Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: นูน , then นน, นุน, นูน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : นูน, 122 found, display 1-50
  1. นูน : ว. สูงขึ้นจากระดับพื้นเดิม ในลักษณะอย่างหนังสือตัวนูน ลวดลายนูน, มีเส้นรูปนอกหรือพื้นราบโค้งออกไป.
  2. กระจกตา : น. ส่วนใสของตา มีรูปกลมแบน สีใส พื้นหน้านูนออก พื้นหลังหวำ หนาประมาณ ๑ มิลลิเมตรประกอบอยู่เบื้องหน้า ของดวงตา.
  3. กระเปาะ : น. รูปนูนกลม, เรียกสิ่งที่มีสัณฐานคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า กระเปาะ เช่น กระเปาะไข่ กระเปาะดอกไม้; ฐานที่ฝังเพชรพลอยเป็น หัวแหวนหรือตุ้มหู; เก็จ (ดู เก็จ๒), (วิทยา) ส่วนของหลอดแก้ว ที่พองออก จะกลมหรือรีก็ตาม.
  4. กระพอง ๑ : น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, ตระพอง ตะพอง หรือ กะพอง ก็ว่า.
  5. กะพอง : น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, กระพอง ตระพอง หรือ ตะพอง ก็ว่า.
  6. กาฬโรค : [กานละ-, กาละ-] น. ชื่อโรคระบาดอย่างร้ายแรงชนิดหนึ่ง มักมีอาการบวมนูนที่รักแร้เป็นต้น.
  7. แก้ว ๔ : น. ชื่อปลาทะเลพวกปลาจวดชนิด Otolithoides biauritus ในวงศ์ Sciaenidae ลําตัวยาวเรียว ปากเล็ก ทู่ ฟันเล็ก ครีบหางแหลม ก้านครีบก้นมีขนาดเล็ก เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวขยายใหญ่และ นูนเป็นสัน ลําตัวสีเทา ใกล้สันท้องมีสีเงินคล้ายปลาจวดชนิดอื่น ยาวได้ถึง ๑ เมตร, จวดลาก ก็เรียก.
  8. แก้วตา : น. ส่วนสําคัญของตาที่ทําให้แลเห็น, ส่วนใสของดวงตา มีรูปกลมนูนทั้ง ๒ ข้าง ลักษณะใส แต่พื้นหลังนูนออกมากกว่าพื้นหน้า ตั้งอยู่ภายในดวงตา (ข้างหลังกระจกตา กั้นอยู่ระหว่าง posterior chamber กับ vitreous body ของดวงตา); โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่รักยิ่ง.
  9. โกฐพุงปลา : น. ชื่อเรียกสิ่งที่นูนปูดขึ้นมาตามกิ่งและใบของไม้ต้น หลายชนิดในสกุล Terminalia วงศ์ Combretaceae เช่น สมอไทย (T. chebula Retz.), อีสานเรียก ปูดกกส้มมอ.
  10. ขว้างจักร : [-จัก] น. กรีฑาประเภทลานอย่างหนึ่ง ผู้แข่งขันจะต้องยืนอยู่ ในวงเขตที่กําหนด แล้วขว้างจานไม้กลมตรงกลางนูนทั้ง ๒ ข้างออกไป ให้ไกลที่สุด.
  11. ข้างจัน : น. วิธีเหลาไม้ให้เป็นผิวนูนมีลักษณะอย่างข้างของลูกจัน.
  12. เขา ๑ : น. เนินที่นูนสูงขึ้นไปเป็นจอมเด่น.
  13. คลื่น : [คฺลื่น] น. นํ้าในทะเลหรือแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น ซึ่งบางส่วนมีอาการ เคลื่อนไหวนูนสูงกว่าระดับโดยปรกติแล้วลดลงและแลเห็นเคลื่อนไป เป็นระยะยาวหรือสั้นบนผิวนํ้า, โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลื่นเสียง คลื่นมนุษย์ ผมดัดเป็นคลื่น ถนนเป็นคลื่น.
  14. โคก ๑ : น. ที่ดินที่นูนสูงขึ้นคล้ายเนิน แต่เตี้ยกว่า. ว. ที่นูนสูงขึ้น. (ข. โคก ว่า ที่ไม่มีนํ้า, แห้ง).
  15. จระเข้ : [จอระ-] น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัยบริเวณ ป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของ รูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii), ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้ เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้า มีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้.
  16. จอมเปาะ : ว. กลมนูนอย่างปุ่มฆ้อง.
  17. จั่น ๓ : น. ชื่อเบี้ยชนิด Cypraea moneta ในวงศ์ Cypraeidae หลังนูน ท้องเป็นร่อง ๆ เปลือกแข็งเรียกว่า เบี้ยจั่น ในสมัยโบราณใช้ต่างเงิน, เบี้ยจักจั่น ก็เรียก.
