Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ธุระ , then ธร, ธุร, ธุระ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ธุระ, 109 found, display 1-50
  1. ธุร-, ธุระ : [ทุระ] น. หน้าที่การงานที่พึงกระทํา, กิจในพระศาสนา มี ๒ อย่าง คือ การเล่าเรียน เรียกว่า คันถธุระ และ การปฏิบัติทางใจ เรียกว่า วิปัสสนาธุระ; (ปาก) เรื่องส่วนตัว เช่น ไม่ใช่ธุระของคุณ. (ป., ส.).
  2. วิปัสสนาธุระ : น. การเรียนวิปัสสนา, คู่กับ คันถธุระ การเรียน คัมภีร์ปริยัติ. (ป. วิปสฺสนา + ธุร).
  3. กงการ : (ปาก) น. กิจการ, หน้าที่, ธุระ, เช่น กงการอะไรของคุณ ไม่ใช่กงการของฉัน.
  4. การ ๑ : น. งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง, ถ้าอยู่หน้ากริยา ทํากริยาให้เป็นนาม เช่น การกิน การเดิน.
  5. การย์ : [กาน] (แบบ) น. หน้าที่, กิจ, ธุระ, งาน. (ส.).
  6. ปลงธุระ : ก. ทอดธุระ, วางธุระ.
  7. เป็นธุระ : ว. ถือเป็นเรื่องที่ตนควรทำให้, เอาเป็นธุระ ก็ว่า.
  8. ไว้ธุระ : ก. รับทำงานเอง เช่น เรื่องนี้ไว้ธุระฉันเถอะ จะจัดการให้เอง, มอบงานให้ผู้อื่นทำ เช่น เรื่องอาหารไว้ธุระคุณนะ.
  9. เอาเป็นธุระ : ว. ถือเป็นเรื่องที่ตนควรทําให้, เป็นธุระ ก็ว่า.
  10. ธร : [ทอน] น. การยึดไว้, การถือไว้, การทรงไว้, การมีไว้; ผู้รักษาไว้, ผู้ทรงไว้, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น วิชาธร วินัยธร. (ป.; ส. ธฺฤ).
  11. เดินธุระให้ : ก. ไปประกอบการงานแทน.
  12. ภารธุระ : [พาระทุระ, พานทุระ] น. การงานที่รับทํา, กิจการที่ขวนขวาย ประกอบ.
  13. มาธุระ, มาธูระ : (แบบ) ว. มธุระ, หวาน, ไพเราะ.
  14. ไม่เอาธุระ : ก. ปล่อยปละละเลย, ไม่เอาใจใส่.
  15. กิจการ : น. การงานที่ประกอบ, ธุระ.
  16. คันถ- : [คันถะ-] น. คัมภีร์. (ป.; ส. คฺรนฺถ). คันถธุระ น. การเรียนคัมภีร์ปริยัติ, คู่กับ วิปัสสนาธุระ การเรียนวิปัสสนา. (ป.; ส. คฺรนฺถ + ธุร).
  17. กิจ, กิจ - : [กิด, กิดจะ-] น. ธุระ, งาน. (ป. กิจฺจ).
  18. คามวาสี : [คามะ-, คามมะ-] น. ผู้อยู่ในหมู่บ้าน, ใช้สําหรับเรียกคณะสงฆ์ ฝ่ายคันถธุระ, คู่กับ อรัญวาสี คณะสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ. (ป., ส.).
  19. เจ้ากี้เจ้าการ : น. ผู้ที่ชอบเข้าไปวุ่นในธุระของคนอื่นซึ่งมิใช่หน้าที่ของตน จนน่ารำคาญ.
  20. เจ้าหน้า, เจ้าหน้าเจ้าตา : น. ผู้ชอบทําเอาหน้า, ผู้ชอบเสนอหน้าเข้าไป ทําธุระให้คนอื่นโดยเขาไม่ได้ขอร้อง.
  21. ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ : (สํา) ว. ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ไม่เอาเป็นธุระ.
