Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตั้งใจ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตั้งใจ, 75 found, display 1-50
  1. คิด : ก. ทําให้ปรากฏเป็นรูปหรือประกอบให้เป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ; ใคร่ครวญ, ไตร่ตรอง, เช่น เรื่องนี้ยากยังคิดไม่ออก; คาดคะเน เช่น คิดว่าเย็นนี้ฝนอาจจะตก; คํานวณ เช่น คิดเลขในใจ; มุ่ง, จงใจ, ตั้งใจ, เช่น อย่าคิดร้ายเขาเลย; นึก เช่น คิดละอาย.
  2. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  3. จำนง : ก. ประสงค์, มุ่งหวัง, ตั้งใจ. (แผลงมาจาก จง).
  4. ปัจจุทธรณ์ : [ปัดจุดทอน] (แบบ) น. การถอนคืน. ก. ถอนคืน (ในวินัยใช้คู่กับ อธิษฐาน ซึ่งแปลว่า ตั้งใจ เช่น อธิษฐานสบง คือตั้งใจให้เป็นสบง ครอง ภายหลังไม่อยากให้เป็นสบงครองก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง). (ป.).
  5. มุ่ง : ก. ตั้งใจ เช่น มุ่งทำความดี, ตั้งหน้า เช่น มุ่งศึกษาหาความรู้, ในบทกลอนใช้ว่า ม่ง ก็มี.
  6. เอาใจดูหูใส่ : (ปาก) ก. ใฝ่ใจ, ตั้งใจ.
  7. เอาใจใส่ : ก. ใฝ่ใจ, ตั้งใจ.
  8. ก้มหน้าก้มตา : (สํา) ก. ทําโดยไม่มองดูสิ่งอื่น, ทําโดยตั้งใจ, เช่น ก้มหน้าก้มตาทําไปจนกว่าจะสําเร็จ.
  9. การ์ตูน ๑ : น. ภาพล้อ, ภาพตลก, บางทีเขียนเป็นภาพบุคคล บางทีเขียนเป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจ ล้อเลียนจะให้ดูรู้สึกขบขัน, หนังสือเล่าเรื่องด้วยภาพเขียน ซึ่งแบ่งหน้ากระดาษเป็นช่อง ๆมีคำบรรยายสั้น ๆ อ่านง่าย เนื้อเรื่องมักเป็นนิทานหรือนวนิยาย.
  10. แกล้ง : [แกฺล้ง] ก. ทําให้เดือดร้อนรําคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทําเป็นปวดฟัน, จงใจทํา พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทําผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ) ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  11. ความมุ่งหมาย : น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง.
  12. เงี่ยหู : ก. เอียงหูฟังเพื่อให้ถนัด, ตั้งใจฟัง.
  13. เงี่ยหู : ก. เอียงหูฟังเพื่อให้ได้ยินถนัด, ตั้งใจฟัง.
  14. จงใจ : ก. ตั้งใจ, หมายใจ, เจตนา.
  15. จบ ๒ : ก. ยกของขึ้นหรือพนมมือเหนือหน้าผากเพื่อตั้งใจอุทิศให้เวลาทำบุญทำทาน; กิริยาที่ช้างชูงวงขึ้นเหนือหัวทําความเคารพ ในคำว่า ช้างจบ.
  16. จักจี้, จั๊กจี้ : [จักกะ-, จั๊กกะ-] ก. อาการที่ทําให้รู้สึกเสียวสะดุ้งหรือหัวเราะโดยไม่ตั้งใจ เมื่อถูกจี้ที่เอวหรือรักแร้เป็นต้น.
  17. จับพลัดจับผลู : ก. จับผิด ๆ ถูก ๆ; บังเอิญเป็นไปโดยไม่ตั้งใจ.
  18. จาม ๒ : ก. อาการของลมที่พุ่งออกมาทางจมูกและปาก มักจะเป็นห้วง ๆ ใน ทันทีทันใดโดยไม่ตั้งใจ เพราะเกิดระคายเคืองในจมูก; ฟันลงไปเต็มที่ เช่น เอาขวานจามหัว.
  19. จุดหมาย, จุดหมายปลายทาง : น. จุดหรือสภาวะที่ต้องพยายามไปให้ถึง, จุดหรือสภาวะที่ตั้งใจจะให้บรรลุถึง, เช่น การเดินทางครั้งนี้มีจุดหมาย ที่จังหวัดสุโขทัย คนเรามีความสุขเป็นจุดหมายในชีวิต.
  20. เจตจำนง : [เจด-] น. ความตั้งใจมุ่งหมาย, ความจงใจ.
  21. เจตนา : [เจดตะนา] ก. ตั้งใจ, จงใจ, มุ่งหมาย. น. ความตั้งใจ, ความจงใจ, ความมุ่งหมาย. (ป., ส.).
  22. เจษฎา ๒ : [เจดสะดา] น. การเคลื่อนไหวอวัยวะ, การไหวมือและเท้า, ท่ารํา; กรรม, การทําด้วยตั้งใจ, การประพฤติ, การตั้งใจทํา, เช่น ภูบาลทุกทวี- ปก็มาด้วยเจษฎา. (สมุทรโฆษ). (ส. เจษฺฏา).
