Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ประสาท , then ปรสาท, ประสาท, ประสาทะ, ปราสาท .

Eng-Thai Lexitron Dict : ประสาท, more than 7 found, display 1-7
  1. be strung up : (PHRV) ; วิตกกังวลมาก ; Related:ประสาท
  2. wacko : (SL) ; บ้า ; Related:ประสาท ; Syn:wacky
  3. wacky : (SL) ; บ้า ; Related:ประสาท ; Syn:wacko
  4. neurology : (N) ; ประสาทวิทยา ; Syn:clinical neurology
  5. sense : (N) ; ประสาทสัมผัส ; Related:การรู้สึก, การได้กลิ่น, การเห็น, การรับรส, การได้ยิน
  6. Eng-Thai Lexitron Dict : ประสาท, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : ประสาท, more than 7 found, display 1-7
  1. เส้นประสาท : (N) ; nerve ; Syn:ประสาท ; Def:ส่วนของร่างกายที่มีลักษณะคล้ายเส้นใย มีหน้าที่นำคำสั่งและความรู้สึกไปสู่ หรือออกจากสมอง หรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย ; Samp:การขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองประมาณ 3 นาที จะทำให้สมองและเส้นประสาทสูญเสียหน้าที่อย่างถาวร ; Unit:เส้น
  2. ประสาท 1 : (N) ; nerve ; Def:ส่วนของร่างกาย มีลักษณะคล้ายเส้นใย มีหน้าที่นำคำสั่งและความรู้สึกไปสู่หรือออกจากสมองหรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย ; Samp:กัญชาเป็นยาเสพย์ติดแบบกระตุ้นประสาท
  3. ประสาท 2 : (V) ; give ; Related:be pleased to give, bestow, confer, grant ; Syn:ยื่นให้, มอบให้, ยินดีให้, โปรดให้ ; Samp:อธิการบดีประสาทปริญญาบัตรให้แก่บัณฑิตที่จบการศึกษาในปีนี้
  4. ประสาทกิน : (V) ; be nervous ; Syn:ประสาทแดก ; Def:คิดสับสนวุ่นวายเหมือนเป็นโรคประสาท ; Samp:แม่จะประสาทกินอยู่แล้วเมื่อคิดถึงหนี้สินที่พ่อก่อไว้
  5. ประสาทหู : (N) ; auditory nerve ; Samp:ประสาทหูของเขาแว่วเสียงอะไรบางอย่างข้างนอก
  6. ประสาทตา : (N) ; optical nerve ; Samp:เขาด้รับอุบัติเหตุจนทำให้ประสาทตาเสีย
  7. ประสาทปริญญา : (V) ; bestow a degree ; Related:confer a degree ; Syn:มอบปริญญา, ให้ปริญญา ; Samp:อธิการบดีกำลังประสาทปริญญาบัตรที่หอประชุมใหญ่
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : ประสาท, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : ประสาท, more than 5 found, display 1-5
  1. ประสาท ๑, ประสาท- ๑ : [ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ส่วนของร่างกาย มีลักษณะคล้าย เส้นใย มีหน้าที่นําคําสั่งและความรู้สึกไปสู่หรือออกจากสมอง หรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย, โดยปริยายหมายความว่า จิตใจ, ความรู้สึก. (ส. ปฺรสาท; ป. ปสาท).
  2. ประสาท ๒, ประสาท- ๒ : [ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ความเลื่อมใส. (ส.; ป. ปสาท).
  3. ประสาท : [ปฺระสาด] น. ยินดีให้, โปรดให้, เช่น ประสาทปริญญา ประสาทพร. (ส. ปฺรสาท; ป. ปสาท).
  4. ประสาทรูป : [ปฺระสาทะ-] น. เส้นประสาท.
