Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ดนตรี , then ดนตร, ดนตรี .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ดนตรี, 118 found, display 1-50
  1. ดนตรี : น. เสียงที่ประกอบกันเป็นทํานองเพลง, เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทําให้ รู้สึกเพลิดเพลินหรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น ได้ตาม ทํานองเพลง. (ส. ตนฺตฺรินฺ).
  2. ดนตรีกรรม : (กฎ) น. งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง ไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความ รวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียง ประสานแล้ว.
  3. วาทิต : น. สังคีต, ดนตรี; ผู้บรรเลงดนตรี. (ป. วาทิต, วาทิตฺต; ส. วาทิต, วาทิตฺร).
  4. หัสดนตรี : น. วงดนตรีสากลซึ่งบรรเลงในงานรื่นเริง.
  5. เครื่องดนตรี : น. เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทําให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริงได้ตามทํานองเพลง.
  6. นาฏดนตรี : [นาตะดนตฺรี] น. ลิเก.
  7. จับมือ : ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวา ของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตาม ในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ, จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนา แหล่งน้ำ.
  8. วง : น. รูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น วงกลม วงรี, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รวมกัน เป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่น วงราชการ วงดนตรี; ส่วนสัดของมือที่ใช้ใน การรํา, คู่กับ เหลี่ยม คือ ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา; ลักษณนาม ใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คน นั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วงหรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็น ชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วง ประชันกัน. ก. ล้อมรอบ, ทําเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอ เขียนป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์.
  9. กระหึม, กระหึ่ม : ว. เสียงดังหึ่มอย่างน่ากลัว เช่น พายุพัดกระหึ่ม, เสียงก้องกังวาน เช่น เสียงดนตรีดังกระหึ่ม.
  10. กล่อมหอ : ก. ขับร้องหรือเล่นดนตรีเพื่อให้ครึกครื้นในพิธีแต่งงาน บ่าวสาวก่อนถึงฤกษ์ส่งตัวเจ้าสาว.
  11. กุญแจเสียง : น. เครื่องหมายอย่างหนึ่งที่ใช้ในการบันทึกเสียง ดนตรีสากล เขียนไว้ตอนหน้าของบรรทัด ๕ เส้น เพื่อกําหนด ระดับเสียงของตัวโน้ต, กุญแจประจําหลัก ก็เรียก. (รูปภาพ กุญแจเสียง)
  12. เก็บ ๒ : น. เรียกวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีดำเนินทำนองทั่วไป ที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้นมากกว่าทำนอง เนื้อเพลงธรรมดาว่า ทางเก็บ.
  13. ขลุ่ย : [ขฺลุ่ย] น. ชื่อเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งสำหรับเป่าให้เป็นเพลง มักทํา ด้วยไม้รวกเจาะรูตามยาวมีระยะห่างพอควร สําหรับเอานิ้วปิดและ เปิดให้เป็นเพลงเมื่อเป่า มีหลายชนิด เช่น ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ, ลักษณนามว่า เลา.
  14. ขับ ๒ : ก. ร้องเป็นทํานอง เช่น ขับกล่อม ขับเสภา. ขับซอ (ถิ่น) ก. ร้องเพลงโดยมีดนตรีประกอบ เช่น ขับซอยอยศอ้าง ฦๅลูกกษัตริย์เจ้าช้าง ชื่นแท้ใครเทียมเทียบนา. (ลอ).
  15. ขับไม้ : น. การเล่นดนตรีอย่างหนึ่ง มีคนเล่น ๓ คนด้วยกัน คนหนึ่ง ขับร้องลํานํา คนหนึ่งสีซอ ๓ สายประสานเสียง คนหนึ่งไกวบัณเฑาะว์ ให้จังหวะ; ชื่อคําประพันธ์ชนิดหนึ่ง ใช้โคลงกับกาพย์สุรางคนางค์สลับกัน.
  16. ขิม : น. ชื่อเครื่องดนตรีจีนชนิดหนึ่ง รูปคล้ายพระจันทร์ครึ่งซีก ใช้ตี.
  17. ขึ้นสาย : ก. เทียบเสียงเครื่องดนตรีที่มีสาย.
  18. ขึ้นเสียง : ก. ออกเสียงดังด้วยความโกรธ; เทียบเสียงเครื่องดนตรี.
  19. เขบ็ต : [ขะเบ็ด] น. ชื่อตัวหมายเสียงอย่างหนึ่งที่ใช้บันทึกเสียงดนตรีสากลมี ๔ ชนิด คือ เขบ็ตชั้นเดียว เขบ็ต ๒ ชั้น เขบ็ต ๓ ชั้น และเขบ็ต ๔ ชั้น.
