Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ธาตุ , then ธาต, ธาตุ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ธาตุ, 240 found, display 1-50
  1. ธาตุ ๑, ธาตุ- : [ทาด, ทาตุ, ทาดตุ] น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสําคัญที่คุมกันเป็นร่างของ สิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม แต่ก็อาจมีธาตุอื่น ๆ อีก เช่น อากาศธาตุวิญญาณธาตุ ธาตุไม้ ธาตุทอง ธาตุเหล็ก. (ป.).
  2. ธาตุ : [ทาด] น. รากศัพท์ของคําบาลีสันสกฤตเป็นต้น เช่น ธาตุ มาจาก ธา ธาตุ สาวก มาจาก สุ ธาตุ กริยา มาจาก กฺฤ ธาตุ.
  3. ธาตุ : [ทาด, ทาตุ] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ อรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของ พระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูก ของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของ พระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคํานั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่นอีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.
  4. ธาตุ : [ทาด] (วิทยา) น. สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มี โปรตอนจํานวนเดียวกันในนิวเคลียส.
  5. ธาตุโขภ : [ทาตุโขบ] น. ความกําเริบของธาตุ ได้แก่ธาตุทั้ง ๔ ในร่างกาย ไม่ปรกติ มีอาหารเสีย เป็นต้น. (ป.).
  6. ธาตุครรภ : [ทาตุคับ] น. ส่วนสําคัญของพระสถูปหรือพระปรางค์ที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุไว้ภายใน, ครรภธาตุ หรือ เรือนธาตุ ก็ว่า.
  7. ธาตุเจดีย์ : [ทาด] น. เจดีย์บรรจุพระธาตุ.
  8. ธาตุมมิสสา : [ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสําแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุข เสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตํารากลอน).
  9. ธาตุสถูป : [ทาดสะถูบ] น. ธาตุเจดีย์.
  10. ธาตุเบา : [ทาด] ว. ที่กินยาระบายอ่อน ๆ ก็ถ่าย.
  11. ธาตุหนัก : [ทาด] ว. ที่ต้องกินยาถ่ายมาก ๆ จึงจะถ่าย.
  12. ครรภธาตุ : [คับพะ-] น. ส่วนของพระสถูปหรือพระปรางค์ที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุไว้ภายใน, ธาตุครรภ หรือ เรือนธาตุ ก็ว่า. (ส. ครฺภ + ธาตุ).
  13. ครรภธาตุมณฑล : น. ภาวะอันแท้จริงของพระพุทธเจ้าซึ่งอยู่ในสรรพสัตว์ แต่ยังไม่ได้สําแดงให้ปรากฏ. (ส. ครฺภ + ธาตุ + มณฺฑล).
  14. บรรพตธาตุ : (แบบ) น. แร่. (ส. ปรฺวต + ธาตุ).
  15. เกศธาตุ : น. ผม (มักใช้ทางศาสนา) เช่น พระเกศธาตุ หมายถึง พระเกศาของพระพุทธเจ้า.
  16. โกรมธาตุ : (โบ) น. ธาตุใต้ฟ้า คือแผ่นดิน เช่น ปางน้นนไกรโกรมธาตุ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  17. คุมธาตุ : ก. ทําให้ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ในร่างกายเป็นปรกติ สมํ่าเสมอกัน.
  18. จตุกาลธาตุ : [-กาละทาด] น. ธาตุกาล ๔ คือ ว่านนํ้า เจตมูลเพลิง แคแตร พนมสวรรค์.
  19. ตรีผลธาตุ : น. ผลแก้ธาตุ ๓ อย่าง คือ กะทือ ไพล รากตะไคร้.
  20. เบียนธาตุ : ก. ทําให้ความหมายของธาตุผิดไปจากเดิม เช่น คม = ไป – อาคม = มา.
  21. แปรธาตุ : ก. ทําให้ธาตุหนึ่งกลายเป็นอีกธาตุหนึ่ง. น. แปรรูป, แจงรูป.
  22. แยกธาตุ : ก. ทำให้ธาตุที่รวมกันอยู่หรือประกอบกันอยู่แยกออกจากกัน.
  23. เรือนธาตุ : น. ส่วนสําคัญของพระสถูปหรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรม สารีริกธาตุหรือพระธาตุไว้ภายใน, ครรภธาตุ หรือ ธาตุครรภ ก็ว่า.
  24. วาโยธาตุ : น. ธาตุลม เป็นธาตุ ๑ ในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม. (ป.).
