Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ประชาชน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ประชาชน, 70 found, display 1-50
  1. ประชาชน, ประชาราษฎร์ : น. พลเมือง, สามัญชนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ ข้าราชการ พ่อค้า หรือนักบวช ในความว่า ข้าราชการ พ่อค้า และ ประชาชน.
  2. กลางเมือง : น. ประชาชน ในคําว่า ฉ้อกลางเมือง หมายถึง ฉ้อโกงประชาชน; การรบกันเองในเมือง เรียกว่า ศึกกลางเมือง; (กฎ; โบ) เรียกหญิงที่บิดามารดายินยอมยกให้เป็นภริยาชายว่า เมียกลางเมือง. (สามดวง).
  3. ประชาชี : (ปาก) น. ประชาชน.
  4. ปากเสียง : ก. โต้เถียง, ทะเลาะ, ในคำว่า เป็นปากเสียง มีปากเสียง. น. ผู้พูดหรือโต้เถียงแทน เช่น ผู้แทนราษฎรเป็นปากเสียงของ ประชาชน.
  5. รัดเข็มขัด : (ปาก) ก. ประหยัด เช่น ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี ประชาชน ต้องรัดเข็มขัด.
  6. อัยการ : [ไอยะ] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา ทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงาน อัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงาน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการ ในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้น ก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.
  7. เข้าถึง : ก. เข้าใจอย่างซาบซึ้ง เช่น เข้าถึงบท เข้าถึงวรรณคดี, เข้าใกล้ชิด สนิทสนมเพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงชีวิตจิตใจและความต้องการเป็นต้น เช่น เข้าถึงประชาชน.
  8. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและ บําเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้ สร้างขึ้นสําหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือ ส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึง เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบ อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด.
  9. โฆษณา : [โคดสะนา] ก. เผยแพร่ข้อความออกไปยังสาธารณชน; ป่าวร้อง, ป่าวประกาศ, เช่น โฆษณาสินค้า; (กฎ) กระทําการไม่ว่าโดยวิธี ใด ๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการ ค้า. (ส.; ป. โฆสนา).
  10. ชวา : [ชะ] น. ชื่อเกาะสําคัญที่สุดและเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของ ประเทศอินโดนีเซีย, (โบ) ใช้ว่า ยะวา ก็มี, เรียกประชาชน ที่พูดภาษาชวาว่า ชาวชวา; ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง เรียกว่า ปี่ชวา.
  11. ชาติ ๒, ชาติ ๒ : [ชาด, ชาดติ] น. ประเทศ; ประชาชนที่เป็นพลเมือง ของประเทศ, กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกันหรืออยู่ในปกครองรัฐบาล เดียวกัน, ประชาชาติ ก็ว่า.
  12. เช็คไปรษณีย์ : (กฎ) น. ตราสารสําหรับขายแก่ประชาชน เพื่อประโยชน์ในการส่งเงิน โดยเจ้าพนักงาน ณ ที่ทําการ ไปรษณีย์แห่งหนึ่ง ให้เจ้าพนักงาน ณ ที่ทําการไปรษณีย์ แห่งใดแห่งหนึ่งจ่ายเงินให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งระบุ นามไว้หรือผู้ถือตราสารนั้น.
  13. ตะวัน : น. ดวงอาทิตย์. ตะวันขึ้น ก. ดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า, ตรงข้ามกับ ตะวันตก. ตะวันตก ก. ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า, ตรงข้ามกับ ตะวันขึ้น, ตะวันตกดิน ก็เรียก; เรียกทิศที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าว่า ทิศตะวันตก, ตรงข้ามกับ ทิศตะวันออก; เรียกลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกในกลางฤดูฝนว่า ลมตะวันตก; เรียกประเทศที่อยู่ในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า ประเทศตะวันตก, เรียกประชาชนโดย เฉพาะพวกผิวขาว ตลอดจนวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปและอเมริกา ว่า ชาวตะวันตก วัฒนธรรมตะวันตก เป็นต้น. ตะวันยอแสง ก. ลักษณะที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า แต่ยังเห็นแสงตะวันจับขอบฟ้าเป็นสี แดงเข้ม. ตะวันออก ว. เรียกทิศที่ดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าว่า ทิศตะวันออก, ตรงข้ามกับ ทิศ ตะวันตก; เรียกลมที่พัดมาจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกในปลายฤดูฝนว่า ลมตะวันออก; เรียกประชาชนที่อยู่ในทวีปเอเชีย ส่วนมากเป็นพวกผิวเหลือง ว่า ชาวตะวันออก. ตะวันออกกลาง น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ทาง ทิศตะวันตก ของประเทศอินเดียและปากีสถาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา, เดิมหมายรวมถึงประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย และพม่า ด้วย. ตะวันออกใกล้ น. กลุ่มประเทศในคาบสมุทรบอลข่านของทวีปยุโรปและในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ ของทวีปเอเชีย ได้แก่ กรีซ ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย แอลเบเนีย ตุรกี เลบานอน ซีเรีย อิสรา เอล จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย และประเทศอื่น ๆ ในคาบสมุทรอาหรับ บางทีก็หมายรวมถึงอียิปต์และซู ดานด้วย. ตะวันออกไกล น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันออกของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ห่างไกลจาก ทวีปยุโรปมาก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มองโกเลีย และไซบีเรีย บางทีก็รวมถึงประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอ เชียตะวันออก เฉียงใต้ คือ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และอินโดนี เซียด้วย. ตะวันอ้อมข้าว ก. ลักษณะที่ดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โคจรอ้อมลงสู่ขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าว.
