Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทาง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทาง, 1460 found, display 1-50
  1. ทาง : น. เรียกใบของต้นไม้บางชนิด เช่น หมาก มะพร้าว กล้วย, ลักษณนามเรียกใบหมาก ใบมะพร้าว ใบกล้วย เป็นต้น ว่า ทาง เช่น ใบกล้วยทางหนึ่ง ใบมะพร้าว ๒ ทาง.
  2. ทาง : น. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สําหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสําเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทาง ธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.
  3. ทางข้าม : น. ทางม้าลาย; (กฎ) พื้นที่ที่ทําไว้สําหรับให้คนเดินเท้าข้าม โดยทําเครื่องหมายเป็นเส้นหรือแนวหรือตอกหมุดไว้บนทาง และ หมายความรวมถึงพื้นที่ที่ทําให้คนเดินเท้าข้าม ไม่ว่าในระดับใต้พื้นดิน หรือเหนือพื้นดิน.
  4. ทางพิเศษ : (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดินหรือพื้นนํ้า เพื่ออํานวยความสะดวกใน การจราจรเป็นพิเศษ.
  5. ทางสาธารณะ : (กฎ) น. ทางบกหรือทางนํ้าสําหรับประชาชนใช้ใน การจราจร และหมายความรวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถ เดินสําหรับประชาชนโดยสารด้วย.
  6. ทางสามแพร่ง : น. ทางที่แยกเป็น ๓ สาย เกิดจากทางสายหนึ่งมา บรรจบเป็นมุมฉากกับทางอีกสายหนึ่ง, โบราณถือว่าเป็นทางผีผ่าน ไม่เป็นมงคล เช่น ไปทำพิธีเซ่นวักเสียกบาลที่ทางสามแพร่ง.
  7. ทางสายกลาง : น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความ ดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง; การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใด ทางหนึ่ง.
  8. ทางเก็บ : น. การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้น กว่าทำนองเนื้อเพลงธรรมดา, ลูกเก็บ ก็ว่า.
  9. ทางช้างเผือก : น. แสงกลุ่มดาวซึ่งแผ่เห็นสว่างเป็นพืดในท้องฟ้า.
  10. ทางผ่าน : น. บุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือดุจสะพาน เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ.
  11. ทางมะพร้าว : น. ชื่องูชนิด Elaphe radiata ในวงศ์ Colubridae ท่อนหัวมีลายยาว ตามลําตัวสีดําขาว ท่อนหางสีนํ้าตาลแดง ไม่มีพิษ, ก้านมะพร้าว ก็เรียก.
  12. วิถีทาง : น. ทาง เช่น ต้องใช้ความพยายามทุกวิถีทางกว่าจะประสบ ความสำเร็จ.
  13. กบิล ๒ : [กะบิน] น. ระเบียบ, แบบ, ทาง, เช่น กบิลความ; วิธีการ เช่น กบิลเมือง; กระบวน, หมู่, เช่น กบิลไม้; บรรดา เช่น กบิลว่าน, คํานี้บางทีเขียนเป็น กะบิล กระบิล ระบิล. (เทียบ ฮ. กปิล ว่า ชนิด, จําพวก, ตระกูล).
  14. กระแส : ไม่ขาดสาย เช่น กระแสน้ำ กระแสลม, โดยปริยายหมายถึง อาการเช่นนั้น; เส้น, สาย, แนว, ทาง, เช่น กระแสความ กระแสความคิด; เส้นวัดที่ดินทำด้วยหวายหรือเหล็กเป็นต้น เรียกว่า เส้นกระแส. (เทียบ ข. แขฺส = เชือก).
  15. กินทาง : ว. ล้าทาง (ใช้แก่ยวดยาน) เช่น ขับรถกินทาง.
  16. ขอบทาง : (กฎ) น. แนวริมของทางเดินรถ.
