Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บ่าว , then บาว, บ่าว, ป่าว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : บ่าว, 47 found, display 1-47
  1. บ่าว : น. คนใช้; ชายหนุ่ม; เรียกชายผู้เข้าพิธีสมรสว่า เจ้าบ่าว, คู่กับ หญิง ผู้เข้าพิธีสมรส ซึ่งเรียกว่า เจ้าสาว.
  2. บ่าวขุน ๒ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น บ่าวขุนกางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ).
  3. บ่าวขุน ๑ : น. ชื่อวิธีนุ่งผ้า นุ่งห้อยชายข้างหนึ่งอย่างพระยายืนชิงช้านุ่ง. (สิบสองเดือน).
  4. บ่าวไพร่ : น. ข้าทาสบริวาร.
  5. ข้อย : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. น. ข้า, บ่าว, เช่น เมื่อให้สูสองราชเป็นข้อยขาดแก่พราหมณ์. (ม. คําหลวง กุมาร).
  6. โขยม : [ขะโหฺยม] (โบ) น. ขยม, ข้า, บ่าว, เช่น ไว้โขยมวัดสามครัว. (พงศ. โยนก). (ข. ขฺญุ?).
  7. คู่บ่าวสาว : น. เจ้าบ่าวเจ้าสาว.
  8. เพื่อนเจ้าบ่าว : น. ชายผู้ทำหน้าที่เป็นเพื่อนของเจ้าบ่าวในพิธีแต่งงาน.
  9. ข้านอกเจ้าบ่าวนอกนาย : (สำ) น. ผู้ที่กระทำหรือประพฤตินอกเหนือ คำสั่งหรือแบบอย่างขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมา.
  10. เจ้าบ่าว : น. ชายผู้เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าสาว.
  11. ป่าว : ก. บอกให้รู้ทั่วกัน.
  12. ทาส, ทาส- : [ทาด, ทาดสะ-] น. ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น เป็นทาส ความรู้, ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอํานาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เป็นทาส การพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน; บ่าว ทั่วไป, ผู้ที่ขายตัวลงเป็นคนรับใช้หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา เรียกว่า ทาสนํ้าเงิน, ผู้ที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงิน เรียกว่า ทาสเรือนเบี้ย หรือ ทาสในเรือนเบี้ย, ทาสที่เอาเงินไปซื้อมา เรียกว่าทาสสินไถ่, ผู้ที่ เป็นคนเชลย เรียกว่า ทาสเชลย, ถ้าใช้คู่กันว่า ทาสทาสี ก็หมายความ ว่า ทาส เป็นบ่าวผู้ชาย และ ทาสี เป็นบ่าวผู้หญิง. (ป., ส.).
  13. ขยม : [ขะหฺยม] น. ขยุม, ข้า, บ่าว. (โบ) ส. ขยุม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษ ที่ ๑. (ข. ขฺญุํ).
  14. ขยุม ๑ : [ขะหฺยุม] น. ขยม, ข้า, บ่าว. (โบ) ส. ขยม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  15. กล่อมหอ : ก. ขับร้องหรือเล่นดนตรีเพื่อให้ครึกครื้นในพิธีแต่งงาน บ่าวสาวก่อนถึงฤกษ์ส่งตัวเจ้าสาว.
  16. กวางเขน : [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ).
  17. กว้างใหญ่ : ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  18. ของเลื่อนเตือนขันหมาก : น. สํารับคาวหวานเนื่องในการแต่งงาน ซึ่ง ฝ่ายเจ้าสาวนําไปให้ฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อเตือนบอกให้ทราบว่าทางบ้าน เจ้าสาวเตรียมพร้อมที่จะรับขันหมากได้แล้ว.
  19. ข้า ๑ : น. บ่าวไพร่, คนรับใช้.
  20. เจ้าสาว : น. หญิงผู้เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าบ่าว.
  21. ซัดน้ำ : (โบ) ก. สาดนํ้าในพิธีแต่งงานบ่าวสาว.
  22. ปราชาปัตยวิวาหะ : [ปฺราชาปัดตะยะ-] น. การสมรสวิธีหนึ่งที่บิดายกลูกสาวให้เจ้าบ่าว โดยปราศจากการเรียกร้องอย่างใดอย่างหนึ่งจากเจ้าบ่าว. (ส.).
  23. ผ้าห้อยหอ : (โบ) น. ผ้าซึ่งเจ้าบ่าวนุ่งในพิธีซัดนํ้าแต่งงานแล้ว ผลัดพาดไว้ที่เรือนหอ มีของมีค่าอยู่ในนั้นเพื่อเป็นรางวัลผู้เอาไปซัก.
  24. มงคลจักร : [มงคนละจัก] น. ด้ายมงคลแฝดสําหรับบ่าวสาวสวมศีรษะ ในพิธีรดนํ้า, มงคลแฝด ก็เรียก.
  25. มงคลแฝด : [มงคน-] (ปาก) น. ด้ายมงคลแฝดสําหรับบ่าวสาวสวม ศีรษะในพิธีรดนํ้า, มงคลจักร ก็เรียก.
