Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ต้องการ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ต้องการ, 185 found, display 1-50
  1. ต้องการ : ก. อยากได้, ใคร่ได้, ประสงค์.
  2. ใคร่ : [ไคฺร่] ก. อยาก, ต้องการ, ปรารถนา, ใฝ่; ใช้เป็นคำช่วยกริยาแสดงการ ขอร้องอย่างสุภาพ เช่น ใคร่ขออนุญาตดำเนินการ.
  3. ทยา ๒ : [ทะ-] ว. ดี, สําคัญ, ต้องการ, เช่น ของทยาของเจ้าตะเภาทอง. (ไกรทอง), กูจะให้ขนมเข่งของทยา กินอร่อยหนักหนาประสาจน. (สังข์ทอง), ทายา ก็ใช้.
  4. อยาก : [หฺยาก] ก. ปรารถนา, ประสงค์, ต้องการ, ใคร่, เช่น อยากเป็นใหญ่ เป็นโต อยากมีเงิน; หิว, กระหาย, (ใช้แก่อาหาร) เช่น อยากข้าว อยากน้ำ.
  5. เอา ๑ : ก. ยึด เช่น เอาไว้อยู่; รับไว้ เช่น เขาให้ก็เอา; พา, นํา, เช่น เอาตัวมา; ต้องการ เช่น ทําเอาชื่อ ทำงานเอาหน้า; ถือเป็นสําคัญ เช่น เจรจาเอา ถ้อยคํา เอาพี่เอาน้อง; (ปาก) คําใช้แทนกริยาอื่น ๆ บางคําได้. ว. เมื่อ ใช้ลงท้ายกริยา เป็นการเน้นกริยาแสดงถึงการตั้งหน้าตั้งตาทําต่อเนื่อง กัน เช่น กินเอา ๆ.
  6. ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า : (สํา) ก. บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทําตามที่ตน ต้องการ เช่น จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เราเหมือนข่มเขาโคขืน ให้กินหญ้า. (สังข์ทอง).
  7. ขุด : ก. กิริยาที่สับ เจาะ แทง หรือ คุ้ยเอาดินหรือสิ่งที่อยู่ในดินขึ้น เช่น ขุดดิน ขุดศพ, อาการที่ขุดดินหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มีรูปร่างตามที่ ต้องการ เช่น ขุดหลุม; เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้ซุงทั้งต้นหรือทั้งท่อน ขุดด้านบนให้เป็นรางแล้วเบิกปากออกให้กว้าง ถากหัวและท้ายเรือ ให้เรียวเชิดขึ้นตามส่วน ว่า เรือขุด; โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขุดเรื่องเก่า ๆ ขึ้นมาพูด, ขุดคุ้ย หรือ คุ้ยเขี่ย ก็ว่า.
  8. ตอก ๑ : ก. เอาค้อนหรือสิ่งอื่นตีตะปูหรือหลักเป็นต้นให้เข้าไป; เร่งให้วัวควายวิ่ง ใช้ว่า ตอกวัว ตอกควาย น. ไม้ไผ่ที่จักเป็นเส้นแบนยาว ขนาดหนาหรือบางตาม ต้องการ สําหรับผูกมัดหรือสานสิ่งต่าง ๆ; ชื่อมีดชนิดหนึ่ง ปลายแหลมคล้าย มีดเหน็บ แต่สั้นกว่า ด้ามยาวและงอน.
  9. ธงตะขาบ : น. ธงชนิดหนึ่งทำด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกันไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทำให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาดกว้างยาวตาม ต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา. (รูปภาพ ธงตะขาบ)
  10. บรรทัดราง : น. อุปกรณ์อย่างหนึ่งของช่างไม้ เป็นเชือกพันลูกรอก อยู่ในรางไม้ เมื่อดึงปลายเชือกออกจากรอก เชือกจะผ่านกระปุกซึ่ง มีสีดำบรรจุอยู่ทำให้เชือกติดสี เมื่อดึงเชือกให้ตึงตรงแนวพื้นกระดาน เป็นต้นที่ต้องการขีดเส้นแล้วดีด สีจากเชือกจะติดพื้นเป็นเส้นตรงตาม ต้องการ.
  11. ปรารถนา : [ปฺราดถะหฺนา] ก. มุ่งหมาย, อยากได้, ต้องการ. (ส. ปฺรารฺถนา; ป. ปตฺถนา).
  12. เพียงพอ : ก. ได้เท่าที่ต้องการ, ได้เท่าที่กะไว้. ว. เท่าที่กะไว้, เท่าที่ ต้องการ.
  13. มหู : ก. ต้องการ. (ช.).
  14. เลือก ๑ : ก. คัดสิ่งที่มีจํานวนมากกว่าหนึ่งขึ้นไปเพื่อเอาไว้หรือเอาออกตาม ต้องการ เช่น เลือกผู้ใหญ่บ้าน เลือกหัวหน้าชั้น.
  15. กฎหมู่ : น. อํานาจกดดันที่บุคคลจํานวนมากนํามาใช้บีบบังคับให้อีก ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือเว้นกระทําสิ่งที่บุคคลจำนวนนั้นต้องการ (มักไม่เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย).
