Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทรัพย์สิน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทรัพย์สิน, 107 found, display 1-50
  1. ทรัพย์สิน : (กฎ) น. วัตถุทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคา และอาจถือเอาได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นวัตถุมีรูปร่าง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นวัตถุไม่มีรูปร่าง.
  2. ทรัพย์สินของแผ่นดิน : (กฎ) น. ทรัพย์สินทุกชนิดของรัฐ.
  3. ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ : (กฎ) น. ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน.
  4. ทรัพย์สินส่วนพระองค์ : (กฎ) น. ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์ อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใด นอกจาก ที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ รวมทั้งดอกผล ที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้น.
  5. ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน : (กฎ) น. ทรัพย์สินใน พระมหากษัตริย์ ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง.
  6. ริบทรัพย์สิน : (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่งที่ศาลสั่งให้ทรัพย์สิน ที่ริบตกเป็นของแผ่นดิน.
  7. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ : (กฎ) น. ศาล ยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาล ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เช่น คดีอาญาและ คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และคดีแพ่ง เกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือสัญญา อนุญาตให้ใช้สิทธิ คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือตราสารการเงินระหว่างประเทศหรือการให้บริการระหว่าง ประเทศการขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัย และนิติกรรม อื่นที่เกี่ยวเนื่อง คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในการ ออกแบบวงจร รวมการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ชื่อทางการค้า ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดของสินค้า ความลับ ทางการค้าและการคุ้มครองพันธุ์พืช.
  8. กรรโชก : [กัน-] ก. ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว, เขียนเป็น กันโชก หรือ กําโชก ก็มี. (แผลงมาจาก กระโชก). (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็น ทรัพย์สิน โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะทํา อันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอม เช่นว่านั้น เรียกว่า ความผิดฐานกรรโชก.
  9. กินเปล่า : [-เปฺล่า] ก. ได้ประโยชน์เปล่า ๆ ไม่ต้องตอบแทน. น. เรียกเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิ ตามที่ตกลงกันว่า เงินกินเปล่า. ว. ได้ประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว เช่น เตะกินเปล่า.
  10. เงินกินเปล่า : น. เงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิ ตามที่ตกลงกัน.
  11. ธน, ธน- : [ทน, ทะนะ] น. ทรัพย์สิน. (ป., ส.).
  12. ธนัง : (แบบ; กลอน) น. ทรัพย์สิน เช่น มันก็ไม่รู้มั่งที่จะให้เกิดทุนธนัง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  13. ผู้บริโภค : (กฎ) น. ผู้ซื้อหรือได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ และ หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบ ธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการด้วย; ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะ ผู้ซื้อ ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้กู้ ผู้เอาประกันภัย หรือผู้เข้าทำสัญญาอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน บริการหรือประโยชน์อื่นใดโดยมีค่า ตอบแทน ทั้งนี้ การทำสัญญานั้นต้องเป็นไปโดยมิใช่เพื่อการค้า ทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใดนั้นและหมายความรวมถึง ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกันของบุคคลดังกล่าวซึ่งมิได้ กระทำเพื่อการค้าด้วย. (อ. consumer).
  14. รายรับ : น. รายการรับ เช่น เขามีรายรับเพิ่มขึ้น, คู่กับ รายจ่าย; (กฎ) เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับ หรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากการ ประกอบกิจการ.
  15. ละเมิด : ก. ล่วงเกินหรือฝ่าฝืนจารีตประเพณีหรือกฎหมายที่มีบัญญัติไว้; (กฎ) จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทําต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิ.
  16. สมบัติ ๑ : น. ความถึงพร้อม หมายถึง ทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้ เป็นต้นที่มีอยู่ เช่น ถึงมีสมบัติมากมายก็ไม่พ้นความตายไป ทำงานมาเกือบ ๒๐ ปี มีสมบัติอย่างเดียวคือบ้าน. (ป., ส. สมฺปตฺติ).
  17. สมบัติพัสถาน : [สมบัดพัดสะถาน] น. ทรัพย์สิน ที่ดิน และบ้านเรือน.
