Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปราชญ์ , then ปราชญ, ปราชญ์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปราชญ์, 32 found, display 1-32
  1. ปราชญ์ : [ปฺราด] น. ผู้มีปัญญารอบรู้. (ส. ปฺราชฺ?).
  2. นักปราชญ์ : น. ผู้รู้, ผู้มีปัญญา.
  3. วิชญะ : [วิดยะ] น. ผู้รู้, ผู้ฉลาด, ปราชญ์. (ส.).
  4. กระวี ๑ : น. นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระ พินิจฉัยพร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์ อยู่ในศีลสัจ. (สามดวง). (แผลงมาจาก กวี).
  5. จ่อม ๒ : ก. หย่อนลง, วางลง, เช่น เอาเบ็ดไปจ่อม จ่อมก้นไม่ลง, จุ่มลง, จม, เช่น ปวงเทพเจ้าตกจม จ่อมม้วย. (โคลงตำนานศรีปราชญ์), จอด เช่น ใจจ่อมเจ้า; ฟุบ, หมอบ, (ใช้แก่สัตว์ เช่น โค กระบือ).
  6. จินต์จล : ก. คิดหวั่น, คิดหวาดหวั่น, เช่น ใจปราชญ์ฤๅเฟื่องฟื้นห่อนได้ จินต์จล. (โลกนิติ). (ป. จินฺต ว่า คิด, จล ว่าหวั่นไหว).
  7. ซ่องเสพ : ก. คบหากัน เช่น ควรซ่องเสพนักปราชญ์ อย่าซ่องเสพ คนพาล; ร่วมประเวณี.
  8. ธีร, ธีระ : [ทีระ] น. นักปราชญ์. ว. ฉลาด, ไหวพริบ, มีปัญญา, ชํานาญ. (ป.); มั่นคง, แข็งแรง. (ส.).
  9. ธีรราช : น. กษัตริย์ผู้เป็นปราชญ์.
  10. เธียร : น. นักปราชญ์. ว. ฉลาด, มั่นคง. (ป. ธีร).
  11. บัณฑิต : [บันดิด] น. ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สําเร็จการศึกษาขั้น ปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดย กําเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).
  12. ประวัติ, ประวัติ- : [ปฺระหฺวัด, ปฺระหฺวัดติ-] น. เรื่องราวว่าด้วยความเป็นไปของคน สถานที่ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ประวัติศรีปราชญ์ ประวัติ วัดมหาธาตุ. (ป. ปวตฺติ).
  13. พญาพยาต : (โบ) น. พญาปราชญ์, จอมปราชญ์.
  14. พิชญ์ : น. นักปราชญ์, คนมีความรู้สูง. (ส. วิชฺ?).
  15. มนัสวี : [มะนัดสะ-] น. ผู้เป็นปราชญ์, ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว, ผู้มีความคิดสูง. (ส.).
  16. มัชฌิมชนบท : น. ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของ ประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุม ของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ.
  17. มุนินทร์ : น. จอมนักปราชญ์, พระพุทธเจ้า. (ส. มุนินฺทฺร; ป. มุนินฺท).
  18. มุนิ, มุนี : น. นักปราชญ์, ฤษี, พระสงฆ์. (ป., ส.).
  19. เมธาวี, เมธี : น. นักปราชญ์. (ป., ส.).
  20. โมไนย : [-ไน] น. ความเป็นปราชญ์, คุณธรรมของนักปราชญ์. (ป. โมเนยฺย; ส. เมาเนย).
  21. ราชบัณฑิต : [–บันดิด] น. นักปราชญ์หลวงมีความรู้ทางภาษาบาลี; สมาชิกองค์การวิทยาการของรัฐที่เรียกว่า ราชบัณฑิตยสถาน.
  22. วิญญู : น. ผู้รู้แจ้ง, นักปราชญ์. (ป.; ส. วิชฺ?).
  23. วิทวัส : [วิดทะวัด] น. ผู้รู้, นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา. (ส.; ป. วิทฺวา).
  24. วิพุธ : น. ผู้รู้, นักปราชญ์. (ป., ส.).
  25. วิภาวี : น. ผู้รู้แจ้งชัด, นักปราชญ์. (ป.; ส. วิภาวินฺ).
  26. เวตาล : น. ผีจําพวกหนึ่ง ชอบสิงอยู่ในป่าช้า. (ส. เวตาล ว่า นักปราชญ์ที่ ไม่ได้ถ่ายวิชาให้ใคร ตายไปแล้วเป็นผีชนิดนี้).
  27. เวที ๒ : น. ผู้รู้, นักปราชญ์. (ป.; ส. เวทินฺ).
  28. แวว : ว. สุกใส, วูบวาบ, เช่น ดวงตาฉายแววแห่งความสุข ขัดหัวเข็มขัด เสียแวว เพชรซีกมีแววน้อยกว่าเพชรลูก. น. ลักษณะที่แสดงให้เห็น ว่าจะเป็นคนชนิดไร, เค้า, ร่องรอย, เช่น เด็กคนนี้มีแววจะเป็น นักปราชญ์ต่อไป เขาไม่มีแววว่าจะสอบได้; (ศิลปะ) กระจกเงาที่ตัด เป็นวงกลม ๆ เล็ก ๆ ใช้ติดตกแต่งเป็นไส้ลวดลายปูนปั้นหรืองานไม้ แกะสลักปิดทอง.
  29. สมาคม : [สะมา] น. การประชุม, การเข้าร่วมพวกร่วมคณะ, การคบค้า; แหล่งหรือที่ประชุมของบุคคลหลายคนมาร่วมกันด้วยมีจุดประสงค์ เพื่อประโยชน์บางประการ เช่น เข้าสมาคม สมาคมศิษย์เก่า; (กฎ) นิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อกระทําการใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกัน และมิใช่เป็นการหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน สมาคมต้องมี ข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์. (ป., ส.). ก. คบค้า, คบหา, เช่น อย่าสมาคมกับคนพาล ให้สมาคมกับนักปราชญ์.
  30. หะหาย, หะห้าย : ว. เสียงเยาะ เช่น หะหายกระต่ายเต้น ชมแข. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์).
  31. หัวใจ : น. อวัยวะภายในสําหรับฉีดเลือดให้หมุนเวียนเลี้ยงร่างกาย; ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด, เช่น เขาทำอย่างนี้เหมือนเป็นคนไม่มี หัวใจ; ส่วนสําคัญแห่งสิ่งต่าง ๆ; อักษรย่อของหลักธรรมหรือข้อความ ต่าง ๆ ที่ผูกไว้เพื่อกําหนดจําได้ง่าย นิยมว่าเป็นของขลัง เช่น หัวใจ อริยสัจ ว่า ''ทุ. ส. นิ. ม.'' หัวใจนักปราชญ์ ว่า ''สุ. จิ. ปุ. ลิ.'' หัวใจเศรษฐี ว่า ''อุ. อา. ก. ส.''.
  32. หาก : ก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น ''อันไตรโลกย์ หากบูชา'' = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่น หากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดช พระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).
  33. [1-32]

(0.0644 sec)