Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: นักเลง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : นักเลง, 25 found, display 1-25
  1. นักเลง : น. ผู้ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ๆ เช่น นักเลงหนังสือ นักเลงการพนัน; ผู้เกะกะระราน เช่น เป็นนักเลง, นักเลงโต ก็ว่า. ว. มีใจกว้าง กล้าได้ กล้าเสีย เช่น ใจนักเลง.
  2. นักเลงโต : น. ผู้เกะกะระราน เช่น น้องชายเขาเป็นนักเลงโต ทำให้เพื่อนบ้าน เดือดร้อนเสมอ ๆ, นักเลง ก็ว่า.
  3. ใจนักเลง : น. มีใจกล้าสู้; มีใจกว้างขวางกล้าได้กล้าเสีย.
  4. สมบัตินักเลง : น. ทรัพย์สมบัติที่ได้มาด้วยการเสี่ยงโชค.
  5. ธุต, ธุตตะ : [ทุด, ทุด] (แบบ) น. นักเลง. (ป. ธุตฺต).
  6. กรอ ๒ : ก. แสดงกิริยาเลียบเคียงกันในเชิงชู้สาว มักเป็นอาการที่ ผู้ชายหนุ่ม ๆ แต่งตัวแล้วชวนเพื่อนกันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เช่น นักเลงหนุ่มหนุ่มนั้น เที่ยวกรอ. (พิธีทวาทศมาส), บางที ก็ใช้ว่า กรอผู้หญิง. ว. อาการที่ติดพันกันในเชิงชู้สาว เช่น หนุ่มคนนี้มีผู้หญิงติดกรอทีเดียว.
  7. กล้าได้กล้าเสีย : ว. ใจป้ำ, ใจเป็นนักเลง, ไม่กลัวขาดทุน.
  8. ขา ๒ : น. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ) สลึง, ใช้เฉพาะ ราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปด สองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา
  9. ขาใหญ่ : (ปาก) น. นักเลงผู้มีอิทธิพล, นักโทษหรือผู้กักขังที่มีอิทธิพล.
  10. จ๊อก : ว. เสียงร้องของไก่เมื่อเวลาเจ็บหรือใกล้จะตาย, เสียงร้องของไก่ชนตัวที่แพ้, โดยปริยายหมายความว่า ยอมแพ้, ใช้ตามสํานวนนักเลงไก่ เพราะไก่ตัวใด ร้องจ๊อก ก็แสดงว่าไก่ตัวนั้นแพ้; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ๆ ก็ว่า.
  11. เจ้าถิ่น : น. เจ้าของถิ่น, ผู้ชำนาญในเรื่องของท้องถิ่นนั้น ๆ, (ปาก) นักเลงโต.
  12. ดิ้ว : น. หวายหรือไม้วงกลมสําหรับเสียบซี่กรงนก; ชื่อไม้อันเล็กประมาณเท่า นิ้วมือ สําหรับเอาหวายผูกตรึงเข้ากับเซ็นฝาไม้ไผ่; ไม้ถือมีลักษณะแบน หนา ยาวราวศอกหนึ่ง ที่พวกนักเลงถือ.
  13. แบะอก : ก. เปิดอกเสื้อแสดงท่าว่าเป็นนักเลงหรือไม่สุภาพ. ว. เรียกลักษณะการใส่เสื้อไม่กลัดกระดุมว่า ใส่เสื้อแบะอก.
  14. ผู้กว้างขวาง : (ปาก) น. นักเลงใหญ่, ผู้มีอิทธิพล.
  15. ราญ, ราญรอน : ก. รบ เช่น นักเลงเขาไม่หาญราญนักเลง.
  16. ลองดี : ก. หาทางพิสูจน์ว่าจะดีจริงหรือไม่ (โดยมากเป็นไปในเชิง ดูหมิ่นหรือท้าทาย) เช่น พูดจาท้าทายลองดีนักเลงใหญ่ ล้วงคองูเห่า ด้วยการลองดีกับตำรวจ.
  17. ลูกพี่ : (ปาก) น. คําที่ลูกน้องหรือลูกสมุนเรียกเพื่อยกย่องผู้ที่เป็น หัวหน้านักเลงเป็นต้น.
  18. ลูบคม : ก. ทำให้เกียรติหรือศักดิ์ศรีด้อยลงไป เช่น นักเลงถูกลูบคม.
  19. วางก้าม : ก. ทําท่าใหญ่โต, ทําท่าเป็นนักเลงโต, วางโต ก็ว่า.
  20. วางโต : ก. ทําท่าใหญ่โต, ทําท่าเป็นนักเลงโต, วางก้าม ก็ว่า.
  21. ไว้เหลี่ยมไว้คู : ก. แสดงชั้นเชิงอย่างคมคาย เช่น จะเป็นนักเลง ต้องไว้เหลี่ยมไว้คูบ้าง.
  22. ส่งส่วย : ก. ส่งเงินเป็นต้นให้เป็นประจำตามที่ตกลงกัน (มักใช้ในทางไม่ สุจริต) เช่น ผู้ลักลอบเล่นการพนันต้องส่งส่วยให้พวกนักเลงเจ้าถิ่น.
  23. หมายหัว : ก. จดจำไว้ด้วยความประสงค์ร้าย เช่น เขาถูกพวกนักเลงหมายหัว ไว้ว่าจะต้องหาทางกำจัดให้ได้, คาดหมายไว้ว่าจะเป็นไปในทางไม่ดี เช่น เด็กคนนี้ถูกหมายหัวไว้ว่าจะต้องสอบตกแน่ ๆ.
  24. หัวไม้ : น. นักเลงที่ชอบตีรันฟันแทง, มักเรียกว่า นักเลงหัวไม้.
  25. อบายมุข : [อะบายยะมุก] น. ทางแห่งความฉิบหาย, เหตุแห่งความ ฉิบหาย, มี ๒ หมวด คือ อบายมุข ๔ ได้แก่ ๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา ๓. เป็นนักเลงเล่นการพนัน ๔. คบคนชั่วเป็นมิตร กับ อบายมุข ๖ ได้แก่ ๑. ดื่มนํ้าเมา ๒. เที่ยวกลางคืน ๓. เที่ยวดูการเล่น ๔. เล่นการพนัน ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร ๖. เกียจคร้านทําการงาน. (ป.).
  26. [1-25]

(0.0123 sec)