  26. รดน้ำ : น. วิธีการเขียนจิตรกรรมเป็นลวดลายสีทองบนพื้นลงรักหรือ ทาชาด เรียกว่า ลายปิดทองรดนํ้า, ต่อมาเรียกสั้นลงเป็น ลายรดนํ้า. ก. หลั่งนํ้าในพิธีต่าง ๆ เช่น รดน้ำบ่าวสาวในพิธีแต่งงาน รดน้ำขอพร ผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์.
  27. รับไหว้ : ก. ไหว้ตอบ, รับความเคารพคู่บ่าวสาวด้วยการให้ของตอบแทน หรือให้ศีลให้พร.
  28. เรียงหมอน : น. ชื่อดิถีเนื่องในพิธีส่งตัวบ่าวสาวเข้าหอ กําหนดตาม วันทางจันทรคติ.
  29. เรือนหอ : น. เรือนซึ่งปลูกสำหรับให้คู่บ่าวสาวที่แต่งงานกันแล้วอยู่.
  30. วรทาน : [วะระทาน, วอระทาน] น. การให้พร. (ป.); การให้ของขวัญ แก่เจ้าบ่าว. (ส.).
  31. ส่งตัว : ก. นําตัวเจ้าสาวไปส่งให้แก่เจ้าบ่าวตามฤกษ์ เช่น ได้ฤกษ์ส่งตัว.
  32. สม ๑ : ว. เหมาะ, เหมาะกับ, ควรแก่, เช่น บ่าวสาวคู่นี้สมกัน เขาแต่งตัวสม ฐานะ แสดงละครได้สมบทบาท เขาต่อสู้กันอย่างสมศักดิ์ศรี เด็กคนนี้ แต่งตัวไม่สมวัย, รับกัน เช่น หัวแหวนสมกับเรือนแหวน; ตรงกับ เช่น สมคะเน สมปรารถนา สมความตั้งใจ. (ปาก) สมน้ำหน้า เช่น สมแล้ว ที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
  33. หอ : น. เรือนหรืออาคารซึ่งใช้เฉพาะกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หอพระ หอนั่ง หอสมุด; เรือนซึ่งปลูกสําหรับให้คู่บ่าวสาวที่แต่งงานกันแล้วอยู่ เรียกว่า เรือนหอ.
  34. เหมาะสม : ว. พอเหมาะพอสมกัน เช่น เจ้าบ่าวเจ้าสาวคู่นี้เหมาะสมกัน; สมควร, ควรแก่กรณี, เช่น เขาถูกลงโทษเหมาะสมกับความผิดแล้ว.
  35. ป่าวข่าว : ก. กระพือข่าวให้รู้ทั่วกัน.
  36. ป่าวประกาศ : ก. ประกาศให้รู้ทั่วกัน.
  37. ป่าวร้อง : ก. ร้องบอกให้รู้ทั่วกัน.
  38. กระจองงอง, กระจองงอง ๆ : ว. เสียงร้องเช่นนั้นพร้อมตีฆ้องป่าวประกาศว่า กระจองงอง ๆ เจ้าข้าเอ๊ย.
  39. โฆษก : [โคสก] น. ผู้ประกาศ, ผู้โฆษณา, เช่น โฆษกสถานีวิทยุ; ผู้แถลงข่าวแทน เช่น โฆษกพรรคการเมือง. (ส.; ป. โฆสก ว่า ผู้ป่าวร้อง, ผู้โฆษณา).
  40. โฆษณา : [โคดสะนา] ก. เผยแพร่ข้อความออกไปยังสาธารณชน; ป่าวร้อง, ป่าวประกาศ, เช่น โฆษณาสินค้า; (กฎ) กระทําการไม่ว่าโดยวิธี ใด ๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการ ค้า. (ส.; ป. โฆสนา).
  41. โฆษณาการ : น. การป่าวร้องให้ทราบ, การแจ้งความให้ทราบ. (ส. โฆษณา + อาการ).
  42. โฆษิต : ก. กึกก้อง, ป่าวร้อง. (ส.; ป. โฆสิต).
  43. ประกาศ : ก. ป่าวร้อง, แจ้งให้ทราบ, เช่น ประกาศงานบุญงานกุศล. น. ข้อความที่แจ้งให้ทราบทั่วกัน เช่น ประกาศของวัด ประกาศของ บริษัท; (กฎ) ข้อความที่ทางราชการแจ้งให้ประชาชนทราบหรือ วางแนวทางให้ปฏิบัติ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศ กระทรวง ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี. (ส. ปฺรกาศ; ป. ปกาส).
  44. ประโคมข่าว : ก. ป่าวประกาศให้ครึกโครม.
  45. เป่าแตร : (ปาก) ก. ป่าวประกาศ, ประชาสัมพันธ์.
  46. มรรคนายก : [มักคะนายก] น. ''ผู้นําทาง'' คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือ ผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและ ป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. (ส. มารฺค + นายก).
  47. มัคนายก : น. ''ผู้นําทาง'' คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือผู้ชี้แจงทางบุญ ทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. (ป. มคฺค + นายก).
  48. [1-47]

(0.0708 sec)