสามี ซึ่งนับถือครนถ์ ให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา มิคารเศรษฐีนับถือนางมาก และเรียกนางวิสาขาเป็นแม่ นางวิสาขาจึงได้ชื่อใหม่อีกอย่างหนึ่งว่า มิคารมารดา (มารดาของมิคารเศรษฐี) นางวิสาขาได้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์อย่างมากมาย และได้ให้ขายเครื่องประดับประจำตัวตั้งแต่แต่งงาน เรียกชื่อว่า มหาลดาปสาธน์ ซึ่งมีค่าสูงยิ่ง นำเงินมาสร้างวัดถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์คือ มิคารมาตุปราสาท วัดบุพพาราม พระนครสาวัตถี นางวิสาขามีบุตรหลานมากมายล้วนมีสุขภาพดีแทบทั้งนั้น แม้นางจะมีอายุยืนถึง ๑๒๐ ปี ก็ดูไม่แก่ และเป็นบุคคลที่ได้รับความนับถืออย่างกว้างขวางในสังคม ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาทายิกาทั้งปวง
  30. สัตตัมพเจดีย์ : เจดีย์สถานแห่งหนึ่งที่ นครเวสาลี แคว้นวัชชี ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตตโอภาสแก่พระอานนท์
  31. สัปปิโสฑิกา : ชื่อเงื้อมเขาแห่งหนึ่งอยู่ที่สีตวัน ใกล้กรุงราชคฤห์ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตตโอภาสแก่พระอานนท์
  32. สารันทเจดีย์ : เจดียสถานแห่งหนึ่งที่เมืองเวสาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตตโอภาสแก่พระอานนท์ บาลีเป็น สารันททเจดีย์
  33. สารีบุตร : พระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า เกิดที่หมู่บ้านนาลกะ (บางแห่งเรียกนาลันทะ) ไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์ เป็นบุตรแห่งตระกูลหัวหน้าหมู่บ้านนั้น บิดาชื่อวังคันตพราหม์ มารดาชื่อ สารี จึงได้นามว่าสารีบุตร แต่เมื่อยังเยาว์เรียกว่า อุปติสสะ มีเพื่อนสนิทชื่อ โกลิตะ ซึ่งต่อมาคือ พระมหาโมคคัลลานะ มีน้องชาย ๓ คนชื่อ จุนทะ อุปเสนะ และเรวตะ น้องหญิง ๓ คน ชื่อจาลา อุปจาลา และสีสุปจาลา ซึ่งต่อมาได้บวชในพระธรรมวินัยทั้งหมด เมื่ออุปติสสะและโกลิตะจะบวชนั้น ทั้ง ๒ คนไปเที่ยวดูมหรสพที่ยอดเขาด้วยกัน คราวหนึ่งไปดูแล้วเกิดความสลดใจ คิดออกแสวงหาโมกขธรรม และต่อมาได้บวชอยู่ในสำนักของสัญชัยปริพาชกแต่ก็ไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย จนวันหนึ่งอุปติสสปริพาชก พบพระอัสสชิเถระขะท่านบิฑบาต เกิดความเลื่อมใสติดตามไปสนทนาขอถามหลักคำสอนได้ฟังความย่อเพียงคาถาเดียวก็ได้ดวงตาเห็นธรรม กลับไปบอกข่าวแก่โกลิตะแล้วพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า มีปริพาชกที่เป็นศิษย์ตามไปด้วยถึง ๒๕๐ คน ได้รับเอหิภิกขุอุปสมบททั้งหมดที่เวฬุวัน เมื่อบวชแล้วได้ ๑๕ วัน พระสารีบุตรได้ฟังพระธรรมเทศนาเวทนาปริคคหสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ทีฆนขปริพาชก ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ ก็ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องเป็น เอตทัคคะ ในทางมีปัญญามาก และเป็น พระอัครสาวกฝ่ายขวา ท่านได้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธเจ้าในการประกาศพระศาสนา และได้รับยกย่องเป็น พระธรรมเสนาบดี คำสอนของท่านปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกเป็นอันมาก เช่น สังคีติสูตร และทสุตตรสูตร ที่เป็นแบบอย่างแห่งการสังคายนา เป็นต้น ท่านปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้าไม่กี่เดือนเมื่อจวนจะปรินิพพาน ท่านเดินทางไปโปรดมารดาของท่านซึ่งยังเป็นมิจฉาทิฐิให้มารดาได้เป็นพระโสดาบันแล้ว ปรินิพพานที่บ้านเกิด ด้วยปักขันทิกาพาธ หลังจากปลงศพแล้วพระจุนทะน้องชายของท่านนำอัฐิธาตุไปถวายพระบรมศาสดา พระองค์ตรัสว่าให้ก่อสถูปบรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้ พระเชตวัน เมืองสาวัตถี (อรรถกถาว่าท่านปรินิพพานในวันเพ็ญเดือน ๑๒ จึงเท่ากับ ๖ เดือนก่อนพุทธปรินิพพาน)
