Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทำนอง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทำนอง, 66 found, display 1-50
  1. ทำนอง : น. ทาง, แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทํานองคลองธรรม ทํานองเดียวกัน; ระเบียบเสียงสูงตํ่าซึ่งมีจังหวะสั้นยาว เช่น ทํานองสวด ทํานองเทศน์ ทํานองเพลง.
  2. ทำนองเสนาะ : น. วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของ บทร้อยกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน.
  3. กงเกวียนกำเกวียน : (สํา) ใช้เป็นคําอุปมาหมายความว่า เวร สนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทําแก่เขาอย่างไร ตนหรือ ลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกัน อย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกําเกวียน.
  4. กระบอก ๔ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการ รีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎ ต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
  5. กาเรียนทอง : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ดู กระเรียน๒).
  6. เก็บ ๒ : น. เรียกวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีดำเนินทำนองทั่วไป ที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้นมากกว่าทำนอง เนื้อเพลงธรรมดาว่า ทางเก็บ.
  7. ขวัญอ่อน ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  8. ขึ้นพลับพลา : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  9. เขนง : [ขะเหฺนง] น. เขาสัตว์, เขาวัวเขาควายที่ใช้เป่าบอกอาณัติสัญญาณ; ภาชนะใส่ดินปืน เดิมใช้เขาสัตว์; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  10. เข้าม่าน : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  11. ครอบจักรวาล ๔ : [คฺรอบ-] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  12. คลื่นกระทบฝั่ง ๑ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  13. โคมเวียน : น. โคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพ ลำดับเรื่องในพระพุทธศาสนาเช่นมหาเวสสันดรชาดก เมื่อจุดไฟแล้ว ที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตามไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานเทศน์มหาชาติ งานออกเมรุ; ชื่อเพลงโยนกลองในบทปี่พาทย์ทำนองหนึ่ง.
  14. ฆ้องวง : น. ฆ้องที่ใช้ตีดำเนินทำนอง เจาะรูที่ใบฉัตร ๔ รู สําหรับร้อยหนัง ตีเกลียวผูกโยงกับวงที่ทําด้วยต้นหวายโป่ง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๖-๑๙ ลูก ทุกลูกเทียบเสียงตํ่าสูงเรียงกันเป็นลําดับ มีหลายชนิด คือ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมโหรี ฆ้องวงเล็กมโหรี.
  15. จระเข้หางยาว : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  16. จำปาทองเทศ ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  17. จุ๊บแจง ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  18. เจ้าเซ็น : น. อิหม่ามฮูเซ็นผู้เป็นหลานตาของพระมะหะหมัด, คนพวกหนึ่ง ที่ถือศาสนาอิสลาม ซึ่งนับถืออิหม่ามฮูเซ็น; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคม สมเขาสรวล คําสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน.
  19. ฉะหน้าโรง : น. วิธีของเพลงทำนองหนึ่ง.
  20. ฉันทวิลาส : [ฉันทะวิลาด] น. ชื่อเพลงทำนองหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์).
  21. ฉาน ๔ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  22. โฉลก : [ฉะโหฺลก] น. โชค, โอกาส; ลักษณะซึ่งมีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี ถ้าดี เรียกว่า ถูกโฉลกถ้าไม่ดีเรียกว่า ไม่ถูกโฉลก มักกำหนดด้วยการดูลักษณะ วัดขนาด นับ จำนวน เป็นต้นของคน สัตว์ สิ่งของ ว่าเป็นมงคลหรือไม่เป็น มงคล, อีสานเรียก โสก; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, โฉลกแรก ก็ว่า.
  23. ชกมวย : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  24. ช้าปี่ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  25. ซุ้ม ๓ : น. ทำนองเพลงสำเนียงลาว ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบรรเลงต่อท้าย เพลงเดี่ยวลาวแพนโดยเฉพาะเรียกว่า ออกซุ้ม.
  26. ดนตรีกรรม : (กฎ) น. งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง ไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความ รวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียง ประสานแล้ว.
  27. ตระ ๑ : [ตฺระ] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  28. ตลกหัวเราะ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  29. ตวงพระธาตุ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  30. ตะเขิง : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (เงาะป่า).
  31. ตะลุ่มโปง : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  32. ตับ ๒ : น. ไม้สําหรับหนีบปลาหรือไก่เป็นต้นปิ้งไฟ; เรียกของที่ผูก ตั้ง หรือวางเรียง กันเป็นแถว เช่น ตับจาก ตับพลุ ตับลูกปืน; ลักษณนามเรียกของที่เรียงกัน เป็นแถว เช่น ปลาย่างตับหนึ่ง ปลาย่าง ๒ ตับ. ตับเพลง น. เพลงที่นำมารวมขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน ซึ่งเป็นเพลงที่ อยู่ในอัตราเดียวกันชุดหนึ่งบรรเลงประมาณ ๓-๑๐ เพลง เช่น ตับลาวเจริญศรี. ตับเรื่อง น. เพลงที่นำมารวมขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน มีบทร้องที่เป็น เรื่องเดียวกันและดำเนินไปโดยลำดับ แต่อาจเป็นทำนองเพลงคนละอัตรา ก็ได้ เช่น ตับนางลอย ตับนาคบาศ.
