Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตำรวจจราจร, ตำรวจ, จราจร .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตำรวจจราจร, 61 found, display 1-50
  1. จราจร : [จะราจอน] น. การที่ยวดยานพาหนะ คน หรือ สัตว์พาหนะเคลื่อนไปมา ตามทาง, เรียกผู้มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการนั้น; (กฎ) การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์.
  2. ผิวจราจร : น. ผิวถนนที่ยวดยานพาหนะแล่นไปมา.
  3. สัญญาณจราจร : (กฎ) น. สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธง ไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียงนกหวีด หรือด้วยวิธีอื่นใดสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น.
  4. กอง ๑ : ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  5. ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓). ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. น. มะกอก. น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock). น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย. ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  6. ซ้อน : ก. วางทับกัน เช่น เอาจานซ้อนกัน เอาหนังสือซ้อนสมุด, เรียงแทรกเสริมกัน เช่น ฟันซ้อน มะลิซ้อน; ซํ้า ๆ กัน เช่น ถูกชก ๒ ทีซ้อน เสียงปืนดัง ๓ นัดซ้อน; ว่ากันคนละทีในเชิงแข่งขัน เช่น เทศน์ซ้อน. ว. มีหรือทำอย่างเดียวกันกับที่มีหรือทำอยู่แล้ว เช่น เขามีประชุมซ้อน; ลักษณะที่จอดรถหรือเรือเรียงขนานกับอีกคันหนึ่ง หรือลําหนึ่งที่จอดอยู่แล้ว เรียกว่า จอดรถหรือเรือซ้อนกัน; ลักษณะ ที่จอดรถขวางรถที่จอดเป็นระเบียบอยู่แล้ว เป็นการกีดขวางทาง จราจร เรียกว่า จอดรถซ้อนคัน.
  7. หมวด : [หฺมวด] น. กลุ่มที่ประกอบด้วยหลายหมู่ เช่น หมวดหนังสือวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยหมู่หนังสือเคมี หมู่หนังสือฟิสิกส์ เป็นต้น; กำลังพลของ ทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวนไม่เกิน ๔ หมู่ มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับ หมวด หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมวด, ถ้าเป็นทหารบกหรือตำรวจจะต้อง มียศเป็นร้อยตรี ร้อยโท หรือร้อยตำรวจตรี ร้อยตำรวจโท, ถ้าเป็นทหารเรือ หรือทหารอากาศจะต้องมียศเป็นเรือตรี เรือโท; เรียกสิ่งที่ขมวดไว้เป็น จุกเดียวกัน.
  8. หมู่ ๑ : น. กลุ่มชนิดเดียวกัน เช่น หมู่ดาว หมู่เมฆ, พวกชนิดเดียวกัน เช่น หมู่มนุษย์ หมู่โจร; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวน ไม่เกิน ๑๐ คน มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับหมู่ หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมู่, ถ้าเป็นทหารบก หรือตำรวจจะต้องมียศเป็นนายสิบ, ถ้าเป็นทหารเรือหรือทหารอากาศ จะต้องมียศเป็นจ่า.
  9. คลี่คลาย : ก. บรรเทาลงโดยลำดับ เช่น เหตุการณ์รุนแรงคลี่คลายลง; ทำให้กระจ่างโดยลำดับ เช่น ตำรวจคลี่คลายเงื่อนงำในคดีฆาตกรรม.
  10. คุมตัว : ก. ควบคุมไว้หรือจับกุมไว้ เช่น ตำรวจคุมตัวผู้ร้าย.
  11. จตุลังคบาท : [จะตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้าช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ. (ตะเลงพ่าย), จัตุลังคบาท ก็ว่า.
  12. จเร : [จะ-] น. ผู้ดูแลทั่ว ๆ ไป, ผู้ตรวจตราทั่ว ๆ ไป, เช่น จเรตำรวจ จเรทหาร. ก. ตระเวนไป.