  5. ประสาทการ : [ปฺระสาทะ-] น. การเลื่อมใส.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : ประสาท, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : ประสาท, 7 found, display 1-7
  1. ประสาท : 1.เครื่องนำความรู้สึกสำหรับคนและสัตว์ เรียกประสาทรูปก็ได้ 2.ความเลื่อมใส ดู ปสาท 3.ยินดี ให้, โปรดให้
  2. ประสาทรูป : รูปคือประสาท
  3. ปราสาท : เรือนหลวง, เรือนชั้น
  4. อุปาทายรูป : รูปอาศัย, รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป, อาการของมหาภูตรูป ตามหลักฝ่ายอภิธรรมว่า มี ๒๔ คือ ก) ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุ ตา, โสต หู, ฆาน จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย, มโน ใจ, ข) โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป) ค) ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย ง) หทัยรูป ๑ คือ หทัยวัตถุ หัวใจ จ) ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่ ฉ) อาหารรูป ๑ คือกวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา ช) ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง ญ) วิญญัติรูป ๒ คือ กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือพูดได้ ฎ) วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่างๆ ได้แก่ ลหุตา ความเบา, มุทุตา ความอ่อน, กัมมัญญตา ความควรแก่งาน, (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก) ฏ) ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ ความเติบขึ้นได้, สันตติ สืบต่อได้, ชรตา ทรุดโทรมได้, อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูป เพียง ๓ จึงได้ ๒๔); ดู มหาภูต ด้วย
  5. อนุพยัญชนะ : ลักษณะน้อยๆ, พระลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ (นอกเหนือจากมหาบุรุษลักษณะ ๓๒) อีก ๘๐ ประการ คือ ๑) มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม, ๒) นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไป โดยลำดับแต่ต้นจนปลาย, ๓) นิ้วพระหัตถ์ แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี, ๔) พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง, ๕) พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง, ๖) พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลม สนิทมิได้เป็นริ้วรอย, ๗) ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก, ๘) พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา, ๙) พระดำเนินงานดุจอาการเดินแห่งกุญชรชาติ, ๑๐) พระดำเนินงามดุจสีหราช, ๑๑) พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์, ๑๒) พระดำเนินงามดุจอุสภราชดำเนิน, ๑๓) ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน, ๑๔) พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก, ๑๕) มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์คือมิได้มีกิริยามารยาทคล้ายสตรี ๑๖) พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง, ๑๗) พระอุทรมีสัณฐานอันลึก, ๑๘) ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏ, ๑๙) ลำพระเพลาทั้งสองกลมงามดุจลำสุวรรณกัททลี, ๒๐) ลำพระกรทั้งสองงามดุจงวงแห่งเอราวัณเทพยหัตถี, ๒๑) พระอังคาพยใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คือ งามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้, ๒๒) พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรจะบางก็บางตามที่ทั่วทั้งประสรีรกาย, ๒๓) พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนึ่ง ๒๔) พระสรีรกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง, ๒๕) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง, ๒๖) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง, ๒๗) ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติ ประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ, ๒๘) มีพระนาสิกอันสูง, ๒๙) สัณฐานนาสิกงามแฉล้ม ๓๐) มีพระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก, ๓๑) พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน, ๓๒) พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์, ๓๓) พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย, ๓๔) พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น, ๓๕) พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูรณ์, ๓๖) ดวงพระพักตร์มีสัณฐานยาวสวย ๓๗) พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน, ๓๘) ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก, ๓๙) ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว ๔๐) ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด ๔๑) ลายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง, ๔๒) รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ ๔๓) กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์ ๔๔) กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน ๔๕) ดวงพระเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ๔๖) ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้งอมิได้คด ๔๗) พระชิวหามีสัณฐานอันงาม ๔๘) พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้างมีพรรณอันแดงเข้ม ๔๙) พระกรรณทั้งสองมีสัณฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ ๕๐) ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม ๕๑) ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง ๕๒) แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่มิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง ๕๓) พระเศียรมีสัณฐานงามเหมือนฉัตรแก้ว ๕๔) ปริมณฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน ๕๕) พระนลาฏมีสัณฐานอันงาม ๕๖) พระโขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนูอันก่งไว้ ๕๗) พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด ๕๘) เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วล้มราบไปโดยลำดับ ๕๙) พระโขนงนั้นใหญ่ ๖๐) พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร ๖๑) ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๒) พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ ๖๓) พระสรีรกายมิได้มัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ๖๔) พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ ๖๕) พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย ๖๖) กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษณา ๖๗) พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น ๖๘) พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๙) ลมอัสสาสะและปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด ๗๐) พระโอษฐมีสัณฐานอันงามดุจแย้ม ๗๑) กลิ่นพระโอษฐหอมดุจกลิ่นอุบล ๗๒) พระเกสาดำเป็นแสง ๗๓) กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ ๗๔) พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ ๗๕) พระเกสามีสัณฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น ๗๖) พระเกสาดำสนิททั้งสิ้น ๗๗) พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด ๗๘) เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง ๗๙) เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏทุกๆ เส้น ๘๐) วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแห่งพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ฯ นิยมเรียกว่า อสีตยานุพยัญชนะ; ดู มหาบุรุษลักษณะ
  6. วิสาขา : ชื่อมหาอุบาสิกาสำคัญในครั้งพุทธกาล เป็นธิดาของธนัญชัยเศรษฐี และนางสุมนา เกิดที่เมืองภัททิยะในแคว้นอังคะ ได้บรรลุโสดาปัตติผล ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ต่อมาได้ย้ายตามบิดามาอยู่ที่เมืองสาเกตในแคว้นโกศลแล้วได้สมรสกับนายปุณณวัฒน์บุตรชายมิคารเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี และย้ายไปอยู่ในตระกูลฝ่ายสามี นางสามารถกลับใจมิคารเศรษฐี บิดาของสามี ซึ่งนับถือครนถ์ ให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา มิคารเศรษฐีนับถือนางมาก และเรียกนางวิสาขาเป็นแม่ นางวิสาขาจึงได้ชื่อใหม่อีกอย่างหนึ่งว่า มิคารมารดา (มารดาของมิคารเศรษฐี) นางวิสาขาได้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์อย่างมากมาย และได้ให้ขายเครื่องประดับประจำตัวตั้งแต่แต่งงาน เรียกชื่อว่า มหาลดาปสาธน์ ซึ่งมีค่าสูงยิ่ง นำเงินมาสร้างวัดถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์คือ มิคารมาตุปราสาท วัดบุพพาราม ณ พระนครสาวัตถี นางวิสาขามีบุตรหลานมากมายล้วนมีสุขภาพดีแทบทั้งนั้น แม้นางจะมีอายุยืนถึง ๑๒๐ ปี ก็ดูไม่แก่ และเป็นบุคคลที่ได้รับความนับถืออย่างกว้างขวางในสังคม ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาทายิกาทั้งปวง
  7. โสณโกฬิวิสะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นกุลบุตรชื่อโสณะ ตระกูลโกฬิวิสะ เป็นบุตรของอุสภเศรษฐีแห่งวรรณะแพศย์ ในเมืองกาฬจัมปากแคว้นอังคะ โสณกุลบุตรมีลักษณะพิเศษในร่างกาย คือ มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม และมีขนอ่อนขึ้นภายใน อีกทั้งมีความเป็นอยู่อย่างดี ได้รับการบำรุงบำเรอทุกประการ อยู่ในปราสาท ๓ ฤดู จึงได้สมญาว่าเป็น สุขุมาลโสณะ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารทรงสดับกิตติศัพท์ จึงรับสั่งให้โสณะเดินทางไปเฝ้าและให้แสดงขนฝ่ามือฝ่าเท้าให้ทอดพระเนตร คราวนั้นโสณะมีโอกาสได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้สดับพระธรรมเทศนา เกิดความเลื่อมใสขอบวช ท่านทำความเพียรอย่างแรงกล้าจนเท้าแตกและเริ่มท้อใจ พระพุทธเจ้าจึงทรงประทานโอวาทด้วยข้ออุปมาเรื่องพิณ๓สาย ท่านปฏิบัติตาม ไม่ช้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต พระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางปรารภความเพียร

ETipitaka Pali-Thai Dict : ประสาท, more than 5 found, display 1-5
  1. กายประสาท, - ยปฺปสาท : ป. กายประสาท, ความรู้สึกทางกาย
  2. อินฺทิย อินฺทฺริย : (นปุ.) ความเป็นใหญ่, ร่าง กาย, ร่างกายและจิตใจ, กำลัง, กำลังกาย, อำนาจ, ความรู้สึก, สติปัญญา, ประสาท, หน้าที่, อินทรีย์ (ความเป็นใหญ่ในกิจ นั้น ๆ). วิ. อินฺโท อตฺตา, ตสฺส ลิงฺคํ อินฺทิยํ อินฺทริยํ วา. อิย ปัจ. อินฺทติ ปรมิสฺสริยํ กโรตีติ วา อินฺทิริยํ. อิทิ ปรมิสฺสริเย, อิโย. ศัพท์หลังแปลง ท เป็น ทฺร. ส. อินฺทริย.
  3. ปสาท : ป., นป. ความผ่องใส, ความเบิกบาน, ความบริสุทธิ์, ความยินดี, ความพอใจ, จิตที่มีความสุขผ่องแผ้ว, ศรัทธา, ความสงบระงับ; ประสาท เช่น “ประสาทตา” เป็นต้น
  4. ฆานปสาท : (ปุ.) ประสาทของจมูก, ฆาน- ประสาท (เส้นใยสำหรับรับความรู้สึก ทางจมูก).
  5. จกฺขุ : (นปุ.) ตา ( ธรรมชาติที่เห็นรูปได้ ), นัยน์ตา โดยมากหมายเอา แววตา ประสาท ตา. วิ. จกฺขติ รูปนฺติ จกฺขุ จกฺขฺ ทสฺสเน, อุ. กัจฯ และรูปฯ ลง ณุ ปัจ. จกฺขุ ศัพท์ ใช้ในอรรถ ๕ อย่างคือ พุทฺธจกฺขุ ได้แก่ พุทธญาณ ๑ สมนฺตจกฺขุ ได้แก่พระ สัพพัญญุตญาณ ๑ ปญฺญาจกฺขุ ได้แก่จักษุ คือปัญญา ๑ ธมมจกฺขุ ได้แก่ญาณ ใน มรรคสามเบื้องต้น ๑ มํสจกฺขุ ได้แก่ตา เนื้อ และทิพฺพจกฺขุ ตาทิพ ๑ ส. จกฺษุ.
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : ประสาท, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ประสาท, 1 found, display 1-1
  1. เส้นประสาท : รสคฺคสา, รสหรณี

(0.1544 sec)