Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทำงาน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทำงาน, 135 found, display 1-50
  1. เพลีย : ก. อ่อนแรง, ถอยกําลัง, มีอาการเมื่อยล้า เช่น เดินจนเพลีย ทำงาน มาก ๆ รู้สึกเพลีย.
  2. ร่วมสังฆกรรม : ก. อาการที่พระสงฆ์ทำสังฆกรรมร่วมกัน, (ปาก) ทำงาน ร่วมกัน เช่น ฉันเข้าร่วมสังฆกรรมกับเขา.
  3. สติไม่ดี : ว. บ้า ๆ บอ ๆ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น หมู่นี้สติไม่ดี ทำงาน ผิดพลาดบ่อย ๆ.
  4. อย่าง : [หฺย่าง] น. วิธี, แบบ, เยี่ยง, เช่น ทำอย่างนี้ เขียนอย่างนั้น, ลักษณนาม บอกจำนวน หมายถึง ชนิด, สิ่ง, เช่น ทำกับข้าวไว้ ๒ อย่าง ทำงาน หลายอย่าง. ว. เหมือน เช่น อย่างใจ อย่างเคย, ใช้ประกอบคําวิเศษณ์ หมายความว่า โดยอาการที่ เช่น อย่างดี อย่างเข้มแข็ง.
  5. อาวุโส : ว. ที่มีอายุแก่กว่าหรือมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่าเป็นต้น เช่น ข้าราชการอาวุโส ครูอาวุโส ศิลปินอาวุโส. น. ความมีอายุมากกว่า หรือมีประสบการณ์ในอาชีพมากกว่าเป็นต้น เช่น เขามีอาวุโสในการ ทำงาน ผู้มีอาวุโสทางการเมือง. (ป. อาวุโส เป็นคํา อาลปนะ คือ คําที่ พระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่าเรียกพระผู้น้อยหรือที่มีพรรษา น้อยกว่า หรือเป็นคำที่พระใช้เรียกคฤหัสถ์, คู่กับ ภันเต ซึ่งเป็นคําที่ พระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่าเรียกพระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษา มากกว่า หรือเป็นคำที่คฤหัสถ์ใช้เรียกพระสงฆ์).
  6. กรรมการ ๑ : [กำมะกาน] น. บุคคลที่ได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้ง เข้าเป็นคณะร่วมกันทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับ มอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา. (ส. กรฺม + การ; ป. กมฺม + การ).
  7. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ : (สำ) ว. ลักษณะของการทำงานที่มีความลังเลใจ ทำให้แก้ไขปัญหาได้ไม่ทันท่วงทีเมื่อได้อย่างหนึ่ง แต่ต้องเสียอีกอย่าง หนึ่งไป ดุจเอาถั่วกับงามาคั่วพร้อมกัน กว่าจะคั่วจนถั่วสุก งาก็จะไหม้หมดไปก่อน.
  8. กัดติด, กัดไม่ปล่อย : ก. ติดตามอย่างไม่ละวาง, ทำงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างจริงจัง เช่น เขาทำงานแบบ กัดไม่ปล่อย.
  9. กำลังม้า : (วิทยา) น. หน่วยวัดกำลังหรืออัตราของการทำงาน โดยกำหนดว่า ๑ กำลังม้า คืออัตราของการทำงานได้ ๕๕๐ ฟุต-ปอนด์ ต่อวินาที ๑ กำลังม้า มีค่าเท่ากับ ๗๔๕.๗ วัตต์, แรงม้า ก็ว่า. (อ. horse power).
  10. เกินตัว : ว. เกินฐานะ เช่น ใช้จ่ายเกินตัว, เกินสภาพปรกติ เช่น รู้เกินตัว ทำงานเกินตัว.
  11. ขอแรง : ก. ขอให้ออกแรงช่วยทำงาน, บอกเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงาน.
  12. แข่งกับเวลา : (สำ) ก. ทำอย่างรวดเร็ว เช่น ทำงานแข่งกับเวลา.
  13. คนใช้ : น. คนที่มีหน้าที่คอยรับใช้, ลูกจ้างที่รับใช้ทำงานบ้าน.
  14. ควบคู่ : ก. เข้าคู่กัน, ทำพร้อมกัน, เช่น เขาเรียนหนังสือควบคู่กับทำงาน.
  15. ค่าจ้าง : (กฎ) น. เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทน ในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปรกติเป็น รายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือ ระยะเวลาอื่น หรือจ่าย ให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปรกติของวันทำงาน และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวัน ลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย; เงินทุก ประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและ เวลาทำงานปรกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างใน วันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่า จะเรียกชื่ออย่างไร.
  16. ค่าล่วงเวลา : (กฎ) น. เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทน การทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน.
