Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปัญญา , then บัญญา, เบญญา, ปญญา, ปญฺญา, ปัญญะ, ปัญญา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปัญญา, 119 found, display 1-50
  1. ปัญญา : น. ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด, เช่น คนมีปัญญา หมดปัญญา. (ป.).
  2. ปัญญาวิมุติ : [-วิมุด] (แบบ) น. ความหลุดพ้นด้วยปัญญา เป็น โลกุตรธรรมประการหนึ่ง, คู่กับ เจโตวิมุติ. (ป. ป?ฺ?าวิมุตฺติ).
  3. ปัญญาแค่หางอึ่ง : (สํา) ว. มีความรู้น้อย, โง่.
  4. ปัญญาชน : น. คนที่มีความรู้หรือความฉลาดอันเกิดแต่การเรียน มามาก.
  5. เบญญา : น. ปัญญา.
  6. ทุปปัญญา : [ทุบ-] (แบบ) น. ปัญญาทราม. (ป.).
  7. เบาปัญญา : ว. หย่อนความคิด, หย่อนสติปัญญา.
  8. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ : (กฎ) น. ศาล ยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาล ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เช่น คดีอาญาและ คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และคดีแพ่ง เกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือสัญญา อนุญาตให้ใช้สิทธิ คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือตราสารการเงินระหว่างประเทศหรือการให้บริการระหว่าง ประเทศการขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัย และนิติกรรม อื่นที่เกี่ยวเนื่อง คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในการ ออกแบบวงจร รวมการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ชื่อทางการค้า ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดของสินค้า ความลับ ทางการค้าและการคุ้มครองพันธุ์พืช.
  9. สติปัญญา : น. ปัญญารอบคอบ, ปัญญารู้คิด, เช่น เขาเป็นคนมีสติปัญญาดี.
  10. หัว ๒ : น. สติปัญญา, ความสามารถพิเศษ, ความคิดริเริ่ม, เช่น เด็กคนนี้มีหัวทาง ดนตรี; ผู้ที่มีความคิดหนักไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หัวกฎหมาย; ปัญญา, ความคิด, เช่น หัวดี หัวไว.
  11. : พยัญชนะตัวที่ ๑๓ นับเป็นพวกอักษรตํ่า และเป็นตัวที่สุดของวรรคที่ ๒ ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กนในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ปัญญา สัญชาติ ผจญ โคโลญ.
  12. ธิติ : (แบบ) น. ความทรงไว้, ความมั่นคง, ปัญญา. (ป.).
  13. บารมี : [-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบําเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ ได้บําเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).
  14. เบญจพล : น. กําลัง ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา.
  15. ปราชญา : [ปฺราดยา] น. ปัญญา. (ส. ปฺรชฺ?า; ป. ป?ฺ?า).
  16. ภูริ ๓, ภูรี : น. ความฉลาด, ปัญญา. (ป.).
  17. มันตา : น. ความรู้, ปัญญา. (ป.).
  18. โยนี : น. อวัยวะสืบพันธุ์ของหญิง. (ป., ส. โยนิ ว่า มดลูก; ที่เกิด, ต้นกําเนิด; ปัญญา).
  19. แหลม : [แหฺลม] ว. มีปลายเสี้ยมคม เช่น มีดปลายแหลม; ไว, ฉลาด, เช่น ปัญญา แหลม; ชํานาญจนรู้ได้ทันทีว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง เป็นต้น เช่น ตาแหลม; มีระดับสูง เช่น เสียงแหลม; จัด เช่น รสหวานแหลม. น. แผ่นดิน หรือภูเขาที่ยื่นลํ้าออกไปในทะเลหรือมหาสมุทร. ก. ล่วงลํ้า.
  20. อริยทรัพย์ : น. ทรัพย์อันประเสริฐ มี ๗ ประการ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา. (ป. อริย + ส. ทฺรวฺย).
  21. กรรมฐาน : [กำมะถาน] น. ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบาย ทางใจ มี ๒ ประการ คือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจ และ วิปัสสนา กรรมฐาน เป็นอุบายเรืองปัญญา. (ส.; ป. กมฺมฏฺ?าน).
  22. ขีดขั้น : น. ระดับแห่งความรู้ความสามารถเป็นต้น เช่น ขีดขั้นแห่งสติปัญญา.