  13. จัตุลังคบาท : [จัดตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้า ช้างทรงของพระมหากษัตริยหรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จัตุลังคบาทบริรักษ์ พิทักษ์เท้ากุญชร. (ตะเลงพ่าย), จตุลังคบาท ก็ว่า.
  14. ต้นสังกัด : น. ส่วนราชการระดับสูงที่ข้าราชการนั้น ๆ สังกัดอยู่ เช่น สำนักงาน ตำรวจแห่งชาติเป็นต้นสังกัดของข้าราชการตำรวจทุกคน.
  15. ถนน : [ถะหฺนน] น. หนทางที่ทําขึ้น, ลักษณนามว่า สาย, สนน ก็ว่า, โบราณเขียนเป็น ถนล. (จารึกวัดป่ามะม่วง); (กฎ) ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ''ทางข้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการ จราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือ ถนนส่วนบุคคล ซึ่ง เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้. (ข. ถฺนล่).
  16. ถนนลาดยาง : น. ถนนที่ปูผิวจราจรด้วยยางมะตอยผสมกับหิน หรือทรายเป็นต้น.
  17. ทางพิเศษ : (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดินหรือพื้นนํ้า เพื่ออํานวยความสะดวกใน การจราจรเป็นพิเศษ.
  18. ทางสาธารณะ : (กฎ) น. ทางบกหรือทางนํ้าสําหรับประชาชนใช้ใน การจราจร และหมายความรวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถ เดินสําหรับประชาชนโดยสารด้วย.
  19. ทางหลวง : (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการ จราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟ และ หมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือราง ระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมาย สัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณ ที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร เรือสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้น หรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดา ที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงและเพื่อประโยชน์แก่งานทางนั้นด้วย.
  20. นครบาล : [นะคอนบาน] น. (เลิก) ผู้มีหน้าที่ในการปกครองนครหลวง; ชื่อทบวงการเมืองระดับกระทรวงในสมัยก่อน คือ กระทรวงนครบาล ซึ่งมีหน้าที่ปกครองเขตนครหลวง; เรียกตำรวจที่มีหน้าที่ระวังและระงับ เหตุการณ์ทางอาญาในกรุงเทพมหานครว่า ตำรวจนครบาล.
  21. ป้อม ๑ : น. หอรบ; ที่อยู่หรือที่พักซึ่งทำขึ้นใช้กันแดดกันฝน เช่น ป้อมตำรวจ.
  22. ป้าย ๑ : น. แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้ เช่น ป้ายชื่อ ห้างร้าน ป้ายจราจร; (กฎ) วัตถุที่แสดงหรือโฆษณาด้วยอักษร ภาพ หรือ เครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทําให้ปรากฏ ด้วยวิธีอื่น เพื่อแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบ การค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้.
  23. เป้ : ว. เอน, ตะแคง, เบี้ยว, ไม่ตรงที่. น. เครื่องหลังของทหาร ตำรวจเป็นต้น.
  24. พลร่ม : [พน] น. หน่วยทหารหรือตำรวจที่ได้รับการฝึกให้กระโดด ร่มชูชีพจากเครื่องบิน หรือเฮลิคอปเตอร์.
  25. พัก : ก. หยุดชั่วคราว เช่น พักร้อน พักเครื่อง, อยู่ชั่วคราว, อาศัยชั่วคราว, เช่น บ้านพัก; รอรั้ง มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่พักต้องว่า. น. คราว เช่น เมื่อพักที่น้ำท่วม การจราจรติดขัดมาก, ช่วงระยะเวลา เช่น เดินไปพักหนึ่ง หยุดเป็นพัก ๆ.
  26. ไพล่หลัง : ก. เอาแขน ๒ ข้างไขว้ไปข้างหลัง เช่น ถูกจับมัดมือไพล่ หลัง, เอามือ ๒ ข้างจับกันไขว้ไว้ข้างหลัง เช่น ตำรวจยืนถ่างขาเอา มือไพล่หลังในเวลายืนรับเสด็จ.
