Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บกพร่อง , then บกพรอง, บกพร่อง .

Eng-Thai Lexitron Dict : บกพร่อง, more than 7 found, display 1-7
  1. impaired : (ADJ) ; บกพร่อง ; Related:ซึ่งเสียหาย, ซึ่งไมสมบูรณ์, ซึ่งไม่แข็งแรง, ซึ่งอ่อนแอ ; Syn:deteriorated
  2. imperfect : (ADJ) ; บกพร่อง ; Related:ซึ่งไม่สมบูรณ์แบบ, ซึ่งมีข้อเสีย ; Syn:defective, flawed ; Ant:flawless, perfect
  3. flaw 1 : (N) ; ข้อบกพร่อง ; Related:ข้อด้อย, ข้อตำหนิ, จุดบกพร่อง ; Syn:blemish, fault, defect
  4. vice 1 : (N) ; จุดบกพร่อง ; Related:ข้อเสีย, ข้อบกพร่อง
  5. Achilles' heel : (IDM) ; จุดบกพร่อง ; Related:จุดอ่อน
  6. Addison's disease : (N) ; โรคที่เกิดจากการบกพร่องของต่อมอดรีนัล(Adrenal)
  7. bug : (N) ; ความบกพร่อง ; Related:ข้อผิดพลาด, จุดด่างพร้อย ; Syn:defect
  8. Eng-Thai Lexitron Dict : บกพร่อง, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : บกพร่อง, more than 7 found, display 1-7
  1. บกพร่อง : (ADV) ; defectively ; Related:faultily ; Syn:สะเพร่า, ขาดตกบกพร่อง ; Ant:สมบูรณ์, เต็มเปี่ยม ; Def:ไม่ครบบริบูรณ์เท่าที่ควรมีควรเป็น ; Samp:พนักงานแผนกบัญชีทำงานบกพร่องเสียหายบ่อยๆ
  2. บกพร่อง : (V) ; defect ; Related:default, neglect ; Syn:สะเพร่า ; Ant:สมบูรณ์, เต็มเปี่ยม ; Def:ไม่ครบบริบูรณ์เท่าที่ควรมีควรเป็น ; Samp:เพราะเขาบกพร่องในหน้าที่จึงต้องได้รับการลงโทษ
  3. สมบูรณ์แบบ : (ADJ) ; complete ; Related:flawless ; Ant:บกพร่อง ; Def:ที่ดีพร้อมอย่างไม่มีที่ติหรือไม่มีข้อบกพร่องใดๆ ; Samp:เขาจะจัดสื่อการสอนที่สมบูรณ์แบบออกมาอีกครั้งในปลายปีนี้
  4. สิ่งบกพร่อง : (N) ; defect ; Related:blemish, deficiency, shortcoming, flaw, fault ; Syn:ข้อบกพร่อง, ข้อเสีย, จุดด้อย, จุดบกพร่อง, ข้อด้อย ; Def:สิ่งที่ไม่ครบสมบูรณ์เท่าที่ควรมีหรือควรเป็น ; Samp:ปัญหาเครื่องยนต์ร้อนจัดแล้วดับของรถรุ่นใหม่นี้ เป็นสิ่งบกพร่องสำคัญที่ทำให้ขายได้ไม่ดี
  5. ข้อบกพร่อง : (N) ; fault ; Related:flaw, error, blunder, defect, weakness, drawback, shortcoming ; Syn:ข้อตำหนิ, ข้อเสียหาย, ข้อผิดพลาด, ข้อเสีย ; Ant:ข้อดี ; Samp:การทำงานของรัฐบาลชุดนี้มีข้อบกพร่องหลายข้อที่ควรแก้ไขโดยเร่งด่วน ; Unit:ข้อ, ประการ
  6. ขาดตกบกพร่อง : (V) ; be defective ; Related:lack ; Syn:ไม่ครบ, ไม่บริบูรณ์ ; Def:ไม่ครบบริบูรณ์หรือไม่มีคุณสมบัติเท่าที่ควรมีควรเป็น ; Samp:งานวิจัยชิ้นนี้ยังขาดตกบกพร่องอยู่มาก ไม่รู้ว่าผ่านมาได้อย่างไร
  7. จิตบกพร่อง : (N) ; mental deficiency ; Syn:จิตฟั่นเฟือน ; Ant:จิตปกติ ; Def:การที่บุคคลมีจิตใจหรืออารมณ์ความรู้สึกที่ไม่ปกติเหมือนคนทั่วไป ; Samp:เขามีจิตบกพร่องจริง แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะจำอะไรไม่ได้เลย
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : บกพร่อง, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : บกพร่อง, more than 5 found, display 1-5
  1. บกพร่อง : ก. ไม่ครบบริบูรณ์เท่าที่ควรมีควรเป็น เช่น ข้อความ บกพร่อง, หย่อนความสามารถ เช่น ทํางานบกพร่อง.
