Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ต่อสู้ , then ตอส, ต่อสู้ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ต่อสู้, 98 found, display 1-50
  1. ต่อสู้ : ก. สู้เฉพาะหน้า, รบกัน, ตีรันกัน.
  2. ฟัด : ก. กัดเหวี่ยงหรือสะบัดไปมา เช่น ถูกหมาฟัด แมวฟัดหนู, เหวี่ยง เช่น ถูกรถฟัดเสียสะบักสะบอม; ต่อสู้ เช่น เด็กฟัดกัน; กระทบ เช่น ท้ายเรือฟัดกัน นมยานฟัดกัน; คล้องจองกัน, สัมผัสกัน, เช่น กลอนฟัดกัน. ว. เรียกกุ้งแห้งที่เอาเปลือกออกแล้ว ว่า กุ้งฟัด, กุ้งฝัด ก็ว่า.
  3. ถึงเป็นถึงตาย : ว. อย่างเอาจริงเอาจังเกินไป, อย่างรุนแรง เช่น ต่อสู้ กันอย่างถึงเป็นถึงตาย.
  4. อาวุธ : [วุด] น. เครื่องมือที่ใช้ในการทำร้าย ทำลาย ป้องกัน ต่อสู้ หรือฆ่า; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ใช้ปัญญา เป็นอาวุธ. (ป. อาวุธ, อายุธ; ส. อายุธ).
  5. ประยุทธ์ : ก. รบ, ต่อสู้. (ส. ปฺรยุทฺธ).
  6. ประจญ : [ปฺระจน] ก. ต่อสู้, สู้รบ, ต้านทาน, ผจญ ก็ว่า.
  7. รณรงค์ : น. การรบ; สนามรบ. ก. ต่อสู้, โฆษณาชักชวนอย่างต่อเนื่อง โดยมีเจตนาที่จะต่อสู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ เช่น รณรงค์ หาเสียงในการเลือกตั้งรณรงค์ให้คนไทยใช้ของไทย. (ส.).
  8. กระดูกอ่อน : (สำ) ว. ที่ยังไม่มีความจัดเจนในการต่อสู้ เช่น นักมวยคนนี้กระดูกอ่อน ขึ้นชกครั้งแรกก็แพ้เขาแล้ว.
  9. กระบี่กระบอง : น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ต่อสู้กันด้วยกระบี่ และกระบองเป็นต้น.
  10. กระสอบทราย : น. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้าง ขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของ นักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, (ปาก) ผู้ที่ถูกทำร้าย ร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย.
  11. กลยุทธ์ : [กนละ-] น. การรบที่มีเล่ห์เหลี่ยม, วิธีการที่ต้องใช้กลอุบาย ต่าง ๆ, เล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้.
  12. กังฟู : น. ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบหนึ่งของจีน เน้นหนักไป ในทางฝึกสมาธิและความแข็งแกร่งว่องไวของร่างกาย.
  13. กัด ๒ : น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด Betta splendens ในวงศ์ Anabantidae ทํารังเป็นหวอดที่ผิวน้ำ ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย มีสีสวยงาม สามารถกางครีบและแผ่นปิดเหงือก เปล่งสีลำตัว ให้เข้มขึ้น ในขณะต่อสู้มักกัดกัน จึงเรียกว่า ปลากัด.
  14. แก้ฟ้อง : (กฎ) ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่ คำฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย; ยื่นคำให้การเป็นข้อ ต่อสู้คดีเพื่อแก้คำฟ้อง.
  15. ขับเคี่ยว : ก. เร่งรัด, ต่อสู้หรือแข่งขันกันไปจนถึงที่สุด หรือจนแพ้ชนะ ไปข้างหนึ่ง.
  16. ขึ้นเขียง : (ปาก)ก. ตกอยู่ในภาวะที่แทบไม่มีทางจะต่อสู้หรือเอาชนะ หรือหลีกเลี่ยงได้เลย.