  17. คุ้นเคย : ก. รู้จักชอบพอสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น พวกเขาทำงานด้วยกัน มานาน เลยคุ้นเคยกัน, เคยเห็นเคยทําบ่อย ๆ จนชิน เช่น เขาเดินในที่มืด ได้เพราะคุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้.
  18. เครื่องทุ่นแรง : น. เครื่องมือที่ใช้เพื่อถนอมพลังงานในการทำงาน.
  19. เคี่ยวเข็ญ : ก. บีบบังคับ, บีบคั้นให้ได้รับความลําบาก เช่น เคี่ยวเข็ญ เย็นค่ำกรำไปตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖); บังคับ ให้ทำงานให้มากขึ้น เช่น เคี่ยวเข็ญให้ขยันหมั่นเพียรในการเล่าเรียน.
  20. งก ๆ, ง่ก ๆ : ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก เช่น ทำงานง่ก ๆ ทั้งวันจนไม่มีเวลาหยุดพัก.
  21. งุด, งุด ๆ : ว. อาการก้มหน้าลงเพราะกลัวหรืออายเป็นต้น เช่น ก้มหน้างุด, อาการ ที่เดินก้มหัวหรือก้มหน้าไปโดยเร็ว, อาการที่ก้มหน้าก้มตาทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นั่งทำงานงุด ๆ ทั้งวัน.
  22. เงียบ ๆ : ว. ไม่มีเสียงเอะอะ เช่น นั่งทำงานเงียบ ๆ, ไม่เอิกเกริกอื้ออึง เช่น ทำอย่างเงียบ ๆ; นิ่งไม่พูดจา, ไม่ทำเสียงเอะอะโวยวายหรืออื้ออึง, เช่น เขาเป็นคนเงียบ ๆ.
  23. จับกัง : น. กรรมกร, ผู้ใช้แรงงาน, ใช้เรียกผู้รับจ้างทำงานต่าง ๆ. (จ.).
  24. จี้ ๒ : ก. เอานิ้วมือหรือสิ่งของจดหรือแหย่เข้าไป, เอามือแหย่ให้รู้ตัวหรือให้ สะดุ้ง; ติดตามอย่างกระชั้นชิด เช่น วิ่งจี้หลังมา, ติดตามเร่งรัด เช่น จี้ ให้ทำงาน; (ปาก) ใช้อาวุธขู่เข็ญบังคับให้ทําตาม.
  25. เจาะ ๒, เจาะจง : ก. ตั้งใจเฉพาะ, มุ่งไปที่, เช่น นักข่าวเจาะข่าวเรื่องยาเสพติดในโรงเรียน หัวหน้าเจาะจงให้เขาทำงานชิ้นนี้.
  26. ซึมเซา : ว. มีลักษณะเหงาหงอยง่วงซึมไม่กระปรี้กระเปร่า เช่น วันนี้รู้สึกซึมเซาไม่อยากทำงานเลย.
  27. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  28. ถีบตัว : ก. พุ่งตัวหรือดันตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้น ว่าวถีบตัวขึ้นสูง, เลื่อนฐานะขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น เขาทำงานหนักจน ถีบตัวอยู่ในขั้นเศรษฐีได้ในเวลาไม่กี่ปี.
  29. ถึงลูกถึงคน : ว. รุนแรง (ใช้แก่การเล่นกีฬาประเภทลูกบอลเช่นฟุตบอล); ติดตามอย่างจริงจังใกล้ชิด เช่น เขาทำงานอย่างถึงลูกถึงคน.
  30. แถ ๑ : ก. อาการที่นกเป็นต้นเอียงปีกร่อนลง, อาการที่ของแบน ๆ เช่นกระเบื้อง หรือรูป แฉลบหรือร่อนไปเฉียง ๆ, โดยปริยายเรียกอาการที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น วัน ๆ ไม่เห็นทำการทำงานได้แต่แถไปโน่นไปนี่.
  31. นายจ้าง : ( น. ผู้จ้างทําการงาน, คู่กับ ลูกจ้าง; (กฎ) บุคคลซึ่งตกลงว่าจ้าง บุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกจ้าง ให้ทำงานให้และจะให้สินจ้าง ตลอดเวลาที่ทำงานให้นั้น.
  32. นึกไม่ถึง : ก. คาดไม่ถึง, ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เช่นนั้น, เช่น รู้ว่าเขาจะเข้า มาทำงานด้วย แต่ก็นึกไม่ถึงว่าเขาจะมาเป็นสายให้โจร.
  33. ปา : ก. ซัดไปด้วยอาการยกแขนขึ้นสูงแล้วเอี้ยวตัว; (ปาก) คําใช้แทน กิริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คําประกอบที่ทําให้รู้ว่าเกินกว่าที่คาดคิด, มักใช้ว่า ปาขึ้นไป หรือ ปาเข้าไป, เช่น ค่าโดยสารปาขึ้นไปตั้ง ๑๐ บาท กว่าจะทำงานเสร็จก็ปาเข้าไปตั้ง ๒ ทุ่ม.