  27. ย้อนรอย : ก. ทวนกลับตามรอยเดิม เช่น ตำรวจย้อนรอยผู้ร้าย.
  28. รถฉุกเฉิน : (กฎ) น. รถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการบริหาร ส่วนกลางราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ใช้ไฟ สัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณ อย่างอื่น ตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกําหนด.
  29. รถวิทยุ : น. รถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทหารที่ติดตั้งวิทยุ เพื่อ ความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสารหรือรายงานให้ศูนย์บัญชาการ ทราบเป็นระยะ ๆ.
  30. รถหวอ : (ปาก) น. รถดับเพลิง รถตำรวจ หรือรถพยาบาลเป็นต้นที่ติดตั้ง ไซเรนเพื่อเตือนให้ยวดยานอื่นหลีกทางให้.
  31. รวบ : ก. อาการที่เอาสิ่งต่าง ๆ เข้ามาไว้ด้วยกันให้เป็นฟ่อน เป็นมัด เป็นกลุ่ม เป็นกอง เป็นต้น, เอามือทั้ง ๒ ข้างหรือวงแขนโอบรัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้า หาตัว เช่น รวบตัว รวบเอว รวบขา; (ปาก) จับ เช่น ขโมยถูกตำรวจรวบ.
  32. ราบคาบ : ว. อาการที่ยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เช่น ยอมแพ้อย่างราบคาบ; เรียบร้อยปราศจากเสี้ยนหนามหรือความกระด้างกระเดื่อง เช่น บ้านเมือง สงบราบคาบตำรวจปราบโจรผู้ร้ายเสียราบคาบ.
  33. รายทาง : ว. เรียงรายไปตามทางเป็นระยะ ๆ เช่น ตำรวจยืนรักษาการณ์ รายทาง มีประชาชนมาคอยต้อนรับนายกรัฐมนตรีตามรายทาง.
  34. รีบรุด : ก. ไปหรือมาอย่างรีบด่วน เช่น เขารีบรุดไปพบหมอ ตำรวจรีบ รุดมาที่เกิดเหตุ. ว. ด่วน, ทันที, เช่น เขาเดินอย่างรีบรุด.
  35. รู้ชั้นเชิง, รู้ชั้นรู้เชิง : ก. รู้เล่ห์เหลี่ยม, รู้กลอุบาย, เช่น เขารู้ชั้นเชิงของคู่ต่อสู้ ฉันรู้ชั้นเชิงไม่ยอมให้ใครมาหลอกง่าย ๆ ตำรวจรู้ชั้นเชิงของผู้ร้าย.
  36. โรงพัก : (ปาก) น. สถานีตำรวจ.
  37. ลงทัณฑ์ : (กฎ) ก. ลงโทษผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารหรือวินัยตำรวจ.
  38. ลดละ : ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ตำรวจติดตามผู้ร้ายอย่างไม่ลดละ, ละลด ก็ว่า.
  39. ลองดี : ก. หาทางพิสูจน์ว่าจะดีจริงหรือไม่ (โดยมากเป็นไปในเชิง ดูหมิ่นหรือท้าทาย) เช่น พูดจาท้าทายลองดีนักเลงใหญ่ ล้วงคองูเห่า ด้วยการลองดีกับตำรวจ.
  40. ละม่อม : ว. สุภาพ, อ่อนโยน, (ใช้แก่กิริยาอาการที่เรียบร้อย งดงาม ไม่ขัดเขิน ไม่กระด้าง), มักใช้เข้าคู่กับคํา ละมุน เป็น ละมุนละม่อม หมายความ ว่า อ่อนโยน นิ่มนวล; โดยไม่มีการขัดขืน (ใช้แก่การจับกุม) เช่น ตำรวจจับผู้ร้ายได้โดยละม่อม.