  17. เข็ดเขี้ยว : ก. ไม่กล้าสู้เพราะเคยต่อสู้กัน แล้วสู้ไม่ได้.
  18. เข่าลอย : น. ท่าต่อสู้ของกีฬามวยไทยโดยกระโดดให้ตัวลอยแล้ว ใช้เข่ากระแทกคู่ต่อสู้.
  19. คดีอนาถา : (กฎ) น. คดีแพ่งที่คู่ความอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่สามารถเสีย ค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา เมื่อศาลได้ ไต่สวนเป็นที่เชื่อได้ว่าคู่ความนั้นเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสีย ค่าธรรมเนียม ศาลจะอนุญาตให้คู่ความนั้นฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถา ได้ แต่การขอเช่นว่านี้ถ้าผู้ขอเป็นโจทก์ ผู้ขอจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาล ด้วยว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้อง หรือในกรณีอุทธรณ์หรือฎีกาศาลเห็นว่า มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่กรณี.
  20. คว่ำ : [คฺวํ่า] ก. พลิกเอาด้านบนลงล่าง เช่น รถคว่ำ เรือคว่ำ; กิริยาที่เอาด้าน หน้าลง เช่น นอนคว่ำ, กิริยาที่เอาด้านบนลงล่าง เช่น คว่ำชาม, ตรงข้าม กับ หงาย; เรียกใบหน้าที่แสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจนไม่เงยหน้า ขึ้นมองดูว่า หน้าคว่ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง พ่ายแพ้ เช่น คว่ำคู่ต่อสู้.
  21. คอมมานโด : น. ทหารหรือตํารวจในกลุ่มที่ได้คัดเลือกเป็นพิเศษ เพื่อฝึกการต่อสู้ ประชิดตัว การโจมตีโฉบฉวย จู่โจม และยุทธวิธีข่มขวัญอื่น ๆ, หน่วยรบเฉพาะกิจ. (อ. commando).
  22. คาดเชือก : ก. เอาด้ายดิบพันมือเตรียมชกมวย, เตรียมต่อสู้, คาดหมัด ก็เรียก. น. เรียกการชกมวยแบบหนึ่งที่เอาด้ายดิบพันหมัดมาจนถึง ข้อศอกว่า มวยคาดเชือก.
  23. คาดหมัด : ก. เอาด้ายดิบพันมือเตรียมชกมวย, เตรียมต่อสู้, คาดเชือก ก็เรียก.
  24. คาราเต้ : น. ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่า โดยการใช้อวัยวะต่าง ๆ เช่น มือ เท้า ศอก ศีรษะ ที่ฝึกจนแข็งแกร่งแล้ว มีแพร่หลายในญี่ปุ่นและเกาหลี. (ญิ.).
  25. คู่ปรับ : น. คู่ต่อสู้ที่เคยขับเคี่ยวกันมา, คู่ต่อสู้ที่พอวัดเหวี่ยงกัน.
  26. คู่รักคู่แค้น : น. ผู้ที่เป็นคู่ต่อสู้ขับเคี่ยวกันมาโดยต่างผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ.
  27. เคี่ยวขัน : ก. พยายามต่อสู้หรือแข่งขันด้วยความลําบาก.
  28. ชน ๑ : ก. โดนแรง ๆ เช่น รถยนต์ชนต้นไม้, ชิดจนติด เช่น ตั้งตู้ ชนฝา; บรรจบ เช่น ชนขวบ; ให้ต่อสู้กัน เช่น ชนโค ชนไก่. น. เรียกไก่อูชนิดหนึ่งที่เลี้ยงไว้ชนกันว่า ไก่ชน.
  29. ชาตรี : [ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อยเดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ มีคํา ชาตรี นําหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
  30. ชายชาตรี : น. ผู้มีศิลปะหรือฝีไม้ลายมือในการต่อสู้.
  31. เชิงเทิน : น. ที่ดินที่พูนสูงขึ้นเป็นเชิงของป้อมปราการ, พื้นที่ ว่างภายในป้อมสําหรับให้ทหารขึ้นไปอยู่ตรวจการณ์หรือ ต่อสู้ข้าศึก.
