Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ท่าที , then ทาท, ท่าที .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ท่าที, 27 found, display 1-27
  1. ท่าที : น. ความเป็นไปของสถานการณ์หรือบุคคลเป็นต้น, ทีท่า ก็ว่า.
  2. เชิง ๒ : ก. แง่งอน, กระบวน, เช่น ทําเชิง เอาเชิง; ท่าที, ท่วงที, เช่น คุมเชิง หยั่งเชิง ลองเชิง.
  3. หน่วยก้าน : น. ท่วงที, ท่าที, แวว, เช่น เด็กคนนี้หน่วยก้านดี อนาคตคงไป ได้ไกล.
  4. สงวนท่าที, สงวนทีท่า : ก. ไม่แสดงท่าทีให้ปรากฏชัดแจ้งเพื่อไม่ให้ ผู้อื่นรู้ความคิดของตน เช่น เขาสงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความคิดเห็น ในที่ประชุม, ระมัดระวังกิริยาวาจาไม่ให้ใครดูถูก เช่น ก่อนจะทักทาย ใคร ควรสงวนทีท่าไว้บ้าง.
  5. ทีท่า : น. ความเป็นไปของสถานการณ์หรือบุคคลเป็นต้น, ท่าที ก็ว่า.
  6. ไม้ ๑ : น. คํารวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลําต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของ ต้นไม้ที่ใช้ทําสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คําประกอบ หน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทําด้วยไม้หรือเดิมทําด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คํานําหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดํา ไม้แดง, ท่ารําและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็น ตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างในว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้; เรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยที่ย่อตรงมุมของฐาน แท่น เสา หรือเครื่องยอดเป็นมุมเล็ก ๆ มุมละ ๓ มุม รวม ๔ มุมใหญ่ ได้ ๑๒ มุมเล็ก ว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง แม้ย่อมากกว่ามุมละ ๓ ก็ยังเรียกว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง.
  7. ลอง ๒ : ก. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร เช่น ลองชิม ผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร, กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้รู้ว่า เป็นอะไรหรือใช่หรือไม่ เช่น ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือหรือ น้ำตาล; ทดสอบความสามารถหรือคุณภาพว่าพอดีหรือเหมาะสม หรือไม่ เช่น ลองเสื้อ ลองแว่น ลองรองเท้า ลองกำลัง ลองรถ; หยั่ง ท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู.
  8. สวยแต่รูป จูบไม่หอม : (สํา) ว. มีรูปร่างงาม แต่มีความประพฤติ ท่าที วาจา และกิริยามารยาทไม่ดี.
  9. กราย ๓ : [กฺราย] ก. เคลื่อนไหวอย่างมีท่าทาง, เดินอย่างมีท่าที, เช่น ห่มเสื้อกรายดาบง่า. (ลอ), ลอยชายกรายแขนเข้าในห้อง. (คาวี); เดินเฉียดเข้าไปใกล้ ๆ, เดินเฉียดใกล้เข้าไปอย่างไม่มีคารวะ, เช่น เดินกรายศีรษะ, ใช้เข้าคู่กับคํา กรีด กรุย และ กล้ำ เป็น กรีดกราย กรุยกราย และ กล้ำกราย.
  10. กรีดนิ้ว : ก. กรายนิ้ว, ใช้นิ้วมือหยิบอย่างมีท่าทีหยิบหย่ง.
  11. แก่วัด : ว. อยู่วัดนาน, มีท่าทีหรือความคิดเห็นแบบคนที่ได้รับ การอบรมจากวัดหรืออยู่วัดนาน; รู้มาก.
  12. เคอะ : ว. มีท่าทีไม่แนบเนียน.
  13. เจตคติ : [เจตะ-] น. ท่าทีหรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. (อ. attitude).
  14. ชิมลาง : ก. หยั่งดูท่าทีหรือเหตุการณ์ว่าจะดีหรือร้าย.
  15. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  16. ในที : (ว. มีท่าทีจะเป็นเช่นนั้นแต่ไม่แสดงให้ปรากฏ เช่น ยิ้มในที รู้ในที, อยู่ในที ก็ว่า.
  17. มติมหาชน : น. ความคิดเห็นหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่เห็นพ้องต้องกันใน เรื่องใดเรื่องหนึ่ง.
  18. เยื้องกราย : ก. เดินอย่างมีท่างาม เช่น นางแบบเยื้องกรายมาทีละคน ๆ; เดินก้าวเฉียงและกางแขนเพื่อดูท่าทีของคู่ต่อสู้อย่างการเยื้องกรายใน การตีกระบี่กระบอง (ใช้แก่ศิลปะการต่อสู้).
  19. แย็บ : ก. ชกออกไปตรง ๆ และชักหมัดกลับโดยเร็ว; (ปาก) โดยปริยายหมายความ ว่า ลองเชิง, หยั่งดูท่าที. (อ. jab).
  20. รอยร้าว : น. เค้าหรือท่าทีแห่งการแตกแยก.
  21. รู้เชิง : ก. รู้กระบวนท่า, รู้ท่าที, รู้กลเม็ด, เช่น มวยคู่นี้ต่างก็รู้เชิงกัน.
  22. ลองเชิง : ก. หยั่งท่าทีดูว่ามีความสามารถแค่ไหน เช่น นักมวยประ หมัดเบา ๆ ลองเชิงคู่ต่อสู้, คะนอง, ตื่นเต้น, โลดโผน.
  23. สวมหน้ากาก : (สำ) ก. แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัย ใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างสวมหน้ากาก เข้าหากัน, ใส่หน้ากาก ก็ว่า.
  24. ให้หน้า : ก. แสดงท่าทีให้ผู้ที่รู้กันทำตามความประสงค์ด้วยการพยักหน้า ขยิบตา บุ้ยปาก เป็นต้น เช่น ชูชกกล่าวหาพระเวสสันดรว่า ให้หน้าให้ สองกุมารหนีไปเสียทั้งที่ยกให้ตนแล้ว.
  25. ให้หูให้ตา : ก. แสดงท่าทีให้ทราบด้วยสีหน้าและสายตาว่าพอใจใคร่สืบ ความสัมพันธ์ต่อไป (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น กุลสตรีไม่ควรให้หู''ให้ตาใคร ๆ.
  26. เอาเชิง : ก. สงวนท่าทีหรือชั้นเชิงของตนไว้เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เกรงขาม.
  27. เพียงพอ : ก. ได้เท่าที่ต้องการ, ได้เท่าที่กะไว้. ว. เท่าที่กะไว้, เท่าที่ ต้องการ.
  28. [1-27]

(0.0618 sec)