  41. ล่า : ก. ถอย (ใช้แก่คนจํานวนมาก ๆ) เช่น ล่าทัพ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น ล่าถอย เช่น กองทัพต้องล่าถอย; เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือ เพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมาย ความว่าเที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น ล่าผู้หญิง; มาช้ากว่าปรกติ เช่น ฝนล่า ทุเรียนล่า. ว. ช้ากว่าเวลาที่ กําหนด เช่น มาล่า; แตกพ่ายถอยหนีอย่างไม่มีระเบียบ เช่น กองทัพ แตกล่า.
  42. ลาดตระเวน : ก. เที่ยวตรวจไปทั่วเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูเป็นต้น เช่น หน่วยลาดตระเวน เครื่องบินออกลาดตระเวน ตำรวจทหารลาด ตระเวนไปตามชายแดน. น. เรียกเรือรบขนาดใหญ่ประเภทหนึ่ง มีหน้าที่ลาดตระเวนเพื่อค้นหา ทำลายเรือรบข้าศึก และให้ความ คุ้มกันสนับสนุนกองเรือลำเลียงของฝ่ายตนว่า เรือลาดตระเวน.
  43. ลาดยาง : น. เรียกถนนที่ปูผิวจราจรด้วยยางมะตอยผสมกับหินหรือ ทรายเป็นต้นว่า ถนนลาดยาง.
  44. ลาดเลา : น. ลู่ทาง, เค้าเงื่อน, (มักใช้แก่กริยาดู) เช่น ตำรวจดูลาดเลาก่อนจับ การพนัน.
  45. ลุกฮือ : ก. ไหม้โพลงขึ้นลุกลามอย่างรวดเร็ว เช่น ไฟไหม้พอมีลม พัดก็ลุกฮือ; อาการที่คนจำนวนมากลุกขึ้นพร้อม ๆ กันเพราะแตกตื่น ชั่วขณะเป็นต้น เช่น พอเห็นตำรวจมาก็ลุกฮือ, อาการที่กลุ่มคน กลุ้มรุมกันเข้าต่อสู้กับผู้มีอำนาจ เช่น ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้าน รัฐบาลที่กดขี่ประชาชน.
  46. ลูกระนาด : ว. เรียกถนนที่มีผิวจราจรขรุขระมีลักษณะคล้ายลูก ระนาดหรือลูกคลื่นว่า ถนนเป็นลูกระนาด, ถนนเป็นลูกคลื่น ก็ว่า, เรียกสะพานที่เอาไม้จริงมาตีอันเว้นอันว่า สะพานลูกระนาด.
  47. ไล่กวด : ก. วิ่งให้เร็วขึ้นเพื่อให้ทัน เช่น ตำรวจไล่กวดผู้ร้าย.
  48. ว่าที่ : ก. รั้งตำแหน่งหรือยศ (ใช้แก่ทหารหรือตำรวจ) เช่น ว่าที่ร้อยตรี ว่าที่พันตำรวจโท; (ปาก) รั้งตำแหน่งที่จะเป็นต่อไป เช่น ว่าที่พ่อตา.
  49. วิจัย ๒ : น. การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น วิจัยเรื่อง ปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร. ก. ค้นคว้าเพื่อหาข้อมูล อย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น เขากำลังวิจัยเรื่องมลพิษทางอากาศอยู่. ว. ที่ค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น งานวิจัย. (อ. research).
  50. แวดล้อม : ก. เฝ้าระวังรักษาอยู่โดยรอบ เช่น ตำรวจแวดล้อมบุคคล สำคัญ ผู้มีอำนาจไปไหนก็มีมือปืนแวดล้อม; ห้อมล้อม เช่น มีบริวารแวดล้อมพอร้องเพลงจบก็มีคนมาแวดล้อมขอลายเซ็น. ว. ที่ห้อมล้อม, ที่อยู่โดยรอบ, เช่น สิ่งแวดล้อม ภาวะแวดล้อม.
  51. [1-50] | 51-61

(0.0086 sec)