Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บ่าย , then บาย, บ่าย, ป่าย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : บ่าย, 57 found, display 1-50
  1. บ่าย : น. เวลาในระหว่างเที่ยงกับเย็น. ก. คล้อย เช่น ตะวันบ่าย; หัน, ก้าว; เลี่ยงไป เช่น เฒ่าก็ประดิษฐ์ประดับกายเป็นปะขาวดาบส เบือน บ่ายจําแลงเพศ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  2. บ่ายเบี่ยง : ก. เลี่ยงพอให้พ้นไป (มักใช้แก่กริยาพูด), เบี่ยงบ่าย ก็ว่า.
  3. บ่ายหน้า : ก. หันหน้า เช่น บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือ, มุ่ง เช่น บ่ายหน้ากลับบ้าน.
  4. บ่ายควาย : น. เวลาไล่ควายกลับบ้าน, เวลาเย็น, เวลาจวนคํ่า.
  5. จำงาย : (โบ) น. สาย, บ่าย, เช่น ลูกไม้บ่ทันงาย จำงายราชอดยืน. (ม. คำหลวง มัทรี). ว. ห่าง, ไกล, เช่น หากให้เจ้าตูฉิบหาย จำงายพรากพระบุรี ท่านนี้. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จํงาย ว่า ระยะไกล).
  6. ชาย ๓ : ก. พัดอ่อน ๆ เช่น ลมชาย; คล้อย, บ่าย, เช่น ตะวันชาย; เดินเลียบเคียงไป เช่น ชายไปดู.
  7. ชำงาย ๑ : ว. ชาย, สาย, บ่าย, (ใช้แก่เวลา).
  8. เบี่ยงบ่าย : ก. เลี่ยงพอให้พ้นไป, บ่ายเบี่ยง ก็ว่า.
  9. บาย : น. ข้าว. (ข.).
  10. มุมบ่ายเบน : (แม่เหล็ก) น. มุมระหว่างแนวเมริเดียนแม่เหล็กโลกกับ แนวเมริเดียนภูมิศาสตร์, มุมเห ก็เรียก.
  11. โมง ๑ : น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน, ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง ๕ โมงเช้า, ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน, ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย ๕ โมง, ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า.
  12. คล้อย : [คฺล้อย] ว. เพิ่งพ้นจากที่กําหนดไป เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยไปเมื่อสักครู่นี้. ก. บ่าย, ชาย, เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้วว่า ตะวันคล้อย, เรียก อาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้วว่า เดือนคล้อย; หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อยว่า นมคล้อย.
  13. ของว่าง : น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินในเวลาบ่าย, อาหารว่าง ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า เครื่องว่าง.
  14. เครื่องว่าง : (ราชา) น. ของว่าง, ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินในเวลาบ่าย.
  15. โฉมหน้า : น. เค้าหน้า; เค้าที่คาดว่าจะเกิดในภายหน้า เช่น โฉมหน้าการเมือง ยุคใหม่. ก. บ่ายหน้า.
  16. ชปโยค : [ชะปะโยก] (แบบ) น. มนตร์กระซิบ เช่น สมมุขบ่ายบูชา ชปโยค. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ส. ชปฺ + โยค).
  17. บัดแมล่ง : [-มะแล่ง] น. เวลาบ่ายเย็น.
  18. ป่าย ๑ : ก. เหวี่ยงพาดไป เช่น เหวี่ยงซ้ายป่ายขวา.
  19. ป่าย ๑ : ว. ปีนขึ้นไปด้วยความยากลําบาก, มักใช้เข้าคู่กับคํา ปีน เป็น ป่ายปีน หรือ ปีนป่าย.
  20. มุมเห : น. มุมบ่ายเบน.
  21. ยามตูดชาย : (ถิ่น) น. เวลาบ่าย.
  22. รอบ : น. การบรรจบถึงกัน, การเวียนไปบรรจบถึงกัน; ช่วง เช่น ภาพยนตร์ รอบเช้า รอบบ่าย, วาระ เช่น รอบสุดท้าย รอบชิงชนะเลิศ; ลักษณนาม เรียกลักษณะที่มาบรรจบกันเป็นต้น เช่น รอบหนึ่ง ๒ รอบ. บ. อาการ ที่เวียนมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์รอบบ้าน เดินรอบตลาด.
  23. อาหารว่าง : น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินใน เวลาบ่าย, ของว่าง ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เครื่องว่าง.
  24. อุตราภิมุข : [อุดตะรา] ก. บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือ. (ป., ส. อุตฺตราภิมุข).
  25. บายสุหรี : [บายสุหฺรี] น. สระนํ้า. (ช.).
  26. ป่ายปีน : ก. ปีนหรือตะกายขึ้นไปด้วยความยากลำบาก, ปีนป่าย ก็ว่า.
  27. ปีนป่าย : ก. ปีนหรือตะกายขึ้นไปด้วยความยากลำบาก, ป่ายปีน ก็ว่า.
  28. รัฐประศาสนนัย, รัฐประศาสโนบาย : [รัดถะปฺระสาสะนะไน, รัดถะปฺระ สาสะโนบาย] น. วิธีการปกครองบ้านเมือง.
  29. เพทุบาย, เพโทบาย : ก. ทําเล่ห์กล, ทําอุบาย.
  30. รัฏฐาภิปาลโนบาย : น. วิธีการปกครองบ้านเมือง.
  31. บายศรี : น. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทําด้วยใบตอง รูปคล้าย กระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลําดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่อง สังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. (ข. บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือ ข้าวขวัญ).