  20. คนธรรพ-, คนธรรพ์ : [คนทันพะ-, คนทับพะ-, คนทัน] น. ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง เป็นบริวารท้าวธตรฐ มีความชํานาญในวิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺว; ป. คนฺธพฺพ).
  21. คนธรรพศาสตร์ : [คนทับพะ-] น. วิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺวเวท ว่า วิชาดนตรี).
  22. คลอ : [คฺลอ] ก. เคียงคู่กันไปอย่างคู่รักหรืออย่างสนิทสนม; ปริ่ม, ใกล้จะไหล, ในคำว่า น้ำตาคลอ หรือ น้ำตาคลอหน่วย; ทําเสียงดนตรีหรือร้องเพลง เบา ๆ ตามไปให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน เช่น ร้องคลอเสียงดนตรี.
  23. คอนเสิร์ต : น. การแสดงดนตรีสากลแบบหนึ่ง ใช้เครื่องดนตรีวงใหญ่ อาจมี นักร้องด้วย. (อ. concert).
  24. คันธรรพเวท, คานธรรพเวท : [คันทันพะเวด, คันทับพะเวด, คานทันพะเวด, คานทับพะเวด] น. วิชาการดนตรี เป็นสาขาหนึ่งของสามเวท. (ส. คนฺธรฺวเวท).
  25. เครื่องสาย : น. เครื่องดนตรีชนิดที่มีสาย เช่น จะเข้ ซอ พิณ ไวโอลิน.
  26. เครื่องห้า ๒ : น. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง ตรงกับเบญจดุริยางค์ ของอินเดีย มี ๒ ชนิด คือ ชนิดเบาใช้สําหรับการแสดงละครและหนัง ในพื้นเมือง และชนิดหนักใช้สําหรับการแสดงโขน ชนิดเบาประกอบ ด้วย เครื่องทําลํานํา ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ ๑ ชนิดหนักประกอบด้วย ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) กับ ฉิ่ง ๑.
  27. แคน : น. เครื่องดนตรีทางถิ่นอีสาน ทําด้วยไม้ซางผูกเรียงต่อกับเต้าแคน สําหรับเป่าเป็นเพลง.
  28. จ้องหน่อง : น. เครื่องทําให้เกิดเสียงเป็นเพลง โดยใช้ปากคาบแล้วกระตุกหรือชักด้วย เชือกให้สั่นดังเป็นเสียงดนตรี.
  29. จะเข้ ๑ : น. เครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตัวจระเข้ ตัวเป็นโพรง วางยาว ไปกับพื้น มีสาย ๓ สาย มีนม ๑๑ นมเป็นฐานรองรับสายเมื่อกดนิ้วขณะดีด ทําให้มีเสียงสูงตํ่า มีขา ๕ ขา ใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี, ลักษณนามเรียก ตัว.
  30. จุลอุปรากร : น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากรแต่มีบท สนทนา เนื้อเรื่องมีความร่าเริงขบขัน และมักจบลงด้วยความสุข. (อ. operetta).
  31. เจ่ง ๒, เจ้ง : น. เครื่องดนตรีจีนชนิดหนึ่ง มีสายสําหรับดีด คล้ายจะเข้. (จ. ว่า เจ็ง).
  32. ฉิ่ง ๑ : น. เครื่องตีกำหนดจังหวะชนิดหนึ่ง ทําด้วยโลหะหล่อหนา รูปร่างกลม คล้ายถ้วยเจาะรูตรงกลางไว้ร้อยเชือกให้เป็นคู่กันสําหรับถือตีบอกจังหวะ เข้ากับดนตรี; ชื่อเพลงไทยประเภทหนึ่ง.
  33. ชั้นเดียว : น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับเร็ว คือ เร็วกว่า สองชั้นเท่าตัวหรือเร็วกว่าสามชั้น ๔ เท่า, เรียกเต็มว่า อัตรา จังหวะชั้นเดียว, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับชั้นเดียว เพลงชั้นเดียว.
  34. ซอ ๒ : น. ชื่อเครื่องดนตรีพวกหนึ่งสําหรับสี ในพวกเครื่องสายหรือมโหรี มีคันชักสีให้ดัง มีหลายชนิด เช่น ซออู้ ซอด้วง, ลักษณนามว่า คัน. ก. ร้องเพลง, ขับร้อง, เช่น ขับซอยอราชเที้ยร ทุกเมือง. (ลอ).
