Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: น่าดู , then นาด, น่าดู .

Royal Institute Thai-Thai Dict : น่าดู, 41 found, display 1-41
  1. ถูกตา : ว. งาม, น่าดู, ต้องตา.
  2. หาริ : ว. งดงาม, น่าดู, น่ารัก. (ป., ส.).
  3. อำพน : [พน] ว. มาก, ดาษดื่น, ล้วน, เช่น อำพนไปด้วยแก้วมณี; น่าดู, งาม, งามสล้าง, เช่น ปราสาทอำพน, (โบ) ใช้ว่า อำพล ก็มี เช่น ปราการ สะพาน ถนน อำพลด้วย (ไม้ไหล) ทั้งหลายคำนับ. (จารึกสยาม).
  4. นาด : ก. ทอดแขนให้อ่อนงาม.
  5. ต้องตา : ก. ถูกตา. ว. น่าดู.
  6. พิจิตร : ว. ต่าง ๆ, หลายหลาก; งาม, น่าดู. (ส. วิจิตฺร; ป. วิจิตฺต).
  7. เพรา ๒ : [เพฺรา] ว. งาม, น่าดู. เพราพริ้ง, เพราเพริศ ว. สวยงาม, พริ้งเพรา ก็ว่า.
  8. ระเมียร : ก. ดู, น่าดู. (ข. รมึล ว่า ดู).
  9. ทรรศนีย์ : [ทัดสะนี] ว. น่าดู, งาม, ทัศนีย์ ก็ใช้. (ส. ทรฺศนีย; ป. ทสฺสนีย).
  10. ทัศนีย-, ทัศนีย์ : [ทัดสะนียะ-, ทัดสะนี] ว. น่าดู, งาม, ทรรศนีย์ ก็ใช้. (ป. ทสฺสนีย; ส. ทรฺศนีย).
  11. ทัศไนย : [ทัดสะไน] ว. น่าดู, งาม. (แผลงมาจาก ทัศนีย์).
  12. รำมะนาด : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งเกิดตามรากฟัน ทําให้เหงือกบวมเป็นหนอง.
  13. นาฏ, นาฏ : [นาด, นาตะ, นาดตะ] น. นางละคร, นางฟ้อนรํา, ใช้ประกอบกับ คําอื่น หมายความว่า หญิงสาวสวย เช่น นางนาฏ นุชนาฏ. (ป., ส.). นาฏกรรม [นาดตะกํา] น. การละครหรือการฟ้อนรํา; (กฎ) งานเกี่ยวกับ การรํา การเต้น การทําท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และ หมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย. (ส.).
  14. นาฏย : [นาดตะยะ] (แบบ) ว. เกี่ยวกับการฟ้อนรํา, เกี่ยวกับการแสดงละคร, เช่น นาฏยศาลา. (ส. นาฏฺย).
  15. นาฏศิลป์ : [นาดตะสิน] น. ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรํา. (ส.).
  16. นาถ : [นาด, นาถะ] (แบบ) น. ที่พึ่ง, ผู้เป็นที่พึ่ง. (ป., ส.).
  17. ขนาด ๑ : [ขะหฺนาด] น. ลักษณะของรูปที่กําหนดสังเกตได้ว่าใหญ่ เล็ก สั้น ยาว หนัก หรือ เบา เท่านั้นเท่านี้ เช่น ขนาดใหญ่ ขนาดยาว ขนาด ๒ x ๑ เมตร; อัตรา, เกณฑ์ที่กําหนดไว้, เช่น ดีถึงขนาด เกินขนาด ไม่ได้ขนาด.
  18. ขนาด ๒ : [ขะหฺนาด] น. เครื่องสาดนํ้ารดต้นไม้ โดยมากสานด้วยไม้ไผ่ รูปแบน ๆ มีด้ามสําหรับถือ.
  19. จับมือ : ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวา ของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตาม ในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ, จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนา แหล่งน้ำ.
  20. ชมนาด : [ชมมะ] น. ชื่อไม้เถาชนิด Vallaris glabra Kuntze ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาวเป็นช่อ กลิ่นเหมือนข้าวใหม่, ดอกข้าวใหม่ ก็เรียก, เขียนเป็น ชํามะนาด ก็มี.
  21. ตรีโลกนาถ : [-โลกกะนาด] น. พระพุทธเจ้า, พระอินทร์, พระศิวะ. (ส. ตฺริโลกนาถ).
  22. นฤนาท : [นะรึนาด] (แบบ) น. ความกึกก้อง; การบันลือ.
  23. นาฏกะ : [นาตะกะ, นาดตะกะ] (แบบ) น. ผู้ฟ้อนรํา. (ป., ส.).