  32. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  33. ข่าง ๓ : (ถิ่น-พายัพ) ก. ระบาย, ถ่าย, เช่น ข่างนํ้า ว่า ระบายนํ้า.
  34. ชลประทาน : [ชนละ, ชน] น. การทดนํ้าและระบายนํ้า เพื่อการเพาะปลูกเป็นต้น.
  35. ตะกาย : ก. ป่ายปีน เช่น แมวตะกายฝา หมาตะกายเจ้าของ.
  36. ตะกุยตะกาย : ก. พยายามป่ายปีนให้พ้นอันตราย.
  37. ตะเกียกตะกาย : ก. พยายามป่ายปีนไป, พยายามทุกทางเพื่อให้ประสบความสําเร็จ.
  38. ท้ายน้ำ : น. บริเวณที่ระบายนํ้าออกทางด้านล่างของตัวเขื่อน, ท้ายเขื่อน ก็เรียก.
  39. ธง : น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทําด้วย กระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สําหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตําแหน่งในราชการ โดยมีกําหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพ นายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอก ที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจํานนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่ เป็นต้น; ชื่อดาวหมู่หนึ่งตามที่กล่าวว่า โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย. (อภัย); ชื่อคันเบ็ดที่ปักประจําล่อปลา, กิริยาที่เอาเบ็ดนั้นไปปักเรียกว่า ธง; ข้อความที่อธิบายนําไว้เป็นตัวอย่าง.
  40. นั่งร้าน : น. โครงร่างที่ทําด้วยไม้หรือโลหะ สําหรับนั่งหรือปีนป่ายใน การก่อสร้างสิ่งสูง ๆ เช่นพระเจดีย์หรือตึก, ร่างร้าน ก็เรียก.
  41. บ่าง : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Cynocephalus variegatus ในวงศ์ Cynocephalidae รูปร่างคล้ายกระรอก แต่มีหนังเป็นพังผืด ๒ ข้าง ของลําตัวตั้งแต่คอไปถึงปลายนิ้วตีนและปลายหางสําหรับใช้กาง ออกคล้ายปีก ถลาร่อนจากที่สูงมายังที่ตํ่าได้ค่อนข้างไกล ขนนุ่ม สีนํ้าตาลคลํ้าหรือนํ้าตาลจาง ๆ เป็นหย่อม ๆ เล็บโค้งแหลมใช้ปีน ป่ายต้นไม้ หากินในเวลากลางคืน กลางวันมักหลบอยู่ตามโพรงไม้ หรือเกาะห้อยอยู่ตามพุ่มทึบ, พุงจง หรือ พะจง ก็เรียก
  42. ประตูระบาย : น. สิ่งที่สร้างขึ้นในคลองส่งนํ้าเพื่อควบคุมนํ้าในคลอง ให้มีระดับหรือปริมาณตามที่ต้องการ; (กฎ) สิ่งที่สร้างขึ้นในทางนํ้า เพื่อทด กัก กั้น หรือระบายนํ้า ณ ที่อื่นอันมิใช่ที่มาแห่งนํ้าซึ่งจะส่งเข้า สู่เขตชลประทาน โดยมีช่องปิดเปิดได้.
  43. แพะ ๑ : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Capra hircus ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์ กีบคู่ขนาดกลาง มีความอดทน แข็งแรง และทนทานต่อโรคได้ดี กว่าสัตว์กีบคู่อื่น ๆ สามารถปีนป่ายที่สูงโดยเฉพาะโขดหินหรือ ภูเขาได้ดี ขนหยาบสีดํา ขาว หรือนํ้าตาล มีเขา ๑ คู่ ตัวผู้มีเครา หางสั้น; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เชษฐา มี ๑๔ ดวง, ดาวงาช้าง ดาว ช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวเชษฐะ ก็เรียก.
  44. ฟาสซิสต์ : น. ลัทธิการเมืองที่ผู้นํารวบอํานาจทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไว้หมด และมีนโยบายชาตินิยมอย่างรุนแรง แต่เคารพ ในกรรมสิทธิ์ของเอกชน, ผู้ที่นิยมลัทธินั้น. ว. เกี่ยวกับลัทธิฟาสซิสต์. (อ. fascism, fascist).
  45. เภทุบาย : น. อุบายที่ทําให้เขาแตกกัน, เล่ห์เหลี่ยม, กลอุบาย.
  46. ระบาย ๒ : ก. ผ่อนออกไป เช่น ระบายสินค้า ระบายนํ้า ระบายความทุกข์, ถ่ายออก เช่น ระบายท้อง ระบายอากาศ.
  47. ร่างร้าน : น. โครงร่างที่ทําด้วยไม้หรือโลหะ สําหรับนั่งหรือปีนป่าย ในการก่อสร้างสิ่งสูง ๆ เช่นพระเจดีย์หรือตึก, นั่งร้าน ก็ว่า.
  48. ล่อ ๒ : ก. ใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอุบายชักนํา เช่น เอาน้ำตาลล่อมด เอาเหยื่อ ล่อปลา; ปริ่ม, ใกล้จะไหล, ในคำว่า น้ำตาล่อหน่วย.
  49. ลูกลิงลูกค่าง : น. เรียกเด็กที่อยู่ไม่สุข ซุกซนมาก ชอบปีนป่าย หกคะเมนตีลังกาเป็นต้น.
  50. วิกัติการก : [วิกัดติ] (ไว) น. คําที่อธิบายตําแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คําที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา ''เป็น'' หรือ ''คือ'' เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.
  51. [1-50] | 51-57

(0.0595 sec)