Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ท่าทาง , then ทาทาง, ท่าทาง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ท่าทาง, 92 found, display 1-50
  1. ท่าทาง : ว. กิริยาอาการที่ปรากฏให้เห็น เช่น ท่าทางดี ท่าทางไม่ดี, บางทีใช้ว่า ท่า ก็มี.
  2. จำอวด : น. การแสดงโดยใช้ถ้อยคํา ท่าทาง ชวนให้ตลกขบขัน.
  3. มาด ๒ : (ปาก) น. ท่าทาง เช่น มาดเขาดี วางมาด.
  4. แยบ : น. อุบาย, เล่ห์, ท่าทาง.
  5. อิริยา : น. อาการเคลื่อนไหว, กิริยา, ท่าทาง. (ป.; ส. อีรฺยา).
  6. เขบ็จขบวน : [ขะเบ็ดขะบวน] น. ท่าทาง, ระเบียบ, ชั้นเชิง, ท่วงที.
  7. ท่วงที : น. ท่าทาง, หน่วยก้าน, ชั้นเชิง.
  8. ที ๒ : น. ท่าทาง, ชั้นเชิง, โอกาส, เช่น ท่าดีแต่ทีเหลว ได้ทีเสียที.
  9. ลีลา : น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อ พระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาท ขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าว เพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้าย ยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูด ลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะ แก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).
  10. องควิเกษป : [องคะวิกะเสบ] น. ท่าทาง, อาการเคลื่อนไหว. (ส. องฺควิเกฺษป; ป. องฺค + วิกฺเขป).
  11. อิงค์ : น. ท่าทาง, อาการ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น พุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นนามพระพุทธรูป หมายความว่า พระพุทธรูปที่มีท่าทาง สง่างามดุจราชสีห์. (ป., ส. อิงฺค).
  12. กระดกกระดนโด่ : (ปาก) ก. ตั้งอยู่อย่างไม่เรียบร้อย, ท่าทางเก้กังไม่เรียบร้อย.
  13. กระดุ้งกระดิ้ง : ว. อาการที่ทําท่าทางสะบัดสะบิ้งดีดดิ้น (โดยมากใช้แก่ผู้หญิง).
  14. กระตุ้งกระติ้ง : ว. มีกิริยาท่าทางกระชดกระช้อย, ตุ้งติ้ง หรือ ดุ้งดิ้ง ก็ว่า.
  15. กราดเกรี้ยว : ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้น อย่างรุนแรงด้วยความโกรธ, เกรี้ยวกราด ก็ใช้.
  16. กราย ๓ : [กฺราย] ก. เคลื่อนไหวอย่างมีท่าทาง, เดินอย่างมีท่าที, เช่น ห่มเสื้อกรายดาบง่า. (ลอ), ลอยชายกรายแขนเข้าในห้อง. (คาวี); เดินเฉียดเข้าไปใกล้ ๆ, เดินเฉียดใกล้เข้าไปอย่างไม่มีคารวะ, เช่น เดินกรายศีรษะ, ใช้เข้าคู่กับคํา กรีด กรุย และ กล้ำ เป็น กรีดกราย กรุยกราย และ กล้ำกราย.
  17. กรีดกราย : ว. เยื้องกราย, เดินทอดแขน, มีท่าทางหยิบหย่ง, ทำอะไรไม่เต็มกำลัง.
  18. กรุกกรัก : ก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง. (คาวี). ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม. (ม. ร่ายยาว ชูชก). ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า. [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า. [กฺรุงขะเหฺมา] น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman ในวงศ์ Menispermaceae ใบรูปสามเหลี่ยมปลายมน ผลกลม เมื่อสุกสีแดง.
  19. กรุ้งกริ่ง : [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า.
  20. กรุ้มกริ่ม : [กฺรุ้มกฺริ่ม] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้ เช่น เห็นผู้หญิงเดินผ่านมาก็ทำกรุ้มกริ่มขึ้นมาทันที, กรุ้งกริ่ง ก็ว่า.
  21. กรุยกราย : ว. เดินทําทีท่าเจ้าชู้; มีท่าทางหยิบหย่ง, ในบทกลอนใช้ว่า กรายกรุย ก็มี เช่น อย่านุ่งลายกรายกรุยทําฉุยไป. (สุภาษิตสุนทรภู่).
  22. กล้องแกล้ง : [กฺล้องแกฺล้ง] ว. มีรูปร่างเอวเล็กเอวบาง, อ้อนแอ้น; มีท่าทางเป็นเชิงเจ้าชู้.
  23. กะเปิ๊บกะป๊าบ : (ปาก) ว. พูดเสียงดังเอะอะและไม่ระมัดระวังวาจาหรือท่าทาง, มีกิริยาท่าทางหรือแต่งตัวรุงรังไม่เรียบร้อย.
  24. กะเร่อกะร่า : อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเร่อกะร่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเร่อกะร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเร่อกะร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนัน เลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเร่อกะร่า อย่างนั้นเอง, กะเล่อกะล่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
  25. กะเล่อกะล่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเล่อกะล่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเล่อกะล่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเล่อกะล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลย ถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเล่อกะล่า อย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
  26. กะหลีกะหลอ : ก. แสดงกิริยาท่าทางหรือพูดจาประจบประแจงเกินงาม.
  27. กาฬาวก : [-วะกะ] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีดํา, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดํา ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือนสีน้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สีทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคํา ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ป.).
