Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตั้งภูมิลำเนา, ภูมิลำเนา, ตั้ง , then ตง, ตงภมลำนา, ตั้ง, ตั้งภูมิลำเนา, ภูมิลำเนา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตั้งภูมิลำเนา, 659 found, display 1-50
  1. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  2. ภูมิลำเนา : [พูม–, พูมิ–] (กฎ) น. ถิ่นที่อยู่อันเป็นแหล่งสําคัญ.
  3. ก่อตั้ง : ก. จัดตั้งขึ้น, ริเริ่มตั้งขึ้น.
  4. ขนาน ๒ : [ขะหฺนาน] ก. เรียงคู่กันไป เช่น เรือแล่นขนานกันไป วิ่งขนาน, เรียก เรือที่ผูกหรือตรึงติดเรียงคู่กันสําหรับข้ามฟากว่า เรือขนาน; เรียก, ตั้ง, เช่น ขนานนาม ว่า ตั้งชื่อ. (คณิต) น. เรียกเส้นตรงคู่ใด ๆ ซึ่งอยู่ห่างกัน เป็นระยะเท่ากันโดยตลอดว่า เส้นขนาน. (ข. ขฺนาน ว่า เทียบ).
  5. เขตเลือกตั้ง : (กฎ) น. ท้องที่ซึ่งจัดเป็นเขตอันจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น.
  6. จัดตั้ง : ก. ตั้งขึ้น, แต่งตั้งให้มั่นคง.
  7. ฉากตั้ง : น. ฉากละครที่ทําเป็นรูปต่าง ๆ แล้วนํามาตั้งไว้, ฉากแข็ง ก็เรียก.
  8. ดำกล : ก. ก่อสร้าง, ตั้ง, ตั้งไว้, ในวรรณคดีหมายความว่า งาม เช่น ดํากลดาดด้วย ดวงดาว. (ม. คําหลวงจุลพน). (แผลงมาจาก ถกล).
  9. ตราตั้ง : น. เอกสารแต่งตั้ง เช่น ตราตั้งพระอุปัชฌายะ ตราตั้งที่พระราชทาน ให้แก่ธนาคารหรือบริษัทห้างร้านเป็นต้นที่ทําประโยชน์ในราชการส่วน พระองค์หรือประเทศชาติ มีสิทธิที่จะใช้ตราครุฑเพื่อแสดงว่าได้รับพระบรม ความตกลงกัน.
  10. ตราสารจัดตั้ง : (กฎ) น. หนังสือสำคัญก่อตั้งนิติบุคคลที่กำหนดขอบเขตแห่ง อำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น.
  11. ถกล : [ถะกน] ก. ก่อสร้าง, ตั้ง, ตั้งขึ้น, ตั้งไว้; ในวรรณคดีหมายความว่า งาม, ใช้แผลงเป็น ดํากล ก็มี. (ข. ถฺกล่).
  12. ลูกตั้ง : น. ไม้ที่ตั้งเรียงกันอย่างลูกกรง.
  13. เลือกตั้ง : ก. เลือกสรรบุคคลให้เป็นผู้แทนหรือให้ดํารงตําแหน่ง ด้วยการออกเสียงลงคะแนน เช่น เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เลือกตั้งกรรมการ.
  14. วาง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยา ต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจําที่ เช่น วางคน วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.
  15. ข้าวตอกตั้ง : น. ชื่อของหวานทําด้วยข้าวตอกคลุกนํ้าตาลและมะพร้าว ทําเป็นแว่น ๆ เกลือกแป้ง.
  16. ที่ตั้งเป็นทุน : (กฎ) จํานวนเงินหรือราคาทรัพย์ที่เรียกร้องกันในคดี.
  17. เป็นที่ตั้ง : ว. เป็นสำคัญ. เป็นทุกข์, เป็นทุกข์เป็นร้อน
  18. หน้าตั้ง : น. ของว่างซึ่งทําด้วยหมู กุ้ง และกะทิ สําหรับกินกับข้าวตังทอด.
  19. หน้าตั้ง : ว. อาการที่แสดงหน้าตาตื่น (ใช้แก่กริยาวิ่ง), หน้าเริด ก็ว่า.
  20. หมูตั้ง : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยหัวหมู หูหมู หนังหมู แล่เป็นชิ้น เล็ก ๆ ผสมเครื่องปรุงแล้วเคี่ยวให้เข้ากัน อัดเป็นแท่งแข็ง เวลากินหั่น เป็นชิ้น ๆ จิ้มนํ้าจิ้มหรือยำเป็นต้น.