  22. ช่าง ๒ : ว. ปล่อย, วางธุระ, เช่น ช่างเถิด ช่างมัน.
  23. ช่างปะไร : (ปาก) ว. ปล่อยไปตามเรื่องตามราว, ไม่เอาธุระ.
  24. เชิงเดิน : น. ค่าป่วยการที่วิ่งเต้นทําธุระให้ เรียกว่า ค่าเชิงเดิน.
  25. ตัดใจ : ก. ห้ามใจไม่ให้คิดในเหตุที่เกิดขึ้น. ตัดช่องน้อยแต่พอตัว (สํา) ก. เอาตัวรอดแต่ผู้เดียว. ตัดช่องย่องเบา (ปาก) ก. ลักลอบเข้าไปในบ้านเรือนของผู้อื่นเพื่อขโมยของ. ตัดเชือก (สํา) ก. ตัดความสัมพันธ์ ไม่ยอมให้ความช่วยเหลืออีกต่อไป. ตัดญาติขาดมิตร (สํา) ก. ตัดขาดจากกัน. ตัดต้นไฟ ก. ตัดสิ่งที่เป็นเหตุไม่ให้ลุกลามต่อเนื่องไป. ตัดตอน ก. แบ่งหรือตัดเอามาบางส่วน. ตัดถนน ก. สร้างถนน. ตัดทอน ก. ทำให้ลดลงหรือทำให้สั้นลง เช่น ตัดทอนอำนาจ. ตัดทาง, ตัดหนทาง ก. ทําให้หมดช่องทาง เช่น ตัดทางทํามาหากิน; ทําให้มีทาง เช่น ตัดทางพอให้ผ่านไปได้. ตัดบท ก. พูดให้ยุติเรื่องกัน; แยกคําออก. ตัดประเด็น ก. ตัดข้อความสําคัญของเรื่องที่หยิบยกขึ้นพิจารณาออกเสียบ้าง. ตัดเป็นตัดตาย (สํา) ก. ตัดขาดจากกันอย่างเด็ดขาด. ตัดพ้อ ก. พูดต่อว่าด้วยความน้อยใจ, พ้อ หรือ ตัดพ้อต่อว่า ก็ใช้. ตัดไพ่ ก. บ่งไพ่ที่สับไพ่ไว้แล้วออกเป็นกอง ๆ. ตัดไฟต้นลม, ตัดไฟแต่ต้นลม, ตัดไฟหัวลม (สํา) ก. ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุก ลามต่อไป. ตัดไม้ข่มนาม ก. ทําพิธีทางไสยศาสตร์ก่อนออกสงคราม โดยหาไม้ที่มีชื่อเหมือนหรือ สําเนียงคล้ายชื่อ ข้าศึกมาตัดให้ขาดเพื่อเอาชัย. น. เรียกพิธีกรรมอย่างนั้นหรือที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่น นั้นว่า พิธีตัดไม้ข่มนาม. ตัดรอน ก. ตัดขาด, ตัดไมตรี. ตัดราคา ก. ลดราคาให้ตํ่ากว่าคู่แข่งขัน. ตัดรำคาญ ก. ทำให้ความรำคาญหมดไป เช่น เขามาเคี่ยวเข็ญให้ซื้อของอยู่นานจนต้อง ซื้อเพื่อตัดรำคาญ, เสียรำคาญ ก็ว่า. ตัดสิน ก. ลงความเห็นชี้ขาด. ตัดสินใจ ก. ตกลงใจ. ตัดเส้น ก. แต่งเส้นริมภาพทําให้ดูเด่นชัดและเรียบร้อยขึ้น. ตัดหน้า ก. ชิงทําเสียก่อน; ผ่านหน้าในระยะกระชั้นชิด เช่น วิ่งตัดหน้ารถ. ตัดหน้าฉาน ก. เดินผ่านหน้าที่ประทับ. ตัดหนามอย่าไว้หน่อ (สํา) ก. ทําลายให้ถึงต้นตอ. ตัดหัวคั่วแห้ง (สำ) ก. ฆ่าให้ตายเพื่อให้หายแค้น. ตัดหางปล่อยวัด (สํา) ก. ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป.