  34. สีมาวิบัติ : ความเสียโดยสีมา, เสียเพราะเขตชุมนุม (ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูร์), สีมาใช้ไม่ได้ ทำให้สังฆกรรมซึ่งทำ ที่นั้นวิบัติคือเสียหรือใช้ไม่ได้ (เป็นโมฆะ) ไปด้วย, คัมภีร์ปริวารแสดงเหตุให้กรรมเสียโดยสีมา ๑๑ อย่าง เช่น ๑.สมมติสีมาใหญ่เกินกำหนด (เกิน ๓ โยชน์) ๒.สมมติสีมาเล็กเกินกำหนด (จุไม่พอภิกษุ ๒๑ รูปนั่งเข้าหัตถบาสกัน) ๓.สมมติสีมามีนิมิตขาด ๔.สมมติสีมามีฉายาเป็นนิมิต ๕.สมมติสีมาไม่มีนิมิต ฯลฯ, สังฆกรรมที่ทำในที่เช่นนี้ก็เท่ากับทำในที่มิใช่สีมานั่นเอง จึงย่อมใช้ไม่ได้ ดู วิบัติ(ของสังฆกรรม)
  35. สีมาสมบัติ : ความพร้อมมูลโดยสีมา, ความสมบูร์แห่งเขตชุมชน, สีมาซึ่งสงฆ์สมมติแล้วโดยชอบ ไม่วิบัติ ทำให้สังฆกรรมซึ่งทำในสีมานั้นมีผลสมบูร์ กล่าวคือ สีมาปราศจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เป็นเหตุให้สีมาวิบัติ (ดู สีมาวิบัติ) สังฆกรรมซึ่งทำ ที่นั้นจึงชื่อว่าทำในสีมา จึงใช้ได้ในข้อนี้ ดู สมบัติ(ของสังฆกรรม)
  36. สุกรขาตา : ชื่อถ้ำ อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ พระนครราชคฤห์ ที่นี้พระสารีบุตรได้สำเร็จพระอรหัต เพราะได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปริพาชกชื่อทีฆนขะ ดู ทีฆนขะ
  37. สุทโธทนะ : กษัตริย์ศากยวงศ์ซึ่งเป็นราชาผู้ครองแคว้นศากยะ หรือสักกชนบท นครกบิลพัสดุ์ มีพระมเหสีพระนามว่าพระนางสิริมหามายา หรือเรียกสั้น ๆ ว่ามายา เมื่อพระนางมายาสวรรคตแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้เป็นพระมเหสีต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๑ ของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระราชบิดาของพระสิทธัตถะ เป็นพระอัยกาของพระราหุล และเป็นพระพุทธบิดา พระองค์สวรรคตในปีที่ ๕ แห่งพุทธกิจก่อนสวรรคต พระพุทธเจ้าไดเสด็จไปแสดงธรรมโปรดให้ได้ทรงบรรลุอรหัตตผล และได้เสวยวิมุตติสุข ๗ วันก่อนปรินิพพาน
  38. โสตถิยะ : ชื่อคนหาบหญ้าที่ถวายหญ้าแด่พระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์รับหญ้าจากโสตถิยะแล้วนำไปลาดต่างบัลลังก์ ควงต้นพระศรีมหาโพธิ ด้านทิศตะวันออก แล้วประทับนั่งขัดสมาธิผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก จนกระทั่งตรัสรู้
  39. อชาตศัตรู : โอรสของพระเจ้าพิมพิสารกับพระนางโกศลเทวี กษัตริย์แคว้นมคธ ขะพระนางโกศลเทวีทรงครรภ์ ได้แพ้ท้องอยากเสวยโลหิตของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบจึงเอาพระขรรค์แทงพระชานุ (เข่า) รองพระโลหิตให้พระนางเสวย โหรทำนายว่า พระโอรสที่อยู่ในครรภ์เกิดมาจะทำปิตุฆาต พระนางโกศลเทวีพยายามทำลายด้วยการให้แท้งเสีย แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดคิดจะรีด แต่พระเจ้าพิมพิสารทรงห้ามไว้ เมื่อครบกำหนดประสูติเป็นกุมาร จึงตั้งพระนามพระโอรสว่า อชาตศัตรู แปลว่า เป็นศัตรูตั้งแต่ยังไม่เกิด ในที่สุดเจ้าชายอชาตศัตรูก็คบคิดกับพระเทวทัตฆ่าพระราชบิดาตามที่โหรทำนายไว้ และได้ขึ้นครองราชสมบัติแคว้นมคธ กรุงราชคฤห์ แต่ทรงสำนึกและกลับพระทัยได้ หันมาทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา และได้เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ในการสังคายนาครั้งที่ ๑ (คำ “อชาตศัตรู” บางท่านแปลใหม่ว่า มิได้เกิดมาเป็นศัตรู)
  40. อธิษฐานพรรษา : ความตั้งใจกำหนดลงไปว่าจะอยู่จำพรรษา ที่ใดที่หนึ่งตลอดไตรมาส (๓ เดือน) ดู จำพรรษา
