Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทำ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทำ, 908 found, display 1-50
  1. ทำ : ก. กระทํา, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทําเก้าอี้ ทําโต๊ะ ทํารองเท้า ทํารัง; ประกอบการงาน เช่น ทํานา ทําสวน ทําโป๊ะ; ดําเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทําหน้าที่ประธาน ทําตาม คําสั่ง ทําตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทําผม ทํานัยน์ตา ทําจมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กําหนดไว้ เช่น ทําเลข ทําการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทําวัตร ทําศพ; แสดง เช่น ทําบท ทําเพลง ทําเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับปริญญา เช่น ทําปริญญา ทําดอกเตอร์.
  2. ทำซ้ำ : (กฎ) ก. คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จากต้นฉบับ หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายความถึง คัดลอกหรือทำสำเนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำ งานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
  3. ทำที : ก. แสดงกิริยาหรืออาการให้ผู้อื่นสําคัญผิด.
  4. ทำนาบนหลังคน : (สํา) ก. หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น.
  5. ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ : (สํา) ก. ทําการสิ่งใดถ้ากลัว หมดเปลืองย่อมไม่ได้ผลสมบูรณ์.
  6. ทำปลา : ก. ทําปลาให้สะอาดด้วยการขอดเกล็ด ผ่าท้องเอาไส้พุง ออกเป็นต้นให้เหมาะแก่การปรุงอาหาร.
  7. ทำปากทำคอ : ก. จีบปากจีบคอเวลาพูด.
  8. ทำเป็น : ก. แสร้งแสดง เช่น ทําเป็นหลับ; วางท่า เช่น ทําเป็นคุณนาย, ใช้ว่า ทําเป็นว่า ก็มี.
  9. ทำไปทำมา : ก. ในที่สุด, ผลสุดท้าย, เช่น ทําไปทํามากลับได้กําไร ทําไปทํามาจวนติดตะราง.
  10. ทำฤทธิ์ : ก. ทําพยศหรืออาละวาดเพื่อให้ได้รับการเอาอกเอาใจ (มักใช้แก่เด็ก), ทําฤทธิ์ทําเดช ก็ว่า.
  11. ทำเสน่ห์ : ก. ทําให้เพศตรงข้ามหลงรักด้วยวิธีการทางไสยศาสตร์.
  12. ทำเสียเจ็บ : (ปาก) ก. ทำให้เดือดร้อนลำเค็ญ, ทำเจ็บ หรือ ทำเอาเจ็บ ก็ว่า.
  13. ทำหน้าทำตา : ก. แสดงกิริยาอาการทางหน้าตา เช่น ทําหน้าทําตา ล้อหลอก.
  14. ทำหูทวนลม : ก. ได้ยินแต่ทําเป็นไม่ได้ยิน.
  15. เลื่อยทำทอง : น. เครื่องมือช่างทอง ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นเส้นลวด แบน ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายคันเลื่อยซึ่งทำด้วยเหล็ก เป็นรูปอย่างนี้ ? คล้ายคันเลื่อยฉลุ แต่สั้นกว่าและทำด้วยเหล็ก แข็งกว่า.
  16. ก่อกรรมทำเข็ญ : ก. ก่อความเดือดร้อนให้ร่ำไป.
  17. พอทำพอกิน : ว. พอกินไปวันหนึ่ง ๆ.
  18. พะทำมะรง : น. ผู้ควบคุมนักโทษ.
  19. พูดจริงทำจริง : ก. ทําได้อย่างที่พูดไว้, รักษาคําพูด.
  20. ไม่พูดพร่ำทำเพลง : (สํา) ว. ไม่รอให้ชักช้า, ทันทีทันใด.
  21. ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Euphorbia cyathophora Murr. ในวงศ์ Euphorbiaceae ใช้ทํายาได้, ลูกเขยตายแม่ยายชักปรก ก็เรียก.
  22. ไล่ที่ทำวัง : (สํา) ก. บังคับให้ย้ายไปให้พ้นเพื่อตนจะเข้าไปอยู่.