  23. เข็น : ก. ดันสิ่งที่ติดขัดไม่อาจเคลื่อนไปได้โดยปรกติให้เคลื่อนไป เช่น เข็นเรือ เข็นเกวียน, ดันให้เคลื่อนที่ไป เช่น เข็นรถ, ใช้เกวียนเป็นต้น บรรทุกไป เช่น เข็นข้าว เข็นไม้; โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัดให้ดี เช่น เด็กคนนี้เข็นไม่ขึ้น. เข็นครกขึ้นเขา, เข็นครกขึ้นภูเขา (สํา) ก. ทํางานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทน อย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน.
  24. คม ๒ : น. ส่วนบางมากจนสามารถบาดได้ เช่น คมมีด คมดาบ คมหญ้า. ว. ไม่ทื่อ เช่น มีดคม, บาดได้ เช่น ป่านคม; เฉียบแหลม เช่น ปัญญาคม; ชัดเจน เช่น ภาพคม เส้นคม, โดยปริยายใช้สําหรับตาและปากซึ่งมี ลักษณะอย่างของที่คมอาจบาดหรือแทงใจได้.
  25. ความคิด : น. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหา ความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติ ปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลาย ของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.
  26. โคตรภูญาณ : [โคดตฺระพูยาน] (แบบ) น. ปัญญาที่อยู่ในลําดับอริยมรรค.
  27. จนด้วยเกล้า : (ปาก) ก. หมดปัญญาคิด.
  28. เจโตวิมุติ : [-วิมุด] (แบบ) น. ความหลุดพ้นด้วยอํานาจแห่งจิต เป็นโลกุตรธรรม ประการหนึ่ง, คู่กับ ปัญญาวิมุติ. (ป. เจโตวิมุตฺติ).
  29. เจ้า ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร; เชื้อสายของกษัตริย์นับตั้งแต่ ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน; ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้; ผู้ชํานาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด เจ้าบทเจ้ากลอน; มักใช้เติมท้ายคําเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า; เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง.
  30. ฉลวยฉลาด : ว. ปัญญาดีงาม.
  31. ฉลาด ๑ : [ฉะหฺลาด] ว. เฉียบแหลม, ไหวพริบดี, ปัญญาดี. (ข. ฉฺลาต, ฉฺลาส).
  32. ฉลาดเฉลียว : ว. มีปัญญาและไหวพริบดี, เฉลียวฉลาด ก็ว่า. (ข. ฉฺลาตเฉฺลียว, ฉฺลาสเฉฺลียว).
  33. ฉาน ๓ : ก. แตก, กระจาย, ซ่าน, เช่น แตกฉานซ่านเซ็น. ว. มีแสงกล้า, มีแสงพุ่ง ออกไป, สว่าง, กระจ่างแจ้ง, จ้า, เช่น แสงฉาน ปัญญาแตกฉาน; ฉาด เช่น ขวิดควิ้วอยู่ฉาน ๆ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  34. เฉลียวฉลาด : ว. มีปัญญาและไหวพริบดี, ฉลาดเฉลียว ก็ว่า. (ข. เฉฺลียวฉฺลาต, เฉฺลียว ฉฺลาส).
  35. โฉด : ว. โง่เขลาเบาปัญญา.
  36. ชวน ๒ : [ชะวะนะ] (แบบ) น. ความเร็ว, ความไว, ความเร็ว ของปัญญาหรือความคิด, แผลงเป็น เชาวน์ ก็มี. (ป., ส.).
  37. ชิมแปนซี : น. ชื่อลิงไม่มีหางในวงศ์ Pongidae ขนสีดําหรือน้ำตาลดำ บริเวณใกล้ ๆ ก้นมีขนสีขาว หน้าไม่มีขน แขนและขา ยาวเกือบเท่ากัน มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Pan troglodytes และ ชิมแปนซีแคระ (P. paniscus) ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา อยู่รวมกันเป็นฝูง ลักษณะคล้ายคน มีเชาวน์ปัญญาสูง สามารถ นํามาฝึกหัดให้เลียนท่าทางของคนได้. (อ. chimpanzee).
  38. เชาวน์ : [เชา] น. ปัญญาหรือความคิดฉับไว, ปฏิภาณไหวพริบ. (แผลงมาจาก ป., ส. ชวน).
  39. เซน : น. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แพร่หลายในจีนและ ญี่ปุ่น เป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุความรู้แจ้งอย่างฉับพลัน โดยการทําสมาธิและใช้ปัญญาขบคิดปริศนาธรรม. (ญิ.).