  35. ซึง : น. เครื่องดนตรีพื้นเมืองของไทยภาคเหนือ รูปร่างคล้ายกระจับปี่ ตัวเป็นโพรง รูปกลมแบน เจาะรูระบายอากาศตรงกลาง มีคันต่อ จากตัวซึงขึ้นไปยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีสาย ๔ สาย.
  36. เดี่ยว : ว. แต่ลําพังตัวโดยไม่มีใครหรืออะไรร่วมด้วย เช่น มาเดี่ยว ทําเดี่ยว ไล่เดี่ยว เทียมเดี่ยว, เรียกการเล่นกีฬาบางชนิดซึ่งมีผู้เล่นข้างละคน เช่น เทนนิส ประเภทเดี่ยว แบดมินตันประเภทเดี่ยว. ก. แสดงฝีมือการเล่นดนตรีคนเดียว เช่น เดี่ยวปี่ เดี่ยวซอ เดี่ยวระนาด. น. ส่วนสูงของเรือนตั้งแต่พื้นถึงเพดาน, โดยปริยายหมายถึงบางสิ่งที่มีลักษณะสูงเช่นนั้น.
  37. ตอด ๓ : น. การบรรเลงดนตรีอย่างหนึ่ง ทําเสียงกระตุกสั้น ๆ สลับจังหวะทํานองเพลง, undefined
  38. ทาง ๑ : น. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สําหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสําเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทาง ธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.
  39. นัก ๑ : น. ใช้ประกอบหน้าคําอื่นหมายความว่า ผู้ เช่น นักเรียน, ผู้ชอบ เช่น นักดื่ม นักท่องเที่ยว, ผู้ชํานาญ เช่น นักเทศน์ นักดนตรี นักคํานวณ นักสืบ, ผู้มีอาชีพในทางนั้น ๆ เช่น นักกฎหมาย นักแสดง นักเขียน. (ข.).
  40. โน้ต ๑, โน้ตเพลง : น. เครื่องหมายกําหนดเสียงดนตรี. (อ. note).
  41. ไนต์คลับ : น. สถานเริงรมย์ที่เปิดเวลากลางคืน ขายอาหาร เครื่องดื่ม มีดนตรี และมักจัดให้มีการแสดงด้วย. (อ. nightclub).
  42. บัณฑิต : [บันดิด] น. ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สําเร็จการศึกษาขั้น ปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดย กําเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).
  43. บาร์ ๒ : น. ร้านขายเครื่องดื่มประเภทมีแอลกอฮอล์ มักมีดนตรีและที่ให้ ลูกค้า เต้นรําด้วย, สถานบริการเหล้าหรือเครื่องดื่มภายในบ้าน เป็นต้น เช่น เปิดฟรีบาร์. (อ. bar).
  44. แบนโจ : น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีสาย ๕ สาย ใช้มือดีด. (อ. banjo).
  45. ปรบไก่ : น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่ง ใช้ตบมือเป็นจังหวะ และว่า แก้กันอย่างเพลงฉ่อย, ชื่อหน้าทับประกอบเพลงดนตรีแบบหนึ่ง.
  46. ประโคนธรรพ, ประโคนธรรพ์ : [ปฺระโคนทับ, ปฺระโคนทัน] น. หัวหน้าคนธรรพ์ผู้เป็นเจ้าแห่ง การดนตรี ถือว่าเป็นครูปี่พาทย์, เขียนเป็น ประคนธรรพ หรือ ประคนธรรพ์ ก็มี.
  47. ประโคม : ก. บรรเลงดนตรีเพื่อเป็นสัญญาณในพิธีบางอย่างเพื่อสักการบูชา หรือยกย่องเป็นต้น.
  48. ประสานเสียง : ก. ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเป็นหมู่ให้มีเสียงกลมกลืนกัน.
  49. ปะเลง : น. การรำเบิกโรงอย่างโบราณ ผู้แสดงแต่งเครื่องละครตัวพระคู่หนึ่ง สวมหน้าเทพบุตรศีรษะโล้น มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออก ท่าประกอบดนตรี.
  50. ปี่ : น. เครื่องดนตรีประเภทเป่าลมอย่างหนึ่งที่ใช้ลิ้น ตัวปี่หรือเลาปี่ มักทำด้วยไม้แก่น เช่น ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง มีลักษณะค่อนข้างยาว ป่องตรงกลาง หัวท้ายบานออกเล็กน้อย ภายในเลาปี่เจาะรูกลวง ตลอดตั้งแต่หัวจดท้าย มีหลายชนิด เช่น ปี่นอก ปี่ใน ปี่ไฉน ปี่ชวา, ลักษณนามว่า เลา เช่น ปี่ ๒ เลา.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-118

(0.0702 sec)