  41. อนุพยัญชนะ : ลักษะน้อยๆ, พระลักษะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ (นอกเหนือจากมหาบุรุษลักษะ ๓๒) อีก ๘๐ ประการ คือ ๑) มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม, ๒) นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไป โดยลำดับแต่ต้นจนปลาย, ๓) นิ้วพระหัตถ์ แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี, ๔) พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง, ๕) พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง, ๖) พระนขานั้นมีพรรอันเกลี้ยงกลม สนิทมิได้เป็นริ้วรอย, ๗) ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก, ๘) พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา, ๙) พระดำเนินงานดุจอาการเดินแห่งกุญชรชาติ, ๑๐) พระดำเนินงามดุจสีหราช, ๑๑) พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์, ๑๒) พระดำเนินงามดุจอุสภราชดำเนิน, ๑๓) ขะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน, ๑๔) พระชานุมฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูร์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก, ๑๕) มีบุรุษพยัญชนะบริบูร์คือมิได้มีกิริยามารยาทคล้ายสตรี ๑๖) พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง, ๑๗) พระอุทรมีสัฐานอันลึก, ๑๘) ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิาวัฏฏ, ๑๙) ลำพระเพลาทั้งสองกลมงามดุจลำสุวรรกัททลี, ๒๐) ลำพระกรทั้งสองงามดุจงวงแห่งเอราวัเทพยหัตถี, ๒๑) พระอังคาพยใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คือ งามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้, ๒๒) พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรจะบางก็บางตามที่ทั่วทั้งประสรีรกาย, ๒๓) พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนึ่ง ๒๔) พระสรีรกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง, ๒๕) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง, ๒๖) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง, ๒๗) ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติ ประมาถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ, ๒๘) มีพระนาสิกอันสูง, ๒๙) สัฐานนาสิกงามแฉล้ม ๓๐) มีพระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก, ๓๑) พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน, ๓๒) พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์, ๓๓) พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย, ๓๔) พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น, ๓๕) พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูร์, ๓๖) ดวงพระพักตร์มีสัฐานยาวสวย ๓๗) พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน, ๓๘) ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก, ๓๙) ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว ๔๐) ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด ๔๑) ลายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง, ๔๒) รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมฑลโดยรอบ ๔๓) กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูร์ ๔๔) กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน ๔๕) ดวงพระเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ๔๖) ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้งอมิได้คด ๔๗) พระชิวหามีสัฐานอันงาม ๔๘) พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้างมีพรรอันแดงเข้ม ๔๙) พระกรรทั้งสองมีสัฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ ๕๐) ช่องพระกรรมีสัฐานอันกลมงาม ๕๑) ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง ๕๒) แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่มิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง ๕๓) พระเศียรมีสัฐานงามเหมือนฉัตรแก้ว ๕๔) ปริมฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน ๕๕) พระนลาฏมีสัฐานอันงาม ๕๖) พระโขนงมีสัฐานอันงามดุจคันธนูอันก่งไว้ ๕๗) พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด ๕๘) เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วล้มราบไปโดยลำดับ ๕๙) พระโขนงนั้นใหญ่ ๖๐) พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร ๖๑) ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๒) พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ ๖๓) พระสรีรกายมิได้มัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ๖๔) พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ ๖๕) พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย ๖๖) กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษา ๖๗) พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น ๖๘) พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๙) ลมอัสสาสะและปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด ๗๐) พระโอษฐมีสัฐานอันงามดุจแย้ม ๗๑) กลิ่นพระโอษฐหอมดุจกลิ่นอุบล ๗๒) พระเกสาดำเป็นแสง ๗๓) กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ ๗๔) พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ ๗๕) พระเกสามีสัฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น ๗๖) พระเกสาดำสนิททั้งสิ้น ๗๗) พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด ๗๘) เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง ๗๙) เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิาวัฏฏทุกๆ เส้น ๘๐) วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแห่งพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ฯ นิยมเรียกว่า อสีตยานุพยัญชนะ; ดู มหาบุรุษลักษ
  42. อโนมา : ชื่อแม่น้ำกั้นพรมแดนระหว่างแคว้นสักกะกับแคว้นมัลละ พระสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา มาถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ตรัสสั่งนายฉันนะให้นำม้าพระที่นั่งกลับคืนพระนคร ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ อธิษฐานเพศบรรพชิต ฝั่งแม่น้ำอโนมานี้
  43. อโศกมหาราช : พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชมพูทวีป และเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญยิ่ง เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์ โมริยะ ครองราชสมบัติ พระนคร ปาฎลีบุตร ตั้งแต่ พ) ศ) ๒๑๘ ถึง พ) ศ) ๒๖๐ (นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันส่วนมากกว่า พ) ศ) ๒๗๐-๓๒๑) เมื่อครองราชย์ได้ ๘ พรรษา ทรงยกทัพไปปราบแคว้นกลิงคะที่เป็นชนชาติเข้มแข็งลงได้ ทำให้อาาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ที่สุดในประวัติชาติอินเดีย แต่ในการสงครามนั้น มีผู้คนล้มตายและประสบภัยพิบัติมากมาย ทำให้พระองค์สลดพระทัย พอดีได้ทรงสดับคำสอนในพระพุทธศาสนา ทรงเลื่อมใสได้ทรงเลิกการสงคราม หันมาทำนุบำรุงพระศาสนาและความรุ่งเรืองในทางสงบของประเทศ ทรงสร้างมหาวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๓ และการส่งศาสนทูตออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ เช่น พระมหินถเถระ ไปยังลังกาทวีป และพระโสะพระอุตตระมายังสุวรรภูมิ เป็นต้น ชาวพุทธไทยมักเรียกพระองค์ว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