  17. เข้าที่เข้าทาง : ก. จัดให้เป็นระเบียบ, จัดให้เรียบร้อย, เช่น จัดข้าวของ ให้เข้าที่เข้าทาง.
  18. คลอง : [คฺลอง] น. ทางนํ้าหรือลํานํ้าที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่นํ้าหรือทะเล; ทาง, แนว, เช่น คลองธรรม.
  19. จุดหมาย, จุดหมายปลายทาง : น. จุดหรือสภาวะที่ต้องพยายามไปให้ถึง, จุดหรือสภาวะที่ตั้งใจจะให้บรรลุถึง, เช่น การเดินทางครั้งนี้มีจุดหมาย ที่จังหวัดสุโขทัย คนเรามีความสุขเป็นจุดหมายในชีวิต.
  20. ด้าน ๑ : น. ฝ่าย, ข้าง, ทาง, ส่วน, เช่น ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านวิชาการ ด้านศิลปกรรม ด้านวิทยาศาสตร์.
  21. ด้าม : น. ส่วนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้ถือใช้จับ เช่น ด้ามมีด ด้ามขวาน, ลักษณนาม เรียกของบางอย่างที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ด้าม เช่น ปากกาด้ามหนึ่ง ปากกา ๒ ด้าม; ต้น, ทาง, เช่น โดยด้ามอาทิสวคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน), ผู้เผด็จ ด้ามตัณหา. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์), โดยด้ามอาทิทศธรรมสนท้าว. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), แลราชผู้มีอยู่ในด้ามมารคธรรม. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  22. ทิศ, ทิศา : น. ด้าน, ข้าง, ทาง, เบื้อง, (หมายเอา เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก เป็นต้น). (ส.; ป. ทิส).
  23. นั่งทาง : ก. ดักคอยทําร้ายกลางทาง, นั่งคอยระวังเหตุ.
  24. นัย : [ไน, ไนยะ] น. ข้อสําคัญ เช่น นัยแห่งเรื่องนี้; ความ, ความหมาย, เช่น หลายนัย; แนว, ทาง, เช่น ตีความได้หลายนัย; แง่ เช่น อีกนัยหนึ่ง. (ป. นย). นัยว่า [ไน] ว. มีเค้าว่า.
  25. นิยาม : [ยาม] (แบบ) น. การกําหนด, ทาง, อย่าง, วิธี. ก. กําหนดหรือจํากัด ความหมายที่แน่นอน. (ป., ส.).
  26. เบิกทาง : น. เรียกหนังสืออนุญาตให้โดยสารหรือให้ผ่านว่า หนังสือ เบิกทาง หรือ ใบเบิกทาง.
  27. ใบเบิกทาง : (ปาก) น. หนังสืออนุญาตให้โดยสารหรือให้ผ่าน, หนังสือเบิกทาง ก็เรียก.
  28. ประตู : น. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนัน บางชนิด เช่น ถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า; ลักษณนามเรียกจํานวนครั้ง ที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู เช่น ได้ ๒ ประตู เสีย ๓ ประตู, เรียก ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการพนันบางชนิด เช่น ถูกประตู เดียวกิน ๓ ประตู.
  29. ปริยาย : [ปะริ-] น. อย่าง, ทาง, หนทาง; การกล่าวอ้อมค้อม, นัยทางอ้อม, ตรงข้ามกับ นิปริยาย คือ อย่างตรง; การสอน, การเล่าเรื่อง. ว. อ้อม; (กฎ) หมายความถึงกรณีที่เจตนาในการกระทำมิได้แสดงออก อย่างชัดแจ้ง เป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าชัดแจ้ง. (ป.).
  30. ปลายทาง : น. สุดทาง.
  31. เป็นที่ ๑, เป็นที่เป็นทาง : ว. มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน เช่น เขาอยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง; อาการที่เก็บของไว้ตามที่อย่างเป็น ระเบียบเช่น เก็บของไม่เป็นที่ เก็บของเป็นที่เป็นทาง.
