Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ประสาน , then ประสาน, ปราสาน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ประสาน, 55 found, display 1-50
  1. ประสาน : ก. ทําให้เข้ากันสนิท, เชื่อม.
  2. ประสานงา : ก. ใช้งาสวนแทงกันในการยุทธหัตถี; ขัดแย้งกันอย่าง รุนแรง, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รถหรือเรือแล่นเข้าชนกันอย่างแรง.
  3. ประสานเนรมิต : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  4. ประสานเสียง : ก. ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเป็นหมู่ให้มีเสียงกลมกลืนกัน.
  5. ท่อ ๓ : ก. โต้ตอบ, ประสาน, เช่น นกท่อเสียงกัน.
  6. น้ำประสานทอง : น. เกลือเคมีชนิดหนึ่งใช้เป็นตัวประสานในการเชื่อม หรือบัดกรีโลหะเป็นต้น.
  7. สอดคล้อง : ว. พ้อง, ประสาน, ไม่ขัดกัน, เช่น มีความเห็นสอดคล้อง กัน ทำงานสอดคล้องกัน ความคิดกับการกระทำสอดคล้องกัน.
  8. คำประสาน : น. คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประกอบกัน อาจเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้ ๒ คำมาประกอบกัน เช่น ชดช้อย ครื้นเครง หรือเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้คำหนึ่งประกอบกับคำที่เกิดอิสระได้ อีกคำหนึ่ง เช่น ชาวไร่ อ่อนช้อย, คำผสาน ก็เรียก.
  9. ช้างประสานงา : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง; ท่าละครท่าหนึ่ง; ชื่อเพลงบทละคร.
  10. ประสมประสาน : ก. ผสมผสาน, เก็บรวมไว้ทีละเล็กละน้อย, เก็บเล็กผสมน้อย.
  11. มายาประสาน : ดู กําแพงขาว.
  12. เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น, เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสาน :
  13. บรรสาน : [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสาน) ก. ทําให้ติดกัน, ทําให้สนิทกัน, เชื่อม, รัด, ผูกไว้.
  14. ผสาน : [ผะ] ก. ประสาน. (ข. ผฺสาร = บัดกรี).
  15. หีบเพลงชัก : น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ประกอบด้วยหีบ ๒ หีบ ส่วนใหญ่เป็นหีบสี่เหลี่ยม เชื่อมต่อกันด้วยท่อลมพับ ๒ ด้าน ด้านขวามือ มีปุ่มกดหรือมีแผงแป้นนิ้ว ด้านซ้ายมือมีปุ่มกดบรรเลงเสียงตํ่าและเสียง ประสาน. (อ. accordion).
  16. กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
  17. กลืน : [กฺลืน] ก. อาการที่ทําให้อาหารหรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในปากล่วงลําคอ ลงไป, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น ก็ใช้ว่า กลืน ได้ในความหมายเช่นทําให้หายหรือให้สูญไป เช่น ถูกกลืนชาติ, อดกลั้นไม่สําแดงให้ปรากฏออกมา เช่น กลืนทุกข์ กลืนโศก, ประสานกันหรือเข้ากันได้สนิทดี เช่น สีกลืนกัน.
  18. กำแพงขาว : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ใบคล้ายหมากผู้หมากเมีย ต้นและใบเขียว มีลายดั่งว่านเสือ แต่ลายเบา มีพรายปรอท หัวเหมือนกระชาย ตุ้มรากกลมทอดไปยาว หัวมีกลิ่นหอม ใช้อยู่คงเขี้ยวเขานองา, อีกชนิดหนึ่งเรียก มายาประสาน เป็นว่านประสานบาดแผล. (กบิลว่าน).
  19. เกลือก ๒ : [เกฺลือก] ก. เกรง. สัน. หาก, ถ้า, แม้, บางที, เผื่อว่า, มักใช้ว่า เกลือกว่า เช่น แม่อย่าสามานย์ด้วยวาจา มันจะตามถ้อยคำเข้ามาประสมประสาน เกลือกว่า เหยื่อมันสาธารณ์แม่จะอดสู. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  20. ขม่อม : [ขะหฺม่อม] น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ต่ำกว่า ส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะ มีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่อ อ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่าขม่อม ลงขม่อม, กระหม่อม ก็ว่า.