  14. ถนน : [ถะหฺนน] น. หนทางที่ทําขึ้น, ลักษณนามว่า สาย, สนน ก็ว่า, โบราณเขียนเป็น ถนล. (จารึกวัดป่ามะม่วง); (กฎ) ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ''ทางข้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการ จราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือ ถนนส่วนบุคคล ซึ่ง เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้. (ข. ถฺนล่).
  15. แถลงการณ์ร่วม : น. คําแถลงการณ์ของผู้เข้าประชุมทุกฝ่ายที่ได้ลงนาม ร่วมกันเพื่อแถลงให้ประชาชนทั่วไปทราบ.
  16. ทะเบียน : น. บัญชีจดลักษณะจํานวนคน จํานวนสัตว์หรือจํานวนสิ่งของ ตลอดจนการงานต่าง ๆ ที่รัฐบันทึกไว้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับ ประชาชนพลเมือง.
  17. ทางสาธารณะ : (กฎ) น. ทางบกหรือทางนํ้าสําหรับประชาชนใช้ใน การจราจร และหมายความรวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถ เดินสําหรับประชาชนโดยสารด้วย.
  18. ท่ามกลาง : น. ที่ซึ่งอยู่ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ในท่ามกลางประชาชน. ว. ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ท่ามกลางอันตราย. (ไทยเดิม ท่าม ว่า ที่ เช่น ท่ามเหนือ ท่ามใต้).
  19. ทุรศีลธรรม : น. การกระทำผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน. (อ. immoral).
  20. น้ำประปา : น. น้ำที่เกรอะกรองให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค แล้วจ่าย ไปให้ประชาชนบริโภคใช้สอย.
  21. นิคม ๑ : น. หมู่บ้านขนาดใหญ่, ถิ่นฐานหรือชุมชนที่เกิดขึ้นจากการตั้งหลักแหล่ง, หมู่บ้านใหญ่หรือตำบลที่ประชาชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่เพื่อประกอบอาชีพ เป็นหลักฐาน เช่น นิคมสร้างตนเอง นิคมอุตสาหกรรม. (ป.; อ. settlement).
  22. แนวร่วม : น. ประชาชนที่มีแนวความคิดคล้อยตามและให้การสนับสนุน แก่พวกที่มีความคิดเห็นในแนวเดียวกัน.
  23. บริษัทมหาชนจำกัด : (กฎ) น. บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจํากัดไม่เกิน จํานวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชําระและบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์ เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ.
  24. บาหลี ๒ : [-หฺลี] น. ชื่อเกาะหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย อยู่ทางตะวันออก ของเกาะชวา, เรียกประชาชนชาวเกาะนั้นว่า ชาวบาหลี.
  25. ใบปลิว : น. แผ่นกระดาษมีข้อความประกาศหรือโฆษณาเป็นต้น เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนทั่ว ๆ ไป.
  26. ประกาศ : ก. ป่าวร้อง, แจ้งให้ทราบ, เช่น ประกาศงานบุญงานกุศล. น. ข้อความที่แจ้งให้ทราบทั่วกัน เช่น ประกาศของวัด ประกาศของ บริษัท; (กฎ) ข้อความที่ทางราชการแจ้งให้ประชาชนทราบหรือ วางแนวทางให้ปฏิบัติ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศ กระทรวง ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี. (ส. ปฺรกาศ; ป. ปกาส).
  27. ประชาชาติ : น. ประเทศ, ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ, ชาติ ก็ว่า.
  28. ประชาพิจารณ์ : น. การฟังความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่. (อ. public hearing).
  29. ประชามติ : น. มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออก ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง. (อ. plebiscite); มติของประชาชน ที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายสําคัญที่ได้ผ่าน สภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสําคัญในการบริหาร ประเทศ. (อ. referendum).
  30. ประชาสงเคราะห์ : น. การช่วยเหลือในด้านสวัสดิการ เช่นการ บรรเทาทุกข์ผู้ประสบสาธารณภัยที่รัฐให้แก่ประชาชนที่ ตกทุกข์ได้ยาก.
  31. ประปา : น. นํ้าที่เกรอะกรองให้สะอาดปราศจากเชื้อโรคแล้วจ่ายไปให้ ประชาชนบริโภคใช้สอย เรียกว่า นํ้าประปา, เรียกรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีหน้าที่จัดทําและจําหน่ายนํ้าประปาว่า การประปา, เรียกสิ่ง อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนี้ เช่น ก๊อกประปา ท่อประปา. (ส. ปฺรปา; ป. ปปา).