  23. หนังสือรับรองการทำประโยชน์ : (กฎ) น. หนังสือคํารับรองจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ออกให้ผู้มีสิทธิในที่ดิน เพื่อแสดง ว่าได้ทําประโยชน์ในที่ดินนั้นแล้ว.
  24. หาทำยายาก : (สำ) ก. หาได้ยากเพราะไม่ค่อยมีทำนองเดียวกับสมุนไพร บางอย่างในที่บางแห่งหาได้ยากมาก.
  25. ลงมือ : ก. เริ่มทํา, ตั้งต้นทํา, เช่น ลงมือกินได้, ทำ เช่น กับข้าววันนี้ ฉันลงมือเอง งานนี้เธอลงมือเองเชียวหรือ.
  26. ย็อกแย็ก, ย็อกแย็ก ๆ, ย็อก ๆ แย็ก ๆ : ว. อาการที่ทำอย่างไม่เอาจริงเอาจัง ไม่เข้าท่าเข้าทาง ไม่ถูกแบบถูกแผน หรือไม่ได้เรื่องได้ราว เป็นต้น เช่น ทำงานย็อกแย็ก เต้นย็อกแย็ก ๆ ทำ ย็อก ๆ แย็ก ๆ.
  27. เรือประตู : น. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำ หน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือ ประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่งกับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อน ถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้าย กระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูในกับ หมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือ ที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก.
  28. ว่า : ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยง ไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธาน เชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.
  29. หวานนอกขมใน : (สำ) ก. พูด ทำ หรือแสดงให้เห็นว่าดีแต่ภายนอก แต่ในใจกลับตรงข้าม.
  30. ก็ ๑ : สัน. แล้ว, จึง, ย่อม, เช่น พอหันหน้ามาก็พบเขา ทำดีก็ได้ดี.
  31. กงเกวียนกำเกวียน : (สํา) ใช้เป็นคําอุปมาหมายความว่า เวร สนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทําแก่เขาอย่างไร ตนหรือ ลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกัน อย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกําเกวียน.
  32. กงเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้าง หนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้ สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, กางเวียน หรือ วงเวียน ก็ว่า.
  33. กฎศีลธรรม : น. กฎว่าด้วยการกระทำที่ถูกต้องและ ไม่ถูกต้องทางศีลธรรม.
  34. กฎหมายปกครอง : (กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน ที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบในทางปกครองของรัฐ และการ ดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครอง กับเอกชน. (อ. administrative law).
  35. กบนา : น. ชื่อกบชนิด Rana tigerina ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว มีลาย สีเข้ม มักอาศัยในรูตามคันนา นิยมนำมาทำเป็นอาหาร.
  36. กรณียกิจ : น. กิจที่พึงทำ, หน้าที่อันพึงทํา.
  37. กรมการนอกทำเนียบ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมือง ในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ หรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็น กรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการพิเศษ ก็ว่า.
  38. กรมการพิเศษ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็น ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการ เมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจาก บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการนอกทำเนียบ ก็ว่า.
  39. กรรตุการก : [กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทําหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสําคัญ ส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง วิ่ง เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของ ประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตํารวจยิงผู้ร้าย ตํารวจ เป็น กรรตุการก. (ป., ส. การก ว่า ผู้ทำ).
  40. กรรตุวาจก : [กัดตุ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรตุการก คือผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ, เช่น กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทํา หน้าที่เป็นกรรตุการกคือเป็นผู้ทําหรือผู้ใช้ให้ทํา เช่น ครูเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ทํา) ครูให้นักเรียนเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ใช้ให้ทํา). (ป., ส. วาจก ว่า ผู้กล่าว).
  41. กรรแทรก : [กันแซก] (เลิก) น. กองทําหน้าที่แทรกในกระบวนพยุหยาตรา เพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแซง คือ กองทำหน้าที่แซงเพื่อ ป้องกันจอมทัพ. (ดู กันแทรก ที่ กัน๓).
