Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ติดใจ .

Eng-Thai Lexitron Dict : ติดใจ, 6 found, display 1-6
  1. be struck with : (PHRV) ; ติดใจ ; Related:ประทับใจ
  2. stricken with : (PHRV) ; ติดใจ ; Syn:strike with
  3. strike with : (PHRV) ; ติดใจ
  4. enthrall with : (PHRV) ; ทำให้ติดใจ ; Related:ทำเป็นตื่นเต้นกับ, ทำเป็นยินดีกับ
  5. impress : (VT) ; ทำให้ประทับใจ ; Related:ทำให้ซาบซึ้งตรึงใจ, ทำให้ติดอกติดใจ ; Syn:affect, influence

Thai-Eng Lexitron Dict : ติดใจ, more than 7 found, display 1-7
  1. ติดใจ : (V) ; like ; Related:yearn, impress, fascinate, be fond of, be enamoured with ; Syn:ชอบ, ชอบใจ, พึงใจ ; Def:พอใจกับสิ่งที่ได้เห็นหรือได้สัมผัส ; Samp:เด็กๆ ติดใจภาพที่สวยงามของการ์ตูนเรื่องใหม่ ที่เพิ่งออกอากาศไปเมื่อวานนี้
  2. ติดใจ : (V) ; doubt ; Related:suspect ; Syn:สงสัย, ข้องใจ, ค้างคาใจ ; Def:เกิดความสงสัยเคลือบแคลงใจ ; Samp:เธอรู้สึกติดใจกับคำพูดของหน่อยเมื่อคืนนี้
  3. ติดอกติดใจ : (V) ; be fascinated ; Related:be attracted, be impressed ; Syn:ติดใจ, พอใจ, ชอบอกชอบใจ ; Def:ชอบและอยากประสบอีก ; Samp:การจัดฉากให้สมจริง ทำให้ละครดึกดำบรรพ์มีฉากวิจิตรที่คนดูติดอกติดใจกันมาก
  4. จับจิต : (ADV) ; pleasingly ; Related:delightfully, enhantingly, captivatingly ; Syn:ประทับใจ, จับใจ, ติดใจ ; Def:อย่างเป็นที่พอใจ ; Samp:หล่อนร้องเพลงได้ไพเราะจับจิต
  5. จับอกจับใจ : (V) ; impress ; Related:imprint, please ; Syn:จับจิตจับใจ, ติดใจ, พอใจ ; Samp:นักร้องขับขานเนื้อร้องและสร้างลีลาให้กับทำนองบทเพลงเพื่อจับอกจับใจคนฟังได้ดียิ่ง
  6. ชื่นชอบ : (V) ; be satisfied ; Related:be pleased, impress, like, love, be fond of ; Syn:ติดอกติดใจ, จับใจ, ชื่นชม, ประทับใจ, ตรึงใจ, ติดใจ, พอใจ ; Samp:ผู้ชมชื่นชอบการแสดงโขนมากเพราะนักแสดงแสดงได้เก่งมาก
  7. ดึงดูด : (V) ; attract ; Related:appeal, draw, arouse interest, fascinate, charm ; Syn:ล่อใจ, เย้ายวนใจ, ติดใจ, ยั่วยวนใจ, ลุ่มหลง, ดึงดูดความสนใจ, ตรึงใจ ; Samp:เมืองนี้มีความงามท่ามกลางบรรยากาศสมัยโบราณที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาปีละมากมาย
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : ติดใจ, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : ติดใจ, 4 found, display 1-4
  1. ข้องใจ : ก. ติดใจสงสัย, ยังไม่สิ้นสงสัย.
  2. จับจิต, จับใจ : ว. ติดใจ, เป็นที่พอใจ.
  3. ประทับใจ : ก. ติดอกติดใจ, ฝังอยู่ในใจ.
  4. เอร็ดอร่อย : [อะเหฺร็ดอะหฺร่อย] ว. อร่อยเหลือเกิน, อร่อยจนติดใจ.