  16. กบเลือกนาย : (สํา) น. ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาอยู่เรื่อย ๆ.
  17. กรรมการก : [กํามะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทํา เป็นส่วนสําคัญส่วนหนึ่ง ใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตํารวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทําเด่น ก็เรียงเป็นภาค ประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตํารวจยิง.
  18. กระชัง ๒ : น. เครื่องสําหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทําเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะ เป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบ เพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกร่ำ เมื่อจับปลาหรือกุ้ง ได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่า กระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สําหรับจับปลาขนาดใหญ่ มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือ ค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยน้ำไว้.
  19. กระเซ้ากระซี้ : ก. พูดรบเร้าร่าไรเพื่อให้ได้ตามที่ต้องการ, เซ้าซี้ ก็ว่า.
  20. กระโตกกระตาก : ก. ส่งเสียงให้เขารู้อย่างไก่กำลังออกไข่, โดยปริยายหมายความว่า เปิดเผยข้อความที่ต้องการปิดบัง.
  21. กระโถน : น. ภาชนะสําหรับบ้วนหรือทิ้งของต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการ. (เทียบ ข. กนฺโถรฺ).
  22. กระทำ ๒ : ก. ใช้เวทมนตร์ทําให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นไปตามต้องการของตน มีให้รักหรือให้ป่วยเจ็บเป็นต้น เช่นว่า กระทํายําเยีย, การถูกเวทมนตร์เช่นนี้เรียกว่า ถูกกระทํา.
  23. กระบอก ๔ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการ รีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎ ต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
  24. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  25. กะสมอ : ก. นำสมอเรือไปทอดไว้ในที่ที่เรือใหญ่ต้องการเข้าจอด หรือเทียบเรือ ซึ่งเป็นที่เข้าจอดหรือเข้าเทียบแล้วค่อย ๆ กว้านสมอนำเรือเข้าไป.
  26. กะไหล่ : น. กรรมวิธีเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทองเป็นต้น โดยใช้ปรอทละลายเงินหรือทองให้เป็นของเหลว แล้วทาลงบน โลหะที่ต้องการเคลือบ จากนั้นไล่ปรอทออกโดยใช้ความร้อน, กาไหล่ ก็ว่า. ว. เรียกของเช่นพานเป็นต้นที่เคลือบเงินหรือทอง ด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า พานกะไหล่เงิน พานกะไหล่ทอง. (เทียบทมิฬ กะลายิ).
  27. กะแอ ๑ : น. เครื่องบังแดดมีคันปักดิน หมุนได้ตามต้องการ.
  28. กิ๊บ : น. ที่หนีบผมทําด้วยโลหะหรือพลาสติกเป็นต้น สําหรับบังคับผม ให้อยู่ในลักษณะที่ต้องการหรือเพื่อประดับตกแต่ง.
  29. เกินดี : ว. เลยไปจนหมดดี เช่น ทําเกินดี คือใช้ให้ไปทําอะไร แต่ทําจนเกินต้องการ เรียกว่า ทําเกินดี.
  30. แกนทราย : น. แกนที่ใช้ในการหล่อพระพุทธรูปหรืองานประติมากรรมไทย ด้วยวิธีสูญขี้ผึ้ง ทำด้วยทรายผสมดินเหนียว หมักให้ชุ่มและ เหยียบให้เข้ากันจนเหนียว จึงปั้นขึ้นเป็นรูปเลา ๆ เรียกว่า โกลน แล้วผึ่งให้แห้ง จากนั้นเอาขี้ผึ้งพอกและปั้นส่วนผิวจนเป็นรูป ตามที่ต้องการ.
  31. ขยับขยาย : [-ขะหฺยาย] ก. แก้ไขให้คลายความลําบากหรือความ คับแคบเป็นต้น เพื่อให้เหมาะแก่ความต้องการหรือเหตุการณ์.
  32. ขอ ๒ : ก. พูดให้เขาให้สิ่งที่ต้องการ, วิงวอน.
  33. ขอน : น. ท่อนไม้ใหญ่ที่ยังไม่ได้ถากกล่อมให้เป็นรูปที่ต้องการ; ลักษณนาม เรียกข้างหนึ่งของกำไลที่เป็นคู่ว่า กำไลขอนหนึ่ง; ลักษณนามของสังข์ เช่น สังข์ขอนหนึ่ง สังข์ ๒ ขอน, ลักษณนามของไพ่ตองว่า สำรับหนึ่ง หรือชุดหนึ่งมี ๒ ขอน.
  34. ขับถ่าย : ก. รุหรือระบายสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากร่างกาย.
  35. ขิด : น. ชื่อผ้าทอชนิดหนึ่ง มีวิธีทําลวดลายโดยใช้ไม้แผ่นแบนบางปากโค้ง ให้ปลายหนึ่งแหลมเป็นเครื่องมือสําหรับสะกิดเส้นเครือหรือเส้นยืน เพื่อเก็บยกขึ้นตามรูปลักษณะลวดลายที่ต้องการในแต่ละแถว แต่ละลาย, เขียนเป็น ขิต ก็มี.