  32. โชกโชน : (ปาก) ว. ลักษณะที่ได้ผ่านการต่อสู้หรือมีประสบการณ์ มาอย่างมากมายเช่น ต่อสู้มาอย่างโชกโชน ผจญภัยมาอย่าง โชกโชน.
  33. ณรงค์ : ก. ต่อสู้ชิงชัย เช่น ณรงค์เพื่อต่อต้านวัณโรค. น. การรบ, การต่อสู้. (ตัดมาจาก รณรงค์).
  34. ตะกวด : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด Varanus bengalensis ในวงศ์ Varanidae ตัวสี นํ้าตาลเหลืองปากแหลม ลิ้นยาวแยกเป็น ๒ แฉก หางยาวใช้ฟาดเพื่อต่อสู้ป้องกันตัว อาศัยตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบหากินตามพื้นดิน ขึ้นต้นไม้เก่ง พาดตัวนอนผึ่งแดด ตามกิ่งไม้, แลน หรือ จะกวด ก็เรียก.
  35. ตะลุมบอน : ก. รบประจัญบาน, ต่อสู้กันด้วยอาวุธอย่างชุลมุน, ต่อสู้กันอย่างชุลมุน.
  36. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  37. ที่มั่น : น. ที่ตั้งสําหรับต่อสู้.
  38. บุกป่าฝ่าดง : (สํา) ก. พยายามต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ.
  39. ประจัญ : [ปฺระจัน] ก. ปะทะต่อสู้, ผจัญ ก็ว่า.
  40. ประลอง : ก. ทดสอบความรู้ความสามารถด้วยการต่อสู้หรือแข่งขันกัน เช่น ประลองฝีมือ ประลองกําลัง ประลองความเร็ว.
  41. ปลดอาวุธ : ก. บังคับให้วางศัสตราวุธเพื่อไม่ให้ใช้ต่อสู้.
  42. ผจญ, ผจัญ : [ผะจน, ผะจัน] ก. พยายามต่อสู้, พยายามเอาชนะ, เช่น มารผจญ, ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเอาชนะ เช่น ผจญความทุกข์ยาก ผจญอุปสรรค, ประจญ หรือ ประจัญ ก็ว่า. (ข. ผฺจาญ่ ว่า ทําให้แพ้).
  43. ผ่าหมาก : ว. เรียกอาการเตะเข้าหว่างขาของคู่ต่อสู้ว่า เตะผ่าหมาก.
  44. ฝ่าฟัน : ก. ต่อสู้กับความยากลําบาก.
  45. ฝ่ามรสุม : ก. ต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคชีวิตมามาก.
  46. พันตู : ก. ต่อสู้ในตอนประชิดติดพันกัน เช่น โรมรันพันตู รบกันพันตู. (ช.).
  47. พาหุยุทธ์ : น. การต่อสู้ด้วยแขน, การชกมวย, การปลํ้า. (ป.).
  48. ฟันดาบ : น. การต่อสู้กันด้วยดาบ เช่น เขาเก่งในทางฟันดาบ.
  49. มวยปล้ำ : น. กีฬาต่อสู้ด้วยมือเปล่าอย่างหนึ่ง คู่ต่อสู้ต้องพยายามทําให้อีกฝ่ายล้มลงจนไหล่ ด้านหลังทั้ง ๒ ข้างแตะพื้นตลอดช่วงเวลาที่กำหนดจึงจะเป็นฝ่ายชนะ.
  50. มวยล้ม : น. การชกมวยบนเวทีที่คู่ต่อสู้ฝ่ายหนึ่งแกล้งยอมเป็นฝ่ายแพ้ เพื่อหวังผลในการพนัน, โดยปริยายหมายถึงการต่อสู้หรือเรื่องราวที่ดูเหมือนเอาจริงเอาจัง แต่กลับไม่จริงหรือเลิกล้มไป.
  51. [1-50] | 51-98

(0.0580 sec)