  21. รัง ๓ : ก. แต่ง, สร้าง, ตั้ง.
  22. จั้ง : (โบ) ก. ตั้ง เช่น คือคชกลับกลอกจั้ง จญสีห์. (ยวนพ่าย).
  23. ฉัตร ๑, ฉัตร- : [ฉัด, ฉัดตฺระ-] น. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายร่มที่ซ้อนกันขึ้นไปเป็น ชั้น ๆ ชั้นบนมีขนาดเล็กกว่า ชั้นล่างลดหลั่นกันไปโดยลําดับ สําหรับ แขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ. (ส. ฉตฺร; ป. ฉตฺต ว่า ร่ม); ส่วนที่ต่อจากปุ่มฆ้องเป็นฐานแผ่ออกไปแล้วงองุ้มลงมาเป็นขอบ โดยรอบอย่างฉัตร; ชื่อดาวฤกษ์อารทรา.
  24. ตับ ๒ : น. ไม้สําหรับหนีบปลาหรือไก่เป็นต้นปิ้งไฟ; เรียกของที่ผูก ตั้ง หรือวางเรียง กันเป็นแถว เช่น ตับจาก ตับพลุ ตับลูกปืน; ลักษณนามเรียกของที่เรียงกัน เป็นแถว เช่น ปลาย่างตับหนึ่ง ปลาย่าง ๒ ตับ. ตับเพลง น. เพลงที่นำมารวมขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน ซึ่งเป็นเพลงที่ อยู่ในอัตราเดียวกันชุดหนึ่งบรรเลงประมาณ ๓-๑๐ เพลง เช่น ตับลาวเจริญศรี. ตับเรื่อง น. เพลงที่นำมารวมขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน มีบทร้องที่เป็น เรื่องเดียวกันและดำเนินไปโดยลำดับ แต่อาจเป็นทำนองเพลงคนละอัตรา ก็ได้ เช่น ตับนางลอย ตับนาคบาศ.
  25. ที่ไหนได้ : (ปาก) ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คําใช้แสดงความ ประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท.
  26. นอน : ก. เอนตัวลงกับพื้นหรือที่ใด ๆ, อาการที่สัตว์เอนตัวลงกับพื้นเพื่อพักผ่อน เป็นต้นหรือยืนหลับอยู่กับที่, อาการที่ทําให้ของสูง ๆ ทอดลง เช่น เอาเสา นอนลง, อาการที่พรรณไม้บางชนิด เช่น จามจุรี ผักกระเฉด ไมยราบ หลุบ ใบในเวลาใกล้จะสิ้นแสงตะวัน. ว. ลักษณะที่ตรงข้ามกับ ยืน หรือ ตั้ง เช่น แนวนอน แปนอน.
  27. กง ๓ : น. ไม้รูปโค้งที่ตั้งเป็นโครงเรือ (เทียบมลายู กง, ตะเลง กง, ในความ เดียวกัน); ไม้สําหรับดีดฝ้ายมีรูปเหมือนคันธนู เรียกว่า ไม้กง หรือ ไม้กงดีดฝ้าย (เทียบอะหม ไม้กงดีดฝ้าย และ คันกระสุน ว่า กง; พายัพ ว่า โก๋ง ได้แก่ คันกระสุน), เสลี่ยงที่มีพนักโค้งเหมือนกงเรือ เรียกว่า เสลี่ยงกง.
  28. กงสุล : (กฎ) น. ชื่อตําแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แทนประจําอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทํา หน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมือง ต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศ ผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุล มี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของ ประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของ ประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตําแหน่งเป็นหัวหน้า สถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทน ฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงาน ฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).
  29. กชกร : [กดชะกอน] (กลอน) น. ''ดอกบัวคือมือ'' คือ กระพุ่มมือ เช่น กชกรต่างแต่งตั้ง ศิรสา. (หริภุญชัย).
  30. กฎบัตร : (กฎ) น. ตราสารที่จัดตั้ง จัดระเบียบ และกําหนด อํานาจหน้าที่ขององค์การ.
  31. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  32. ก่น ๑ : (โบ) ก. ตั้งหน้า, มุ่ง, เช่น อยู่เย็นยงงก่นเกอดพิจลการ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  33. กรง : [กฺรง] น. สิ่งที่ทําเป็นซี่ ๆ สําหรับขังนกเป็นต้น ตั้งอยู่ กับที่หรือยกไปได้; ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง. (เห่กล่อม). (เทียบมลายู กุรง; ข. ทฺรุง).