  23. เจาะ ๒, เจาะจง : ก. ตั้งใจเฉพาะ, มุ่งไปที่, เช่น นักข่าวเจาะข่าวเรื่องยาเสพติดในโรงเรียน หัวหน้าเจาะจงให้เขาทำงานชิ้นนี้.
  24. แช่ง : ก. กล่าวด้วยตั้งใจมุ่งร้ายเพื่อให้เขาเป็นเช่นนั้น.
  25. ตกหล่น : ก. ขาดตกไปโดยไม่ตั้งใจ.
  26. ตระกัด : [ตฺระ-] (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น พ่อเอ๋ย ใช่ตั้งใจแก่ความกําหนัด ใน ความตระกัดกรีธา. (ม. คําหลวง กุมาร), กระกัด ก็ว่า.
  27. เถยเจตนา : น. เจตนาในทางเป็นขโมย, ความตั้งใจจะขโมย. (ป. เถยฺยเจตนา).
  28. ทอดทฤษฎี : (แบบ) ก. มองไปรอบ ๆ, ตั้งใจดู, เช่น เวลาท่านทอด ทฤษฎี. (เสือโค).
  29. ทางสายกลาง : น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความ ดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง; การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใด ทางหนึ่ง.
  30. ที่หมาย : น. ที่ที่มุ่งไปให้ถึง, จุดที่ตั้งใจจะให้บรรลุถึง.
  31. แน่แน่ว : ว. อาการที่ใจมุ่งมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ตั้งใจแน่แน่ว, แน่วแน่ ก็ว่า.
  32. แน่วแน่ : ว. อาการที่ใจมุ่งมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ตั้งใจแน่วแน่, แน่แน่ว ก็ว่า.
  33. บังความ : ก. ตั้งใจปกปิดเอาไว้.
  34. บานปลาย : (สํา) ก. ขยายออกไปมากกว่าที่ตั้งใจไว้เดิม, ขยายเรื่อง เล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่โตออกไป; ใช้เงินเกินกว่าที่ ประมาณ หรือกำหนดไว้.
  35. บำเรอเชอภักดิ์ : ก. ตั้งใจรับใช้.
  36. ปักใจ : ก. ตั้งใจแน่วแน่ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ปักใจเชื่อ.
  37. เปลี่ยนใจ : ก. เลิกล้มความตั้งใจเดิม, เปลี่ยนความตั้งใจเดิมไปเป็น อย่างอื่น.
  38. ผจง : [ผะจง] น. ความตั้งใจ. ก. ตั้งใจทําให้ดี, บรรจง, เช่น ผจงแต่ง ผจงจัด. (ข. ผฺจง่).
  39. ฝากไว้ก่อน : (ปาก) ก. ผูกใจเจ็บ, ตั้งใจจะแก้แค้นภายหลัง.
  40. พลั้ง : [พฺลั้ง] ก. พลาดโดยไม่ตั้งใจหรือไม่ทันคิด, มักใช้เข้าคู่กับคำ พลาด เป็น พลั้งพลาด หรือ พลาดพลั้ง.
  41. พลั้งพลาด : [พฺลาด] ก. ผิดพลาดไปโดยไม่ตั้งใจหรือไม่ทันคิด, พลาดพลั้ง ก็ว่า.
  42. พลาดพลั้ง : [พฺลั้ง] ก. ผิดพลาดไปโดยไม่ตั้งใจหรือไม่ทันคิด, พลั้งพลาด ก็ว่า.
  43. ฟ้องตัวเอง : ก. แสดงความผิดของตนออกมาให้ผู้อื่นรู้โดยไม่ได้ ตั้งใจ, แสดงความเท็จออกมาให้ปรากฏ.
  44. ฟัง : ก. ตั้งใจสดับ, คอยรับเสียงด้วยหู, ได้ยิน; เชื่อ, ทําตามถ้อยคํา เช่น ให้ฟังคําสั่งผู้บังคับบัญชา.
  45. มรรค, มรรค-, มรรคา : [มัก, มักคะ-, มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ -ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
  46. มานะ ๒ : น. ความพยายาม, ความตั้งใจจริง, ความพากเพียร, เช่น มีมานะอดทน มีมานะในการทำงาน; ความถือตัว. (ป.).
  47. มิจฉาสมาธิ : น. สมาธิผิด, ความตั้งใจผิด. (ป.).
  48. มุ : ก. ตั้งใจเอาจริงเอาจัง เช่น มุดูหนังสือ มุสู้ มุจะเอาชนะให้ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ มานะ เป็น มุมานะ เช่น เขามุมานะทำงาน.
  49. มุ่งมั่น : ก. ตั้งใจอย่างแน่วแน่ เช่น เขามุ่งมั่นในการทำความดี.
  50. มุ่งหมาย : ก. ตั้งใจที่จะให้บรรลุถึงจุดที่หมายไว้.
  51. [1-50] | 51-75

(0.0078 sec)