  33. ถอนสมอ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง ตัดมาจากตับเพลงฝรั่ง
  34. ถอยหลังเข้าคลอง : (สำ) ก. หวนกลับไปหาแบบเดิม. น. ชื่อกล อักษร; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์; บทแผ่นเสียง).
  35. ทะแยกลองโยน : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ซึ่งใช้ทำนองเพลงทะแย มาบรรเลงอย่างเพลงเรื่อง และต้องตีกลองหน้าทับกลองโยนเลียน วิธีการตีกลองชนะในกระบวนแห่ในการเสด็จพระราชดำเนินโดย กระบวนพยุหยาตราสถลมารค ปี่ชวามักเป่าเพลงทะแยกลองโยน เข้ากับกลองชนะในกระบวนเสด็จ และใช้บรรเลงเป็นเพลงประจำ กัณฑ์นครกัณฑ์ในการเทศน์มหาชาติ, เรียกสั้น ๆ ว่า กลองโยน.
  36. ทางเก็บ : น. การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้น กว่าทำนองเนื้อเพลงธรรมดา, ลูกเก็บ ก็ว่า.
  37. แทรก ๒ : [แซก] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ราชาธิราช).
  38. ประเสบัน, ประเสบันอากง ๑ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ช.)
  39. ผู้ประพันธ์เพลง : น. ผู้แต่งทำนองเพลง, ผู้แต่งเนื้อร้องและทำนอง เพลง, นักแต่งเพลง ก็เรียก.
  40. พญาโศก : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่งในจําพวกเพลงโศก.
  41. พสุธากันแสง : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, ธรณีกันแสง หรือ ธรณีร้องไห้ ก็ว่า.
  42. พากย์ : ก. พูดแทนผู้แสดงหรือตามบทบาทของผู้แสดงโขน หนัง หรือ ภาพยนตร์ เป็นต้น เช่น พากย์โขน พากย์หนังตะลุง พากย์หนัง ใหญ่ พากย์ภาพยนตร์, บรรยายถ่ายทอดในการแข่งขันกีฬาหรือ การแสดงบางอย่าง เช่น พากย์มวย พากย์ฟุตบอล, กล่าวเรื่องราว เป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนเล่นหนัง. น. คําพูด, ภาษา; คํากล่าว เรื่องราวเป็นทํานองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น, บทพากย์ ก็ว่า. (ป., ส. วากฺย).
  43. มโนทุจริต : [มะโนทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางใจ มี ๓ อย่าง ได้แก่ ความโลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความพยาบาท ๑ ความเห็น ผิดจากทำนองคลองธรรม ๑.
  44. มโนสุจริต : [มะโนสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางใจ มี ๓ อย่าง ได้แก่ ความไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความไม่พยาบาท ๑ ความเห็นถูกตามทำนองคลองธรรม ๑.
  45. มิจฉาทิฐิ : น. ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม. (ป.).
  46. รื้อร่าย : น. ชื่อทำนองเพลงร้องอย่างลำนำ.
  47. เรียบเรียง : ก. แต่ง เช่น เรียบเรียงข้อความ เรียบเรียงถ้อยคำ, ตกแต่ง ถ้อยคำให้สละสลวยและเรียงลำดับความให้ชัดเจน เช่น แปลและเรียบ เรียงหนังสือ, จัดเสียงเพิ่มเติมจากทำนองที่มีอยู่แล้วตามหลักวิชาการ ดนตรีเพื่อให้บทเพลงไพเราะขึ้น ในความว่า เรียบเรียงเสียงประสาน.
  48. ละครพันทาง : น. ละครแบบหนึ่ง ดัดแปลงจากละครรำแบบเดิม ตัวละครพูดบทของตนเอง มักแสดงเรื่องแต่งจากพงศาวดารชาติ ต่าง ๆ มีท่ารำ สำเนียงเจรจา และทำนองเพลงตามชาตินั้น ๆ เช่น ละครพันทางเรื่องราชาธิราช เรื่องพระลอ เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนพระไวยแตกทัพ) เรื่องเลือดสุพรรณ.
  49. ลาย ๔ : (ถิ่น–อีสาน) น. ทำนองเพลงที่ใช้ตีโปงลาง.
  50. ลื้อ ๒ : (ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศชาย ใช้พูดกับผู้ที่เสมอกัน หรือผู้น้อยในทำนองเป็นกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (จ. ลื่อ ว่า คำใช้เรียกบุรุษที่ ๒).
  51. [1-50] | 51-66

(0.0178 sec)