Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: นั่งร้าน, ร้าน, นั่ง , then นง, นงราน, นั่ง, นั่งร้าน, ราน, ร้าน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : นั่งร้าน, 395 found, display 1-50
  1. นั่งร้าน : น. โครงร่างที่ทําด้วยไม้หรือโลหะ สําหรับนั่งหรือปีนป่ายใน การก่อสร้างสิ่งสูง ๆ เช่นพระเจดีย์หรือตึก, ร่างร้าน ก็เรียก.
  2. ร้าน : น. ที่ที่ปลูกยกพื้นขึ้นสําหรับนั่งหรือขายของเป็นต้น, สถานที่ขายของ, เรียกสิ่งที่ปักเสามีไม้พาดข้างบนให้ต้นไม้เลื้อยว่า ร้าน เช่น ร้านบวบ ร้านองุ่น.
  3. นั่ง : ก. อาการที่หย่อนก้นให้ติดกับพื้นหรือที่รองเช่นเก้าอี้.
  4. ร่างร้าน : น. โครงร่างที่ทําด้วยไม้หรือโลหะ สําหรับนั่งหรือปีนป่าย ในการก่อสร้างสิ่งสูง ๆ เช่นพระเจดีย์หรือตึก, นั่งร้าน ก็ว่า.
  5. ร้านรวง : น. ร้านขายของที่ตั้งอยู่ติด ๆ กันหรือใกล้ ๆ กันหลาย ๆ ร้าน.
  6. นั่งขัดตะหมาด : (ปาก) ก. นั่งขัดสมาธิ.
  7. นั่งขัดสมาธิ : [สะหฺมาด] ก. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอา ขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, (ปาก) นั่งขัดตะหมาด.
  8. นั่งคุกเข่า : ก. นั่งโดยวิธีย่อเข่าลงให้ติดพื้น แล้วหย่อนก้นลงบนส้นเท้า.
  9. นั่งทาง : ก. ดักคอยทําร้ายกลางทาง, นั่งคอยระวังเหตุ.
  10. นั่งทางใน : ก. นั่งเข้าสมาธิเพื่อหยั่งรู้ด้วยพลังจิต.
  11. นั่งเทียน : น. เรียกวิธีทํานายอย่างหนึ่งโดยจุดเทียนติดไว้ที่ขอบปากบาตร เป็นต้นแล้วนั่งเพ่งดูนํ้าในบาตร แล้วทํานายไปตามลักษณะของรูปที่ ปรากฏในนํ้านั้น.
  12. นั่งปรก : [ปฺรก] ก. นั่งทําใจให้เป็นสมาธิกํากับพระสงฆ์ด้วยกันอีก ๔ รูปซึ่งสวดในพิธีที่มีสวดภาณวาร, นั่งเข้าสมาธิส่งกระแสจิตเข้าไปยัง วัตถุมงคลในพิธีต่าง ๆ.
  13. นั่งโป่ง : ก. นั่งบนห้างที่ผูกขึ้นบนต้นไม้คอยยิงสัตว์ที่มากินดินโป่ง.
  14. นั่งพับเพียบ : ก. นั่งพับขาทั้ง ๒ ข้าง ให้ปลายเท้าไปทางเดียวกัน.
  15. นั่งยอง ๆ : ก. นั่งโดยวิธีชันเข่าทั้ง ๒ ข้าง ไม่ให้ก้นถึงพื้น.
  16. นั่งราว : ว. เรียกอาการที่ตัวโขนแสดงบทของตนแล้วไปนั่งประจําที่ บนราวที่พาดไปตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉากแทนนั่งเตียงว่า โขนนั่งราว หรือ โขนโรงนอก.
  17. นั่งเล่น : ก. นั่งพักผ่อน.
  18. นั่งห้าง : ก. นั่งบนห้างที่ผูกขึ้นบนต้นไม้คอยยิงสัตว์.
  19. ร้านชำ : น. ร้านขายของแห้งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องอาหารเป็นต้น.
  20. ร้านม้า : น. ร้านไม้ยกพื้น มี ๖ เสา สําหรับวางหีบศพเพื่อจะเผา. (รูปภาพ ร้านม้า)
  21. นั่งกินนอนกิน : ว. มีความสุขสบายมากโดยไม่ต้องทํามาหากินอะไร.
  22. นั่งซัง : ก. เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทําอันตรายได้แล้ว, ขึ้นซัง ก็ว่า.
  23. นั่งแท่น : ก. ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจวาสนา.
  24. นั่งในหัวใจ : (สํา) ก. รู้ใจ, ทําถูกต้องตรงตามที่ผู้อื่นคิดไว้.
  25. นั่งเมือง : ก.
  26. โขลนทวาร : [โขฺลนทะวาน] น. ประตูป่า, ประตูป่าที่ทําตามตําราพราหมณ์ คือทําเป็น ประตูสะด้วยใบไม้ให้ทหารผู้ไปทัพนั้นลอดไป มีพราหมณ์คู่หนึ่งนั่งบน ร้านสูง ๒ ข้างประตูคอยประนํ้าเทพมนตร์ เพื่อเป็นชัยมงคลแก่กองทัพ ที่ยกไป. (ข. โขฺลงทฺวาร ว่า ประตูใหญ่ที่มีเสาปัก ๒ ข้าง และมีไม้ขวางข้างบน).