  25. อากาศธาตุ : [ทาด] น. ที่ว่าง, ที่ว่างเปล่า; ลม, แก๊ส; โดยปริยาย หมายถึงความว่างเปล่า เช่น ลงทุนทําการค้าไปหลายล้านบาท บัดนี้กลายเป็นอากาศธาตุไปหมดแล้ว.
  26. อาโปธาตุ : น. ของเหลวที่เอิบอาบซาบซึมไปได้ นับเป็นธาตุ ๑ ใน ธาตุทั้ง ๔ คือ ๑. ปฐวีธาตุ = ธาตุดิน ๒. อาโปธาตุ = ธาตุนํ้า ๓. เตโชธาตุ = ธาตุไฟ ๔. วาโยธาตุ = ธาตุลม. (ป., ส.).
  27. ตวงพระธาตุ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  28. เล่นแร่แปรธาตุ : ก. พยายามทําโลหะที่มีค่าตํ่าเช่นตะกั่วให้กลายเป็น ทองคําตามความเชื่อแต่โบราณ, โดยปริยายหมายความว่า สับเปลี่ยน ของที่มีราคาให้เป็นของที่มีราคาต่ำกว่า.
  29. โลกธาตุ : [โลกกะ–] น. แผ่นดิน. (ป., ส.).
  30. วัชรธาตุมณฑล : [ทาตุมนทน, ทาดมนทน] น. สัญลักษณ์ในทาง ปัญญาอันคมกล้าที่สามารถตัดอวิชชาได้.
  31. ศิลปธาตุ : น. สิ่งที่เป็นส่วนประกอบร่วมในการสร้างสรรค์งาน ศิลปะ โดยเฉพาะงานประเภททัศนศิลป์ ได้แก่ เส้น สี ผิว เป็นต้น.
  32. น้ำ : น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วน ๑ : ๘โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มากเช่นใช้ดื่ม ชําระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคํา นํ้าใจ นํ้าพัก นํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และ ที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้าต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสง แวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.
  33. ภฤษฏ์ ๑ : [พฺรึด] ก. ตก, ร่วง, หล่น. [ส. ภฺรษฺฏ (ภฺรํศฺ ธาตุ); ป. ภฏฺ?].
  34. ภฤษฏ์ ๒ : [พฺรึด] ก. ปิ้ง เคี่ยว หรือคั่วแล้ว. [ส. ภฺรษฺฏ (ภฺรชฺชฺ ธาตุ); ป. ภฏฺ?].
  35. รากศัพท์ : น. รากเดิมของคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เรียกว่า ธาตุเช่น กรรมการ มีรากศัพท์มาจาก กรฺ ธาตุ.
  36. อาขยาต : [ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์ บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัยเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).
  37. กรณฑ์ ๑ : [กฺรน] น. ภาชนะมีฝาปิด, ภาชนะใส่น้ำ เช่น หม้อกรณฑ์, กรัณฑ์ หรือ กรัณฑก ก็เรียก; ผอบ เช่น บรรจุพระบรมธาตุ ในสุวรรณกรณฑ์. (เทศนาพระราชประวัติ). (ป., ส. กรณฺฑ, กรณฺฑก ว่า ขวด).
  38. กรด ๑ : [กฺรด] น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือ ทําให้สิ่งอื่นแปรไป; (เคมี) มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกําหนด คือ เป็นสารเคมี ที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลาย น้ำเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือ บางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสี น้ำเงินเป็นสีแดงได้; สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายโปรตอนให้ แก่สารอื่นได้; สารเคมีที่มีสมบัติรับอิเล็กตรอนคู่หนึ่ง มาจากสารอื่นได้. (อ. acid).
  39. กระสบ : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ในตําราแพทย์แผนโบราณว่า มักขึ้นในไส้ ให้เวียนหัว ให้ราก จุก สมุฏฐานเกิดจากธาตุไฟหย่อน.
  40. กระสือ ๒ : น. (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสง ได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่าน ชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตํารากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสง แมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือ หรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือ หรือผีปอบ ทําให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก.