  18. เจ้าฟ้า ๑ : น. ชื่อกั้งขนาดกลางชนิด Acanthosquilla sirindhorn ในวงศ์ Nannosquillidae ลำตัวค่อนข้างแบนสีเหลืองนวล มีแถบสีดำ พาดขวางทุกปล้องตลอดความยาวลำตัวและแพนหาง ด้านบนของ หางนูนเป็น ๓ ลอน แต่ละลอนมีหนาม ๔-๖ อัน ขุดรูอยู่ตาม หาดทรายปนโคลน.
  19. ฉาบ ๑ : น. เครื่องตีประกอบจังหวะชนิดหนึ่ง ทําด้วยโลหะรูปร่างเป็นแผ่นกลม คล้ายจานแต่มีปุ่มนูนขึ้นตรงกลาง เจาะรูตรงกลางปุ่มไว้ร้อยเชือกหรือ เส้นหนังสําหรับถือตี.
  20. เฉลียบ ๒ : [ฉะเหฺลียบ] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Isognomon isognomum ในวงศ์ Isognomonidae เปลือกแบน ขอบด้านบนค่อนข้างเป็นแนวตรง ขอบ ด้านล่างโค้งเว้าทางด้านหน้า นูนทางด้านตรงข้าม สีเข้มเกือบดำ เกาะอยู่ ตามรากไม้หรือหินในป่าชายเลน.
  21. ซวด : (โบ) ก. เกินขนาด, นูนขึ้นสูงขึ้น, เช่น อันว่าสวภาพท้อง บมิซวดเสมออก. (ม. คําหลวง ทศพร).
  22. ดำพอง, ดำโพง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก ตะพอง) น. ส่วนที่นูนเป็น ๒ แง่อยู่เหนือ หน้าผากช้าง เช่น พลอยผูกกระพัดรัดดําโพง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  23. ดุ้ง : ว. โค้งหรือนูนหรือแอ่นจากแนวหรือระดับ เช่น พื้นกระดานดุ้ง.
  24. ดุน : ก. รุน, ทําให้เคลื่อนไปเรื่อย ๆ ด้วยแรงดัน; ทําให้ลวดลายบางอย่างนูนขึ้น เช่น ดุนลาย. ว. เรียกลวดลายที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ลายดุน.
  25. เด่น : ว. ที่ปรากฏเห็นได้ชัดจะแจ้งเพราะนูนขึ้นมา ยื่นลํ้าออกมา หรือสูงใหญ่กว่า ธรรมดา, โดยปริยายหมายความว่า มีคุณสมบัติหรือความสามารถเยี่ยม เช่น สวยเด่น ดีเด่น.
  26. ตระพอง : [ตฺระ-] น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, กะพอง กระพอง หรือ ตะพอง ก็ว่า.
  27. ตะปุ่มตะป่ำ : ว. นูนขึ้นเป็นปม ๆ, เป็นปุ่มเป็นปมขรุขระอย่างผิวมะกรูด, ปุ่มป่ำ ก็ว่า.
  28. ตะพอง : น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, กระพอง กะพอง หรือ ตระพอง ก็ว่า.
  29. ตะโพก : น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อ ส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคนขาหลังของสัตว์สี่เท้า, สะโพก ก็ว่า.
  30. ตะโหงก ๒ : [-โหฺงก] น. โคนทางมะพร้าวแห้ง; สิ่งที่นูนโหนกขึ้นจากพื้นราบ เช่น หัวตะโหงกตอไม้ ; ก้อนเนื้อที่ต้นคอของสัตว์บางชนิดเช่นวัว, หนอก ก็ว่า.
  31. ตัวจี๊ด : น. ชื่อพยาธิชนิด Gnathostoma spinigerum ในวงศ์ Gnathostomatidae ลําตัวสีแดง ยาว ๑๐-๕๐ มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยพบในกระเพาะของสุนัข แมว และเสือ ตัวอ่อนพบในปลา ไก่ กบ หรือสัตว์เลื้อยคลาน ติดต่อถึง คนได้เมื่อกินสัตว์เหล่านี้ที่ยังดิบซึ่งมีตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้อยู่ ตัวอ่อน เมื่ออยู่ในคนสามารถเคลื่อนตัวไปตามเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ได้อาจเป็นตุ่ม นูนขึ้นมาตามผิวหนังและปวดบวม, หนอนด้น ก็เรียก.
  32. ทรวด : [ซวด] (โบ) ก. นูนขึ้น เช่น อันว่าสวภาพท้องบมิทรวดเสมออก. (ม. คําหลวง ทศพร).
  33. ท้องแขน : น. ส่วนของแขนด้านใน มีลักษณะโค้งนูน.
  34. ท้องน่อง : น. ส่วนของขาเบื้องหลัง มีลักษณะโค้งนูน ด้าน ตรงกันข้ามกับหน้าแข้ง.
  35. นมสวรรค์ : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Clerodendrum paniculatum L. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ที่โคนใบมีต่อมนูนหลายต่อม ดอกสีแดง อมส้ม ออกเป็นช่อตามยอด ผลเล็กมี ๔ พู ใช้ทํายาได้, พนมสวรรค์ ก็เรียก.
