Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปรึกษา , then ปรกษา, ปรึกษา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปรึกษา, 34 found, display 1-34
  1. ปรึกษา : [ปฺรึกสา] ก. หารือ, ขอความเห็นแนะนํา, พิจารณาหารือกัน, พิจารณาอภิปรายกัน เช่น ประชุมปรึกษา, พิจารณาร่างคําพิพากษา เช่น ผู้ปรึกษา (ในทางศาล). น. เรียกความเห็นแนะนําที่ให้เนื่อง ด้วยการหารือว่า คําปรึกษา, เรียกผู้มีหน้าที่ให้ความเห็นแนะนําว่า ที่ปรึกษา, เรียกผู้รับหารือเพื่อให้ความเห็นแนะนําว่า ผู้รับปรึกษา. (ส. ปรีกฺษา).
  2. ที่ปรึกษา : น. ผู้มีหน้าที่ให้ความเห็นแนะนำ.
  3. คณะองคมนตรี : (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรง แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยประธานองคมนตรีคนหนึ่งและ องคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน ๑๘ คน คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็น ต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรง ปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ.
  4. หารือ : ก. ปรึกษา.
  5. หารือ : ก. ขอความเห็น, ปรึกษา.
  6. กรมการนอกทำเนียบ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมือง ในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ หรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็น กรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการพิเศษ ก็ว่า.
  7. กรมการพิเศษ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็น ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการ เมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจาก บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการนอกทำเนียบ ก็ว่า.
  8. ข้ามหัว : ก. ทําโดยพลการไม่บอกกล่าวหรือปรึกษาหารือผู้ที่ควร บอกกล่าวหรือควรปรึกษาหารือ.
  9. คณะกรมการจังหวัด : (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของ ผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น และให้ ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดกับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด.
  10. คุย ๑ : ก. พูดจาสนทนากัน; (ปาก) ปรึกษาหารือ เช่น เรื่องนี้ขอคุยกันก่อน ที่จะตัดสินใจ; พูดเป็นเชิงโอ้อวด เช่น เรื่องแค่นี้ทำเป็นคุย.
  11. คู่คิด : น. ผู้ร่วมคิดหรือร่วมปรึกษาหารือที่สนิทสนมและรู้ใจกันดี.
  12. จุฬาราชมนตรี : น. ตำแหน่งผู้นำสูงสุดทางด้านการบริหารกิจการมุสลิมในประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาทางราชการเกี่ยวกับกิจการมุสลิมทั้งปวง.
  13. บริษัทหลักทรัพย์ : (กฎ) น. บริษัทหรือสถาบันการเงินที่ได้รับใบ อนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ เช่น การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการ กองทุนรวม.
  14. บัญหา : น. ข้อที่ต้องคิดต้องแก้, เรื่องที่ต้องปรึกษาหารือ. (ป. ปญฺห).
  15. ใบสัจ : (โบ) น. เอกสารซึ่งตระลาการพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วนํา เสนอลูกขุนปรึกษาปรับสัจตัดสิน.
  16. ประชุม : ก. มารวมกันหรือเรียกให้มารวมกันเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง, มาร่วมพบกันเพื่อปรึกษาหารือ, เช่น ประชุมกรรมการ, โดยปริยาย ใช้หมายถึงเอาสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกันมารวมกัน เช่น ประชุม พงศาวดาร ประชุมปาฐกถา, บางทีใช้หมายความอย่างเดียวกับชุมนุม เช่น ประชุมพระบรมราชาธิบาย ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔.
  17. ประโรหิต : น. ปุโรหิต, พราหมณ์ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์. (ส., ป. ปุโรหิต).
  18. ปุโรหิต : น. พราหมณ์ที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ในทางนิติ คือ ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี. (ป., ส.).
  19. พี่เลี้ยง : น. ผู้มีหน้าที่เลี้ยงดูเด็ก; ผู้ทำหน้าที่ดูแล ให้คำปรึกษา หรือช่วยเหลือเป็นต้น เช่น พี่เลี้ยงนักมวย พี่เลี้ยงผู้เข้าประกวด.