  2. ขาด : ก. แยกออกจากกันเพราะถูกดึง ตัด หรือฉีก เป็นต้น เช่น เชือกขาด แขนขาด ผ้าขาด; ควรจะมีแต่ไม่มี เช่น เศรษฐีขาดไฟ; มีไม่ครบ, มี ไม่เต็ม, เช่น ขาดคุณสมบัติ; ไม่ครบ, บกพร่อง, เช่น ศีลขาด; ไม่เต็ม ตามจํานวน เช่น นับเงินขาด; ไม่มาตามกําหนด เช่น ขาดเรียน ขาดประชุม.
  3. ขาดตกบกพร่อง : ก. ไม่ครบ, ไม่บริบูรณ์, ยังไม่เรียบร้อย.
  4. งานหลวงไม่ให้ขาด งานราษฎร์ไม่ให้เสีย : (สํา) ทํางานไม่บกพร่องทั้ง งานส่วนรวมและส่วนตัว, ใช้เพี้ยนว่า งานหลวงไม่ขาด งานราษฎร์ไม่เสีย ก็มี.
  5. ชำรุด : ก. เสื่อมจากสภาพเดิมจนถึงบกพร่องเสียหายหรือบุบ สลายไป เช่น หนังสือชํารุด เกวียนชํารุด.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : บกพร่อง, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : บกพร่อง, 9 found, display 1-9
  1. กรรมวาจาวิบัติ : เสียเพราะกรรมวาจา, กรรมวาจาบกพร่องใช้ไม่ได้
  2. มนุษย์วิบัติ : มีความเป็นมนุษย์บกพร่อง เช่น คนที่ถูกตอน เป็นต้น
  3. วัตถุสมบัติ : ความถึงพร้อมแห่งวัตถุ, ความสมบูรณ์โดยบุคคลหรือวัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการทำสังฆกรรมนั้นๆ มีคุณสมบัติถูกต้อง ทำให้สังฆกรรมใช้ได้ไม่บกพร่องในด้านนี้ เช่น ในการอุปสมบท ผู้ขอบวชเป็นชายมีอายุครบ ๒๐ ปี ไม่เป็นมนุษย์วิบัติเช่นถูกตอน ไม่ได้ทำความผิดร้ายแรงเช่นฆ่าบิดามารดา ไม่ใช่คนทำความเสียหายในพระพุทธศาสนาอย่างหนัก เช่น ปาราชิก เมื่อบวชคราวก่อน ดังนี้เป็นต้น
  4. วิบัติ : ความเสีย, ความผิดพลาด, ความบกพร่อง, ความเสียหายใช้การไม่ได้ 1.วิบัติความเสียของภิกษุ มี ๔ อย่าง คือ ๑.ศีลวิบัติ ความเสียแห่งศีล ๒.อาจารวิบัติ ความเสียมรรยาท ๓.ทิฏฐิวิบัติ ความเห็นผิดธรรมผิดวินัย ๔.อาชีววิบัติ ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ 2.วิบัติคือความเสียหายใช้ไม่ได้
  5. สีมาสมบัติ : ความพร้อมมูลโดยสีมา, ความสมบูรณ์แห่งเขตชุมชน, สีมาซึ่งสงฆ์สมมติแล้วโดยชอบ ไม่วิบัติ ทำให้สังฆกรรมซึ่งทำในสีมานั้นมีผลสมบูรณ์ กล่าวคือ สีมาปราศจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เป็นเหตุให้สีมาวิบัติ (ดู สีมาวิบัติ) สังฆกรรมซึ่งทำ ณ ที่นั้นจึงชื่อว่าทำในสีมา จึงใช้ได้ในข้อนี้ ดู สมบัติ(ของสังฆกรรม)
  6. อนุพยัญชนะ : ลักษณะน้อยๆ, พระลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ (นอกเหนือจากมหาบุรุษลักษณะ ๓๒) อีก ๘๐ ประการ คือ ๑) มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม, ๒) นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไป โดยลำดับแต่ต้นจนปลาย, ๓) นิ้วพระหัตถ์ แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี, ๔) พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง, ๕) พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง, ๖) พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลม สนิทมิได้เป็นริ้วรอย, ๗) ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก, ๘) พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา, ๙) พระดำเนินงานดุจอาการเดินแห่งกุญชรชาติ, ๑๐) พระดำเนินงามดุจสีหราช, ๑๑) พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์, ๑๒) พระดำเนินงามดุจอุสภราชดำเนิน, ๑๓) ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน, ๑๔) พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก, ๑๕) มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์คือมิได้มีกิริยามารยาทคล้ายสตรี ๑๖) พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง, ๑๗) พระอุทรมีสัณฐานอันลึก, ๑๘) ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏ, ๑๙) ลำพระเพลาทั้งสองกลมงามดุจลำสุวรรณกัททลี, ๒๐) ลำพระกรทั้งสองงามดุจงวงแห่งเอราวัณเทพยหัตถี, ๒๑) พระอังคาพยใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คือ งามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้, ๒๒) พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรจะบางก็บางตามที่ทั่วทั้งประสรีรกาย, ๒๓) พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนึ่ง ๒๔) พระสรีรกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง, ๒๕) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง, ๒๖) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง, ๒๗) ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติ ประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ, ๒๘) มีพระนาสิกอันสูง, ๒๙) สัณฐานนาสิกงามแฉล้ม ๓๐) มีพระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก, ๓๑) พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน, ๓๒) พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์, ๓๓) พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย, ๓๔) พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น, ๓๕) พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูรณ์, ๓๖) ดวงพระพักตร์มีสัณฐานยาวสวย ๓๗) พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน, ๓๘) ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก, ๓๙) ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว ๔๐) ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด ๔๑) ลายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง, ๔๒) รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ ๔๓) กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์ ๔๔) กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน ๔๕) ดวงพระเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ๔๖) ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้งอมิได้คด ๔๗) พระชิวหามีสัณฐานอันงาม ๔๘) พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้างมีพรรณอันแดงเข้ม ๔๙) พระกรรณทั้งสองมีสัณฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ ๕๐) ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม ๕๑) ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง ๕๒) แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่มิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง ๕๓) พระเศียรมีสัณฐานงามเหมือนฉัตรแก้ว ๕๔) ปริมณฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน ๕๕) พระนลาฏมีสัณฐานอันงาม ๕๖) พระโขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนูอันก่งไว้ ๕๗) พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด ๕๘) เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วล้มราบไปโดยลำดับ ๕๙) พระโขนงนั้นใหญ่ ๖๐) พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร ๖๑) ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๒) พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ ๖๓) พระสรีรกายมิได้มัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ๖๔) พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ ๖๕) พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย ๖๖) กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษณา ๖๗) พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น ๖๘) พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๙) ลมอัสสาสะและปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด ๗๐) พระโอษฐมีสัณฐานอันงามดุจแย้ม ๗๑) กลิ่นพระโอษฐหอมดุจกลิ่นอุบล ๗๒) พระเกสาดำเป็นแสง ๗๓) กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ ๗๔) พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ ๗๕) พระเกสามีสัณฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น ๗๖) พระเกสาดำสนิททั้งสิ้น ๗๗) พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด ๗๘) เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง ๗๙) เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏทุกๆ เส้น ๘๐) วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแห่งพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ฯ นิยมเรียกว่า อสีตยานุพยัญชนะ; ดู มหาบุรุษลักษณะ
  7. อาทีนพ : โทษ, ข้อเสีย, ข้อบกพร่อง, ผลร้าย
  8. อาทีนวะ : โทษ, ข้อเสีย, ข้อบกพร่อง, ผลร้าย
  9. อาทีนวานุปัสสนาญาณ : ญาณอันคำนึงเห็นโทษ, ปรีชาคำนึงเห็นโทษของสังขารว่ามีข้อบกพร่องระคนด้วยทุกข์ เช่น เห็นสังขารปรากฏเหมือนเรือนถูกไฟไหม้ (ข้อ ๔ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

ETipitaka Pali-Thai Dict : บกพร่อง, more than 5 found, display 1-5
  1. อธม : (วิ.) ผู้เกิดแล้วในส่วนเบื้องต่ำ, น่าชัง, ถ่อย, บกพร่อง, ชั่ว, เลว, ทราม, ต่ำช้า, ต่ำทราม, หย่อน. อธัม. วิ. อโธภาเค ชาโตอธโม. อิม ปัจ. ชาตาทิตัท. เอาโอ ที่อโธเป็น อ ลบ ภาค และ อิ ที่อิม ปัจ.โอสฺสอตฺตํ, ภาคโลโป, อิมปฺปจฺจเยอิโลโปจ.
  2. อุกฺกลิสฺสติ : ก. เลวทราม, เสื่อมทราม, บกพร่อง
  3. ปโยคหีน : ค. ซึ่งเสื่อมจากความพยายาม, ซึ่งบกพร่องในการประกอบความพยายาม
  4. เวกลฺล : นป. ความบกพร่อง, ความขาดทุน, ความวิบัติ
  5. องฺคุองฺคู : (ปุ.) คนมีอวัยวะบกพร่อง, คนเปลี้ย, คนง่อย. องฺคปุพฺโพ, อูนฺปริหานิเย, กฺวิ, นฺโลโป. ศัพท์ต้นรัสสะ.
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : บกพร่อง, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : บกพร่อง, not found

(0.1338 sec)