  36. นอ ๑ : น. สิ่งที่งอกขึ้นเหนือจมูกแรด ยาวประมาณ ๑๒-๑๕ เซนติเมตร แข็ง เหมือนเขาสัตว์;ปมที่นูนขึ้นตามอวัยวะเช่นที่ข้อศอกที่ศีรษะ. (กลอน) ก. โน เช่น แม้นมีไม้ใกล้ตัวหัวจะนอ. (คาวี).
  37. น้อยหน่า : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Annona squamosa L. ในวงศ์ Annonaceae ดอกสีเหลืองแกมเขียว กลีบดอกหนา มี ๓ กลีบ ผลสีเขียว ผิวนูนเป็น ตา ๆ เนื้อในผลหนาขาว รสหวาน มีเมล็ดมาก.
  38. น้อยโหน่ง : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Annona reticulata L. ในวงศ์ Annonaceae ดอกคล้ายดอกน้อยหน่า แต่ผลโตกว่า เปลือกบางแต่เหนียว ค่อนข้างเรียบ ไม่นูนเป็นตา ๆ สีเขียวจาง ๆ ปนสีแดงเรื่อ ๆ เนื้อในผล หนาขาว รสหวานไม่สนิทเหมือนน้อยหน่า มีเมล็ดมาก.
  39. เนิน : น. โคกขนาดใหญ่ที่ค่อยลาดสูงขึ้นจากระดับเดิม เช่น เนินดิน เนินเขา; เรียกเนื้อรอบฝ่ามือที่มีลักษณะนูนกว่าบริเวณอุ้งมือว่า เนิน เช่น เนิน พระศุกร์ เนินพระพุธ.
  40. โน : ก. นูนขึ้นเพราะถูกกระทบกระแทกเป็นต้น (มักใช้แก่หัวหรือหน้า) เช่น หัวโน หน้าโน.
  41. บวม : ก. อาการที่เนื้ออูมหรือนูนขึ้นเพราะอักเสบหรือฟกชํ้าเป็นต้น.
  42. บัวอกไก่ : น. ชื่อลวดบัวแบบหนึ่ง มีลักษณะนูนเป็นสันขึ้นอย่างอก ของไก่.
  43. เบี้ย ๑ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในสกุล Cypraea วงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปาก ยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง ๒ ข้าง เป็นลําราง ริมปากทั้ง ๒ ด้านหยักหรือมีฟัน ไม่มีแผ่นปิด เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย, เปลือกหอยเบี้ยชนิดที่คนโบราณใช้เป็นวัตถุกลางสําหรับซื้อ ขายสิ่งของ เรียกว่า เบี้ย เช่น เบี้ยจั่น หรือ เบี้ยจักจั่น ก็คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. moneta เบี้ยแก้ว หรือ เบี้ยนาง คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. annulus มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย เป็น ๑ อัฐ (เท่ากับ สตางค์ครึ่ง) จึงเรียกคําว่า เบี้ย เป็นเงินติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ.
  44. แบน : ว. มีลักษณะแผ่ราบออกไป เช่น ถูกเหยียบเสียแบน; ไม่ป่อง, ไม่ นูน, เช่น เรือท้องแบน, แฟบ เช่น จมูกแบน ยางแบน.
  45. แบบ : น. สิ่งที่กําหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดําเนิน, ตัวอย่าง เช่น ลอกแบบ เลียนแบบ; อย่าง เช่น คนแบบนี้; ตํารา เช่น แบบเรียน; รูปลักษณะ เช่น แบบเสื้อ แบบบ้าน; สิ่งที่แกะหรือสลักเป็นต้น ให้เป็นรอยลึกลงไป หรือนูนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์; ใบตอง ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น แล้วใช้มีดเจียนให้เป็นแผ่นกลม ใช้ไม้กลัด กลัดไว้ สําหรับรองขนมบางชนิด เช่น ขนมลืมกลืน หรือตัดให้เป็น รูปต่าง ๆ ใช้รองเย็บกลีบดอกไม้มีดอกบานบุรีเป็นต้น เย็บเป็น ดอกไม้ประดิษฐ์.
  46. ปกกระพอง : น. เครื่องปกส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างหัวช้าง.
  47. ปุ่ม : น. ปม, ของที่นูนขึ้นจากพื้นเดิม เช่น ปุ่มฆ้อง.
  48. ปุ้ม : น. ยอดที่นูนกลม.
  49. ปุ่มป่ำ : ว. นูนขึ้นเป็นปม ๆ, เป็นปุ่มเป็นปมขรุขระ อย่างผิวมะกรูด, ตะปุ่มตะป่ำ ก็ว่า.
  50. ปูด ๒ : ว. นูนเบ่งขึ้นมาในลักษณะอย่างดินปูด หน้าปูด; เสียงดังเช่นนั้น.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-122

(0.0714 sec)