Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทิศ , then ทศ, ทิศ, ทิศา, ทิส .

Budhism Thai-Thai Dict : ทิศ, 69 found, display 1-50
  1. ทิศ : ด้าน, ข้าง, ทาง, แถบ; ทิศ ๘ คือ อุดร อีสาน บูรพา อาคเนย์ ทักษิณ หรดี ประจิม บูรพา (หรือ ปัจจิม) พายัพ; ทิศ ๑๐ คือ ทิศ ๘ นั้น และทิศเบื้องบน (อุปริมทิศ) ทิศเบื้องล่าง (เหฏฐิมทิศ)
  2. ทิศ : บุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ดุจทิศที่อยู่รอบตัว จัดเป็น ๖ ทิศ ดังนี้ ๑.ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ๒.ทักขิณาทิส ทิศเบื้องขวา ๓.ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ๔.อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย ๕.เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ๖.อุปริมทิศ ทิศเบื้องบน
  3. ทิศทักษิณ : ทิศใต้, ทิศเบื้องขวา
  4. ทิศบูร : ทิศตะวันออก, ทิศเบื้องหน้า
  5. ทิศบูรพา : ทิศตะวันออก
  6. ทิศปัจจิม : ทิศตะวันตก, ทิศเบื้องหลัง
  7. ทิศพายัพ : ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
  8. ทิศหรดี : ทิศตะวันตกเฉียงใต้
  9. ทิศอาคเนย์ : ทิศตะวันออกเฉียงใต้
  10. ทิศอีสาน : ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
  11. ทิศอุดร : ทิศเหนือ, ทิศเบื้องซ้าย
  12. ปาจีนทิศ : ทิศตะวันออก
  13. ปุรัตถิมทิศ : ทิศเบื้องหน้า หมายถึงมารดาบิดา ดู ทิศหก
  14. อุดรทิศ : ทิศเบื้องซ้าย, ทิศเหนือ ดู อุตตรทิส
  15. ทักขิณทิส : ทิศเบื้องขวา หมายถึง อาจารย์ (ตามความหมายในทิศ ๖) ดู ทิศ
  16. หน : ทิศ เช่น หนบูร (ทิศตะวันออก)
  17. เหฏฐิมทิส : ทิศเบื้องต่ำ หมายถึงบ่าว คือคนรบใช้หรือคนงาน ดู ทิศ
  18. อุตตรทิส : ทิศเบื้องซ้าย หมายถึงมิตร; ดู ทิศ
  19. อุปริมทิส : ทิศเบื้องบน หมายถึงสมณพราหมณ์ ดู ทิศ
  20. สิคาลมาตา : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่งเป็นธิดาเศรษฐีในพระนครราชคฤห์เจริญวัยแล้ว แต่งงาน มีบุตรคนหนึ่งชื่อ สิงคาลกุมาร วันหนึ่งได้ฟังธรรมีกถาของพระศาสดา มีความเลื่อมใส (คัมภีร์อปทานว่า ได้ฟังสิงคาลกสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บุตรของนาง ซึ่งว่าด้วยเรื่องอบายมุข มิตรแท้ มิตรเทียม ทิศ ๖ เป็น และได้บรรลุโสดาปัตติผล) ขอบวชเป็นภิกษุณีต่อมาได้ไปฟังธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดง นางคอยตั้งตาดูพระพุทธสิริสมบัติด้วยศรัทธาอันแรงกล้าพระพุทธองค์ทรงทราบกับอัธยาศัยของนาง นางส่งใจไปตามกระแสพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาธิมุต, สิคาลกมาตา หรือ สิงคาลมาตา ก็เรียก
  21. ปัจฉิมทิส : ทิศเบื้องหลัง หมายถึง บุตร ภรรยา ดู ทิศหก
  22. ทิศานุทิศ : ทิศน้อยทิศใหญ่, ทิศทั่วๆ ไป
  23. บุรพทิศ : ทิศตะวันออก
  24. บูร : ทิศตะวันออก
  25. ทิศาปาโมกข์ : อาจารย์ผู้เป็นประธานในทิศ, อาจารย์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง
  26. โคตมกเจดีย์ : ชื่อเจดียสถานแห่งหนึ่ง อยู่ทางทิศใต้ของเมืองเวสาลี เป็นที่ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับหลายครั้ง และเคยทรงทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์
  27. จาตุมหาราช : ท้าวมหาราช ๔, เทวดาผู้รักษาโลกใน ๔ ทิศ, ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ คือ ๑.ท้าวธตรฐ จอมภูต หรือจอมคนธรรพ์ ครองทิศตะวันออก ๒.ท้าววิรุฬหก จอมกุมภัณฑ์ ครองทิศใต้ ๓.ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค ครองทิศตะวันตก ๔.ท้าวกุเวร หรือ เวสสวัณ จอมยักษ์ ครองทิศเหนือ