  32. ปลุกระดม : ก. เร้าใจและยุยงให้ประชาชนลุกฮือขึ้น.
  33. เป็นปากเสียง : ก. โต้เถียง เช่น เป็นปากเสียงกัน, พูดหรือโต้เถียงแทน เช่น หนังสือพิมพ์เป็นปากเสียงของประชาชน, เป็นปากเป็นเสียง ก็ว่า.
  34. เป็นสุข : ก. มีความสบายกายสบายใจ เช่น เขาถูกลอตเตอรี่รางวัล ที่ ๑ เวลานี้จึงเป็นสุขมาก ประชาชนในประเทศนี้อยู่เย็นเป็นสุข เสมอหน้ากัน, โดยปริยายหมายความว่า ตาย เช่น ไหน ๆ เขาก็ เป็นสุขไปแล้ว อโหสิให้เขาเถิด.
  35. ผังเมือง : (กฎ) น. แผนผัง นโยบาย และโครงการที่ใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างหรือพัฒนาเมืองหรือส่วนของเมือง ในด้านสุขลักษณะ ความสะดวก สบายความเป็นระเบียบความสวยงาม การใช้ประโยชน์ ในทรัพย์สิน ความปลอดภัยของประชาชน และสวัสดิภาพของสังคม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม.
  36. ผู้แทนราษฎร : น. บุคคลที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนผู้มีสิทธิ เลือกตั้งให้ทําหน้าที่นิติบัญญัติในสภา, (ปาก) ผู้แทน.
  37. พลเมือง : [พนละ] น. ประชาชน, ราษฎร, ชาวประเทศ.
  38. มติมหาชน : น. ความคิดเห็นหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่เห็นพ้องต้องกันใน เรื่องใดเรื่องหนึ่ง.
  39. มรรคนายก : [มักคะนายก] น. ''ผู้นําทาง'' คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือ ผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและ ป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. (ส. มารฺค + นายก).
  40. มลพิษ : [มนละพิด] น. พิษเกิดจากความมัวหมองหรือความสกปรกของสิ่งแวดล้อม เช่น ในอากาศหรือในน้ำเป็นต้น; (กฎ) ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็น พิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิด มลพิษด้วย. (อ. pollution).
  41. มหาชน : น. คนจำนวนมาก, คนส่วนใหญ่, ชนจำนวนมาก เช่น มติมหาชน, ประชาชนทั่วไป, เรียกกฎหมายที่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไปว่า กฎหมายมหาชน. (ป., ส.).
  42. มหาดไทย : น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยโบราณ มีสมุหนายกเป็นประธาน, ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ บําบัดทุกข์บํารุงสุข การพัฒนา ชนบทและชุมชน การส่งเสริมการศึกษาและการประกอบอาชีพ การรักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชน การป้องกันสาธารณภัย การผังเมือง การโยธา และการราชทัณฑ์.
  43. มองโกเลีย : น. ชื่อประเทศอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของจีน มีเมืองหลวงชื่อ อูลานบาตอร์ เดิมเรียกว่า มองโกเลียนอก ส่วนมองโกเลียใน ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน,เรียกประชาชนในประเทศนั้นว่า ชาวมองโกเลีย. (อ. Mongolia).
  44. มัคนายก : น. ''ผู้นําทาง'' คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือผู้ชี้แจงทางบุญ ทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. (ป. มคฺค + นายก).
  45. มืดฟ้ามัวดิน : ว. มีจำนวนมากมาย เช่น มีประชาชนมาร่วมงานมืดฟ้ามัวดิน.
  46. ยุคมืด : น. ช่วงแรกของสมัยกลางในประวัติศาสตร์ยุโรป ประมาณ ๖๐๐ ปี ระหว่าง พ.ศ. ๑๐๕๐๑๖๕๐ เป็นยุคที่ประชาชนมีแต่ความ มืดมนหมดหวังในชีวิต เพราะถูกพวกตาดมองโกลทำลายล้าง และ ไม่มีความเจริญทางสติปัญญาเพราะศาสนาไม่เปิดโอกาสให้คิดอย่าง เสรี, โดยปริยายหมายถึงยุคที่ประชาชนหมดหวังในชีวิต.
  47. รับ : ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอา สิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่ กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉัน ไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่าง ประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คําตอบ ที่ไม่ปฏิเสธเช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทํา; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียงเช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.
  48. รายทาง : ว. เรียงรายไปตามทางเป็นระยะ ๆ เช่น ตำรวจยืนรักษาการณ์ รายทาง มีประชาชนมาคอยต้อนรับนายกรัฐมนตรีตามรายทาง.
  49. โรงพยาบาล : น. สถานที่ให้บริการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย คือทั้งตรวจ รักษา และป้องกันโรคให้แก่ประชาชน และมีเตียงสำหรับรับคนไข้เข้า พักรักษาตัวด้วย.
  50. ล้นหลาม : ว. มากมายเหลือประมาณ เช่น ประชาชนมาเฝ้ารับเสด็จ อย่างล้นหลาม.
  51. [1-50] | 51-70

(0.0081 sec)