  36. ขี้ : ก. กิริยาที่ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก, ถ่ายอุจจาระ, ราชาศัพท์ว่า ลงพระบังคนหนัก. น. กากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออก ทางทวารหนัก, อุจจาระ, สิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่ เช่น ขี้ไคล ขี้รังแค ขี้หู ขี้ตา, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น ขี้ตะกั่ว, เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น ๆ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย. ว. ใช้ ประกอบหน้าคําที่แสดงความหมายในทางที่ไม่ดี เช่น ขี้เกียจ ขี้เหนียว, หรือมักเป็นเช่นนั้น เช่น ขี้หัวเราะ ขี้ขอ.
  37. เข้าถึง : ก. เข้าใจอย่างซาบซึ้ง เช่น เข้าถึงบท เข้าถึงวรรณคดี, เข้าใกล้ชิด สนิทสนมเพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงชีวิตจิตใจและความต้องการเป็นต้น เช่น เข้าถึงประชาชน.
  38. เข้าทาง : ก. ตรงตามที่ต้องการ, ตรงตามที่ถนัด.
  39. เข้าไม้ : ก. นําไม้ตั้งแต่ ๒ ชิ้นขึ้นไปมาบากรับแล้วประกอบเข้าด้วยกัน ยึดไม้นั้นให้แน่นอยู่ในรูปแบบที่ต้องการด้วยการตอกตะปูหรือตอกอัด ด้วยลูกสลักไม้ การต่อหรือประกอบอาจทำได้หลายวิธี.
  40. เข้ารหัส : ก. เปลี่ยนสารธรรมดาให้เป็นสารลับด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตําแหน่งอักษร ของข้อความนั้น หรือใช้สัญลักษณ์แทนซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้กุญแจรหัสเท่านั้น.
  41. คลัตช์ : น. อุปกรณ์ที่ทําหน้าที่ส่งพลังงานซึ่งถ่ายทอดมาจากเครื่องยนต์ไปยังเกียร์ หรือตัดพลังงานนั้นตามต้องการ. (อ. clutch).
  42. คว้า : [คฺว้า] ก. ยื่นมือไปจับหรือฉวยมาโดยเร็ว, ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ศัพท์นี้ไปคว้ามาจากไหน; กิริยาชักว่าวกระตุกให้หัวว่าวปักลง แล้วช้อนขึ้นไปทางใดทางหนึ่งตามความต้องการ เช่น ว่าวจุฬากับ ว่าวปักเป้าคว้ากัน.
  43. คว้าน้ำเหลว : (สํา) ก. ไม่ได้ผลตามต้องการ.
  44. คัดท้าย : ก. คอยคุมให้ไปตรงตามที่ต้องการ, โดยปริยายหมายความว่า อยู่ตําแหน่งสุดท้ายหรือเกือบสุดท้าย.
  45. คัดเลือก : ก. เลือกเอาที่ต้องการไว้, คัดเอาที่ไม่ต้องการออก.
  46. คาย ๑ : ก. ปล่อยของที่ไม่ต้องการจะกลืนหรือกลืนไม่ได้ออกจากปาก เช่น คายชานอ้อย; ปล่อยออกมา เช่น คายความร้อน; โดยปริยายใช้หมายถึง อาการของสิ่งที่ติดแน่นเลื่อนออกจากที่เดิม เช่น เรือคายหมัน ลูกประสัก คายตัว, เปิดเผย, แสดงออก, เช่น คายความลับ.
  47. คูณ : ก. เพิ่มจํานวนเท่าตัวตามหน่วยที่ต้องการ, เท่า เช่น ทวีคูณ คือ ๒ เท่า ตรีคูณ คือ ๓ เท่า. น. เรียกเครื่องหมายดังนี้ x ว่า เครื่องหมายคูณ. (ป., ส. คุณ).
  48. คู่มือ : ว. ใช้ประโยชน์ได้เหมาะใจ, สําหรับประจําตัว, เช่น อาวุธคู่มือ. น. สมุดหรือหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้องการรู้ เพื่อใช้ประกอบตํารา เพื่ออํานวยความสะดวกเกี่ยวกับการศึกษาหรือ การปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเพื่อแนะนำวิธีใช้อุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
  49. งก ๒ : น. ไม้รูปคล้ายตะลุมพุกสําหรับควาญท้ายตีช้างเมื่อต้องการให้ช้างไปเร็ว เรียกว่า ไม้งก.
  50. งาม : ว. ลักษณะที่เห็นแล้วชวนให้ชื่นชมหรือพึงใจ เช่น มารยาทงาม รูปงาม; มีลักษณะสมบูรณ์ดี เช่น ต้นไม้งาม ปีนี้ฝนงาม; ดี, มาก, มีลักษณะที่เป็น ไปตามต้องการ, เช่น กําไรงาม ธนาคารนี้จ่ายดอกเบี้ยงาม.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-185

(0.0259 sec)