  34. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  35. กรมการนอกทำเนียบ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมือง ในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ หรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็น กรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการพิเศษ ก็ว่า.
  36. กรมการพิเศษ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็น ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการ เมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจาก บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการนอกทำเนียบ ก็ว่า.
  37. กรรมการ ๑ : [กำมะกาน] น. บุคคลที่ได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้ง เข้าเป็นคณะร่วมกันทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับ มอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา. (ส. กรฺม + การ; ป. กมฺม + การ).
  38. กรรมฐาน : [กำมะถาน] น. ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบาย ทางใจ มี ๒ ประการ คือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจ และ วิปัสสนา กรรมฐาน เป็นอุบายเรืองปัญญา. (ส.; ป. กมฺมฏฺ?าน).
  39. กรรมเวร : [กําเวน] น. การกระทําที่สนองผลร้ายซึ่งทําไว้แต่ปาง ก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมใน อดีต เช่น อายุตั้ง ๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวร แท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า.
  40. กรรมสัมปาทิก : [กํามะสําปาทิก] น. ผู้ยังการงานให้ถึงพร้อม; (กฎ; เลิก) บุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทําหน้าที่กรรมการ ของสมาคม. (ส. กรฺม + สมฺปาทิก = ผู้ให้ถึงพร้อม).
  41. กรรมาธิการ : [กํา-] น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้ง เป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิก ของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคล ผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือ บุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญ.
  42. กระจกนูน : น. วัตถุที่มีผิวมัน ลักษณะกลีบบัวคว่ำ สามารถสะท้อน แสงให้เกิดภาพเสมือนหัวตั้งมองเห็นได้ที่ผิวกระจกนั้น.
  43. กระเจียว : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma sessilis Gage ในวงศ์ Zingiberaceae ลักษณะคล้ายต้นกระชาย มีหัวใต้ดิน ขณะออกดอกไม่มีใบ ช่อดอกเป็นช่อตั้ง ดอกสีขาว อยู่ระหว่าง กาบสีขาวปลายสีม่วงใช้ประกอบอาหารได้, พายัพเรียก อาวแดง.
  44. กระเช้าสวรรค์ : น. อุปกรณ์เพื่อความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง มักมีตามสวนสนุกและในงานเทศกาลต่าง ๆ ประกอบด้วยล้อโลหะ ขนาดใหญ่คู่ขนานกัน หมุนด้วยแรงกลในแนวตั้งรอบแกนที่ติดอยู่ กับที่ มีที่นั่งในกระเช้าโลหะซึ่งห้อยติดอยู่เป็นช่วงระหว่างโครง ของล้อทั้ง ๒, ชิงช้าสวรรค์ ก็ว่า.
  45. กระดกกระดนโด่ : (ปาก) ก. ตั้งอยู่อย่างไม่เรียบร้อย, ท่าทางเก้กังไม่เรียบร้อย.
  46. กระดานลื่น : น. เรียกกระดานที่ตั้งสูงทอดต่าลงไปด้านหนึ่ง ให้เด็กเล่นโดยนั่งไถลตัวลง, ไม้ลื่น ก็เรียก.
  47. กระดูกงู : น. ตัวไม้หรือเหล็กที่ทอดตลอดลําเรือสําหรับตั้งกง.
  48. กระโดง ๑ : น. ใบเรือ เช่น เสากระโดง คือ เสาใบเรือ; ส่วนที่อยู่บนหลังปลา บางชนิด เช่น ปลากัด ปลาฉลาม มีลักษณะเป็นแผ่นตั้งคล้ายใบเรือ. (ข. โกฺฎง ว่า ใบเรือ).
  49. กระโถนท้องพระโรง : น. กระโถนใหญ่ที่ตั้งไว้ที่ท้องพระโรงในศาลา ลูกขุนใน สำหรับที่ใคร ๆ บ้วนน้ำหมากหรือทิ้งชานหมากได้; (สํา) ผู้ที่ใคร ๆ ก็ใช้ได้หรือผู้ที่ใคร ๆ ก็รุมใช้อยู่คนเดียว.
  50. กระทู้ ๒ : น. หัวข้อหรือข้อความที่ตั้งให้อธิบาย เช่น กระทู้ธรรม กระทู้ถาม. กระทู้ถาม (กฎ) น. คําถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิก สภานิติบัญญัติหรือสมาชิกสภาขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบ เป็นหนังสือ. (อ. question).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-659

(0.1826 sec)