  26. ท่องสื่อ : น. ตําแหน่งล่ามจีนครั้งโบราณ เช่น ขุนพจนาพิจิตร ท่องสื่อใหญ่. (พงศ. ร. ๓). (เทียบ จ. ท่อง ว่า ติดต่อ, สื่อ ว่า ธุระ, การงาน).
  27. ทอด ๓ : ก. ทิ้ง เช่น มันทําชู้แล้วมันทอดหญิงนั้นเสีย. (สามดวง), ปล่อย, วาง, เช่น ทอดธุระ ทอดทุ่น; พาดจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น ทอดสะพาน, เหยียดยาวออกไป เช่น ทอดแขน ทอดขา; ปล่อยลง, ทิ้งลง, เช่น ทอดหมากเก็บ ทอดลูกเต๋า.
  28. ทอดทิ้ง : ก. ละเลย, ทิ้งขว้าง, ไม่เอาเป็นธุระ, ไม่เอาใจใส่, ไม่นําพา.
  29. ทอดหุ่ย : (ปาก) ว. อาการที่ไม่เอาธุระปล่อยให้เป็นไปตามเรื่อง ตามราว, อาการที่ปล่อยอารมณ์ตามสบาย, มักใช้ประกอบคำนอน ว่า นอนทอดหุ่ย.
  30. ทะลึ่ง : ก. ถีบตัวพรวดขึ้นมา เช่น ทะลึ่งขึ้นจากนํ้า, เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผิดหูผิดตา เช่น ต้นไม้ทะลึ่งขึ้น; แสดงกิริยาหรือวาจาอันไม่สมควร ในเรื่องที่มิใช่ธุระของตัวหรือในเวลาที่เขาไม่ต้องการ, แสดงกิริยา หรือวาจาอาจเอื้อม ไม่รู้จักที่ตํ่าสูง.
  31. ท่าว, ทะท่าว : (กลอน) ก. ล้ม, ทบ, ซํ้า, ยอบลง; เดิน; ทอดทิ้ง เช่น ท่าวจักทอดธุระ กะว่าฝันเป็นแน่. (นิทราชาคริต).
  32. นำพา : ก. เอาใจใส่, เอื้อเฟื้อ, ช่วยธุระ, ใช้ในประโยคปฏิเสธว่า ไม่นําพา.
  33. แบมือ : ก. หงายมือเหยียดนิ้วทั้ง ๕ ออก; ไม่เอาธุระ.
  34. ปล่อยเกาะ : ก. เนรเทศให้ไปอยู่เกาะ; โดยปริยายหมายความว่า ไม่เอาเป็นธุระ.
  35. ปล่อยแก่ : ก. ถือว่าแก่แล้วไม่เอาธุระในการแต่งตัว; ทําเป็นหนุ่ม.
  36. ปล่อยตัว : ก. ไม่เอาธุระในการแต่งตัว; ไม่สงวนตัว; ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ก็ว่า; ให้ตัวละครออกแสดงตามวาระ.
  37. ปล่อยเนื้อปล่อยตัว : ก. ไม่เอาธุระในการแต่งตัว; ไม่สงวนตัว; ปล่อยตัว ก็ว่า.
  38. ปล่อยมือ : ก. วางมือ, ไม่เอาเป็นธุระ.
  39. เพื่อน ๑ : น. ผู้ชอบพอรักใคร่กัน, ผู้สนิทสนมคุ้นเคยกัน, เช่น เขามีเพื่อนมาก, ผู้ร่วมสถาบันหรือร่วมอาชีพเป็นต้น เช่น เพื่อนร่วมโรงเรียน เพื่อน ร่วมรุ่น เพื่อนข้าราชการ เพื่อนกรรมกร, ผู้ร่วมธุระ เช่น อยู่เป็น เพื่อนกันก่อน ไปเป็นเพื่อนกันหน่อย, ผู้อยู่ในสภาพเดียวกัน เช่น เพื่อนมนุษย์ เพื่อนร่วมโลก.