  42. กรรม ๑, กรรม- ๑ : [กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมา ยังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้ กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.
  43. กรรมกร : [กำมะกอน] น. คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน. (ส. กฺรม = การงาน + กร = ผู้ทำ; ป. กมฺม + กร).
  44. กรรมกรณ์ : [กำมะกอน] น. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา. ก. ลงโทษ เช่น สามซ้ำควรกรรมกรณ์ นุกิจราชอาชญา. (กฤษณา). (ส. กรฺม + กรณ = การกระทำ; ป. กมฺม + กรณ).
  45. กรวย ๑ : น. ของมีรูปกลม กลวง ยาวเรียวแหลม, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วย แป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลปีบ เป็นต้น หยอดในกรวยใบตองว่า ขนม กรวย, กระทงมีฝาเป็นกรวยครอบ ข้างในใส่หมากหรือเมี่ยงสําหรับ ถวายพระอุปัชฌาย์และคู่สวดในการบวชนาค เรียกว่า กรวยอุปัชฌาย์ และกรวยคู่สวด; (วิทยา) รูปตันมีลักษณะฐานกลมและแหลมเรียว ไปโดยลําดับ เรียกว่า รูปกรวย. (อ. cone).
  46. กระจก : น. แก้วที่ทําเป็นแผ่น; โรคต้อชนิดหนึ่ง เรียกว่า ต้อกระจก. (ป., ส. กาจ = แก้ว, ดินที่ใช้ทำแก้ว).
  47. กระจับปิ้ง : น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทำด้วยเงิน ทอง หรือนากเป็นต้น, จะปิ้ง จับปิ้ง ตะปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก. (ม. จะปิ้ง).
  48. กระจาบ : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Ploceidae มี ๓ ชนิด คือ กระจาบธรรมดา หรือ กระจาบอกเรียบ (Ploceus philippinus) กระจาบอกลาย (P. manyar) ทำรังด้วยหญ้าห้อยอยู่กับกิ่งไม้หรือพืชน้ำ ปากรัง อยู่ด้านล่าง และ กระจาบทอง (P. hypoxanthus) ทํารังด้วยหญ้า โอบหุ้มกิ่งไม้หรือใบพืชน้ำ ปากรังอยู่ด้านล่าง มักอยู่รวมกันเป็นหมู่ กินเมล็ดพืช.
  49. กระจุ๋งกระจิ๋ง : ก. พูดกันเบา ๆ ทําเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, จุ๋งจิ๋ง ก็ว่า. ก. อาการที่พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, จุ๋งจิ๋ง ก็ว่า.
  50. กระแจะ ๓ : น. ชื่อรูปปลอกเหล็กสําหรับจับช้างดุ ทางปลายสัณฐานปากเปิด อย่างคีมคีบเบ้าทองเหลือง มีกําลังหดตัวให้ปลายจดเข้าหากันได้ ที่ริมปากมีงาแซงทําด้วยเหล็กปลายแหลมข้างละอัน ที่โคนปลอกมีที่ สําหรับสวมคันไม้ไผ่ที่ทะลวงให้กลวง ร้อยเชือกซึ่งผูกจาก ปลอกลอดออกมาจากคันไม้ ใช้สําหรับพุ่งเข้าไปเกาะขาช้าง ข้างใดข้างหนึ่งไว้ เมื่อเกาะได้แล้ว โรยปลายไปผูกกับขอนไม้ไว้เพื่อ ช้างจะได้ลาก ช้างกําลังดุก็ลากไป งาแซงก็จะฝังลึกเข้าไปทุกที จนไม่สามารถจะก้าวขาได้ ก็เป็นอันจับได้; (ถิ่น-พายัพ) โซ่หรือ กำไลเหล็กที่ทำเป็นปลอกสวมเท้าหน้าช้างทั้งคู่ให้ชิดกัน เพื่อมิให้ ช้างเดินได้เร็วจนไกลถิ่นเกินควร ใช้เมื่อปล่อยช้างให้หากินในป่า.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-908

(0.0646 sec)