Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทุจริต .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทุจริต, 28 found, display 1-28
  1. ทุจริต : [ทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. ก. โกง เช่น ทุจริต ในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. ว. ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต. (ป. ทุจฺจริต).
  2. กายทุจริต : [กายะทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ ๑ การลักทรัพย์ ๑ การประพฤติผิดในกาม ๑.
  3. โดยทุจริต : (กฎ) ว. เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับตนเองหรือผู้อื่น.
  4. มโนทุจริต : [มะโนทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางใจ มี ๓ อย่าง ได้แก่ ความโลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความพยาบาท ๑ ความเห็น ผิดจากทำนองคลองธรรม ๑.
  5. วจีทุจริต : [วะจีทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางวาจา มี ๔ อย่างได้แก่ การพูดเท็จ ๑การพูดคำหยาบ ๑ การพูดส่อเสียด ๑ การพูดเพ้อเจ้อ ๑.
  6. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  7. กังฉิน : ว. คดโกง, ไม่ซื่อตรง. (จ. กังฉิน ว่า อำมาตย์ทุจริต, อำมาตย์ทรยศ).
  8. กุญแจผี : น. ลูกกุญแจหรือเส้นลวดเป็นต้นที่ทําขึ้นสําหรับไขกุญแจ มักใช้เพื่อการทุจริต.
  9. กุสุมิตลดาเวลลิตา : [กุสุมิตะละดาเวนลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๖ คณะคือ ม คณะ ต คณะ น คณะ ย คณะ ย คณะ ย คณะ บาทละ ๑๘ คำ หรือ ๑๘ พยางค์ (ตามแบบว่า โม โต โน โย ยา กุสุมิตลตาเวลฺลิตากฺขุตฺวสีหิ) ตัวอย่างว่า มนตรีมาตย์ผู้ฉลาดมละ ทุจริตธรรม์ พึงผดุงสรร- พสิ่งสวัสดิ์. (ชุมนุมตำรากลอน).
  10. คดโกง : ก. ประพฤติทุจริต, ไม่ซื่อตรง.
  11. เงินร้อน : น. เงินที่ได้จากการทุจริตหรือไม่บริสุทธิ์; เงินที่หมุนเวียนเร็ว.
  12. ฉ้อโกง : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานหลอกลวงผู้อื่นโดยทุจริต ด้วยการ แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยการหลอกลวง ดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือ บุคคลที่สาม หรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือ ทําลายเอกสารสิทธิ เรียกว่า ความผิดฐานฉ้อโกง.
  13. พันพัว : ว. เกี่ยวเนื่องกัน, ผูกพันกัน, เกี่ยวโยงพาดพิงถึงกัน, เช่น พันพัวกับคดีทุจริต, พัวพัน ก็ว่า.
  14. พัวพัน : ว. เกี่ยวเนื่องกัน, ผูกพันกัน, เกี่ยวโยงพาดพิงถึงกัน, เช่น พัวพันกับคดีทุจริต, พันพัว ก็ว่า.
  15. ไพ่ไฟ : (ปาก) น. บัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่ลงด้วยวิธีการทุจริต; อาวุธสงครามชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นแผ่นบรรจุสารเคมีซึ่งติดไฟง่าย.
  16. มิจฉากัมมันตะ : น. ''การงานอันผิด'' คือ ประพฤติกายทุจริต. (ป.).
  17. มิจฉาวาจา : น. ''การเจรจาถ้อยคําผิด'' คือ ประพฤติวจีทุจริต. (ป.).
  18. ยัก ๑ : ก. อาการที่คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, ทําให้คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, เช่น ยักคิ้ว ยักไหล่ เดินก้นยักไปยักมา; อาการที่ของ บางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน เช่น สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง; ย้ายข้าง ไปมา เช่น ยักเอว ว่าวปักเป้ายักไปยักมา; แว้งแทงด้วยเงี่ยง เช่น ปลาดุก ยัก; แยกหรือกันเอาไว้เสียเอง เช่น ยักเงิน; ย้ายที่จากที่เขาแทงไว้เดิมไป ลงที่ใหม่ (ใช้ในการแทงถั่วโปเป็นต้น) เช่น ยัก ๒ ไป ๓ ยัก ๓ ไป ๔ ซึ่ง เรียกว่า ยัก ๓ ไปครบ; เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตน ไปโดยทุจริต, ยักยอก ก็ว่า.
  19. ยักยอก : ก. เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตนไปโดย ทุจริต, ใช้เพียง ยัก คําเดียว ก็มี. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานเบียดบัง เอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ที่อยู่ในความ ครอบครองมาเป็นของตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต เรียกว่า ความผิดฐานยักยอก.
  20. ล่อลวง : ก. ใช้อุบายทุจริตให้หลงเชื่อในสิ่งที่เป็นเท็จ เช่น ล่อลวง เด็กไปขาย.
  21. ลักทรัพย์ : (กฎ) ก. ชื่อความผิดอาญาฐานเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือ ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต.
  22. โลภโมโทสัน : ก. อยากได้มาก ๆ เช่น อย่างหนึ่งทุจริตคิดร้ายผัว อีกอย่างมัวโลภโมโทสัน. (ขุนช้างขุนแผน).
  23. สมรู้ : ก. ร่วมคิดกัน, เป็นใจกัน, (มักใช้ในทางที่ไม่ดี) เช่น เขาสมรู้กัน ในทางทุจริต, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ร่วมคิด เป็น สมรู้ร่วมคิด เช่น เขาสมรู้ร่วมคิดกันในการฉ้อราษฎร์บังหลวง.
  24. ส่วนร่วม : น. ส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีส่วนร่วม ในการบำเพ็ญกุศล มีส่วนร่วมในการทุจริต มีส่วนร่วมในการลงทุน บริษัท.
  25. ส่อ : ก. แสดงให้รู้เป็นนัย ๆ (ส่วนมากใช้ไปในทางที่ไม่ดี) เช่น สำเนียง ส่อภาษา กิริยาส่อสกุล ส่อเจตนาทุจริต ส่อพิรุธ; (โบ) ฟ้อง.
  26. สะอาด : ว. ไม่สกปรก เช่น เสื้อผ้าสะอาด บ้านเรือนสะอาด น้ำสะอาด, หมดจด, ผ่องใส, เช่น จิตใจสะอาด, ไม่มีตําหนิ, บริสุทธิ์, ไม่ทุจริต, เช่น เขาเป็น คนใจซื่อมือสะอาด.
  27. หลอกลวง : ก. ใช้อุบายทุจริตลวงให้เข้าใจผิด, (กฎ) แสดงข้อความอันเป็น เท็จหรือปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้ง เพื่อให้บุคคลอื่นเข้าใจผิด.
  28. อกุศลกรรมบถ : [อะกุสนละกํามะบด] น. ทางแห่งความชั่ว, ทาง บาป, มี ๑๐ อย่าง คือ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓. (ส. อกุศล + กรฺมนฺ + ปถ; ป. อกุสลกมฺมปถ).
  29. [1-28]

(0.0206 sec)