  41. กสิกรรม : น. การทําไร่ไถนา. [กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.). [กะ-] น. เกณฑ์สําหรับลบพุทธศักราชเป็นจุลศักราช ตรงกับเลข ๑๑๘๑. [กะหาปะนะ] (แบบ) น. เงินตรามีพิกัดเท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๑ ตําลึง คือ ๔ บาท. (ป.). [กะเลวะราก] (กลอน) น. ซากศพ, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น กเฬวรากซากศพ, เขียนเป็น กเฬวราก์ ก็มี เช่น เผากเฬวราก์ผู้อนาถ. (มาลัยคําหลวง). น. กลุ่มแห่งต้นไม้ที่เกิดจากเหง้าเดียวกัน เช่น กอหญ้า กอแขม กอไผ่, ต้นไม้ที่ขึ้นเป็นกลุ่ม เช่น กอข้าว, ใช้เข้าคู่กับคํา เหล่า ว่า เหล่ากอ หมายความว่า เชื้อสาย. (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นก่อ. (ดู ก่อ๒). ดู หนอนกอ ที่ หนอน๑. ก. ทําให้เกิดขึ้น มีขึ้น หรือเป็นรูปขึ้น เช่น ก่อไฟ ก่อสงคราม ก่อตึก.
  42. กสิณ : [กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.).
  43. กะรัต : [-หฺรัด] น. หน่วยมาตราชั่งเพชรพลอย ๑ กะรัต เท่ากับ ๒๐ เซนติกรัม หรือ ๓.๐๘๖๕ เกรน, ปริมาณทองคําแท้ที่ประสมอยู่กับธาตุอื่น โดยกําหนดทองคําและโลหะที่ประสมกันนั้นรวมเป็น ๒๔ ส่วน เช่น ทองคํา ๑๔ กะรัต หมายความว่า มีเนื้อทองคํา ๑๔ ส่วน นอกนั้นอีก ๑๐ ส่วนเป็นธาตุอื่นประสม. (อ. carat).
  44. กะรุน : น. แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุอะลูมิเนียมกับออกซิเจน แต่มักมีสิ่งอื่นผสมอยู่ทําให้มีสีต่าง ๆ เช่น ถ้าเป็นสีแดง เรียกว่า ทับทิม ถ้าเป็นสีน้ำเงิน เรียกว่า พลอยสีน้ำเงิน ถ้าเป็นสีเขียว เรียกว่า เขียวส่อง หรือ เขียวมรกต, อินเดีย เรียก คอรุน. (อ. corundum).
  45. กัมมันตภาพรังสี : [กํามันตะ-] น. การเสื่อมสลายโดยตัวเองของนิวเคลียสของอะตอม ที่ไม่เสถียร เป็นผลให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมา ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง ทั้งหมดนี้พุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมี พลังงานความร้อนและพลังงานแสงเกิดตามมาด้วย เช่น การเสื่อมสลายของนิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเป็นธาตุเรดอน. (อ. radioactivity).
  46. กัมมันตรังสี : [กํามันตะ-] ว. ที่สามารถเกิดกัมมันตภาพรังสีได้ (ใช้แก่ธาตุหรือสาร). (อ. radioactive).
  47. ก๊าซ : น. อากาศธาตุ, (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสาร รูปร่างและ ปริมาตรไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ, เรียกไฟซึ่งเกิดจากการ จุดอะเซทิลีน ซึ่งได้จากก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์ทําปฏิกิริยากับน้ำว่า ไฟก๊าซ, แก๊ส ก็ว่า. (อ. gas).
  48. ก๊าซเฉื่อย, แก๊สเฉื่อย : น. ธาตุที่เป็นแก๊ส มีสมบัติไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี ได้แก่ ฮีเลียม นีออน อาร์กอน คริปทอน ซีนอน และเรดอน, ปัจจุบันเรียก ก๊าซมีตระกูล, แก๊สมีตระกูล (noble gases) หรือ ก๊าซหายาก, แก๊สหายาก (rare gases). (อ. inert gases).
  49. กาฝาก : น. ชื่อพืชเบียนหลายชนิดในหลายวงศ์ที่อาศัยเกาะดูดน้ำและแร่ธาตุ หรือสารอาหารที่สังเคราะห์แล้วจากพรรณไม้อื่น ส่วนใหญ่มักใช้เรียก ไม้พุ่มที่อาศัยเกาะเบียนไม้ต้นชนิดต่าง ๆ ในวงศ์ Loranthaceae, Santalaceae และ Viscaceae.
  50. กาลสมุตถาน : [กาละสะหฺมุด-] น. กองโรคที่เกิดขึ้นเพราะ ธาตุไม่เป็นไปตามเวลาปรกติ. (แพทย์).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-240

(0.0546 sec)