  24. นินนาท, นินาท : [นินนาด, นินาด] (แบบ) น. ความกึกก้อง, การบันลือ. (ป. นินฺนาท; ส. นินาท).
  25. บัณณาส : [บันนาด] ว. ห้าสิบ. (ป. ปณฺณาส).
  26. พจนารถ : [พดจะนาด] น. เนื้อความของคําพูด. (ส.).
  27. พิษนาศน์ ๑ : [พิดสะหฺนาด] น. ชื่อเครื่องยาไทยชนิดหนึ่ง. (ส. วิษนาศน).
  28. โพงพาง : น. เครื่องมือดักปลาชนิดหนึ่ง เป็นถุงตาข่ายรูปยาวรี ใช้ผูกกับเสา ใหญ่ ๒ ต้นที่ปักขวางลํานํ้า สําหรับจับปลากุ้งทุกขนาด.
  29. ไม้แข็ง : น. ไม้ตีระนาดที่ไม่ได้พันด้วยนวม ทำให้มีเสียงกร้าว, โดยปริยาย หมายความว่า วิธีการเฉียบขาด, อำนาจเด็ดขาด, เช่น เด็กคนนี้ต้องใช้ไม้แข็ง จึงจะปราบอยู่.
  30. ไม้นวม : น. ไม้ตีระนาดที่พันด้วยนวมทำให้มีเสียงทุ้ม, โดยปริยายหมายความว่า วิธีการนิ่มนวล, ความอ่อนโยน, เช่น นักเรียนชั้นนี้ต้องใช้ไม้นวมจึงยอมเข้าเรียน.
  31. ระนาด ๑ : น. เครื่องปี่พาทย์ชนิดตี ประกอบด้วยลูกระนาดทำด้วยไม้ร้อยเชือกหัว ท้ายเข้าเป็นผืนใช้แขวนบนรางระนาด หรือทำด้วยเหล็กหรือทองเหลือง ใช้วางเรียงบนรางระนาดมีไม้ประกับหัวท้าย ลูกระนาดเรียงขนาดสั้น ยาวให้ลดหลั่นกันตามลำดับเสียง มีตั้งแต่ ๑๗–๒๑ ลูก มีไม้ตีคู่หนึ่ง เรียกว่า ไม้ตีระนาด, ลักษณนามว่า ราง.
  32. รั่ว ๒ : ว. อาการที่ไล่ไม้ตีระไปบนลูกระนาดโดยไม่ลงคู่ ทำให้เสียงเพี้ยนหรือ ไม่ชัดเจน เช่น เขาตีระนาดรั่ว ฟังไม่เป็นเพลง.
  33. วินาศกรรม : [วินาดสะกำ] น. การลอบทําลายหรือเผาผลาญ ทรัพย์สินโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น ของนายจ้างหรือของศัตรู เช่น ในกรณีที่เกิดพิพาทกันขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือเพื่อ ตัดกําลังฝ่ายศัตรูเมื่อทําสงครามกันโดยตรงหรือโดยปริยาย.
  34. วินาศภัย : [วินาดสะไพ] (กฎ) น. ความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาที่ พึงประมาณเป็นเงินได้ และหมายความรวมถึงความสูญเสียในสิทธิ ผลประโยชน์หรือรายได้ด้วย.
  35. วินาศ, วินาศ : [วินาด, วินาดสะ] น. ความฉิบหาย. (ส.).
  36. วินาศสันตะโร : [วินาด] (ปาก) ว. ความเสียหายป่นปี้ เช่น รถชนกันวินาศสันตะโร.
  37. วินาศสันติ : [วินาด] ก. จงพินาศ, จงฉิบหาย, เป็นคำแช่งที่ออก เสียงเพี้ยนมาจากคำลงท้ายในคาถาอาคมที่เป็นภาษาบาลีว่า วินสฺสนฺตุ.
  38. โศกนาฏกรรม : [โสกะนาดตะกํา, โสกกะนาดตะกํา] น. วรรณกรรม โดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่น เรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอจูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก.
  39. อนาถ : [อะหฺนาด] ก. สงสาร, สังเวช, สลดใจ. (ป., ส. อนาถ ว่า ไม่มีที่พึ่ง).
  40. อเนจอนาถ : [อะเหฺน็ดอะหฺนาด] ก. สลดใจเป็นอย่างยิ่ง. (ป. อนิจฺจ ว่า ไม่เที่ยง + อนาถ ว่า ไม่มีที่พึ่ง).
  41. อำนาถ : [หฺนาด] ว. น่าสงสาร, น่าสังเวช, น่าสลดใจ. (แผลงมาจาก อนาถ).
  42. [1-41]

(0.0623 sec)