  28. จาตุมหาราชิกา : สวรรค์ชั้นที่ ๑ มีมหาราช ๔ องค์ เป็นประธาน ปกครอง ประจำทิศทั้ง ๔ ดู จาตุมหาราช
  29. ชาวปาจีน : คำเรียกภิกษุชาววัชชีบุตร อีกชื่อหนึ่ง หมายถึงอยู่ด้านทิศตะวันออก, ชาวเมืองตะวันออก
  30. ถูณคาม : ตำบลที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบท ด้านทิศตะวันตก เขียน ถูนคาม ก็มี
  31. ทักขิณ : ขวา, ทิศใต้
  32. ทักขิณาบถ : เมืองแถบใต้, ประเทศฝ่ายทิศใต้
  33. ทักษิณ : ขวา, ทิศใต้
  34. เนปาล : ชื่อประเทศอันเคยเป็นที่ตั้งของแคว้นศากยะบางส่วน รวมทั้งลุมพินีอันเป็นที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดียและทางใต้ของประเทศจีน มีเนื้อที่ ๑๔๐,๗๙๗ ตารางกิโลเมตร มีพลเมืองประมาณ ๑๓,๔๒๐,๐๐๐ คน (พ.ศ.๒๕๒๑); หนังสือเก่าเขียน เนปอล
  35. ปาจีน : ทางทิศตะวันออก, ชาวตะวันออก ดู ชาวปาจีน
  36. โปตลิ : นครหลวงของแคว้นอัสสกะ อยู่ลุ่มน้ำโคธาวรี ทิศเหนือแห่งแคว้นอวันตี
  37. มกุฏพันธนเจดีย์ : ที่ถวายพระเพลิง พระพุทธสรีระ อยู่ทิศตะวันออกของนครกุสินารา
  38. มัจฉะ : ชื่อแคว้นหนึ่งใน ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล อยู่ทิศใต้ของแคว้นสุรเสนะ นครหลวงชื่อ วิราฏ (บางแห่งว่าสาคละ แต่ความจริงสาคละเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัททะ)
  39. มัชฌิมชนมบท : ประเทศที่ตั้งอยู่ในท่ามกลาง, ถิ่นกลางเป็นอาณาเขตที่กำหนดว่า มีความเจริญรุ่งเรือง มีประชาชนหนาแน่น มีเศรษฐกิจดี เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่แห่งนักปราชญ์ผู้มีวิชาความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษา เป็นต้น กำหนดเขต ทิศบูรพา ภายในนับแต่มหาศาลนครเข้ามา อาคเนย์ นักแต่แม่น้ำสัลลวดีเข้ามา ทักษิณ นับแต่เสตกัณณิกนิคมเข้ามา ปัจจิม นับแต่ถูกคามเข้ามา อุดร นับแต่ภูเขาอุสีรธชะเข้ามา นอกจากนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท หรือ ปัจจันตประเทศ
  40. มัชฌิมประเทศ : ประเทศที่ตั้งอยู่ในท่ามกลาง, ถิ่นกลางเป็นอาณาเขตที่กำหนดว่า มีความเจริญรุ่งเรือง มีประชาชนหนาแน่น มีเศรษฐกิจดี เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่แห่งนักปราชญ์ผู้มีวิชาความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษา เป็นต้น กำหนดเขต ทิศบูรพา ภายในนับแต่มหาศาลนครเข้ามา อาคเนย์ นักแต่แม่น้ำสัลลวดีเข้ามา ทักษิณ นับแต่เสตกัณณิกนิคมเข้ามา ปัจจิม นับแต่ถูกคามเข้ามา อุดร นับแต่ภูเขาอุสีรธชะเข้ามา นอกจากนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท หรือ ปัจจันตประเทศ
  41. มุจจลินท์ : 1.ต้นจิก, ไม้จิก ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นไม่นี้ ๗ วัน (สัปดาห์ ที่ ๓ ตามพระวินัย, สัปดาห์ที่ ๖ ตามคัมภีร์ชาดก) 2.ชื่อพระยานาคที่เข้ามาเฝ้าพระพุทธเจ้า ขณะที่ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) เสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) ฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาวตลอด ๗ วัน พระยามุจจลินทนาคราชจึงแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าเพื่อป้องกันฝนและลมมิให้ถูกต้องพระกาย นี่เป็นมูลเหตุของการสร้างพระพุทธรูปนาคปรก