  40. ไฟจุกตูด : (ปาก) ว. มีธุระร้อนมาก.
  41. ภาร, ภาร–, ภาระ ๑ : [พาน, พาระ–] น. ของหนัก, นํ้าหนัก; ธุระที่หนัก, การงานที่หนัก; หน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่มีภาระในการเลี้ยงดูลูก ครูมีภาระในการ อบรมสั่งสอนศิษย์, ความรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่ตายหมด พี่ต้องรับภาระ ส่งเสียเลี้ยงดูน้อง. ว. หนัก. (ป.).
  42. มนทาทร : [-ทอน] ว. ไม่เอาใจใส่, ทอดธุระ. (ส.).
  43. มอบฉันทะ : ก. มอบธุระไว้ด้วยความไว้วางใจ, ยินยอมให้ทําแทนโดย มีหลักฐาน.
  44. ไม่แยแส : ก. ไม่เป็นธุระ, ไม่เกี่ยวข้อง. ไม่รู้จักเสือเอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาวาง (สํา) ก. ทําสิ่งที่ไม่รู้ว่าจะมีภัยแก่ตัว.
  45. ยื่นจมูก : (สํา) ก. เข้าไปสอดแทรกในเรื่องที่ไม่ใช่ธุระของตน, เสือก.
  46. ยุ่ง : ว. อาการของสิ่งที่เป็นเส้นเป็นฝอยสับสนพัวพันกันถึงกับต้องสางจึง จะเป็นระเบียบเรียบร้อยได้ เช่น ผมยุ่ง ไหมพันกันยุ่ง, ไม่เรียบร้อย เช่น เขียนหนังสือยุ่งอ่านไม่ออก ข้าวของปนกันยุ่ง, อาการที่ทำให้สับสน เช่น ทำเรื่องยุ่ง, เรียกผู้ที่ชอบทำให้สับสนวุ่นวายว่า ตัวยุ่ง. ก. เข้ามา เกี่ยวข้องพัวพันโดยไม่จำเป็น เช่น อย่าไปยุ่งเรื่องของเขา อย่าไปยุ่งกับ เขา, มีธุระพัวพันมาก เช่น กำลังยุ่งอย่ามากวนใจ, วุ่นวายไม่เป็นปรกติ เช่น ยุ่งกันไปทั้งบ้าน.
  47. แยแส : ก. เอาเป็นธุระ, เกี่ยวข้อง, สนใจ, เอาใจใส่, (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น เขาไม่แยแสว่าใครจะคิดอย่างไร.
  48. รับผิดชอบ : ก. ยอมรับผลทั้งที่ดีและไม่ดีในกิจการที่ตนได้ทำลงไปหรือ ที่อยู่ในความดูแลของตน เช่น สมุห์บัญชีรับผิดชอบเรื่องเกี่ยวกับการเงิน, รับเป็นภารธุระ เช่น งานนี้เขารับผิดชอบเรื่องอาหาร เธอจะไปไหนก็ไป เถอะ ฉันรับผิดชอบทุกอย่างในบ้านเอง.
  49. ราชกิจ : น. ธุระของพระราชา ใช้ว่า พระราชกิจ.
  50. โรงรับจำนำ : น. สถานที่รับจำนำสิ่งของ, ถ้าเป็นของเทศบาลหรือ กรุงเทพมหานคร เรียกว่า สถานธนานุบาล, ถ้าเป็นของกรมประชา สงเคราะห์ เรียกว่า สถานธนานุเคราะห์; (กฎ) สถานที่รับจํานําซึ่ง ประกอบการรับจํานําสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปรกติธุระ แต่ละรายมีจํานวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และหมายความรวม ตลอดถึงการรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้สําหรับสิ่งของนั้นเป็น ปรกติธุระ แต่ละรายมีจํานวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีข้อตกลง หรือเข้าใจกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-109

(0.0676 sec)