  18. กฎหมายแพ่ง : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคล ตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม ละเมิดทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก. (อ. civil law).
  19. กฎหมายเอกชน : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการ อย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและ หน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. (อ. private law).
  20. กรรมสิทธิ์ : [กํามะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิ ทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จําหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สิน ของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ = ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ).
  21. กรรมสิทธิ์รวม : (กฎ) น. กรรมสิทธิ์ของบุคคลหลายคนร่วมกัน ในทรัพย์สินอันใดอันหนึ่ง.
  22. กว้างใหญ่ : ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  23. กวาด : [กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน; เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  24. กองทุน : น. เงินหรือทรัพย์สินที่เอามารวมเป็นก้อนเดียวกัน เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ในการสมรส.
  25. ข่มขู่ : ก. ทําให้กลัว, ทําให้เสียขวัญ; (กฎ) ทําให้ผู้อื่นต้องกลัวว่าจะเกิด ความเสียหายเป็นภัยแก่ตนเอง แก่สกุลแห่งตน หรือแก่ทรัพย์สินของตน เป็นภัยอันใกล้จะถึงและอย่างน้อยร้ายแรงถึงขนาดที่จะพึงกลัว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่ง การข่มขู่อาจทำให้นิติกรรมเสื่อมเสียได้.
  26. ขาย : ก. เอาของแลกเงินตรา, โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่กันโดย ตกลงกันว่าผู้รับโอนจะใช้ราคาแห่งทรัพย์สินนั้น มีหลายลักษณะ คือ ชําระเงินในขณะที่ซื้อขายกัน เรียกว่า ขายเงินสด, ขายโดยยอม เก็บเงินอันเป็นราคาของในวันหลัง เรียกว่า ขายเชื่อ, (เลิก) เอาเงินเขา มาโดยยอมตนเข้ารับใช้การงานของเจ้าเงิน เรียกว่า ขายตัวลงเป็นทาส.
  27. ขายตามคำพรรณนา : (กฎ) น. สัญญาซื้อขายที่คู่สัญญาตกลงซื้อขาย ทรัพย์สินตามลักษณะและคุณภาพที่ผู้ขายได้บรรยายไว้อย่างละเอียด.
  28. ขายตามตัวอย่าง : (กฎ) น. สัญญาซื้อขายที่คู่สัญญาตกลงซื้อขาย ทรัพย์สินตามที่ผู้ขายได้แสดงไว้.
  29. ขายทอดตลาด : (กฎ) น. การขายทรัพย์สินที่กระทําโดยเปิดเผยแก่บุคคล ทั่วไปด้วยวิธีเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสู้ราคากัน ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอด ตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอย่างอื่นตามจารีต ประเพณีในการขายทอดตลาด ผู้นั้นเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น.
  30. ขายเผื่อชอบ : (กฎ) น. สัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขว่าให้ผู้ซื้อได้มีโอกาส ตรวจดูทรัพย์สินก่อนรับซื้อ.
  31. ขายฝาก : (กฎ) น. สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้.
  32. ขายเหมา : [-เหฺมา] ก. ขายเป็นจํานวนรวมทั้งหมด. (กฎ) น. การขายซึ่งผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมด ทั้งจํานวนในราคาตามที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ซื้อต้องผูกพันชําระราคา และผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดตามที่ตกลงกันไว้ ทั้งนี้ ไม่ว่า ทรัพย์สินที่ซื้อขายจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่คิดคํานวณไว้.
  33. ขู่เข็ญ : ก. ทําให้กลัวโดยบังคับ; (กฎ) แสดงกิริยาหรือวาจาให้ผู้อื่น ต้องกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือ ทรัพย์สินของผู้นั้น หรือของบุคคลที่สาม.
  34. คดีอนาถา : (กฎ) น. คดีแพ่งที่คู่ความอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่สามารถเสีย ค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา เมื่อศาลได้ ไต่สวนเป็นที่เชื่อได้ว่าคู่ความนั้นเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสีย ค่าธรรมเนียม ศาลจะอนุญาตให้คู่ความนั้นฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถา ได้ แต่การขอเช่นว่านี้ถ้าผู้ขอเป็นโจทก์ ผู้ขอจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาล ด้วยว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้อง หรือในกรณีอุทธรณ์หรือฎีกาศาลเห็นว่า มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่กรณี.