  42. เมรุ : 1.ชื่อภูเขาที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล บางทีเรียกพระสุเมรุ ตามคติของศาสนาฮินดู ถือว่าเป็นบริเวณที่มีสวรรค์อยู่โดยรอบ เช่น สวรรค์ของพระอินทร์อยู่ทางทิศเหนือ ไวกูณฐ์แดนสถิตของพระวิษณุหรือพระนารายณ์อยู่ทางทิศใต้ ไกลาสที่สถิตของพระศิวะหรืออิศวรก็อยู่ทางทิศใต้เหนือยอดเขาพระสุเมรุนั้น คือ พรหมโลก เป็นที่สถิตของพระพรหม, ภูเขานี้เรียกชื่อเป็นภาษาบาลีว่า สิเนรุ และตามคติฝ่ายพระพุทธศาสนา ในชั้นอรรถกถา ยอดเขาสิเนรุเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์ เชิงเขาสิเนรุ ซึ่งหยั่งลึกลงไปในมหาสมุทรเป็นอสูรพิภพ สูงขึ้นไปกึ่งทางระหว่างแดนทั้ง๒นั้น เป็นสวรรค์ของท้าวจาตุมหาราช สวรรค์ชั้นอื่นๆ และโลกมนุษย์ เป็นต้น ก็เรียงรายกันอยู่สูงบ้างต่ำบ้าง รอบเขาสิเนรุนี้ (ในวรรณคดีบาลียุดหลัง เช่น จูฬวงส์ พงศาวดารลังกา เรียก เมรุ และสุเมรุ อย่างสันสกฤตก็มี) 2.ที่เผาศพ หลังคาเป็นยอด มีรั้วล้อมรอบ ซึ่งคงได้คติจากภูเขาเมรุนั้น
  43. รัตนฆรเจดีย์ : เจดีย์คือเรือนแก้ว อยูทางทิศตะวันตกของรัตนจงกรมเจดีย์ หรือทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกสิ้น ๗ วัน (สัปดาห์ที่ ๔ แห่งการเสวยวิมุตติสุข) ดู วิมุตติสุข
  44. รัตนจงกรมเจดีย์ : เจดีย์คือที่จงกรมแก้วอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นมหาโพธิ กับอนิมิสเจดีย์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมตลอด ๗ วัน (สัปดาห์ที่ ๓ แห่งการเสวยวิมุตติสุข ดู วิมุตติสุข)
  45. ราชายตนะ : ไม้เกต อยู่ทิศใต้แห่งต้นพระศรีมหาโพธิ ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ๗ วัน พ่อค้า ๒ คน คือ ตปุสสะกับภัลลิกะ ซึ่งมาจากอุกกลชนบท ได้พบพระพุทธเจ้าที่นี่ ดู วิมุตติสุข
  46. ลัฏฐิวัน : สวนตาลหนุ่ม (ลัฏฐิ แปลว่าไม้ตะพดก็ได้ บางท่านจึงแปลว่าป่าไม้รวก) อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับที่นั่น พระเจ้าพิมพิสารไปเฝ้าพร้อมด้วยราชบริพารจำนวนมาก ทรงสดับพระธรรมเทศนา ได้ธรรมจักษุ ประกาศพระองค์เป็นอุบาสกที่นั่น
  47. วังสะ : ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่ในเขตมัชฌิมชนบท ทางทิศใต้ของแคว้นโกศล ทางทิศตะวันตกของแคว้นกาสี และทางทิศเหนือของแคว้นอวันตี นครหลวงชื่อโกสัมพี บัดนี้เรียกว่าโกสัม (Kosam) อยู่บนฝั่งใต้ของแม่น้ำยมุนา ในสมัยพุทธกาล วังสะเป็นแคว้นที่รุ่งเรืองและมีอำนาจมากแคว้นหนึ่ง มีราชาปกครองพระนามว่า พระเจ้าอุเทน
  48. วัชชี : ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่ชมพูทวีป ตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำคันธกะอยู่ทางทิศตะวันออกของแคว้นมัลละ ทางทิศเหนือของแคว้นมคธ นครหลวงชื่อเวสาลี แคว้นวัชชีปกครองด้วยระบอบสามัคคีธรรม พวกกษัตริย์ที่ปกครองเรียกว่า กษัตริย์ลิจฉวี (นอกจากพวกลิจฉวีแล้วยังมีพวกวิเทหะซึ่งปกครองอยู่ที่เมืองมิถิลา แต่ในสมัยพุทธกาลมีอำนาจน้อย) แคว้นวัชชีรุ่งเรืองเข้มแข็งและมีอำนาจมากตอนปลายพุทธกาลได้กลายเป็นคู่แข่งกับแคว้นมคธ แต่หลังพุทธกาลไม่นานก็เสียอำนาจแก่มคธเพราะอุบายทำลายสามัคคี ของวัสสการพราหมณ์
  49. เวสาลี : ชื่อนครหลวงของแคว้นวัชชี ตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกแห่งลำน้ำคันธกะ บางทีเรียก ไพศาลี
  50. สัลลวตี : แม่น้ำที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบท ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้
  51. [1-50] | 51-69

(0.0124 sec)