Budhism Thai-Thai Dict : ติดใจ, 8 found, display 1-8
  1. จริต : ความประพฤติ, พื้นนิสัย หรือพื้นเพแห่งจิตของคนทั้งหลายที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไปคือ ๑.ราคจริต ผู้มีจาคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางรักสวยรักงาม มักติดใจ) ๒.โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางใจร้อนขี้หงุดหงิด) ๓.โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางเหงาซึม งมงาย) ๔.สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางน้อมใจเชื่อ) ๕.พุทธิจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา) ๖.วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน)
  2. นิมิต : 1.เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา, วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเข ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ 2.(ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ 3.เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน, ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน, ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓ คือ ๑.บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน ๒.อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น ๓.ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา 4.สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง ดู เทวทูต
  3. ราคะ : ความกำหนัด, ความยินดีในกาม, ความติดใจหรือความย้อมใจติดอยู่ในอารมณ์
  4. รูปราคะ : ความติดใจในรูปธรรม คือติดใจในอารมณ์แหงรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต (ข้อ ๖ ในสังโยชน์ ๑๐)
  5. สังโยชน์ : กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่ ๑.สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๓.สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต ๔.กามราคะ ความติดใจในกามคุณ ๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ข.อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่ ๖.รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต ๗.อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม ๘.มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ ๙.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๑๐.อวิชชา ความไม่รู้จริง; พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้, พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย, พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ; ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.กามราคะ ๒.ปฏิฆะ ๓.มานะ ๔.ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕.วิจิกิจฉา ๖.สีลัพพตปรามาส ๗.ภวราคะ (ความติดใจในภพ) ๘.อิสสา (ความริษยา) ๙.มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐.อวิชชา
  6. อรูปราคะ : ความติดใจในอรูปธรรม, ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน, ความปรารถนาในอรูปภพ (ข้อ ๗ ในสังโยชน์ ๑๐)
  7. อาลัย : 1) ที่อยู่, ที่อาศัย, แหล่ง 2) ความมีใจผูกพัน, ความเยื่อใย, ความติดใจปรารถนา, ความพัวพัน, มักหมายถึงตัณหา; ในภาษาไทยใช้ว่าห่างใย หวงคิดถึง
  8. อุคคหนิมิต : นิมิตติดตา หมายถึงนิมิต (อารมณ์กรรมฐาน) ที่นึกกำหนดจนแม่นใจ หรือที่เพ่งดู จนติดตาติดใจ แม้หลับตาก็เห็น(ข้อ ๒ ในนิมิต ๓)

ETipitaka Pali-Thai Dict : ติดใจ, 10 found, display 1-10
  1. เคธ : (วิ.) กำหนัด, อยาก, ปราถนา, ยินดี, ชอบใจ, พอใจ, ติดใจ, รัก, รักใคร่. คิธฺ อภิกํขายํ, โณ.
  2. ปฏิคิชฺฌ : ค. ซึ่งกำหนัด, อยาก, ติดใจ
  3. ปฏิคิชฺฌติ : ก. กำหนัด, อยาก, ติดใจ
  4. กามสิเนห : ป. ความเยื่อใยในกาม, ความติดใจในกาม
  5. คนฺธสญฺเจตนา : อิต. คันธสัญเจตนา, ความติดใจในกลิ่น
  6. ปฏิคิทฺธ : ค. ซึ่งอยาก, ซึ่งติดใจ
  7. ภวราค : (ปุ.) ความกำหนัดในภพ, ความยินดีในภพ, ความติดใจในภพ, ความพอใจในภพ, ภวราคะ. ดู ไตร.๓๐ ข้อ ๑๓๖.
  8. อเคธ : (วิ.) ไม่กำหนัด, ไม่ยินดี, ไม่ติดใจ, ไม่ละโมบ.
  9. อชฺโฌสาน : (นปุ.) การหยั่งลง, ความหยั่งลง.ความติดใจ, ความชอบใจ, ความพอใจ.อธิ อว ปุพฺโพ, สา โอสานอสฺสาทเนสุ, ยุ
  10. อนุคิทฺธ : (ปุ.) ความติดใจตาม, ความตามติดใจ, ความติดใจ.

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ติดใจ, not found

(0.0423 sec)