Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ท่วงที , then ทวงท, ท่วงที .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ท่วงที, 25 found, display 1-25
  1. ท่วงที : น. ท่าทาง, หน่วยก้าน, ชั้นเชิง.
  2. กระแหน่ : (โบ; กลอน) น. เล่ห์กล, แง่งอน, ท่วงที, เช่น ข้ากระไดกระแหน่ แต่งแง่แผ่ตนท่า. (ลอ).
  3. ชั้นเชิง : น. เล่ห์เหลี่ยม, ท่วงที, อุบาย, เชิงชั้น ก็ว่า.
  4. เชิง ๒ : ก. แง่งอน, กระบวน, เช่น ทําเชิง เอาเชิง; ท่าที, ท่วงที, เช่น คุมเชิง หยั่งเชิง ลองเชิง.
  5. เชิงชั้น : น. เล่ห์เหลี่ยม, ท่วงที, อุบาย, ชั้นเชิง ก็ว่า.
  6. ท่า ๒ : น. ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่ง ๆ ในบางอิริยาบถ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน; การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้นตามกําหนดเป็น วิธีไว้ เช่น ท่ามวย ท่ารํา; ชั้นเชิง, ท่วงที, วิธี, เช่น พลาดท่า ได้ท่า เสียท่า.
  7. ทันท่วงที : ว. ทันต่อเหตุการณ์พอดิบพอดี.
  8. กระลา ๑ : (โบ) น. ท่วงที. (อนันตวิภาค); ที่, กอง, เช่น กระลาบังคลคนผจง. (ดุษฎีสังเวย). (เทียบ ข. กฺรฬา).
  9. เขบ็จขบวน : [ขะเบ็ดขะบวน] น. ท่าทาง, ระเบียบ, ชั้นเชิง, ท่วงที.
  10. หน่วยก้าน : น. ท่วงที, ท่าที, แวว, เช่น เด็กคนนี้หน่วยก้านดี อนาคตคงไป ได้ไกล.
  11. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  12. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ : (สำ) ว. ลักษณะของการทำงานที่มีความลังเลใจ ทำให้แก้ไขปัญหาได้ไม่ทันท่วงทีเมื่อได้อย่างหนึ่ง แต่ต้องเสียอีกอย่าง หนึ่งไป ดุจเอาถั่วกับงามาคั่วพร้อมกัน กว่าจะคั่วจนถั่วสุก งาก็จะไหม้หมดไปก่อน.
  13. เข้าที : ก. มีท่วงทีดี, มีชั้นเชิงดี, มีท่าทีจะสําเร็จ.
  14. คุมเชิง : ก. คอยระวังท่วงทีของอีกฝ่ายหนึ่ง.
  15. จริยวัตร, จริยาวัตร : น. หน้าที่ที่พึงประพฤติปฏิบัติ; ความประพฤติ ท่วงทีวาจา และกิริยามารยาท.
  16. เฉพาะหน้า : ว. ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ และจะต้องรีบแก้ไขให้ทันท่วงที เช่น ปัญหาเฉพาะหน้า เหตุการณ์เฉพาะหน้า.
  17. ทันกิน : ก. คิดหรือทําการใด ๆ ทันท่วงที (โดยปรกติใช้ในประโยค ปฏิเสธ) เช่น ทําการงานช้าไม่ทันกิน มัวงุ่มง่ามอยู่อย่างนี้ไม่ทันกิน.
  18. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา : [ปะติพานะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ คือ ความเข้าใจทำให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ในเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกล่าวโต้ตอบได้ทันท่วงที. (ป.).
  19. แผ่แง่ : ก. แสดงท่าทางท่วงทีเป็นชั้นเชิง.
  20. พระมาลัยมาโปรด : (สํา) น. ผู้ที่มาช่วยเหลือในยามที่กําลังตกทุกข์ ได้ยากได้ทันท่วงที.
  21. พริบไหว : น. ความรู้เท่าในกิจการ, ความรู้ทันท่วงที, โดยมากมักใช้ว่า ไหวพริบ.
  22. ยักท่า : ก. ไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ เป็นการเล่นแง่เพื่อดูท่วงทีของอีก ฝ่ายหนึ่ง.
  23. สอบสัมภาษณ์ : ก. สอบท่วงทีวาจาและไหวพริบพิจารณาดูชั้นเชิงและ ความสามารถของผู้เข้าสอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่.
  24. สัมภาษณ์ : ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือ วิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์ นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจาก อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบ ท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้า สอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คําพูดให้ตรงกัน).
  25. หูผีจมูกมด : (สํา) ว. รู้เรื่องอะไรได้เร็วทันท่วงที.
  26. [1-25]

(0.0610 sec)