  44. อินทปัตถ์ : ชื่อนครหลวงของแคว้นกุรุ แคว้นกุรุอยู่ บริเวลุ่มน้ำยมุนาตอนบน รวมมฑลปัญจาบลงมา เมืองอินทปัตถ์อยู่ บริเวเมืองเดลี นครหลวงของอินเดียปัจจุบัน
  45. อุพภตกสัฐาคาร : ท้องพระโรงชื่ออุพภตก เป็นท้องพระโรง หรือหอประชุมที่สร้างขึ้นใหม่ของมัลลกษัตริย์แห่งเมืองปาวา มัลลกษัตริย์ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนจะเปิดใช้งาน ที่นี้ พระสารีบุตรได้แสดงสังคีติสูตร อันเป็นต้นแบบของการสังคายนา
  46. อุรุเวลกัสสป : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เคยเป็นนักบวชประเภทชฎิล นับถือลัทธิบูชาไฟ ถือตัวว่าเป็นพระอรหันต์สร้างอาศรมสั่งสอนลัทธิของตนอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เพราะเหตุที่เป็นชาวกัสสปโคตร และอยู่ ตำบลอุรุเวลา จึงได้ชื่อว่า อุรุเวลกัสสป ท่านผู้นี้เป็นคาจารย์ใหญ่ที่ชาวราชคฤห์นับถือมาก มีน้องชาย ๒ คน คนหนึ่งชื่อนทีกัสสป อีกคนหนึ่งชื่อคยากสสป ล้วนเป็นหัวหน้าชฎิลตั้งอาศรมอยู่ถัดกันไปบนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ไม่ห่างไกลจากอาศรมของพี่ชายใหญ่ ต่อมาพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาทรงทรมานอุรุเวลกัสสปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ จนห่างชฎิลใหญ่ คลายพยศ ยอมมอบตัวเป็นพุทธสาวกขอบรรพชา ทำให้ชฎิลผู้น้องทั้ง ๒ พร้อมด้วยบริวารออกบวชตามด้วยทั้งหมด ครั้นบวชแล้วได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตร จากพระพุทธเจ้า ก็ได้สำเร็จพระอรหัต ทั้งสามพี่น้องพร้อมด้วยบริวารทั้งหมดรวมหนึ่งพันองค์ พระอุรุเวลกัสสปได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีบริษัติใหญ่ คือ มีบริวารมาก
  47. อุรุเวลา : ชื่อตำบลใหญ่แห่งหนึง ในแคว้นมคธ ตั้งอยู่ ลุ่มแม่น้ำเนรัญชรา เป็นภูมิสถานที่สงบน่ารื่นรมย์ พระมหาบุรุษทรงเลือกเป็นที่บำเพ็ญเพียร ได้ประทับอยู่ ที่นี้นานถึง ๖ ปี ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา และเปลี่ยนมาทรงดำเนินในมัชฌิมาปฏิปทา จนได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญา ภายใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลนี้
  48. โอภาส : 1) แสงสว่าง, แสงสุกใส ผุดผ่อง (ข้อ ๑ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐) 2) การพูดหรือแสดงออกที่เป็นเชิงเปิดช่องทางหรือให้โอกาส เช่นที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำโอภาส ที่ต่างๆ หลายแห่ง ซึ่งถ้าพระอานนท์เข้าใจ ก็จะทูลขอให้ทรงดำรงพระชนม์อยู่ตลอด (อายุ) กัป
  49. โอวาทปาฏิโมกข์ : หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (อรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา), คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)
  50. มัจฉริยะ : ความตระหนี่, ความหวง (ข้อ ๔ ใน มละ ๙), มัจฉริยะ ๕ คือ ๑.อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่ ๒.กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล ๓.ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ ๔.วัมัจฉริยะ ตระหนี่วรระ ๕.ธัมมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม
  51. [1-50]

(0.0231 sec)