  35. ครอบครอง : ก. ยึดถือไว้, มีสิทธิปกครอง; (กฎ) ยึดถือทรัพย์สินไว้โดย เจตนาจะยึดถือเพื่อตน อันทำให้บุคคลได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ทั้งนี้ จะยึดถือไว้เองหรือบุคคลอื่นยึดถือไว้ให้ก็ได้.
  36. ครอบครองปรปักษ์ : (กฎ) ก. ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดย ความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ บุคคลผู้ครอบครอง ปรปักษ์ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๕ ปี บุคคลนั้นได้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น.
  37. คอมมิวนิสต์ : น. ระบบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมแบบหนึ่งของลัทธิสังคมนิยม ที่มีอุดมการณ์ให้รวมทรัพย์สินทั้งปวงเป็นสมบัติส่วนกลางของชุมชน ไม่ให้มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และให้จัดสรรรายได้แก่บุคคลอย่าง เสมอภาคกัน ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ยากของคนในสังคมอันเป็น ผลจากความไม่เสมอภาคในทรัพย์สิน, ผู้ที่นิยมระบบคอมมิวนิสต์. ว. เกี่ยวกับระบบคอมมิวนิสต์. (อ. communism, communist).
  38. ค่าเช่า : (กฎ) น. ค่าตอบแทนที่ผู้เช่าจ่ายให้แก่ผู้ให้เช่าเพื่อเป็นการ ตอบแทนที่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าชั่วระยะ เวลาอันมีจำกัด.
  39. ค่าไถ่ : (กฎ) น. ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอา หรือให้เพื่อแลกเปลี่ยน เสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง.
  40. ค่าสินไหมทดแทน : (กฎ) น. เงินที่ต้องชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหาย ที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินหรือแก่บุคคลอันเนื่องมาจากการละเมิด หรือการ ผิดสัญญา รวมทั้งทรัพย์สินที่ต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายด้วย เช่น ค่า สินไหมทดแทนเพื่อละเมิด ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ให้ต้อง ตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้.
  41. จำนอง : ก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กําหนด, จําไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง, เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง. (ลอ). (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคล คนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จํานอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจํานอง เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ ผู้รับจํานอง. (แผลงมาจาก จอง).
  42. เจ้าของ : น. (กฎ) ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน; ผู้มีสิทธิครอบครอง ใช้สอย เก็บผลประโยชน์ และจําหน่ายทรัพย์สิน.
  43. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรมแต่งตั้งโดยเฉพาะตัว หรือโดยตําแหน่งหน้าที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่ พิทักษ์ทรัพย์สินและจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นี้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของศาล.
  44. โจร ๑, โจร- : [โจน, โจระ-, โจนระ-] น. ผู้ร้ายที่ลักขโมยหรือปล้นสะดมทรัพย์สิน ผู้อื่นเป็นต้น. (ป., ส.).
  45. ฉ้อโกง : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานหลอกลวงผู้อื่นโดยทุจริต ด้วยการ แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยการหลอกลวง ดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือ บุคคลที่สาม หรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือ ทําลายเอกสารสิทธิ เรียกว่า ความผิดฐานฉ้อโกง.
  46. ช่วงทรัพย์ : (กฎ) ก. เอาทรัพย์สินอันหนึ่งแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่ง ซึ่งมีฐานะทางกฎหมายอย่างเดียวกันกับทรัพย์สินอันก่อน.
  47. เช่าช่วง : (กฎ) ก. การที่ผู้เช่าเอาทรัพย์สินที่ตนเช่าไปให้ผู้อื่น เช่าอีกทอดหนึ่ง.
  48. เช่าซื้อ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คํามั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สิน นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็น จํานวนเท่านั้นเท่านี้คราว.
  49. เช่าทรัพย์ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้ หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่ว ระยะเวลาอันมีจํากัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น.
  50. ซื้อขาย : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-107

(0.0277 sec)