  21. ขับไม้ : น. การเล่นดนตรีอย่างหนึ่ง มีคนเล่น ๓ คนด้วยกัน คนหนึ่ง ขับร้องลํานํา คนหนึ่งสีซอ ๓ สายประสานเสียง คนหนึ่งไกวบัณเฑาะว์ ให้จังหวะ; ชื่อคําประพันธ์ชนิดหนึ่ง ใช้โคลงกับกาพย์สุรางคนางค์สลับกัน.
  22. ข่ายงาน : น. วงงานที่อยู่ในความควบคุมดูแลและประสานกัน.
  23. เข้าเดือย : ก. นําไม้ ๒ อัน โดยอันหนึ่งทําให้เป็นเดือย อีกอันหนึ่งเจาะรู ให้พอเหมาะกัน มาประกบให้ประสานกันพอดี.
  24. คำผสาน : ดู คำประสาน.
  25. จงกรมแก้ว : น. พระพุทธรูปปางหนึ่งยืนย่างพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานพระเพลา มีเรือนแก้ว. (พุทธเจดีย์).
  26. จับมือ : ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวา ของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตาม ในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ, จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนา แหล่งน้ำ.
  27. จาว ๓ : ว. ตามกันไป, ประสานกันไป, เช่น ชลธารนทีเจือ จาวหลั่ง ไหลนา. (ทวาทศมาส). (ไทยขาว จาว ว่า ตกลง, ยอมตาม; จ่าว ว่า คล้อย ตามคำแนะนำ).
  28. จำบับ : การปล้ำกัน, การประสานมือกัน).
  29. เชื่อม ๒ : ก. ทําให้ติดเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น เชื่อมเหล็ก, ทําให้ ประสานกัน เช่น เชื่อมสัมพันธไมตรี.
  30. ซิป : น. เครื่องรูดปิดให้ริมผ้าหรือวัสดุ ๒ ชิ้นประสานกัน ประกอบด้วย ฟันเล็ก ๆ ๒ แถว มีที่จับเพื่อรูดให้ฟันประกบกันหรือแยกออกจากกัน ได้. (อ. zipper, zip—fastener).
  31. ดนตรีกรรม : (กฎ) น. งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง ไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความ รวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียง ประสานแล้ว.
  32. ถม ๑ : น. เรียกภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทําโดยใช้ผงยาถมผสมนํ้า ประสานทองถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะหรือเครื่อง ประดับนั้น แล้วขัดผิวให้เป็นเงางามว่า เครื่องถม หรือ ถม เช่น ถมนคร ถมทอง ถมเงิน. ก. ลงคาถา, ลงเลขยันต์; ใช้สารเคมีใส่ ลงในพื้นที่เป็นช่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อน อบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถมดำ ถมยา หรือ ลงถม ก็ว่า, เรียกเต็มว่าถมยาดำ.
  33. ถัก : ก. เอาเส้นเชือกหรือหวายเป็นต้นไขว้สอดประสานกันให้เป็น ลวดลายต่าง ๆ บ้าง ให้เป็นเส้นและเป็นผืนบ้าง ให้ติดต่อกันบ้าง.
  34. ทุกรกิริยา : น. การกระทํากิจที่ทําได้โดยยาก ได้แก่ การทําความเพียร เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ ทั้ง ๒ ประสานพระอุระ. (พุทธเจดีย์). (ป. ทุกฺกรกิริยา).
  35. เนื้อเยื่อประสาท : น. เนื้อเยื่อของระบบประสาท ทําหน้าที่ติดต่อประสาน งานระหว่างอวัยวะภายใน และระหว่างร่างกายกับสิ่งแวดล้อมภายนอก. (อ. nervous tissue).
  36. บัดกรี : [บัดกฺรี] ก. เชื่อมหรือประสานโลหะให้ติดกัน.
  37. บัว : น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ สกุล Nelumbo ในวงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบ เป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม พันธุ์ดอก สีขาวเรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกสีชมพูเรียก ปัทม์ หรือ สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, สกุล Nymphaea ในวงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ หรือจักอยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchali Burm.f.) ขอบใบเรียบ ดอก สีม่วงอ่อน, สกุล Victoria ในวงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบ กระด้ง หรือ บัววิกตอเรีย [V. amazonica (Poeppig) Sowerby] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่น กลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่ บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้าน ดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก; ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทําเป็นรูป กลีบบัว ติดอยู่บนหัวเสา เรียกว่า บัวหัวเสา หรือที่ส่วนล่างของฐาน เป็นต้น เรียกว่า ฐานบัว, ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรงส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อ ประสานระหว่างพื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มี ความกว้างตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุม หรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็น รูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะสลักหรือไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็น ไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, ลวดบัว ก็เรียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายดอกบัว เช่น โคมบัว.