  27. ชะเนาะ : น. ไม้สั้น ๆ สำหรับขันบิดเชือกที่ผูกให้แน่นเช่นในการ ทํานั่งร้าน, ลูกชะเนาะ ก็เรียก.
  28. ลูกชะเนาะ : น. ไม้สั้น ๆ สำหรับขัดบิดเชือกที่ผูกให้แน่นเช่นในการ ทำนั่งร้าน, ชะเนาะ ก็เรียก. ลูกชักครอก
  29. ตกที่นั่ง : ก. ตกอยู่ในฐานะ, ตกอยู่ในภาวะ, เช่น ตกที่นั่งลําบาก ตกที่นั่งเสียเงิน.
  30. ทรุดนั่ง : ก. ลดตัวลงนั่ง.
  31. ที่นั่ง : (ราชา) น. อาคารที่ประทับซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหา สมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาสพิมาน (บางปะอิน), ที่ ประทับสําหรับประทับบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระที่นั่งภัทรบิฐ, ยานที่ ประทับในการเสด็จพระราชดําเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน, ยานหรือพาหนะที่ พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีทรงหรือประทับ เช่น รถพระที่นั่ง ม้าพระที่นั่ง; ก้น, ที่นั่งทับ, ใช้ว่า พระที่นั่ง.
  32. สะบัดลุกสะบัดนั่ง : ก. ผุดลุกผุดนั่ง, มีอาการคล้ายกระวนกระวายใจ เพราะเดี๋ยวลุกเดี๋ยวนั่ง.
  33. หน้าฉาน, หน้าที่นั่ง : น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี เช่น อย่าเดินตัดหน้าฉาน แสดงหน้าที่นั่ง.
  34. หน้าที่นั่ง, หน้าฉาน : น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี เช่น แสดงหน้าที่นั่ง อย่าเดินตัดหน้าฉาน.
  35. ออกร้าน : ก. เปิดร้านขายของหรือร้านอาหารเป็นการชั่วคราวใน โอกาสใดโอกาสหนึ่ง เช่น ออกร้านในงานกาชาด ออกร้านอาหาร ในงานวันเกิด.
  36. ราน : ก. ตัดหรือฟันกิ่งไม้ออก ในคําว่า รานกิ่ง. ว. มีรอยปริตื้น ๆ ทั่วไปบน พื้นผิวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หม้อราน ผนังราน กระเบื้องราน, แตกลายงา ก็ว่า.
  37. เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน : (สํา) ก. เก็บเล็กผสมน้อย, ทําอะไรที่ประกอบด้วย ส่วนเล็กส่วนน้อย โน่นบ้างนี่บ้าง จนสําเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา.
  38. ขึ้นร้าน : น. วิธีนับคะแนนในการเล่นหมากเก็บ โดยเอาตัวหมากทั้งหมด วางบนหลังมือกระดกมือให้หมากลอยขึ้นแล้วหงายมือรับอย่างรวดเร็ว.
  39. นง : น. นาง (ใช้นําหน้าคําอื่น).
  40. ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง : (สํา) ก. พยายามทําให้มีเรื่องมีราวขึ้นมา.
  41. ลิงนั่งแป้น : (สำ) น. ผู้ที่เขายกให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ แต่ไม่มีอำนาจ อะไรจริงจัง ต้องทำตามที่เขาสั่ง.
  42. ประทับ : ก. (ราชา) อยู่ที่, อยู่กับที่, เช่น ประทับที่พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน, (ราชา) นั่ง เช่น ประทับบนพระราชอาสน์; แนบอยู่, แนบชิด, แนบลง, เช่น กอดประทับอก เอาปืนประทับบ่า.
  43. ภาวนา : [พาวะ–] น. การทําให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทางจิตใจ. ก. สำรวมใจให้แน่วแน่ เป็นสมาธิ เช่น สวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจตั้งความปรารถนา เช่น นั่ง ภาวนาขอให้พระช่วย. (ป.).
  44. อกรรมกริยา : [อะกํากฺริยา, อะกํากะริยา] (ไว) น. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน. (ส.).
  45. อิริยาบถ : น. อาการที่ร่างกายอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง คือ ยืน เดิน นั่ง นอน. (ป.).
  46. อาคาร : [คาน] น. เรือน, โรง, สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น; (กฎ) ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สํานักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึงสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎหมายกําหนด เช่น อัฒจันทร์ เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ป้าย อู่เรือ. (ป., ส. อาคาร, อคาร).
  47. กำราล : [-ราน] (แบบ) น. เครื่องลาด เช่น นั่งในกําราลไพโรจน์ ในนิโครธารามรังเรจน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. กํราล).
  48. นิ่ง, นิ่ง ๆ : ก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.
  49. ก้นหนัก : ว. ไปนั่งคุยอยู่นาน ไม่ยอมกลับง่าย ๆ.
  50. ก้นอ้อย : น. เนื้อก้น ๒ ข้างตรงที่นั่งทับ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-395

(0.1466 sec)