  40. ดิ่ง : ว. แน่ว เช่น เสาต้นนี้ตั้งตรงดิ่ง ทางตรงดิ่ง จมดิ่ง; เรียกโลหะรูปทรง กรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึกของน้ำ ตรวจสอบเสาหรือกำแพง เป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่ว่า ลูกดิ่ง; เรียกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬาว่า ลูกดิ่ง; วัตถุ มงคลมีลักษณะคล้ายลูกดิ่งหรือเม็ดมะยมซ้อนกันเป็นต้น สำหรับห้อย สายลูกประคำ พระมหากษัตริย์ทรงใช้ เรียกว่า พระดิ่ง และอาจพระราชทาน แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบเพื่อใช้เป็นเครื่องเตือนสติ เมื่อเกิดปัญหาจะได้พิจารณาให้รอบคอบด้วยวิธีบริกรรมนับลูกประคำ ทำให้มีสติเพื่อก่อให้เกิดสมาธิและปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาได้.
  41. ตะพาย : ก. แขวนบ่า, ห้อยเฉียงบ่า, เช่น ตะพายย่าม, สะพาย ก็ว่า; เรียกกิริยาที่เอา เชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะว่า สนตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่าถูกบังคับให้ยอม ทำตามด้วยความจำใจ ความหลง หรือความโง่เขลาเบาปัญญา; เรียกเชือก ที่ร้อยจมูกวัวควายว่า สายตะพาย. น. ช่องจมูกวัวควายที่เจาะสําหรับร้อย เชือก; เรียกลายที่เป็นทางแต่จมูกขึ้นไปทั้ง ๒ ข้างแห่งนกกระทา.
  42. ตัน ๑ : ว. ไม่กลวง, ไม่ทะลุตลอด, เช่น คลองตัน ตรอกตัน ท่อตัน; โดยปริยายหมายความว่า ติด ขัด, ไม่มีทางออก, เช่น ตําแหน่งตัน, ไม่ปลอดโปร่ง เช่น สมองตัน. ตันคอหอย (ปาก) ก. พูดไม่ออกด้วยความดีใจหรือเสียใจ. ตันปัญญา ก. จนปัญญา, คิดอะไรไม่ออก. ตันอกตันใจ ก. อึดอัดใจ, ตัดสินใจไม่ถูก.
  43. ทรัพย-, ทรัพย์ : [ซับพะยะ-, ซับ] น. เงินตรา เช่น ไม่มีทรัพย์ติดตัว, สมบัติพัสถาน เช่น เขาเป็นคนมีทรัพย์; (กฎ) วัตถุมีรูปร่าง; โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่ถือว่ามีค่าอาจไม่มีรูปร่างก็ได้ เช่น มีปัญญาเป็นทรัพย์ อริยทรัพย์. (ส. ทฺรวฺย).
  44. ทราม : [ซาม] ว. เลว เช่น ใจทราม, เสื่อม เช่น ปัญญาทราม จิตทราม; ไหลอาบ เป็นแห่ง ๆ เช่น เลือดไหลทรามลงตามขา.
  45. ทันธ-, ทันธ์ : [ทันทะ-] (แบบ) ว. ช้า ๆ, เงื่อง, เกียจคร้าน; หนัก; เขลา เช่น ทันธปัญญา คือ ปัญญาเขลา. (ป.).
  46. ท้าทาย : ก. ชวนวิวาท เช่น เพราะเขาว่าท้าทายว่าจะทําอันตรายแก่ ท่านไท้บรมนาถราชบิดา. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์); ชวนให้ทดลอง ความรู้ความสามารถ เช่น ท้าทายปัญญา ท้าทายความสามารถ.
  47. ทาสปัญญา : [ทาดสะ-] น. ความคิดตํ่า. ว. โง่เขลาเบาปัญญา, มีสติปัญญาน้อย, เช่น คนทาสปัญญา. (ป.).
  48. ทึบ : ว. มีลมอากาศหรือแสงสว่างเข้าออกไม่ได้หรือไม่เพียงพอ เช่น ห้องทึบ ผนังทึบ ตู้ทึบ ป่าทึบ, ไม่โปร่งแสง เช่น เป็นแท่งทึบ; ไม่โปร่ง, หนาแน่น, เช่น ลายทึบ; โดยปริยายหมายความว่า โง่มาก เช่น ปัญญาทึบ สมองทึบ.
  49. ทื่อ : ว. ไม่คม (ใช้แก่ของแบน ๆ ที่มีคมแต่ไม่คม) เช่น มีดทื่อ; ไม่ เฉียบแหลม เช่น ปัญญาทื่อ; ไม่มีลับลมคมใน เช่น พูดทื่อ ๆ; นิ่งเฉยอยู่ไม่กระดุกกระดิกเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แข็งทื่อ, ซื่อ ก็ว่า. ก. รี่เข้าใส่โดยไม่ระมัดระวัง เช่น ทื่อเข้าใส่.
  50. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-119

(0.1322 sec)