  32. แปรกขวางทาง : น. ไม้ขวางทางที่ยึดหัวท้ายทั้ง ๒ ด้านของแปรกบัง.
  33. พรมทาง : น. พรมเล็ก ๆ ยาว ๆ ที่ใช้ปูเป็นลาดพระบาทหรือทางเดิน.
  34. แพ่ง : น. แรง, กําลัง; ทาง, แพร่ง. ก. สร้าง; เพ่ง, ตรวจดู, พิจารณา. ว. งาม, น่าดูมาก; (กฎ) ที่เกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง คดีแพ่ง.
  35. มุข, มุข- : [มุก, มุกขะ-] น. หน้า, ปาก; ทาง; หัวหน้า; ส่วนของตึก หรือเรือนที่ยื่นออกมาจากส่วนใหญ่ มักอยู่ด้านหน้า. (ป., ส.).
  36. รถโดยสารประจำทาง : (กฎ) น. รถบรรทุกคนโดยสารที่เดินตามทางที่ กําหนดไว้ และเรียกเก็บค่าโดยสารเป็นรายคนตามอัตราที่วางไว้เป็น ระยะทางหรือตลอดทาง.
  37. รถประจำทาง : น. รถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเป็นปรกติ.
  38. วลัญช์ : [วะลัน] (แบบ) น. รอย, เครื่องหมาย; ทาง; การใช้สอย. (ป.).
  39. วิถี : น. สาย, แนว, ถนน, ทาง, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น วิถีทาง วิถี ชีวิต บาทวิถี. (ป., ส. วีถิ).
  40. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ : (กฎ) น. ศาล ยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาล ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เช่น คดีอาญาและ คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และคดีแพ่ง เกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือสัญญา อนุญาตให้ใช้สิทธิ คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือตราสารการเงินระหว่างประเทศหรือการให้บริการระหว่าง ประเทศการขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัย และนิติกรรม อื่นที่เกี่ยวเนื่อง คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในการ ออกแบบวงจร รวมการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ชื่อทางการค้า ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดของสินค้า ความลับ ทางการค้าและการคุ้มครองพันธุ์พืช.
  41. สมุดปูมเดินทาง : น. สมุดบันทึกรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเดินเรือ หรือการเดินอากาศ เช่น เดินทางจากไหนถึงไหน วันที่เดินทาง จํานวนชั่วโมง ฯลฯ.
  42. ไหล่ถนน, ไหล่ทาง : น. ส่วนของถนนที่ติดอยู่กับทางจราจรทั้ง ๒ ข้าง.
  43. อังศุ : น. สาย, ทาง, เส้น, แถว; แสง, รัศมี. (ส. อํศุ; ป. อํสุ).
  44. โอกาส : [กาด] น. ช่อง, ทาง; เวลาที่เหมาะ, จังหวะ. (ป.; ส. อวกาศ).
  45. กล้องส่องทางไกล : น. กล้องโทรทรรศน์, กล้องสําหรับส่องดูของไกลให้เห็นใกล้.
  46. เข้าทาง : ก. ตรงตามที่ต้องการ, ตรงตามที่ถนัด.
  47. เดินทาง : ก. ไปสู่จุดที่หมายอีกแห่งหนึ่งที่ไกลออกไป.
  48. โทษทางอาญา : (กฎ) น. มาตรการที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับ ลงโทษแก่ผู้กระทําความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา ได้แก่ การประหารชีวิต การจําคุก การกักขัง การปรับและการ ริบทรัพย์สิน.
  49. นอกลู่นอกทาง : ว. ไม่ประพฤติตามแนวทางที่พ่อแม่ครูอาจารย์ได้เคย ดําเนินมา.
  50. ผิดที่, ผิดที่ผิดทาง : ก. อยู่ในที่ที่ไม่เคยอยู่, อยู่ในที่ที่ไม่ควรจะอยู่.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1460

(0.1374 sec)