  28. เก้งก้าง : ว. มีลักษณะหรือกิริยาท่าทางดูเกะกะไม่เรียบร้อย.
  29. เกรี้ยวกราด : ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้น อย่างรุนแรงด้วยความโกรธ, กราดเกรี้ยว ก็ใช้.
  30. โก้งเก้ง : ว. มีลักษณะหรือท่าทางสูงโย่งเย่ง.
  31. เข้าเค้า : ก. เหมาะกับรูปร่าง เค้าหน้า หรือ กิริยาท่าทาง, เหมาะกับ เรื่องราวหรือเหตุผล.
  32. เข้าท่า : ก. มีท่าทางดี, น่าดูไม่ขัดตา, เหมาะสม.
  33. คมสัน : ว. มีหน้าตาท่าทางเข้าทีน่าดู.
  34. คึกคัก : ว. แข็งแรง, กระปรี้กระเปร่า, มีชีวิตชีวา, เช่น ดูท่าทางคึกคัก; ลักษณะที่มีผู้คนพลุกพล่านเข้า ๆ ออก ๆ มากกว่าปรกติ เช่น บ้านนี้มีผู้คนคึกคัก.
  35. จี้เส้น : (ปาก) ก. พูดหรือแสดงท่าทางให้เกิดอารมณ์ขัน.
  36. เฉิบ, เฉิบ ๆ : ว. คําร้องบอกจังหวะในการเต้นหรือรํา, มีท่าทางเนิบ ๆ เป็นจังหวะ เช่น รําเฉิบ ๆ เดินเฉิบ ๆ พายเรือเฉิบ ๆ, ใช้ประกอบคําอื่นมีความหมายไป ในทางที่มีอาการประหนึ่งว่าเป็นเช่นนั้น เช่น นั่งสบายใจเฉิบ.
  37. โฉ่งฉ่าง : ว. เสียงอย่างเสียงโลหะกระทบกัน, มีท่าทางเก้งก้างไม่รัดกุม เช่น กิริยา โฉ่งฉ่าง ชกโฉ่งฉ่าง, ส่งเสียงดังอย่างไม่เกรงใจใคร เช่น เขาพูดจาโฉ่งฉ่าง.
  38. ชดช้อย : ว. อ่อนช้อย เช่น กิริยาชดช้อย; มีลักษณะกิริยาท่าทาง งดงาม เช่น คนชดช้อย, ช้อยชด ก็ว่า.
  39. ช้อยชด : ว. อ่อนช้อย, งามกิริยาท่าทาง, ชดช้อย ก็ว่า.
  40. ชิมแปนซี : น. ชื่อลิงไม่มีหางในวงศ์ Pongidae ขนสีดําหรือน้ำตาลดำ บริเวณใกล้ ๆ ก้นมีขนสีขาว หน้าไม่มีขน แขนและขา ยาวเกือบเท่ากัน มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Pan troglodytes และ ชิมแปนซีแคระ (P. paniscus) ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา อยู่รวมกันเป็นฝูง ลักษณะคล้ายคน มีเชาวน์ปัญญาสูง สามารถ นํามาฝึกหัดให้เลียนท่าทางของคนได้. (อ. chimpanzee).
  41. เชิดหุ่น : ก. ยกชูหุ่นขึ้นให้แสดงกิริยาท่าทางไปตามบทบาท.
  42. ดูหมิ่น ๒, ดูหมิ่นถิ่นแคลน : ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลาย ลักษณ์อักษรเป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย หรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, หมิ่น ก็ว่า.
  43. ตลก : [ตะหฺลก] ก. ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทางเป็นต้น; โดย ปริยายหมายความว่า แกล้งทําให้คนอื่นเข้าใจผิด เช่น เล่นตลก. ว. ขบขัน, ที่ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทาง เป็นต้นเช่น หนังตลก, เรียก ผู้ที่ทําให้คนอื่นขบขันว่า ตัวตลก, เรียกเรื่องที่ทําให้ขบขันหรือเข้าใจผิดว่า เรื่องตลก.
  44. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  45. ท่วงท่า : น. การรู้จักวางกิริยาท่าทาง.
  46. ทะมัดทะแมง : ว. คล่องแคล่ว, กระฉับกระเฉง, ไม่เก้งก้าง, เช่น ทํางานทะมัดทะแมง ท่าทางทะมัดทะแมง; รัดกุม เช่น แต่งตัวทะมัดทะแมง, ถะมัดถะแมง ก็ว่า.
  47. ท่าดีทีเหลว : (สํา) ว. มีท่าทางดี แต่ทําอะไรไม่ได้เรื่อง.
  48. นุ่มนวล : ว. อ่อนหวาน, อ่อนโยน, ละมุนละไม, เพราะพริ้ง, เช่น พูดจา นุ่มนวล กิริยาท่าทางนุ่มนวล.
  49. บทบาทมาก : (ปาก) ว. มีท่าทางมาก, ยืดยาดเพราะพิธีรีตองมาก, เช่น กว่าจะออกจากบ้านได้บทบาทมากเหลือเกิน.
  50. ใบ้ : ว. ไม่สามารถจะพูดเป็นถ้อยคําที่คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจได้, โดยปริยาย หมายความว่า นิ่งไม่พูด เช่น นั่งเป็นใบ้. ก. แสดงกิริยาท่าทางแทน ถ้อยคํา เช่น ภาษาใบ้; แนะด้วยอุบาย เช่น บอกใบ้, บอกเลศนัย เช่น ใบ้หวย.
  51. [1-50] | 51-92

(0.0483 sec)