  20. มนตรี : น. ที่ปรึกษา, ผู้แนะนํา, ที่ปรึกษาราชการ, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่, นิยม ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น องคมนตรี รัฐมนตรี เทศมนตรี. (ส.; ป. มนฺตี).
  21. มุขมนตรี : [มุกขะมนตฺรี] น. ที่ปรึกษาราชการชั้นผู้ใหญ่.
  22. รัฐมนตรี : [รัดถะมนตฺรี] น. ผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีหรือคณะ รัฐบาลรับผิดชอบร่วมกับคณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาล ในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือ ทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการ และรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วย อีกฐานะหนึ่ง; (โบ) ที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญา สิทธิราชย์.
  23. ไร ๆ : ว. อาการที่มองเห็นอยู่ไกลลิบ ๆ ไม่ชัด เช่น เห็นทิวไม้อยู่ไร ๆ; เริ่ม นึกออกได้เล็กน้อย เช่น เรื่องที่มาปรึกษานึกเห็นทางออกได้ไร ๆ, รำไร ก็ว่า.
  24. วิชาเลือกบังคับ : น. รายวิชาเลือกที่อาจารย์ที่ปรึกษาบังคับให้เรียน เป็นรายบุคคล. (อ. prescribed elective course).
  25. วิชาเลือกเสรี : น. รายวิชาที่เลือกเรียนได้อย่างเสรี โดยผู้เรียนไม่ต้อง ถามอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน. (อ. free elective course).
  26. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ : (กฎ) น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการ ขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรม ระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การ สหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่ง ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสิน เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาท ต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรี ความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ ร้องขอ, เรียกย่อว่า ศาลโลก. (อ. International Court of Justice).
  27. สนทนา : [สนทะ] ก. คุยกัน, ปรึกษาหารือกัน, พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น สนทนา ปัญหาบ้านเมือง สนทนาสารทุกข์สุกดิบ. ว. ที่คุยกัน, ที่ปรึกษาหารือกัน, ที่พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น บทสนทนาในนวนิยาย บทสนทนาภาษาอังกฤษ. (เทียบ ป. สํสนฺทนา ว่า การเทียบเคียง, การเปรียบเทียบ).
  28. สากัจฉา : น. การพูดจา, การปรึกษา. (ป.).
  29. หัวหลักหัวตอ : (สํา) น. บุคคลที่นึกว่าตนเป็นคนสำคัญแต่คนอื่นมองข้าม ไป เวลาทำงานสำคัญก็ไม่ปรึกษา (มักใช้ในลักษณะแสดงความน้อยอก น้อยใจ), ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ถูกผู้น้อยมองข้ามไป เวลาทำงานสำคัญก็ไม่ ปรึกษาหารือก่อน (มักใช้ในลักษณะแสดงความน้อยอกน้อยใจ) เช่น เขาเห็นเราเป็นหัวหลักหัวตอไปได้ จะทำอะไรก็ไม่ปรึกษาหารือ.
  30. องคมนตรี : [องคะ] น. ผู้มีตําแหน่งที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์.
  31. อภิรัฐมนตรี : (เลิก) น. ที่ปรึกษาชั้นสูงของพระมหากษัตริย์.
  32. อมาตย์ : [อะหฺมาด] น. อำมาตย์, ข้าราชการ, ข้าเฝ้า; ที่ปรึกษา. (ส.; ป. อมจฺจ).
  33. อัยการ : [ไอยะ] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา ทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงาน อัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงาน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการ ในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้น ก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.
  34. อำมาตย, อำมาตย์ : [อำหฺมาดตะยะ, อำหฺมาด] น. ข้าราชการ, ข้าเฝ้า; ที่ปรึกษา; แผลงมาจาก อมาตย์. (ส. อมาตฺย; ป. อมจฺจ).
  35. [1-34]

(0.0597 sec)