  34. เป็นพัก ๆ : ว. เป็นระยะ ๆ เช่น ทำงานเป็นพัก ๆ หยุดเป็นพัก ๆ.
  35. เป็นวัน ๆ : ว. ตลอดทั้งวัน, หลาย ๆ วัน, เช่น เดินเป็นวัน ๆ กว่าจะถึง, บางวัน, เฉพาะวัน, แต่ละวัน, เช่น ทำงานเป็นวัน ๆ ได้ค่าจ้างเป็นวัน ๆ.
  36. เปิด : ก. ทําให้สิ่งที่ปิดอยู่เผยออก เช่น เปิดประตู, ทำให้เครื่องยนต์ กลไกทำงาน เช่น เปิดวิทยุ เปิดพัดลม, ตรงข้ามกับ ปิด; ทําพิธี เป็นประเดิมเพื่อดําเนินกิจการงานหรือให้ใช้ได้เป็นต้น เช่น เปิดร้านใหม่ เปิดถนน เปิดสมาคม; (ปาก) หนี เช่น ผู้ร้ายเปิด ไปไกลแล้ว.
  37. พร่อง : [พฺร่อง] ว. ไม่เต็มตามอัตราเพราะลดหรือขาดไป เช่น ตักแกงพร่อง ทำงานไม่พร่อง กินไม่รู้จักพร่อง. ก. ยุบไปหรือลดไปจากเดิม เช่น น้ำในโอ่งพร่องไป ข้าวสารในกระสอบพร่องไป.
  38. พร้อมใจ : ก. ร่วมใจ, มีน้ำใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, เช่น เขา พร้อมใจกันทำงาน.
  39. พร้อมเพรียง : ว. ครบถ้วน, ร่วมใจกัน, เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, เช่น ช่วยกันทำงานอย่างพร้อมเพรียง.
  40. พอดี : ว. กำลังดี, พอเหมาะพอเจาะ, เช่น เสื้อใส่ได้พอดี, พอดิบพอดี ก็ว่า; พอเหมาะกับเวลา เช่น พอสิ้นเดือนเงินก็หมดพอดี เขามาถึง ที่ทำงาน ๘.๓๐ น. พอดี.
  41. พักสมอง : ก. หยุดทำงานที่ทำจำเจหรือหมกมุ่นอยู่ไปทำอย่างอื่น ชั่วคราวเพื่อผ่อนคลายสมอง.
  42. เพลิน, เพลิน ๆ : [เพฺลิน] ก. อาการที่ปล่อยอารมณ์อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ชอบใจจน ลืมนึกถึงสิ่งอื่น เช่น ทำงานเพลิน ฟังดนตรีเพลิน กินเล่นเพลิน ๆ.
  43. เพื่อ : บ. เหตุด้วย, เพราะด้วย, เพราะ, เพราะว่า, ด้วย, เช่น ทำงานเพื่อจะ ได้เงิน, ด้วยว่า, เกี่ยวกับ, เนื่องด้วย, สําหรับ, เช่น สละชีวิตเพื่อ ประเทศชาติ ทำงานเพื่อลูก.
  44. แพ้แรง : ว. เสียกําลัง, หมดแรง เช่น ทำงานหนักจนแพ้แรง; สู้แรง ไม่ได้ เช่นนักมวยฝ่ายน้ำเงินสู้ฝ่ายแดงไม่ได้เพราะแพ้แรง.
  45. ภาษา : น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษา ราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและ แต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษา จาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.
  46. มานะ ๒ : น. ความพยายาม, ความตั้งใจจริง, ความพากเพียร, เช่น มีมานะอดทน มีมานะในการทำงาน; ความถือตัว. (ป.).
  47. มือต้น : (ศิลปะ) น. ผู้ที่ลงมือทำงานเพียงคร่าว ๆ เป็นคนแรก.
  48. มือเป็นระวิง : (สำ) ว. อาการที่ใช้มือทำงานไม่ได้หยุด ในความว่า ทำงานมือเป็นระวิง.
  49. มืออ่อน : ว. นอบน้อม, ไหว้คนง่าย (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ชมผู้น้อย); มีความสามารถน้อย เช่น เขายังมืออ่อนในการทำงาน, ตรงข้ามกับ มือแข็ง.
  50. มุ : ก. ตั้งใจเอาจริงเอาจัง เช่น มุดูหนังสือ มุสู้ มุจะเอาชนะให้ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ มานะ เป็น มุมานะ เช่น เขามุมานะทำงาน.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-135

(0.0218 sec)