  38. บุหงง : [-หฺงง] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Desmos blumei Finet ในวงศ์ Annonaceae ดอกสีเหลือง กลีบดอกประสานกันเป็นถุง.
  39. พบู ๒ : (กลอน) น. หน้า; ดอกไม้ เช่น พบูบานประสานสี. ว. งาม; ขาว, ด่อน.
  40. พายเรือคนละที : (สํา) ก. ทํางานไม่ประสานกัน.
  41. ฟืม : น. เครื่องสําหรับทอผ้า มีฟันเป็นซี่ ๆ คล้ายหวี สําหรับ สอดเส้นด้ายหรือไหมใช้กระทกให้ประสานกัน.
  42. เฟือง : น. มะเฟือง; พู, เหลี่ยม, เช่น เฟืองมะยม; ล้อที่มีฟันเพื่อให้ ประสานกับฟันของล้อตัวอื่นเป็นต้น.
  43. ยวกสา : [ยะวะกะสา] น. นํ้าประสานดีบุก.
  44. รอย : น. ลักษณะที่เป็นเส้น เป็นริ้ว หรือลวดลายเป็นต้นที่ปรากฏอยู่บนพื้น สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น รอยขีด รอยหน้าผากย่น รอยพระบาท รอยต่อ รอย ประสาน; เค้า, เค้าเงื่อน, เช่น แกะรอย ตามรอย; โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รอยรัก, ทาง เช่น มารอยเดียวกัน; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นรอย เช่น พระบาท ๔ รอย มีรอยต่อ ๓ รอย. (กลอน) ว. เห็นจะ, ชะรอย.
  45. ระบบ : น. กลุ่มของสิ่งซึ่งมีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกันตามหลักแห่ง ความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกัน ด้วยระเบียบของธรรมชาติหรือหลักเหตุผล ทางวิชาการ เช่น ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบจักรวาล ระบบสังคม ระบบการบริหารประเทศ.
  46. รำพึง : ก. คิดถึง, คิดคำนึงอยู่ในใจ, เช่น เขารำพึงถึงความหลังด้วยความเศร้าใจ. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย เป็นกิริยารำพึง.
  47. เรียบเรียง : ก. แต่ง เช่น เรียบเรียงข้อความ เรียบเรียงถ้อยคำ, ตกแต่ง ถ้อยคำให้สละสลวยและเรียงลำดับความให้ชัดเจน เช่น แปลและเรียบ เรียงหนังสือ, จัดเสียงเพิ่มเติมจากทำนองที่มีอยู่แล้วตามหลักวิชาการ ดนตรีเพื่อให้บทเพลงไพเราะขึ้น ในความว่า เรียบเรียงเสียงประสาน.
  48. ลวดบัว : น. ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรง ส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อประสานระหว่าง พื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับ ผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มีความกว้างตามความ เหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุมหรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะ สลักไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็นไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลาย ที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, บัว ก็เรียก.
  49. ศูนย์ชุมชน : น. หน่วยงานถาวรที่เป็นศูนย์กลางในการวางแผน ปฏิบัติงานและประสานงานบริการของหน่วยราชการและ องค์การต่าง ๆ โดยประชาชนในท้องถิ่นนั้นจะเลือกคณะ กรรมการขึ้นทําหน้าที่กําหนดนโยบายและบริหารงาน.
  50. สันนิบาตเทศบาล : น. องค์กรของเทศบาลทั่วประเทศรวมทั้งเทศบาล เมืองพัทยาและกรุงเทพมหานคร ซึ่งรวมตัวกันโดยมีจุดมุ่งหมายช่วย เหลือสนับสนุน และติดต่อประสานงานเทศบาลทั่วประเทศ โดยไม่มี จุดประสงค์ทางการเมือง เรียกว่า สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย.
  51. [1-50] | 51-55

(0.0692 sec)